ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าชเวน่านจ่อชีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าชเวน่านจ่อชีน
พระเจ้านรปติที่ 2 แห่งอังวะ
ရွှေနန်းကြော့ရှင် နရပတိ
กษัตริย์แห่งอังวะ
ครองราชย์7 เมษายน 1501 – 14 มีนาคม 1527
ราชาภิเษก14 เมษายน หรือ 10 พฤษภาคม 1501
ก่อนหน้าพระเจ้ามังฆ้องที่ 2
ถัดไปพระเจ้าโตฮาน-บว่า
ประสูติ28 กรกฎาคม ค.ศ. 1476
วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนตอตะลี่น 838 ME[note 1]
อังวะ
สวรรคต14 มีนาคม ค.ศ. 1527(1527-03-14) (50 ปี)
ขึ้น 12 ค่ำ เดือนดะกู้ตอนปลาย 888 ME[5]
อังวะ
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
มี่นชเว
ราชวงศ์โม่ญี่น
พระราชบิดาพระเจ้ามังฆ้องที่ 2
พระราชมารดาพระนางอตุลสิริธัมมเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าชเวน่านจ่อชีน นรปติ (พม่า: ရွှေနန်းကြော့ရှင် နရပတိ, ออกเสียง: [ʃwè náɰ̃ tɕɔ̰ ʃɪ̀ɰ̃ nəɹa̰pətḭ]; ไทใหญ่: Sao Kyaw Haw Hkam; 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1476 – 14 มีนาคม ค.ศ. 1527) หรือ พระเจ้านรปติที่ 2 แห่งอังวะ (อังกฤษ: Narapati II of Ava) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 13 แห่งอังวะจาก ค.ศ. 1501 ถึง 1527

พระชนม์ชีพช่วงต้นและขึ้นครองราชย์

[แก้]

พระเจ้าชเวน่านจ่อชีนมีพระนามตอนพระราชสมภพเป็น มี่นชเว จากพระเจ้ามังฆ้องที่ 2 กับอัครมเหสีอตุลสิริธัมมเทวี ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1476[note 1] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 จากทั้งหมด 4 พระองค์ โดยมีพระเชษฐานามสีหสุระที่ 2 และพระกนิษฐา 2 พระองค์คือ Soe Min และ Min Pwa Saw[8] เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของอัครมเหสี ทำให้ มี่นชเว เป็นเจ้าชายอาวุโส แต่ไม่ใช่รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง เมื่อพระเจ้ามังฆ้องที่ 2 ขึ้นครองราชย์ จึงทรงแต่งตั้งสีหสุระที่ 2 พระราชโอรสองค์โต เป็นรัชทายาท และให้พระองค์ปกครองร่วมกันใน ค.ศ. 1485[9] ข้อตกลงนี้คงอยู่จนกระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1501 เมื่อพระเจ้าสีหสุระที่ 2 สวรรคตอย่างกะทันหัน และชเวน่านจ่อชีนได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท แต่เมื่อพระเจ้ามังฆ้องที่ 2 สวรรคตเดือนถัดมาในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1501 (แรม 5 ค่ำ เดือนดะกู้ตอนปลาย 862 ME) ชเวน่านจ่อชีนจึงขึ้นเป็นกษัตริย์[10] พิธีราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1501 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือนกะโซน 863 ME)[11] หรือ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1501 (แรม 9 ค่ำ เดือนกะโซน 863)[10] ตามธรรมเนียมเชื้อพระวงศ์พม่า พระองค์นำอัครมเหสีแห่งสีหสุระเป็นอัครมเหสีของพระองค์[12]

รัชสมัย

[แก้]

เริ่มต้นการกบฏ

[แก้]
นรธาแห่งยะแม่ที่น ปัจจุบันรู้จักกันในฐานะ นะ ชเวนรธา ถูกทำให้จมน้ำจากแผนการลอบปลงพระชนม์ที่ล้มเหลว

กษัตริย์แห่งอังวะองค์ใหม่จำต้องสถาปนาอำนาจเหนือรัฐบริวารอีกครั้ง เหมือนกับพระองค์ก่อนหน้า ตอนแรก กบฏระยะยาวโดยพระปิตุลานามมังรายกะยอฉะวาแห่งยะแม่ที่นสิ้นสุดที่ฝ่ายหลังสิ้นพระชนม์ในเดือนมิถุนายน/กรกฎาคม ค.ศ. 1501 (เดือนวาโซ 863 ME, 16 มิถุนายนถึง 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1501) แต่กบฏกลับเกิดต่อเกือบทันที ในเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม ค.ศ. 1501 (เดือนนะดอ 863 ME, 11 พฤศจิกายนถึง 9 ธันวาคม ค.ศ. 1501) นรธาแห่งยะแม่ที่น พระโอรสองค์โตในพระเจ้าสีหสุระที่ 2 ส่งมือสังหารไปปลงพระชนม์พระเจ้าชเวน่านจ่อชีน ซึ่งเกือบทำได้สำเร็จ ทั้งมือสังหารและนรธาถูกจับกุม และเนื่องจากนรธามีเชื้อกษัตริย์ จึงถูกลงโทษด้วยการทำให้จมน้ำ[12]

สงครามกับสมาพันธรัฐแห่งกลุ่มรัฐฉาน

[แก้]

พระนาม

[แก้]

พระองค์เป็นที่จดจำหลังสวรรคตในฐานะ ชเวน่านจ่อชีน (แปลว่า เจ้าแห่งพระราชวังสีทองอันวิจิตรงดงาม) เนื่องจากพระองค์สร้าง "พระราชวังสีทองอันวิจิตรงดงาม" แห่งใหม่ที่อังวะในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1511 (วันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือนดะบ้อง 872 ME)[13]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 พงศาวดารต่างรายงานวันพระราชสมภพไว้ดังนี้:
    • Zatadawbon Yazawin: วันอาทิตย์, 5 nekkhats ในเดือน 8 [Tazaungmon] ของปี 838 ME[1]
    • Maha Yazawin: พระราชสมภพวันอังคาร[2]
    • Yazawin Thit: วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนตอตะลี่น[3]
    • Hmannan: วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือนตอตะลี่น[4]

    ขึ้น 8 ค่ำ เดือนตอตะลี่น 838 ME แปลงได้เป็นวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1476 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าวันที่ใน Yazawin Thit นั้นถูกต้อง; การยึดไว้เป็นวันอังคารของ Hmannan จาก Maha Yazawin นั้นไม่ถูกต้อง และเดือน 8 ของ Zatadawbon เป็นข้อผิดพลาดในการพิมพ์ เนื่องจากตอตะลี่นมักจะเป็นเดือนที่ 6 ในปีปกติ (ไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zata 1960: 47, 78
  2. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 114
  3. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 311, 320
  4. Hmannan Vol. 2 2003: 122
  5. Hmannan Vol. 2 2003: 137
  6. Hmannan Vol. 2 2003: 128
  7. Tun Aung Chain 2004: 122
  8. Hmannna Vol. 2 2003: 111
  9. Hmannan Vol. 2 2003: 111, 115
  10. 10.0 10.1 Hmannan Vol. 2 2003: 119
  11. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 101
  12. 12.0 12.1 Hmannan Vol. 2 2003: 120
  13. Khin Khin Aye 2007: 61

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Kala, U (2006) [1724]. Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Khin Khin Aye (January 2007). "Inscription record of Shwenankyawshin Narapati's Ava Palace construction". Myanmar Vista Research Magazine (ภาษาพม่า). Yangon. 1 (1).
  • Royal Historians of Burma (1960) [c. 1680]. U Hla Tin (Hla Thamein) (บ.ก.). Zatadawbon Yazawin (ภาษาพม่า). Historical Research Directorate of the Union of Burma.
  • Royal Historical Commission of Burma (2003) [1832]. Hmannan Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3. Yangon: Ministry of Information, Myanmar.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Sein Lwin Lay, Kahtika U (2006) [1968]. Mintaya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (ภาษาพม่า) (2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.
  • Tun Aung Chain (2004). Selected writings of Tun Aung Chain. Myanmar Historical Commission.