ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรหงสาวดีใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรหงสาวดีใหม่

ဟံသာဝတီ နေပြည်တော်
พ.ศ. 2283–พ.ศ. 2300
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงหงสาวดี
ภาษาทั่วไปภาษามอญ
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• พ.ศ. 2283–2290
สมิงทอพุทธเกติ
• พ.ศ. 2290–2300
พญาทะละ
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งอาณาจักร
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2283
• สงครามกับราชวงศ์ตองอู
พ.ศ. 2283–2295
• การขึ้นสู่อำนาจของพญาทะละ
พ.ศ. 2290
• การรุกรานของพม่าตอนบน
พ.ศ. 2294–2295
พ.ศ. 2295–2300
• การล่มสลาย
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2300
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์โก้นบอง

อาณาจักรหงสาวดีใหม่ (พม่า: ဟံသာဝတီ နေပြည်တော်) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่าง และบางส่วนของพม่าตอนบน ระหว่าง พ.ศ. 2283–2300 อาณาจักรเกิดจากการก่อกบฏของชาวมอญ ต่อต้านราชวงศ์ตองอูของพม่าที่ปกครองอังวะ กลุ่มกบฎประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ ที่เคยปกครองพม่าตอนล่างระหว่าง พ.ศ. 1830–2082 โดยได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส อาณาจักรที่เกิดใหม่พยายามขยายอำนาจไปทางเหนือ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 เข้ายึดครองอังวะและล้มการปกครองของราชวงศ์ตองอูที่ยาวนาน 266 ปีลง[1]

ราชวงศ์ใหม่ที่เรียก ราชวงศ์โก้นบอง นำโดย พระเจ้าอลองพญา เรืองอำนาจในพม่าตอนบน และท้าทายต่อกองทัพทางใต้ หลังจากการรุกรานภาคเหนือของหงสาวดีพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2297 หงสาวดีได้ประหารเชื้อพระวงศ์อังวะทั้งหมด และแสดงความเป็นชนทางใต้ต่อต้านอลองพญา[2] ใน พ.ศ. 2298 อลองพญารุกรานพม่าตอนล่าง เข้ายึดที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ท่าเรือของฝรั่งเศสที่สิเรียม และยึดพะโคได้ในที่สุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2300

การล่มสลายของอาณาจักรหงสาวดีใหม่เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญที่เคยมีมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง กองทัพของราชวงศ์โก้นบองกดดันให้ชาวมอญต้องอพยพไปยังสยาม[3] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และการอพยพของชาวพม่าจากทางเหนือ ทำให้ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[2]

การขึ้นสู่อำนาจของอาณาจักร

[แก้]

การกบฏทางใต้เป็นปัญหาใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ตองอู กษัตริย์ที่อ่อนแอไม่สามารถปราบปรามการก่อกบฏที่แม่น้ำชี่น-ดวี่นในมณีปุระ ที่เริ่มใน พ.ศ. 2267 ตามมาด้วยการก่อกบฏในล้านนาตั้งแต่ พ.ศ. 2270 ข้าหลวงอังวะที่พะโคถูกสังหารเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2283 โดยกลุ่มผู้นำในท้องถิ่น[4] กลุ่มผู้นำดังกล่าวได้เลือกชาวมอญที่พูดภาษาพม่าได้คือสมิงทอพุทธเกติ ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดีเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2283[5]

ใน พ.ศ. 2285 กองทัพหงสาวดีเริ่มยกทัพขึ้นไปตามแม่น้ำอิระวดีไปจนถึงอังวะ ใน พ.ศ. 2288 หงสาวดียึดครองพื้นที่พม่าตอนล่างได้ทั้งหมดและยึดตองอูและแปรในพม่าตอนบนไว้ได้[1] (อาณาจักรใหม่ไม่ได้ควบคุมแนวชายฝั่งของเทือกเขาตะนาวศรี เมาะตะมะและทวายที่อยู่ภายใต้การปกครองของสยาม)

พญาทะละขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากสมิงทอพุทธเกติใน พ.ศ. 2290 และสามารถยึดพม่าตอนบนได้ใน พ.ศ. 2294 บุกเข้ายึดอังวะได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 เชื้อพระวงศ์อังวะถูกจับไปพะโค ความผิดพลาดอย่างยิ่งของหงสาวดีคือรีบยกทัพกลับพะโคหลังจากได้ชัยชนะ ทิ้งเพียงสามกองทัพไว้ต่อต้านการลุกฮือของพม่า[1]

ล่มสลาย

[แก้]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2294 หัวหน้าหมู่บ้านชเวโบชื่อ อองไชยะ ได้ก่อตั้งราชวงศ์โก้นบอง และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอลองพญาเพื่อต่อสู้กับมอญ พระเจ้าอลองพญารวบรวมพม่าภาคเหนือทั้งหมดได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2295 และตั้งเมืองหลวงทางตอนเหนือของอังวะ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2296 พญาทะละยกทัพไปปราบพม่าภาคเหนือ แต่เป็นฝ่ายแพ้และสูญเสียอย่างมาก หลังจากพ่ายแพ้กษัตริย์มอญได้ใช้นโยบายป้องกันตนเองและแสดงความเป็นมอญทางใต้ เชื้อพระวงศ์อังวะถูกประหารชีวิตทั้งหมดรวมทั้งกษัตริย์ตองอูองค์สุดท้าย บังคับให้ชาวพม่าทางใต้แต่งกายแบบชาวมอญ[2]

ใน พ.ศ. 2298 พระเจ้าอลองพญาได้เคลื่อนทัพมาสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในเดือนเมษายนและย่างกุ้งในเดือนพฤษภาคม สิเรียมเมืองท่าที่ปกครองโดยฝรั่งเศสถูกยึดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2299 เมื่อการช่วยเหลือของฝรั่งเศสถูกตัดขาด พะโคจึงถูกตีแตกเมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2300[6]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

การล่มสลายของอาณาจักรนี้เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญที่เคยมีมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง กองทัพของราชวงศ์โก้นบองกดดันให้ชาวมอญต้องอพยพไปยังสยาม[3] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และครอบครัวชาวพม่าจากภาคเหนือเริ่มอพยพลงมาบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ทำให้ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 Harvey (1925) : 211–217
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Lieberman (2003) : 202–206
  3. 3.0 3.1 Myint-U (2006) : 97
  4. Lieberman 1984: 215
  5. Hmannan Vol. 3 (1829) : 372–373
  6. Phayre (1883) : 166–169
บรรณานุกรม
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Lieberman, Victor B. (1984). Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760. Princeton University Press. ISBN 0-691-05407-X.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.