ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาเหมื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเหมื่อง
Thiểng Mường
ประเทศที่มีการพูดประเทศเวียดนาม
ภูมิภาคจังหวัดฮหว่าบิ่ญ, จังหวัดทัญฮว้า, จังหวัดฟู้เถาะ, จังหวัดเซินลา
ชาติพันธุ์ชาวเหมื่อง
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (1.1 ล้านคน อ้างถึง1999 census)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (จื๋อโกว๊กหงือ)
รหัสภาษา
ISO 639-3mtq

ภาษาเหมื่อง (เหมื่อง: thiểng Mường; เวียดนาม: tiếng Mường)[2] เป็นภาษาของชาวเหมื่องในเวียดนาม มีผู้พูดในเวียดนาม 1,140,000 คน (พ.ศ. 2542)ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภูเขาทางภาคกลางค่อนไปทางเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาเวียดนาม อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร สาขาเหวียด-เหมื่อง สาขาย่อยเหมื่อง เขียนด้วยอักษรละติน มีวรรณยุกต์ 5 เสียง คำศัพท์ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนมาก

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษาเหมื่องไม่มีรูปเขียนจนกระทั่งนักวิชาการชาวตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้พัฒนาอักษรชั่วคราวที่อิงจากอักษรเวียดนามดัดแปลง โดยเพิ่มพยัญชนะอย่างอักษร w และอนุญาตให้ใช้คู่พยัญชนะและพยัญชนะท้ายแตกต่างจากอักษรเวียดนามมากกว่า[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาเหมื่อง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. 2.0 2.1 Hà Quang Phùng 2012, p. 1.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Hà Quang Phùng (2012-09-06). "Tìm hiểu về ngữ pháp tiếng Mường (Thim hiếu wuê ngử pháp thiểng Mường)" [Understanding Muong grammar]. (in Vietnamese and Muong). Thanh Sơn–Phú Thọ Province Continuing Education Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (FlashPaper)เมื่อ September 19, 2016. (More เก็บถาวร 2016-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  • Nguyễn, Văn Khang, Bùi Chi, and Hoàng Văn Hành. (2002). Từ điển Mường-Việt (A Mường-Vietnamese dictionary). Hà Nội: Nhà Xuất Bản Văn Hoá Dân Tộc.
  • Nguyễn Văn Tài (1982). Ngữ âm tiếng Mường qua các phương ngôn [Phonetics of the Mường language through its dialects] (Ph.D.) (ภาษาเวียดนาม).

Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]