ข้ามไปเนื้อหา

พระไชยเชษฐาที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระไชยเชษฐาที่ 3
พระมหากษัตริย์กัมพูชา รัชสมัยที่ 1
ราชาภิเษกพ.ศ. 2219-2238
ก่อนหน้าพระแก้วฟ้าที่ 2
ถัดไปพระรามาธิบดีที่ 2
พระมหากษัตริย์กัมพูชา รัชสมัยที่ 2
ครองราชย์พ.ศ. 2239-2243
ก่อนหน้าพระรามาธิบดีที่ 2
ถัดไปพระแก้วฟ้าที่ 3
พระมหากษัตริย์กัมพูชา รัชสมัยที่ 3
ครองราชย์พ.ศ. 2244-2245
ก่อนหน้าพระแก้วฟ้าที่ 3
ถัดไปพระศรีธรรมราชาที่ 3
พระมหากษัตริย์กัมพูชา รัชสมัยที่ 4
ครองราชย์พ.ศ. 2247-2252
ก่อนหน้าพระศรีธรรมราชาที่ 3
ถัดไปพระศรีธรรมราชาที่ 3
ประสูติพ.ศ. 2203
สวรรคตพ.ศ. 2265
พระมเหสีสมเด็จพระภัควดีศรีจักรพรรดิราช
พระราชบุตรนักองค์ตน
พระศรีธรรมราชาที่ 3
พระมหากษัตรีย์
พระนามเต็ม
สมเด็จพระราชโองการ พระไชยเชษฐา
พระนามเดิม
เจ้าพระยาโสร์(นักองค์สูร)
ราชวงศ์วรมัน
ราชสกุลตระซ็อกประแอม
พระราชบิดาพระบรมราชาที่ 8
พระราชมารดาสมเด็จพระวรราชินี (นักนางไทย)

พระไชยเชษฐาที่ 3[1] (เขมร: ព្រះឆាយាចិត្រា ៣) นามเดิม นักองค์สูร เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาหลายช่วงรัชสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2219-2252

พระราชประวัติ

[แก้]

นักองค์สูรหรือเจ้าพระยาโสร์ แรกประสูติทรงพระนามว่าพระไชยเชษฐา ทรงครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2219 เป็นพระอนุชาได้ขึ้นครองเมืองปรำตำลึง สนองพระแก้วฟ้าที่ 2 (นักองค์ชี) และทรงมีพระนามว่า พระไชยเชษฐารามาอิศวร สถิตย์ ณ เมืองปรำตำลึง ส่วนที่อุดงมีชัยนักองค์นนท์ขึ้นครอง สนองสมเด็จพระรามาธิบดีอุปโยราช[2]

พ.ศ. 2222 พระไชยเชษฐาได้เสด็จออกจากเมืองปรำตำลึงไปยังเมืองอุดงมีชัย ซึ่งมีนักองค์นนท์ครองอยู่ ขณะพระชันษาได้ 25 พรรษา ได้เสด็จหลบหนีไปเมืองญวน พระไชยเชษฐาก็เสด็จขึ้นครองราชย์ ณ เมืองอุดงมีชัย

พ.ศ. 2225 นักองค์นนท์ ได้ไปเกลี้ยกล่อมชาวจีนยกกองทัพมารบกับพระไชยเชษฐา ซึ่งตีล่วงเข้ามาถึงกรุงพนมเปญและอุดงมีชัย พระไชษเชษฐาจึงเสด็จออกจากเมืองอุดงมีชัย ไปประทับที่เมืองตระนุมจรึง (ขอนค้างคาว) พระองค์ได้ทรงเกณฑ์ทัพไปกับพวกจีน ซึ่งเป็นพรรคพวกของนักองค์นนท์ ได้ล่นถอยหนีไปตั้งค่ายที่เกาะแตง พระไชยเชษฐาจึงเสด็จกลับคืนมาประทับที่เมืองอุดงมีชัยต่อ

พ.ศ. 2230 พระไชยเชษฐา ขณะพระชันษาได้ 27 พรรษา พระองค์ประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ จึงมอบราชสมบัติถวายให้พระราชมารดาว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์ชั่วคราว

พ.ศ. 2231 เจ้าพระยานูร์คิดเป็นกบฏ หลบหนีไปเป็นพรรคพวกกับนักองค์นนท์ แล้วคิดจะรบกับพระไชยเชษฐา ขณะนั้นพระองค์ได้รับราชสมบัติคืนจากพระราชมารดา และทรงว่าราชการแผ่นดินเอง

พ.ศ. 2232 นักองค์นนท์ได้ไปขอกองทัพจากญวน มารบกับพระไชยเชษฐา แต่พระองค์ทรงมีชัยเหนือกว่ากองทัพญวน จนหนีพ่ายกลับคืนเมืองญวน

พ.ศ. 2233 พระองค์ได้จัดการราชาภิเษก และทรงมีพระนามว่าสมเด็จพระราชโองการ พระไชยเชษฐา ทรงสถาปนานักองค์อีเป็นพระอรรคมเหษี พระนามว่า สมเด็จพระภัควดีศรีจักรพรรดิ มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2233 นี้ ส่วนนักองค์นนท์ซึ่งเป็นกบฏนั้นได้สิ้นพระชนม์ลง ขณะพระชันษา 37 ปี[3]

พ.ศ. 2235 พระไชษเชษฐา ทรงมีพระราชโอรสอีกหนึ่งพระองค์ ทรงพระนามว่า นักองค์ตน

พ.ศ. 2238 ขณะพระชันษา 35 ปี พระองค์มอบราชสมบัติถวายแก่สมเด็จพระอุไทยซึ่งเป็นพระภาดา ประทับที่เมืองอุดงมีชัย ขณะพระชันษา 21 ปี ขึ้นครองราชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชโองการ พระรามาธิบดี ส่วนพระไชยเชษฐาทรงออกผนวชได้ 5 วัน แล้วลาสิกขา (แต่ยังไม่รับราชสมบัติคืน) พระรามาธิบดีครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2239 จึงเสด็จสวรรคต แล้วพระไชยเชษฐาทรงได้ครองราชสมบัติต่อ

พ.ศ. 2240 พระไชยเชษฐา เสด็จไปรับนักองค์อิ่ม (ซึ่งเป็นโอรสในนักองค์นนท์ และเป็นพระภาติยะ) มาจากเมืองญวน และทรงสถาปนาเป็นพระแก้วฟ้า ยกพระธิดาซึ่งทรงพระนามว่า พระมหากษัตรี ให้เป็นพระชายา มีโอรสหนึ่งพระองค์ประสูติขณะชันษา 23 ปี มีโอรสอีกหนึ่งพระองค์พระนามว่านักองค์ชี ถวายพระนามเป็น พระสัตถา

พ.ศ. 2243 พระองค์ได้มอบราชสมบัติให้แก่พระแก้วฟ้าที่ 3(นักองค์อิ่ม) ขึ้นครองราชสมบัติ ขณะที่พระองค์พระชันษา 40 พรรษา

พ.ศ. 2244 พระองค์เสด็จออกผนวช สถิตย์อยู่วัดโพธิ์มีบุญ ได้ 3 วัน ได้ทรงลาสิกขาบท และพระแก้วฟ้าได้ถวายราชสมบัติคืนแก่พระองค์

พ.ศ. 2245 พระองค์ได้มอบราชสมบัติให้แก่พระศรีธรรมราชาที่ 3 พระโอรสขึ้นครองราชย์

พ.ศ. 2247 พระศรีธรรมราชาที่ 3 พระโอรสได้ถวายราชสมบัติคืนพระไชยเชษฐา

พ.ศ. 2248 พระองค์ ขณะพระชันษา 46 พรรษา ได้เสด็จออกผนวชอีก 3 วัน แล้วทรงลาผนวช ในครั้งนั้นมีเชื้อพระวงศ์ล้านช้างได้นำไพร่พลมาเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระองค์เป็นอันมาก

พ.ศ. 2252 ขณะพระชันษา 50 พรรษา ได้ทรงมอบราชย์สมบัติให้แก่พระศรีธรรมราชาที่ 3 พระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติ และถวายพระนามเป็น สมเด็จพระราชโองการ พระศรีธรรมราชา สถิตย์ณอุดงฤๅไชย และสถาปนาพระอรรคเมษี เป็น สมเด็จพระภัควดีศรีชาติสัตรี

พ.ศ. 2265 พระองค์เสด็จสวรรคต ขณะพระชันษา 62 พรรษา ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัยกาอุปโยราช พระราชโองการ พระไชยเชษฐา[4]

อ้างอิง

[แก้]
  • ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดย พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์). นนทบุรี. สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2550
  • ศานติ ภักดีคำ. เขมรสมัยหลังพระนคร. กทม. มติชน. 2556.
  1. "The Legend of Ông Dóng from the Text to the Field", Essays into Vietnamese Pasts, Cornell University Press, pp. 13–41, 2018-12-31, สืบค้นเมื่อ 2023-02-06
  2. Đỗ, Đức Minh; Lương Thị, Bằng (2018-12-24). "CƠ CHẾ QUẢN TRỊ ĐẠI HỌC TỰ CHỦ VÀ YÊU CẤU HOÀN THIỆN PHÁP LUẬT TỰ CHỦ ĐẠI HỌC Ở VIỆT NAM". VNU Journal of Science: Legal Studies. 34 (4). doi:10.25073/2588-1167/vnuls.4183. ISSN 2588-1167.
  3. Bowie, Katherine A. (2011-05-12). "Cambodia. Lost goddesses: The denial of female power in Cambodian history. By Trudy Jacobsen. Copenhagen: NIAS (Nordic Institute of Asian Studies) Press, 2008. Pp. xxix, 327. Maps, Illustrations, Notes, Bibliography, Index". Journal of Southeast Asian Studies. 42 (2): 354–355. doi:10.1017/s0022463411000154. ISSN 0022-4634.
  4. Thị Thu, Cao; Nguyễn Ngọc, Trần (2022-12-28). "ĐẶC ĐIỂM LÂM SÀNG RỐI LOẠN TRẦM CẢM Ở NGƯỜI BỆNH PHÌ ĐẠI LÀNH TÍNH TUYẾN TIỀN LIỆT". Tạp chí Y học Việt Nam. 520 (1A). doi:10.51298/vmj.v520i1.3738. ISSN 1859-1868.