พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1
พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
มหิภฤตะ | |||||
พระมหากษัตริย์เจนละ | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ.1159 – 1178 | ||||
ราชาภิเษก | พ.ศ.1159 | ||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้ามเหนทรวรมัน | ||||
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าภววรมันที่ 2 | ||||
สวรรคต | พ.ศ.1178 อิศานปุระ,อาณาจักรเจนละ | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้าภววรมันที่ 2 | ||||
พระมหากษัตริย์เจนละ | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้ามเหนทรวรมัน | ||||
ศาสนา | ฮินดู |
พระเจ้าอีศานวรรมันที่ 1 หรือ อีสานวรรมันที่ 1 (เขมร : ព្រះបាទឥសានវរ្ម័នទី១ ,โรมัน : Ishanvarman I) หรือไทยมักเขียนว่า อิศานวรมันที่ 1 หรือ อิสานวรมันที่ 1 หรือ อีสานวรมันที่ 1 หรือพระนามอื่นว่า อีศานเสนา (เขมร: ឦឝានសេនា) หรือเอกสารจีนเรียก อีเชอน่าเซียนไต้ (จีน: 伊奢那先代; พินอิน: Yīshēnàxiāndài) หรือพระนามเต็มว่า พระกมรเตง อัญศรีอีศานวรมัน (วรฺะ กมฺรตางฺ อญฺ ศฺรีอีศานฺวรฺมนฺ) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามเหนทรวรมัน และพระองค์ก็ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา[1]
พระราชประวัติ
[แก้]พระเจ้าอีศานวรรมัมที่ 1 เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงสถาปนาอีศานปุระ (เขมร: ឦឝានបុរ อีศานบุร) เป็นเมืองหลวง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทสมบูรณ์ไพรคุก (เขมร: ប្រាសាទសំបូរព្រៃគុក บฺราสาทสํบูรไพฺรคุก)[2]
พระองค์เป็นที่กล่าวถึงในเอกสารประวัติศาสตร์หลายครั้ง เช่น เอกสารจีนชื่อ สุยชู (隋書) ซึ่งเขียนขึ้นใน พ.ศ.1179 เอ่ยถึงพระองค์ว่า เป็นผู้ครองเจนละเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนเอกสารของหม่า ตวันหลิน (馬端臨) แห่งราชวงศ์ยฺเหวียน (元朝) พรรณนาราชสำนักของพระองค์ที่อีศานปุระว่า พระองค์ทรงศิราภรณ์ทองคำประดับเพชร ทรงสังวาลย์มุก มีมหาเสนาห้าคนเฝ้าทูลละอองพระบาท[1]
นอกจากนี้ จารึกหลายหลักที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์กล่าวถึงพระราชอำนาจเหนือดินแดนหลายแห่ง ทั้งกล่าวว่า ศิวทัตตะ (Shivadatta) ผู้เป็นพระโอรส ซึ่งต่อมา คือ พระเจ้าภววรมันที่ 2 (ភវវរ្ម័នទី២ ภววรฺมันที ๒) ได้ครองดินแดนแห่งหนึ่งนามว่า "เชฺยษฐปุระ" (Jyesthapura)[3] จารึกหลักสุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ลงปีว่า พ.ศ.1170 และมีจารึกอีกหลักหนึ่งกล่าวว่า สร้างขึ้นใน พ.ศ.1182 ในรัชกาลของผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระองค์ คือ ภววรรมันที่ 2[4] แสดงว่า ใน พ.ศ.1182 นั้น พระองค์มิได้ครองราชย์แล้ว นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า พระองค์เสวยราชย์จนถึง พ.ศ.1178 หรือบ้างก็ว่า พ.ศ.1180 โดยสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ดังกล่าวนั้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ “Coedès‟ Histories of Cambodia”.page 11.
- ↑ Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847
- ↑ BEFEO 1904[ลิงก์เสีย].page 693.
- ↑ "Early Civilizations of Southeast Asia by Dougald J. W. O'Reilly - Chenla". Google Books. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bulletin de l'Ecole française d'Extrême-Orient 1904 - BEFEO 1904
- Vickery, Michael. (2000) "Colloque George Coedès aujourd‟hui". Bangkok, Centre d‟Anthropologie Sirindhorn, 9–10 September 1999.
Published as “Coedès‟ Histories of Cambodia”, in Silpakorn University International Journal (Bangkok,), Volume 1, Number 1, January–June 2000, pp. 61–108.
- Vickery, Michael. (1998). "Society, economics, and politics in pre-Angkor Cambodia: the 7th-8th centuries." :Centre for East Asian Cultural Studies for Unesco. ISBN 9784896561104
- Marr, David G./ Millner, A. C./ Gungwu, Wang (1986). "Southeast Asia in the Ninth to Fourteenth Centuries.". ISBN 9971988399
- Majumdar, Ramesh Chandra. (1980). "Kambuja-Deśa: or, An ancient Hindu colony in Cambodia." :Institute for the Study of Human Issues. ISBN 0915980282
ก่อนหน้า | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้ามเหนทรวรมัน | พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร) (ค.ศ. 616 - ค.ศ. 637) |
พระเจ้าภววรมันที่ 2 |