พระบรมนิพพานบท
พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 2 (พระบรมนิพพานบท) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์ แห่ง จักรวรรดิเขมร | |||||||||
ครองราชย์ | 1883-1888 | ||||||||
ก่อนหน้า | พระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 | ||||||||
ถัดไป | พระสิทธานราชา | ||||||||
ประสูติ | พ.ศ. 1834 ศรียโศธรปุระ | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ. 1888 | ||||||||
พระราชบุตร | |||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ศรีสุริโยพันธุ์ | ||||||||
พระราชบิดา | พระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 | ||||||||
พระราชมารดา | พระนางจันทรวรเทวี | ||||||||
ศาสนา | พุทธศาสนาเถรวาท |
พระบรมนิพพานบท (เขมร: និព្វានបាទ, 1834-1888) หรือ พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธ์ุที่ 2 กษัตริย์แห่งเขมร ครองสิริราชสมบัติจาก พ.ศ. 1883-1888 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ปี
ศึกสงครามกับเมืองเชียงทอง
[แก้]เจ้าเมืองเชียงทอง (ปัจจุบัน คือ หลวงพระบาง) ทรงแข็งเมืองไม่ส่งราชบรรณาการให้กรุงพระนครหลวงอีกด้วยทรงเห็นว่าเมืองพระนครหลวง (อินทปัตนคร) ไม่ได้มีความยิ่งใหญ่เหมือนแต่ก่อนและมีศึกสงครามภายในและภายนอก เมืองภายใต้การปกครองได้ทยอยประกาศแยกตัวเป็นอิสระ อาณาจักรพระนครเริ่มเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากปัญการแยกตัวของอาณาจักรละโว้ที่แข็งเมืองในสมัยพระบาทศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 (พระเจ้าตรอซ็อกผแอม) ต่อมาเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาอาณาจักรละโว้ได้ส่งราชฑูตมาเจริญไมตรีกับเมืองพระนครหลวงอีกครั้ง ด้วยพระองค์มิไว้วางพระทัยคณะฑูตจากเมืองละโว้จึงสั่งให้ประหารคณะทูตทำให้ขาดทางไมตรีกับละโว้[1]
ดังนั้น การแข็งเมืองของเจ้าเชียงทอง จึงมีผลกระทบที่สั่นคลอนพระราชอำนาจของพระองค์อย่างมาก พระบรมนิพพานบทจึงตัดสินพระทัยให้ พระเจ้าฟ้างุ้ม เชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงทองที่ให้การชุบเลี้ยงนำกองทัพจากพระนครหลวงยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าเมืองเชียงทอง เมื่อเจ้าฟ้างุ้มปราบปรามจลาจลในเมืองเชียงทองจนสงบลงแล้ว จึงโปรดให้ครองเมืองเชียงทองและโปรดให้อภิเษกกับพระนางแก้วกัญญา พระราชธิดาของพระองค์ และมอบพระบาง เป็นของขวัญในการอภิเษกสมรส[2]
พระราชประวัติ
[แก้]พระบรมนิพพานบท (เขมร: ព្រះបាទនិព្វានបាទ, อักษรโรมัน: Nippean Bat) ครองราชย์: ค.ศ. 1340 - ค.ศ. 1346 พระบรมนิพพานบท หรือ พระบรมนิพันทบท หรือ พระบรมนิภาร พระมหากษัตริย์แห่งกรุงพระนครหลวงพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 หรือ พระบาทองค์ชัย กับพระนางจันทรวรเทวี พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากสองราชสกุล ฝ่ายทางพระราชบิดา (จามปา) และฝ่ายทางพระราชมารดา (ขะแมร์) เมื่อพระอัยกาเจ้า (พระเจ้าชัยวรมันที่ 9) เสด็จสวรรคตพระราชบิดาของพระองค์ (พระบาทองค์ชัย) จึงได้ขึ้นสืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงพระนครหลวง และโปรดสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระอุปราชขณะมีพระชนมายุได้ 44 พรรษาเมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1883 พระองค์จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เมื่อพระชนมายุได้ 49 พรรษา เฉลิมพระนาม "พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ บรมราชาธิราช ธรรมิกราชบรมนาถบพิตร" เมื่อพระองค์ครองราชสมบัติได้เพียง 5 ปีทรงประชวรเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ 54 พรรษาภายหลังเสด็จสวรรคตได้รับการเฉลิมพระนาม "พระบรมนิพพานบท" อันแปลว่าผู้เสด็จไปแล้วโดยสุคติสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย มีการสร้างพระพุทธรูป และสร้างวัดวาอารามทั่วพระราชอาณาจักร พระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาไม่เหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ที่นับถือฮินดู ช่วงปลายรัชกาลเกิดศึกสงครามและเกิดการจลาจลไปทั่ว
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1888 จึงเป็นการสิ้นสุดตำนานภาคแรกของ เอกสารมหาบุรุษเขมร ตามพระราชพงศาวดารกัมพูชาที่ได้บันทึกพระราชวงศ์วรมัน ส่วนพระราชอนุชาของพระองค์จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น พระสิทธานราชา พระสิทธานราชาครองราชสมบัติได้เพียง 1 ปีจึงมอบราชสมบัติให้ พระบรมลำพงษ์ราชา พระราชโอรสในพระบรมนิพพานบท
สวรรคต
[แก้]พระบรมนิพพานบททรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงยโศธรปุระ ต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1340 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งเจ้าใส้เทวดาเข้ามาเป็นราชทูตเพื่อเจริญพระราชสัมพันธไมตรีกับกรุงพระนครหลวงแต่พระบรมนิพพานบทมิไว้วางพระทัยสั่งให้จับเจ้าใส้เทวดาสังหารเสีย โดยพระราชพงศาวดารฉบับนักองค์เอง[3] ระบุว่า
"ศักราช ๑๒๖๘ ปีจ่ออัฐศก สมเดจ์พระมหานิภารเสวยราชสมบัติพระนครศรีโสทรราชธานี ทรงพระราชสั้ทธาทำนุบำรุงพระสาศหนา คะณะนั้นสมเดจ์พระรามาธิบดีผู้เปนพระราชบุตร สมเดจ์พระมหาจักรพัทตราธิราช ได้เสวยราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุทธยา สมเดจ์พระรามาธิบดีมีพระราชโองการตรัสให้เจ้าไส้เจ้าเทวดาจำทูลพระราชสารเปนทางพระราชไม้ตรี มายังกรุงกำภูชาธิบดี สมเด็จพระมหานิภารหมิไว้พระไท ให้จับเจ้าไส้เจ้าเทวดาฆ่าเสีย”[4]
เหตุการณ์นี้ได้สร้างความบาดหมางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพระนครหลวงเป็นเหตุให้กรุงศรีอยุธยายกทัพเข้าโจมตีเมืองพระนครหลวงในเวลาต่อมา เมื่อพระบรมนิพพานบทครองราชสมบัติได้เพียง 4 ปีกรุงศรีอยุธยายกทัพมาล้อมเมืองพระนครหลวงได้ 1 ปีแต่ยังโจมตีเอาเมืองมิได้ ภายในเมืองเกิดการจราจลไปทั่วพระนครเนื่องจากขาดแคลนเสบียงอาหาร พระบรมนิพพานบททรงตรอมพระทัยประชวรเสด็จทิวงคตในปี ค.ศ. 1346 สิริพระชนมายุ 54 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 5 ปี พระสิทธานราชาพระอนุชาจึงขึ้นสืบราชสมบัติเพื่อรักษาพระนครกรุงศรีอยุทธยาจึงยกทัพกลับ และยกทัพกลับมาอีกครั้งในรัชสมัยพระบรมลำพงษ์ราชา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Société Asiatique (1871) Journal asiatique ou recueil de mémoires, d'extraits et de notices relatifs à l'histoire, à la philosophie, aux sciences, à la littérature et aux langues des peuples orientaux, Volume 99, Publisher: Dondey-Dupré, Original from National Library of the Netherlands
- ↑ Adhémard Leclère (1914) Histoire du Cambodge depuis le 1er siècle de notre ère, d'après les inscriptions lapidaires: les annales chinoises et annamites et les documents européens des six derniers siècles, Publisher: P. Geuthner, Original from the University of Michigan p.547
- ↑ ศานติ ภักดีคำ. "เอกสารกัมพูชากับการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา" (PDF).
- ↑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สงคราม "ขอมแปรพักตร์" - โอรสพระเจ้าอู่ทองได้ครองเมืองนครธม.อนุรัตน์ บุตรดี