ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอุรุกวัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Uruguay)
สาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย

República Oriental del Uruguay (สเปน)
คำขวัญ"ไม่เสรีภาพก็ความตาย"
(สเปน: Libertad o Muerte)
ที่ตั้งของ ประเทศอุรุกวัย  (เขียวเข้ม) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศอุรุกวัย  (เขียวเข้ม)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มอนเตวิเดโอ
34°53′S 56°10′W / 34.883°S 56.167°W / -34.883; -56.167
ภาษาราชการภาษาสเปน
ภาษาระดับภูมิภาคโปรตุเกส
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011[1])
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[2]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ลุยส์ ลากาเย โปว์
เบอาตริซ อาร์ฆิมอน
สภานิติบัญญัติสมัชชาใหญ่
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
25 สิงหาคม ค.ศ. 1825
27 สิงหาคม ค.ศ. 1828
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1830
18 ธันวาคม ค.ศ. 1945
พื้นที่
• รวม
176,215 ตารางกิโลเมตร (68,037 ตารางไมล์) (อันดับที่ 89)
1.5
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
3,518,552[3] (อันดับที่ 132)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
3,390,077[4]
19.8 ต่อตารางกิโลเมตร (51.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 99)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
86.562 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 92)
24,516 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 59)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
62.917 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 80)
17,819 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 49)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 39.7[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.817[7]
สูงมาก · อันดับที่ 55
สกุลเงินเปโซอุรุกวัย (UYU)
เขตเวลาUTC−3 (UYT)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+598
โดเมนบนสุด.uy

อุรุกวัย (สเปน: Uruguay, ออกเสียง: [uɾuˈɣwaj]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย[8] (República Oriental del Uruguay) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดริโอเดลาปลาตาทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อุรุกวัยมีเนื้อที่ประมาณ 176,000 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 3.51 ล้านคน โดย 2 ล้านคนในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเขตมหานครของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คือกรุงมอนเตวิเดโอ

บริเวณที่เป็นประเทศอุรุกวัยมีกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์เข้ามาอาศัยอยู่เป็นครั้งแรกเมื่อ 13,000 ปีก่อน[9] ชนเผ่าที่มีอำนาจเด่นในช่วงเวลาที่ชาวยุโรปมาถึงคือชาวชาร์รูอา อุรุกวัยตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โปรตุเกสก่อตั้งกูลอเนียดูซากราเม็งตูขึ้นใน ค.ศ. 1680 สเปนก่อตั้งมอนเตวิเดโอเป็นฐานที่มั่นทางทหารในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการแข่งขันเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือภูมิภาคนี้ อุรุกวัยได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1811 และใน ค.ศ. 1828 หลังการแย่งชิงจากสี่ฝ่ายระหว่างโปรตุเกสกับสเปนและระหว่างอาร์เจนตินากับบราซิลในเวลาต่อมา และยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลและการแทรกแซงจากต่างประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยทหารเข้ามามีบทบาทซ้ำ ๆ ในการเมืองภายในประเทศ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจหลายครั้งและการต่อสู้กับกิจกรรมกองโจรฝ่ายซ้ายในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้ยุติช่วงเวลาแห่งประชาธิปไตยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[โปรดขยายความ] โดยนำไปสู่รัฐประหารใน ค.ศ. 1973 ซึ่งสถาปนาระบอบเผด็จการพลเรือน-ทหาร รัฐบาลทหารไล่ล่าฝ่ายซ้าย ฝ่ายสังคมนิยม และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ส่งผลให้มีผู้ถูกทรมานและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนกระทั่งทหารได้มอบอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนใน ค.ศ. 1985 ปัจจุบันอุรุกวัยเป็นสาธารณรัฐรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจรายได้สูงและติดอันดับหนึ่งในลาตินอเมริกาในด้านประชาธิปไตย สันติภาพ ภาพลักษณ์คอร์รัปชันต่ำ[10] และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[11][12] ประเทศนี้อยู่ในอันดับแรกในอเมริกาใต้ในด้านเสรีภาพสื่อ ขนาดชนชั้นกลาง และภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง[10] บนพื้นฐานต่อหัว อุรุกวัยส่งกำลังทหารไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมากกว่าประเทศอื่น ๆ[10] และเป็นประเทศที่มีดัชนีการก่อการร้ายทั่วโลกอยู่ในอันดับต่ำที่สุดในอเมริกาใต้ เป็นอันดับสองของทวีปในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมกันของรายได้ รายได้ต่อหัว และการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ[10] และเป็นประเทศที่ดีที่สุดอันดับสามของทวีปในด้านดัชนีการพัฒนามนุษย์ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[13] นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน[10] อุรุกวัยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมมากที่สุดในลาตินอเมริกา โดยติดอันดับสูงในการจัดอันดับด้านสิทธิส่วนบุคคล การยอมรับความต่าง และการนับรวมทุกกลุ่มคน[14] รวมถึงการยอมรับประชาคมบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[15] กัญชา การสมรสเพศเดียวกัน และการทำแท้งได้รับการรับรองให้ถูกกฎหมายในประเทศนี้ อุรุกวัยเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกา และตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา) ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียวในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และไม่อาจดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 ได้

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

ระบบสองสภาประกอบด้วยวุฒิสภาจำนวน 30 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยรองประธานาธิบดีมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 1 เสียง และสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 99 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ระบบประมวลกฎหมายมีรากฐานมาจากประมวลกฎหมายของสเปน ผู้พิพากษาศาลฎีกาได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดี และสภานิติบัญญัติเป็นผู้เลือก วาระการดำรงตำแหน่ง 10 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Atlas Sociodemografico y de la Desigualdad en Uruguay, 2011: Ancestry" (PDF) (ภาษาสเปน). National Institute of Statistics. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 February 2014.
  2. "Religions in Uruguay | PEW-GRF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. "Estimaciones y Proyecciones – Instituto Nacional de Estadística". 22 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019.
  4. Resultados del Censo de Población 2011: población, crecimiento y estructura por sexo y edad ine.gub.uy
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Report for Selected Countries and Subjects – Uruguay". World Economic Outlook. International Monetary Fund. October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  6. "GINI index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. "Hace 13.000 años cazadores-recolectores exploraron y colonizaron planicie del río Cuareim". archivo.presidencia.gub.uy. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "Uruguay Rankings" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  11. "Data Center". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014.
  12. "Overview". World Bank (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
  13. "From 2005 to 2011" (PDF). U.S. State Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  14. The Social Progress Imperative. socialprogressimperative.org
  15. "Spartacus Gay Travel Index" (PDF). spartacus.gayguide.travel. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Andrew, G. R. (2010). Blackness in the White Nation: A History of Afro-Uruguay, The University of North Carolina Press
  • Behnke, A. (2009). Uruguay in Pictures, Twenty First Century Books
  • Box, B. (2011). Footprint Focus: Uruguay, Footprint Travel Guides
  • Burford, T. (2010). Bradt Travel Guide: Uruguay, Bradt Travel Guides
  • Canel, E. (2010). Barrio Democracy in Latin America: Participatory Decentralization and Community Activism in Montevideo, The Pennsylvania State University Press
  • Clark, G. (2008). Custom Guide: Uruguay, Lonely Planet
  • Jawad, H. (2009). Four Weeks in Montevideo: The Story of World Cup 1930, Seventeen Media
  • Lessa, F. and Druliolle, V. (eds.) (2011). The Memory of State Terrorism in the Southern Cone: Argentina, Chile, and Uruguay, Palgrave Macmillan
  • Mool, M (2009). Budget Guide: Buenos Aires and Montevideo, Cybertours-X Verlag

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]