พระเจ้าธรรมเจดีย์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระเจ้าธรรมเจดีย์ ဓမ္မစေတီ | |
---|---|
จารึกพระเจ้าธรรมเจดีย์ เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง | |
กษัตริย์ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1471–1492 |
ก่อนหน้า | พระนางเชงสอบู |
ถัดไป | พญารามที่ 2 |
ประสูติ | พฤศจิกายน/ธันวาคม ค.ศ. 1409[1] |
สวรรคต | ค.ศ. 1492 พะโค |
คู่อภิเษก | มิปาคาธอ |
พระราชบุตร | พญารามที่ 2 |
ศาสนา | พุทธศานานิกายเถรวาท |
พระเจ้าธรรมเจดีย์ (พม่า: ဓမ္မစေတီ, ออกเสียง: [dəma̰zèdì]; ราว ค.ศ. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1471 ถึง 1492 เป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพม่าและมอญ โดยกล่าวกันว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดากษัตริย์หงสาวดีทั้งหมด[2] เดิมพระองค์เป็นพระภิกษุมีสมณศักดิ์ว่า พระมหาปิฎกธร และเป็นผู้ต้านทานอำนาจของอาณาจักรอังวะ ในวัยเยาว์พระองค์เป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นพระโอรสบุญธรรมของพระนางเชงสอบู เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา พระองค์พร้อมลูกศิษย์ได้แอบไปช่วยพระนางเชงสอบูจากกรุงอังวะกลับมายัง กรุงหงสาวดี แต่เพราะความละอายในการกระทำดังกล่าวซึ่งอาจเข้าข่ายล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยลาสิกขา พระนางเชงสอบูจึงยกพระธิดาพระองค์หนึ่งให้อภิเษกสมรสพร้อมกับตั้งให้พระองค์เป็นรัชทายาท เนื่องจากราชวงศ์ในขณะนั้นไร้เชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย เมื่อพระนางเชงสอบูสละราชบัลลังก์ องค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น พระเจ้าธรรมเจดีย์
โดยในช่วงรัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าราชอาณาจักรหงสาวดีเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ถือเป็นยุคทองของอาณาจักรมอญ ภายใต้การปกครองที่ชาญฉลาดของพระองค์ ราชอาณาจักรของพระองค์เงียบสงบและได้รับประโยชน์อย่างมากจากการค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งแตกต่างจากอาณาจักรคู่ขัดแย้งอย่างอาณาจักรอังวะ รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาแห่งสันติสุข ทรงเป็นผู้ปกครองที่อ่อนโยนและมีชื่อเสียงในด้านภูมิปัญญาของพระองค์[2] ตามพงศาวดารเมื่อครั้งพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่[3] อาณาจักรของพระองค์กลายเป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของพุทธศานานิกายเถรวาทและมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีลังกา พระองค์ได้ส่งสมณทูตไปยังพุทธคยา พร้อมกับปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่ภายหลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ[4] พระองค์ยังรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับยูนนาน
นักประวัติศาสตร์ ดี.จี.อี. ฮอลล์ กล่าวไว้ว่า "พระองค์เป็นผู้ปกครองชาวพุทธที่ยอดเยี่ยม มีการชำระและปฏิรูปศาสนา ภายใต้การปกครองของพระองค์อาณาจักรมอญมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและโดดเด่น แตกต่างอย่างมากกับความวุ่นวายและความป่าเถื่อนของอาณาจักรอังวะ"[2]
พระเจ้าธรรมเจดีย์เสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1492 ขณะพระชนมายุถึง 83 พรรษา พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นนักบุญและมีการสร้างพระเจดีย์ขึ้นเหนือพระบรมอัฐิของพระองค์ พระโอรสองค์โตของพระองค์สืบสิริราชสมบัติต่อเป็น พญารามที่ 2
ช่วงเวลา
[แก้]พงศาวดารฉบับต่าง ๆ ที่บันทึกเหตุการณ์ในช่วงชีวิตของพระองค์
พงศาวดาร | พระราชสมภพ–สวรรคต | พรรษา | รัชกาล | ระยะเวลารัชกาล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
มหาราชวงศ์ และ มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (พงศาวดารพม่า) | ไม่ได้บันทึก | ไม่ได้บันทึก | 1470/71–1491/92 | 21 | [5] |
Slapat Rajawan (พงศาวดารมอญ) | ป. 1420–1491/92 | 71 | [6] | ||
Mon Yazawin (Shwe Naw) (พงศาวดารมอญ) | ป. 1417–1491/92 และ ป. พฤศจิกายน 1409 – 1491/92 |
74 และ ~82 |
1470/71–1491/92 | 27 | [7] |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- Athwa, Sayadaw (1785). Mon Yazawin (Slapat Rajawan) (ภาษาพม่า) (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press.
- Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.