ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ก่อตั้ง1933; 91 ปีที่แล้ว (1933)
ภูมิภาคนานาชาติ (ฟีฟ่า)
จำนวนทีม211 (มีสิทธิ์ในขณะนี้)
216 (ทั้งหมด)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก (อังกฤษ: FIFA World Cup qualification) เป็นชุดของการแข่งขันซึ่งฟุตบอลทีมชาติแต่ละประเทศจะเข้าร่วมเพื่อคัดเลือกทีมที่ได้รับสิทธิ์ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกชาย

การแข่งขันรอบคัดเลือกจะจัดขึ้นภายใน 6 โซนทวีปของฟีฟ่า แต่ละโซนจัดโดยสมาพันธ์ของตน ได้แก่ เอเอฟซี (เอเชีย), ซีเอเอฟ (แอฟริกา), คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ กลาง และแคริบเบียน), คอนเมบอล (อเมริกาใต้), โอเอฟซี (โอเชียเนีย) และ ยูฟ่า (ยุโรป) การแข่งขันฟุตบอลโลกแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะเป็นผู้พิจารณาจำนวนโควต้าในรอบสุดท้ายที่จัดสรรให้กับแต่ละโซน โดยอ้างอิงจากจำนวนและความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ของทีมในสมาพันธ์

ตามธรรมเนียม เจ้าภาพจัดการแข่งขันจะได้รับการโควต้าโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับผู้ชนะการแข่งขันที่ผ่านมาในช่วงประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน ส่วนผู้เข้ารอบสุดท้ายทีมอื่น ๆ ทั้งหมดจะพิจารณาจากความสำเร็จในรอบคัดเลือกเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงความสำเร็จครั้งก่อนหน้านี้

ประวัติ

[แก้]

โควต้าสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 นั้น ทุกทีมเข้าร่วมโดยผ่านการเชิญเท่านั้น ในฟุตบอลโลก 1934 เป็นครั้งแรกที่มีการแข่งขันรอบคัดเลือกแท้จริง ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกนัดแรกแข่งขันในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1933 เมื่อสวีเดนเอาชนะเอสโตเนีย 6–2 ที่สตอกโฮล์ม และทำประตูแรกได้ใน 7 นาทีของการแข่งขัน โดยแหล่งข่าวบางส่วน[1] ระบุว่าผู้ยิงประตูเป็นกัปตันทีมสวีเดน คนุต ครูน ในขณะที่คนอื่น ๆ ให้การรบรองว่าเป็นการทำเข้าประตูตัวเองโดยผู้รักษาประตูชาวเอสโตเนียชื่อ เอวาลด์ ทิปเนอร์

แม้ว่าจำนวนทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (16 ทีมระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง 1978 จากนั้นเพิ่มเป็น 24 ทีมระหว่างปี ค.ศ. 1982 ถึง 1994 และ 32 ทีมในปี ค.ศ. 1998 ถึง 2022 และสุดท้ายคือ 48 ทีมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2026) รูปแบบการคัดเลือกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ทีมต่าง ๆ จะถูกจัดกลุ่มตามทวีปและแข่งขันกันเพื่อชิงโควต้าในจำนวนที่แน่นอน โดยมีโควต้าหนึ่งหรือสองตำแหน่งที่มอบให้กับผู้ชนะของเพลย์ออฟระหว่างทวีป

โควต้าการคัดเลือกแบ่งตามทวีป

[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงจำนวนโควต้าที่จัดสรรโดยฟีฟ่า สำหรับแต่ละทวีปในแต่ละการแข่งขัน นอกจากนี้ยังแสดงจำนวนทีมทั้งหมดที่เข้าร่วมและแข่งขันในทุกรอบการคัดเลือก

ในตาราง "H" หมายถึง โควต้าอัตโนมัติสำหรับเจ้าภาพ "C" หมายถึง โควต้าอัตโนมัติสำหรับการป้องกันแชมป์ และ "inv" หมายถึง จำนวนทีมที่ได้รับเชิญในปี ค.ศ. 1930 โควต้าในการแข่งขันเพลย์ออฟข้ามทวีปจะแสดงแทน เป็นเศษส่วนดังนี้

  • 0.5 – โควต้าในเพลย์ออฟโดยตรง
  • 0.25 – โควต้ารอบรองชนะเลิศรอบเพลย์ออฟ (ซึ่งผู้ชนะจะพบกับทีมอื่นเพื่อชิงโควต้าในรอบชิงชนะเลิศ)
  • 1/3 – โควต้าการแข่งขันเพลย์ออฟซึ่ง 2 ใน 6 ทีมจะผ่านเข้ารอบ
จำนวนโควต้าสำหรับทวีป
อุรุกวัย
1930
[a]
อิตาลี
1934
ฝรั่งเศส
1938
บราซิล
1950
สวิตเซอร์แลนด์
1954
สวีเดน
1958
ชิลี
1962
อังกฤษ
1966
เม็กซิโก
1970
เยอรมนีตะวันตก
1974
อาร์เจนตินา
1978
สเปน
1982
เม็กซิโก
1986
อิตาลี
1990
สหรัฐ
1994
ฝรั่งเศส
1998
เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น
2002
เยอรมนี
2006
แอฟริกาใต้
2010
บราซิล
2014
รัสเซีย
2018
ประเทศกาตาร์
2022
แคนาดา
เม็กซิโก
สหรัฐ
2026
ยุโรป 4 inv 12 11
+H+C
7
+C
11
+H
9[b]
+H+C
8+
2×0.5
9
+H
8
+C
8.5
+H
8.5
+C
13
+H
12.5
+C
13
+H
12
+C
14
+H
13.5
+C
13
+H
13 13 13
+H
13 16
แอฟริกา 1 0[c] 1[b] 0.5 1 1 1 1 2 2 2 3 5 5 5 5
+H
5 5 5 9+1/3
เอเชีย 1 1 1 0.5 1 1 1 2 2 2 2 3.5 2.5
+2H
4.5 4.5 4.5 4.5 4.5
+H
8+1/3
โอเชียเนีย [d] 0[c] 0[c] 0[c] 0[c] 0.5 0.5 0.25 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 1+1/3
อเมริกาเหนือและกลาง
และแคริบเบียน
2 inv 1 1 2 1 1 0.5 1 1
+H
1 1 2 1
+H
2 1.25
+H
3 3 3.5 3.5 3.5 3.5 3.5 3+
1/3
+3H
อเมริกาใต้ H+
6 inv
2 1 4
+H
1
+C
3 3.5
+H+C
3
+C
3 2.5
+C
2.5
+H
3
+C
4 2.5
+C
3.5 4
+C
4.5 4.5 4.5 4.5
+H
4.5 4.5 6+1/3
โควต้าทั้งหมด 13 16 16 16 16 24 32 48
จำนวนทีมในรอบสุดท้าย 15[e] 13[f]
เข้าสู่รอบคัดเลือก[g] 32 34 32 37 51 54 69 69 97 105 107 119 111 145 172 196 197 205[h] 203 210 211[i] [j]
แข่งขันรอบคัดเลือก[k] 27 21 19 33 46 49 51 68 90 95 103 110 103 128 168 193 194 199[h] 202 208 204[i] [j]
ผ่านคัดเลือกโดยรอบคัดเลือก 14 10 9 13 14 14 14 14 14 14 22 22 22 22 30 29 31 31 31 31 31 45
ผ่านคัดเลือกโดยไม่ต้องแข่งขัน 13 2 6 7 3 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 3 1 1 1 1 1 3
หมายเหตุ
  1. โควต้าได้รับโดยการเชิญเท่านั้น
  2. 2.0 2.1 จริงๆ แล้ว 10 ทีมจากยุโรปได้รับโควต้านี้ และไม่มีทีมจากแอฟริกาหรือเอเชียเลย หลังจากที่อิสราเอลชนะโซนแอฟริกา/เอเชียโดยไม่ได้ลงแข่งขันเนื่องจากการถอนตัวของทีมอื่น จึงมีการจัดการเพลย์ออฟพิเศษระหว่างพวกเขากับทีมจากยุโรปอย่างเวลส์ และฝ่ายหลังเป็นฝ่ายชนะ
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ไม่มีเข้าร่วม
  4. ไม่มีทีมจากภูมิภาคนี้เป็นสมาชิกของฟีฟ่าก่อนปี ค.ศ. 1950
  5. ออสเตรียถอนตัวหลังจากผ่านเข้ารอบ
  6. อินเดีย สกอตแลนด์ และตุรกี ถอนตัวหลังจากผ่านเข้ารอบ ในตอนแรกฝรั่งเศสยอมรับที่จะเข้าร่วมแทน แต่ก็ถอนตัวเช่นกัน
  7. รวมทุกทีมที่เข้าสู่รอบคัดเลือก แม้ว่าพวกเขาจะถอนตัวหรือถูกคัดออกในภายหลัง หรือผ่านเข้ารอบโดยการชนะอย่างง่ายดาย ไม่รวมถึงทีมที่ผ่านการคัดเลือกโดยอัตโนมัติซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า
  8. 8.0 8.1 รวมเจ้าภาพแอฟริกาใต้และตูวาลูที่ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า ซึ่งเข้าร่วมเพราะการแข่งขันรายการอื่น ๆ ก็ทำหน้าที่เป็นรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกด้วย
  9. 9.0 9.1 รวมเจ้าภาพกาตาร์ที่เข้าร่วมเพราะการแข่งขันอื่นเป็นรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกด้วย
  10. 10.0 10.1 รวมทีมที่ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งสามารถเข้าร่วมได้เนื่องจากการแข่งขันอื่นจะทำหน้าที่เป็นการคัดเลือกฟุตบอลโลกด้วย
  11. รวมเฉพาะทีมที่แข่งขันรอบคัดเลือกอย่างน้อยหนึ่งนัดที่ไม่เป็นโมฆะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sweden vs Estonia, 11 June 1933, World Cup qualification". eu-football.info. สืบค้นเมื่อ 25 January 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]