พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ในปี 2465 | |||||
พระมหากษัตริย์กัมพูชา | |||||
ครองราชย์ | 27 กุมภาพันธ์ 2447 – 9 สิงหาคม 2470 | ||||
ราชาภิเษก | 28 เมษายน 2449 | ||||
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระนโรดม | ||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ | ||||
พระราชสมภพ | 7 กันยายน พ.ศ. 2383 กรุงอุดงมีชัย อาณาจักรเขมรอุดง (ปัจจุบันคือ จังหวัดกันดาล) | ||||
สวรรคต | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 (86 พรรษา) พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล พนมเปญ กัมพูชา | ||||
คู่อภิเษก | 20 พระองค์ | ||||
พระราชบุตร | 29 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม (ราชสกุลสีสุวัตถิ์) | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระวรราชินี (เภา) | ||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថ; พระบาทสีสุวัตถิ์, ในเอกสารไทยเรียกว่า "สมเด็จพระศรีสวัสดิ์") ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 110 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
พระองค์ปกครองพระราชอาณาจักรกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2470 ในช่วงการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์กัมพูชายุคอาณานิคม
พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี)
พระราชประวัติ
[แก้]เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2383 ที่กรุงอุดงมีชัย นครหลวงเก่าของกัมพูชา [1] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
- พระชนมายุ 18 ได้รับพระสุพรรณบัฎเป็น สมเด็จพระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า
- พระชนมายุ 24 อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร 1 พรรษา
- พระชนมายุ 36 (พ.ศ. 2413) ได้รับแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระมหาอุปราชบรมบพิตรกรุงกัมพูชา
- พระชนมายุ 65 (24 มีนาคม พ.ศ. 2447) ครองราชย์เป็นกษัตริย์กัมพูชาต่อจากพระนโรดม (พระเชษฐา) ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุราลัย พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี"
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ทรงขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 2447 สืบต่อจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ด้วยการสนับสนุนจากฝรั่งเศส
ช่วงที่พระองค์ครองราชย์ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องเอาเมืองพระตะบอง เสียมราฐ สตึงแตรง และเกาะกง คืนจากสยามไปรวมกับกัมพูชาเหมือนเดิม
- พระชนมายุ 67 (พ.ศ. 2449) ได้เสด็จประพาสประเทศฝรั่งเศส
พระราชกรณียกิจ
[แก้]การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝรั่งเศส
[แก้]เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้อุบัติในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งในขณะนั้นปกครองกัมพูชาในฐานะเจ้าอาณานิคม ได้เริ่มมีนโยบายเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารในแนวหน้า เพื่อทดแทนทหารฝรั่งเศสซึ่งเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันตก ในดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้เริ่มมีการเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารจากทั้งในตังเกี๋ย โคชินจีน อันนัม และกัมพูชา
ในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) มีโปสเตอร์ขนาดใหญ่ปรากฏในเมืองและหมู่บ้านต่างๆใสพระราชอาณาจักรกัมพูชาชี้แจงให้ประชาชนเข้าร่วมสงครามโลก จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) พระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในสงครามโลกกับฝรั่งเศส[2]
ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2459 เรียกเกณฑ์ผู้ชาย 7,000 คน (เท่ากับทหารจำนวนเจ็ดกองพัน) เพื่อจัดตั้งทหารกองหนุนและทหารประจำการจากอินโดจีนเพื่อที่จะส่งไปยังฝรั่งเศสและขออาสาสมัครเพิ่มเติมอีก 12,000 คน, แรงงานที่มีทักษะ 10,000 คน (พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรม, ล่าม ฯลฯ ) และแรงงานไร้ฝีมือ 20,000 คน
กัมพูชาถูกเรียกตัวให้จัดพลทหารอาสา 1,000 คนและคนงาน 2,500 คนไปช่วยฝรั่งเศสทำสงคราม ชาวเขมรหลายกองกำลังในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกนำไปใช้หลังแนวหน้าเช่นอินโดจีนหรือไม่ก็ไปทำงานเป็นแรงงานในโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ฝรั่งเศส
สวรรคต
[แก้]เสด็จสวรรคตที่ กรงุพนมเปญ เมี่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชย์ 24 ปี
กำหนดการพระราชพิธีพระบรมศพ
[แก้]พิธีกรรมวันแรก สรงน้ำพระบรมศพ แผ่นทองที่ครอบพระพักตร์นั้น เป็นแผ่นทองที่จารึกอายตนะ 6 (พระปรมาภิไธยและวันเวลาพระราชสมภพและวันเสด็จสวรรคต) มีซับพระพักตร์ตาดเงินขาวคลุมบนแผ่นทอง และมีทรงสะพักตาดเงินขาวคลุมบนพระองค์
ตอนสรงน้ำพระศพนั้น สรงบนพระแท่นสานด้วยหวาย มีถาดหรือรางสังกะสีรองอยู่ใต้พระแท่น เมื่อสรงเสร็จแล้วก็เชิญพระศพไปประดิษฐานบนพระแท่นที่สวรรคต
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2470 (หลังสวรรคต 1 เดือน) พระสีสุวัตถิ มุนีวงศ์ (ไทยเรียกพระศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์)กษัตริย์พระองค์ใหม่ ถวายพระนามให้กษัตริย์ที่สวรรคตว่า "พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ"
พิธีในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2471 (หลังสวรรคต 7 เดือน) อัญเชิญพระศพในพระบรมโกศทอง(สูง 2 เมตร 80 ซม.) เพื่อจะขึ้นรถแห่ไปยังพระเมรุ
งานพระราชพิธีพระบรมศพ
[แก้]-
กระบวนแห่พระบรมศพ
-
อัญเชิญพระบรมโกศขึ้นเกรินสู่พระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ
-
พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ทรงตักเตือนให้ประชาชนผู้มาเข้าเฝ้าถวายสักการะพระบรมศพอยู่ในความสงบ ก่อนที่จะทรงสอนขนบธรรมเนียมปฏิบัติในพระราชพิธี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ฝรั่งเศส | พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) | เครื่องอิสริยาภรณ์กรัวซ์ดูเมรีตแองโดชีนัวส์ ชั้นกางเขนทอง | |
สยาม | พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม | |
สยาม | พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก | |
ฝรั่งเศส | พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) | เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ | |
หลวงพระบาง | พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว | |
รัฐในอารักขาอันนัม | พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มังกรแห่งอันนัม | |
สเปน | พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 | |
สวีเดน | พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา |
เกร็ดความรู้
[แก้]- สนับพระชงฆ์ผ้าขาว ๑ สนับพระชงฆ์มีเชิงงอนทอง ๑ พระภูษาเยียรบับขาว ๑ สายรัดพระองค์ทองฝังเพชร ๑ (ที่ใช้ในพระราชพิธีเหมือนราชประเพณีในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓)
- ในบันทึกจดหมายเหตุ ที่เก็บรักษาไว้ในเก๋งพระอาลักษณ์ กล่าวว่า เครื่องที่ถวายพระบรมศพทรงทั้งหมดนั้นราคากว่า ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (ฝรั่งเศส) เป็นพระราชทรัพย์พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ และจะต้องเรียกเอาออกในเวลาที่เชิญพระบรมศพใส่ลงในพระโกศเงินกาไหล่ทอง เพื่อแห่ไปสู่พระเมรุมาศ และสิ่งของนี้จะต้องสร้างเป็นพระพุทธรูป ๑ องค์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ
- มีประเพณีเหมือนของไทยอีกอย่างหนึ่งคือแต่งเครื่องขาวไว้ทุกข์ แต่ไม่ได้โกนผม สมัยโบราณอาจโกนผมกันทั้งแผ่นดิน ทว่า พ.ศ. ๒๔๗๐ ในอาณัติฝรั่งเศส คงจะเลิกประเพณีนี้ไป เว้นเสียแต่พวกเจ้านายฝ่ายในที่อายุมาก และพวกฝ่ายใน เพราะมีบรรยายไว้ในราชกำหนดว่า
"มีนางร้องไห้ประจำยาม ๒๐ คน ล้วนแต่โกนผมนุ่งขาวไว้ทุกข์ ร้องยำยามตามบทที่กรมพระราชนิพนธ์ (คงจะพระนามทรงกรมของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่ง-จุลลดาฯ) ได้แต่งถวายสำหรับพระบรมศพ ในเวลาที่ร้องยำยามถวายนั้น มีกลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ฯลฯ"[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "HM King ANG DUONG". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
- ↑ "Fighting for colonial masters: Khmers in the First World War". The Phnom Penh Post. 19 มิถุนายน 2541. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จดหมายเหตุ หนังสือพระราชกำหนดการ พระราชพิธีพระบรมศพ พระกรุณาฯ ศรีสวัสดิ์ - เก๋งพระอาลักษณ์ พระบรมมหาราชวังเขมรินทร์
38
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระนโรดม | พระมหากษัตริย์กัมพูชา (ราชสกุลสีสุวัตถิ์) (24 เมษายน พ.ศ. 2447- 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470) |
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ |