พระกฎุมบงพิสี
พระกฎุมบงพิสี (เขมร: កំបង់ពិសី) [1] พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา ในช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ.1900
พระกฎุมบงพิสี พงศาวดารเขมรในประชุมพงศาวดาร[2] ภาคที่ ๑ ระบุว่าเป็นพระโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชา พระมหากษัตริย์เขมรพระองค์ก่อน แต่พงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เองระบุแตกต่างออกไปว่าเป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แห่งอาณาจักรอยุธยา
หลังจากกองทัพอยุธยาซึ่งนำโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) สามารถตีเมืองนครธมแตกแล้ว
ถ้าพระกฎุมบงพิสีเป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) จะสามารถอธิบายการปกครองในลักษณะนี้ได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงส่งพระโอรสของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ ไปปกครองเขมรแทนพระราชวงศ์เดิม ส่วนหนึ่งเพราะต้องการผนวกอำนาจการปกครองของเขมรให้มาอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยฐานะรัฐเครือญาติ
พระกฎุมบงพิสี พระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 1 เดือน (ในปี พ.ศ. 1900) แล้วพระศรีสุริโยวงษ์ (เจ้าพญากลเมฆ (นักโพรก) ตามพงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เอง) พระราชวงศ์เขมรเดิมจึงได้ครองราชย์สืบต่อมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Anafora. Faculty of Humanities and Social Sciences Osijek.
- ↑ บุตรดี, ประรินทร์; เฮงรัศ, สิริมาส (2019-06-26). "การคาดการณ์ผลกระทบของเรขาคณิตของเมืองต่อปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร". Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS). 16 (1): 107–124. doi:10.56261/jars.v16i1.167533. ISSN 2773-8868.