ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ
บทความเหล่านี้เป็นบทความที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับสถานีย่อยการ์ตูนไทย
วิธีการใช้
[แก้]การออกแบบรูปแบบสำหรับหน้าย่อยเหล่านี้อยู่ที่ ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/Layout
- เพิ่มบทความที่ได้เลือกใหม่สำหรับเป็นหน้าย่อยถัดไป
- สำหรับ "การนำเสนอเนื้อหา" สำหรับทุกบทความแนะนำ ควรจะนำเสนอเนื้อหาประมาณ 10 บรรทัด เพื่อให้เกิดการแสดงเนื้อหาที่เหมาะสมในหน้าหลักของสถานีย่อย
- อัปเดต "max=" เพื่อรวมใหม่สำหรับ {{Random portal component}} บนหน้าหลัก
รายการบทความแนะนำ
[แก้]ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/1
ก้านกล้วย (พ.ศ. 2549) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ สร้างโดย กันตนาแอนิเมชัน เป็นเรื่องราวที่ได้แรงบันดาลใจจากเกร็ดบางส่วนของพงศาวดาร ว่าลักษณะคชลักษณ์ของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ชื่อตามพงศาวดารนั้นคือ เจ้าพระยาปราบหงสาวดีหรือเดิมชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือ พลายภูเขาทอง โดยในเรื่องใช้ชื่อว่า ก้านกล้วย เป็นตัวเอก ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ได้ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด คนไทยที่ได้ไปศึกษาทางฟิล์มและวิดีโอที่เน้นด้านการทำแอนิเมชันที่สหรัฐอเมริกา และได้เคยร่วมงานสร้างตัวละครและทำภาพเคลื่อนไหวที่เคยร่วมงานกับบริษัทวอลท์ดิสนีย์ และ บลูสกายสตูดิโออย่าง ทาร์ซาน (Tarzan) , ไอซ์เอจ (Ice Age) และ แอตแลนติส (Atlantis: The Lost Empire) มาเป็นผู้กำกับ พร้อมกลุ่มนักแอนิเมชันทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 100 คน
ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นฉากที่เป็นภูมิทัศน์แบบไทย ต้นไม้ ไม้ดอก สภาพป่า และประเพณีไทย เช่น การคล้องช้าง การนำฉากหมู่บ้านทรงไทย แสดงพืชพรรณไม้ไทย เช่น ต้นราชพฤกษ์ (หรือคูน หรือลมแล้ง) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติ ในฤดูกาลต่างๆ รวมทั้งการออกดอกเหลืองอร่ามในหน้าแล้ง แสดงฉากประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/2
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2517 เป็นการร่วมมือระหว่างไชโยภาพยนตร์ โดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย และสึบุรายะโปรดักชั่น โดยภายหลังจากที่ภาพยนตร์ชุดดังกล่าวประสบความสำเร็จ ทางสมโพธิ แสงเดือนฉายได้นำภาพยนตร์ชุดดังกล่าวมาดัดแปลงใหม่ โดยเพิ่มตัวละครอีกสี่ราย คือ เจ้าพ่ออุลตร้าแมน, อุลตร้าแมนเลโอ, อุลตร้าแมนแอสตร้า และอุลตร้าแมนคิง รวมทั้งเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์ชุดดังกล่าวเป็น "หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์"
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นเรื่องราวของเด็กชายโก๊ะที่ถูกโจรที่ขโมยหัวพระยิงตาย จนเจ้าแม่อุลตร้าเห็นความดีของโก๊ะ จึงเรียกวิญญาณของหนุมานเพื่อให้เป็นร่างที่อาศัยอยู่ของหนุมาน ต่อมาในวันหนึ่ง การทดลองจรวดของดร.วิสุทธิ์ เกิดการผิดพลาดจนทำให้สัตว์ประหลาด 5 ตัวอาละวาดจนทำให้หนุมานสู้คนเดี๋ยวจนพ่ายแพ้จนเหล่าพี่น้องอุลตร้าทั้งหกต้องไปช่วยจนชนะเหล่าสัตว์ประหลาดได้
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/3
สุดสาคร เป็นภาพยนตร์การ์ตูนแนวแฟนตาซี ผจญภัย ที่กำกับโดย ปยุต เงากระจ่าง และนับเป็นภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศไทย ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2522 เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ตั้งแต่ตอนกำเนิดสุดสาครไปจนถึงการเดินทางตามหาพระอภัยมณี ภายหลังกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้นำภาพในภาพยนตร์เรื่องนี้ไปจัดพิมพ์เป็นหนังสือสำหรับให้เยาวชนอ่านในโรงเรียนด้วย
ณ เกาะแก้วพิสดาร นางเงือกได้ให้กำเนิดบุตรชายที่เกิดจากพระอภัยมณี ชื่อ สุดสาคร พระฤๅษีที่อยู่ในเกาะแก้วพิสดารได้เลี้ยงดูและสั่งสอนวิชาต่างๆ ให้สุดสาคร จนสุดสาครมีอายุได้ 3 ขวบ สุดสาครจึงออกเดินทางตามหาพระบิดา (พระอภัยมณี) ที่ออกจากเกาะแก้วพิสดารไป โดยมีสัตว์พาหนะคู่ใจ คือ ม้านิลมังกร ทั้งสองได้หลงไปในเกาะผีสิง จึงต้องต่อสู้กับพวกผีทั้งหมดในเกาะเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จนเกือบจะเสียท่า แต่ที่สุดแล้วก็รอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพระฤๅษีเกาะแก้วพิสดาร
หลังจากนั้นสุดสาครได้เดินทางต่อจนพบกับชีเปลือย และถูกชีเปลือยล่อลวงเอาม้านิลมังกรและไม้เท้าวิเศษจนถูกผลักตกหน้าผา เดชะบุญที่สุดสาครไม่ตายจึงกลับมาชิงไม้เท้าวิเศษคืนไปได้ที่เมืองการเวก เจ้าเมืองการเวกได้รับอุปการะสุดสาครไว้เป็นลูกบุญธรรม จนสุดสาครโตขึ้น จึงออกเดินทางตามหาพระบิดาต่อ โดยครั้งนี้เจ้าเมืองการเวกให้เสาวคนธ์และหัสชัยซึ่งเป็นพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ พร้อมทั้งกองเรือรบจำนวนหนึ่งออกเดินทางไปกับสุดสาครด้วย ระหว่างทางกองเรือของสุดสาครถูกฝูงผีเสื้อยักษ์โจมตีและจับตัวเอาเสาวคนธ์และหัสชัยไป สุดสาครติดตามไปสังหารผืเสื้อยักษ์และชิงตัวทั้งสองคนกลับคืนมาได้สำเร็จและเดินทางออกตามหาพระบิดาต่อไป
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/4
ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง เป็นหนังสือการ์ตูนจากประเทศไทย เป็นการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรม และวัฒนธรรมนานาชาติ มี 3 ชุด คือ "ลา ฟลอร่า" ภาคปกติ , "ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด"และ "บอร์ดเกมลาฟลอร่า" ในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับแรงดลบันดาลใจจากการ์ตูนความรู้ชุด ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า จากประเทศเกาหลี
ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง เป็นเรื่องราวของ "ทิวา" หญิงสาวชาวไทยผู้ห่างไกลความเป็นกุลสตรี ได้รับคำเชิญให้ไปเรียนที่สถาบันสตรี ลา ฟลอร่า ที่ตั้งอยู่ใบนเกาะลึกลับในทะเลเมดิเตอเรเนียน ทิวาได้จำใจรับคำเชิญและเดินทางไปเรียน เพราะทิวาต้องการไปสืบหาข่าวของแม่ที่ได้หายสาบสูญไป ที่โรงเรียน ทิวาได้พบเรื่องวุ่นวายและอุปสรรคมากมาย
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/5
โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กับ บริษัท โฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ผลิตแอนิเมชันโดย บริษัท อัญญาแอนิเมชัน จำกัด (Anya Animation) ออกฉายครั้งแรกที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549
โฟร์แองจี เป็นชื่อกลุ่มที่ประกอบด้วยเด็กหญิง 4 คน ได้แก่ ปุ้ย ไก่จัง นิน่า และ กาละแมร์ ตัวละครทั้ง 4 นี้ได้ถอดแบบมาจากพิธีกรรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” ซึ่งเป็นรายการที่ออกอากาศทางช่อง 3 โดยตัวละครแต่ละตัวจะใช้ชื่อเล่นของพิธีกรแต่ละคน อุปนิสัยของตัวละครก็เช่นกัน ล้วนแต่มีที่มาจากพิธีกรทั้ง 4 คนด้วย
- ปุ้ย ถอดแบบมาจาก พิมลวรรณ หุ่นทองคำ
- ไก่จัง ถอดแบบมาจาก มีสุข แจ้งมีสุข
- นิน่า ถอดแบบมาจาก กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์
- กาละแมร์ ถอดแบบมาจาก พัชรศรี เบญจมาศ
หลังจากที่ออกอากาศในประเทศไทยมาระยะหนึ่ง โฟร์แองจี ก็ได้ออกอากาศที่ต่างประเทศ โดยทาง "แชนแนลเจ" (Canal J) ซึ่งเป็นฟรีทีวีช่องรายการสำหรับเด็กอันดับหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ได้ติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายที่ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศในแถบยุโรปอย่าง ประเทศเบลเยียม และประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/6
การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นการ์ตูนและนิยายเรื่องยาวสัญชาติไทย แนวสืบสวนสยองขวัญ แต่งเนื้อเรื่องโดย อัยย์ โดยมีทีม Black Tohfu Studio วาดภาพประกอบในฉบับนิยาย และวาดภาพเนื้อเรื่องทั้งหมดในฉบับการ์ตูน จัดพิมพ์โดย พูนิก้า สำนักพิมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ออกมาเป็นฉบับนิยาย 8 เล่ม และฉบับการ์ตูน 14 เล่ม (ไม่รวมฉบับพิเศษ) รวมทั้งจัดเป็นการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดจำหน่ายหมดภายในเดือนเดียวที่วางแผง
จากความนิยมของนิยายชุดการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ส่งผลให้มีการจัดพิมพ์ซ้ำเรื่องดังกล่าวหลายครั้ง นอกจากมีการแปลลิขสิทธิ์ในฉบับภาษามาเลเซีย โดยชื่อว่า "FaIL aNEH GaRIN" ตลอดจนมีตัวแทนจากหลายประเทศเริ่มติดต่อกับทางผู้จัดทำเพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์ รวมไปจนถึงประเทศเกาหลีใต้ที่มีโครงการที่จะนำซีรีส์ดังกล่าวไปนำเสนอในประเทศของตนเป็นลำดับต่อไป
ในปี พ.ศ. 2553 ค่ายอี.คิว.พลัส และ พูนิก้า คอมิคส์ ได้ร่วมกันเขียนการ์ตูนเรื่อง "การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์" ซึ่งเป็นการ์ตูนความรู้เชิงสารคดีด้านประวัติศาสตร์สำหรับเด็ก โดยใน"การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์"นี้ ใช้ตัวละครจาก การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นตัวละครหลัก แต่อยู่ในรูปลักษณ์ที่เหมาะสำหรับเด็ก และมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเนื้อเรื่องหลักของ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์
และล่าสุด การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ กำลังจะเปิดตัวในรูปแบบของภาพยนตร์คนแสดงเป็นครั้งแรก ขณะนี้อยู่ในกระบวนการการถ่ายทำ โดยที่'การิน จินตเมธร'รับบทโดย วิศรุตต์ ปองธนพิสิฐ หรือ อาร์ต บท'ลัลทริมา วิกรานต์วรสริต'จะถูกแสดงโดย ขวัญกมล ปาทาน หรือ ซาร่า และในฉบับภาพยนตร์นี้มีการเขียนบทขึ้นใหม่ ผสมผสานเนื้อหาจากตอนต่างๆทั้งในรูปแบบนิยายและการ์ตูน โดยมีตัวละครใหม่ที่กลายมาเป็นคู่ปรับของการินคือ 'วิทูรณ์' ซึ่งจะปรากฏตัวเฉพาะในรูปแบบภาพยนตร์เท่านั้น รับบทโดย สรณ ขุนพลพิทักษ์ หรือ เทมส์
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/7
ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็ก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารมหาสนุกในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ต่อมาจึงได้พิมพ์รวมเล่มในชื่อ "ไอ้ตัวเล็ก" โดยทยอยออกเป็นรายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อหัวหนังสือเสียใหม่เป็น "ปังปอนด์" ตามชื่อตัวละครเอกของการ์ตูนชุดนี้ และยังคงตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
การ์ตูนชุดปังปอนด์ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในชื่อ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต" ออกฉายครั้งแรกเป็นตอน ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างท้วมท้น จากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในดาราการ์ตูนชั้นนำของไทย และได้มีการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทยล้วนแต่เป็นภาพแบบ 2 มิติทั้งสิ้น และยังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรก ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ Imax Theater หลังจากนั้นบริษัท วิธิตายังได้สร้างการ์ตูนแอนิเมชันชุด ปังปอนด์ ต่อเนื่องออกมาหลายชุดจนถึงปัจจุบัน โดยการ์ตูนแอนิเมชันชุดล่าสุดคือ "ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่"
ในเดือนสิงหาคม 2546 การ์ตูนปังปอนด์ เดอะซีรีส์ ในรูปแบบ 2 มิติ ออกมาสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชมอีกเช่นเคย พร้อมกับการเปิดตัวเพลงใส ๆ ที่มีเนื้อหาสรรสร้างสังคม
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/8
เชลล์ดอน เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย บริษัท เชลล์ฮัทเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการจัดฉายใน NBC ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เนื้อเรื่องกล่าวถึงเมืองเชลล์แลนด์ เป็นเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ ณ ใต้ท้องทะเลอันดามัน เป็นเมืองที่พวก หอย ปู ปลา ต่างมาอาศัยกันอยู่ในเมืองแห่งนี้ เชลล์ดอน หอยพระอาทิตย์ผู้สงบเสงี่ยม ได้ย้ายตามครอบครัวจากถิ่นเดิม มาอาศัยอยู่ในเมืองเชลล์แลนด์แห่งนี้ ซึ่งเชลล์ดอน ก็ได้พบกับ คอนนี่ หอยเบี้ยที่ฉาญฉลาดและรวยล้นฟ้าซึ่งได้แยกตัวจากครอบครัวของตนเองและมาอาศัยทำงานอยู่ที่โรงแรมชาร์มมิ่งแคลม เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพตัวเอง กับ เฮอร์แมน ปูเสฉวนที่มีนิสัย ติงต๊องและมีความคิดนอกกรอบและสร้างปัญหาที่สุด เชลล์ดอน มักจะต้องพบกับประสบการณ์มากมายกับเพื่อนฝูงและการผจญภัยกับเพื่อนมาเป็นอย่างมาก อย่างไม่มีสิ้นสุด
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/9
หนูหิ่น อินเตอร์ เป็นผลงานชุดการ์ตูนเรื่องสั้นของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" ตีพิมพ์ลงในหนังสือการ์ตูน มหาสนุกตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยออกเป็นนิตยสารรายสะดวกและรายเดือน ซึ่งการ์ตูนชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงโดยทั่วไป โดยเฉพาะชาวกรุงเทพและชาวอีสานที่ตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนูหิ่น เดอะ มูฟวี่ ใน พ.ศ. 2549 ซึ่งหนูหิ่น เป็นเด็กสาวชาวอีสานวัย 16 ย่าง 17 จากบ้านโนนหินแห่ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานคร ซึ่งบ้านของเจ้านายหนูหิ่น(คุณมิลค์)ตามอ้างอิงจากสมาคมหนังสือตลกแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ว่า บ้านของนางสาวเมธาวารี บดินทราธร อยู่ณ ซอยแห่งหนึ่ง (สงวนชื่อ) ที่อยู่ในเขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เนื่องจากความแร้นแค้นที่บ้านเกิด เธอได้ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านของคุณมิลค์ และคุณส้มโอ ซึ่งเป็นบ้านของตระกูลผู้ดีเก่า หนูหิ่นเป็นเด็กนิสัยตลกๆ และมักทำเรื่องเปิ่นๆ ฮาๆ ในบ้านอยู่เสมอ เป็นที่มาของเรื่องราวต่างๆ ในการ์ตูนชุดนี้
บทความแนะนำ 10-19
[แก้]ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/10
ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2517 เป็นผลงานการร่วมมือระหว่างไชโยภาพยนตร์ โดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย และสึบุรายะโปรดักชั่น โดยนำจัมโบ้เอ ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย จากการฉายทางโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2516 มาต่อสู้กับยักษ์เฝ้าประตูเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) ภาพยนตร๋ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง จนมีการนำตัวละครโทคุซัทสึแนวฮีโร่ร่างยักษ์ มาสร้างอีกหลายเรื่อง สำหรับเรื่องนี้ใช้ฟุตเตจจัมโบ้เอตอนอวสานมารวมอยู่ด้วย
พวกมนุษย์ดาวอังคารนำโดยนางจังกลได้บุกรุกโลกส่งเหล่าสัตว์ประหลาดออกอาละวาดทำลายล้างบ้านเมือง นางจังกลต้องการทำลายล้างโลกให้สิ้นซากและทราบว่าที่วัดอรุณราชวนารามมีเพชรสุริยะคราส วัตถุที่ล้ำค่าเมื่อเป็นพลังงานจะมีแสนยานุภาพทำลายล้างสูงจึงส่งมนุษย์กลางหาวไปขโมยมา จากนั้นเมื่อขโมยเพชรสุริยะคราสมาได้ จึงนำไปติดตั้งบนดวงจันทร์เพื่อใช้รวมพลังแสงอาทิตย์ยิงไปที่โลก ยอดมนุษย์จัมโบ้เอต้องเหาะไปที่ดวงจันทร์ ร่วมมือกับยักษ์วัดแจ้งที่ต้องการเพชรสุริยะคราสกลับคืนสู่วัดอรุณฯ การต่อสู้ระหว่างจัมโบ้เอกับยักษ์วัดแจ้งปะทะนางจังกลกับมนุษย์กลางหาวจึงเกิดขึ้น
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/11
หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของเรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2518 สร้างโดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย และไชโยภาพยนตร์ โดยการใช้ตัวละครไอ้มดแดง ไม่ได้รับอนุญาตจากโชทาโร่ อิชิโนะโมะริ และโตเอ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยสมโพธินำฟุตเตจภาพยนตร์ ในส่วนของไอ้มดแดง มาจากภาพยนตร์คาเมนไรเดอร์ X ตอน 5 คาเมนไรเดอร์ ปะทะ คิงดาร์ก มาตัดต่อใหม่
องค์กร ก็อด ที่ชั่วร้ายส่งเหล่าสมุนปีศาจออกอาละวาด จับผู้หญิงสาวสูบเลือดเพื่อเพิ่มพลังให้แก่ คิงดาร์ค ผู้เป็นประมุข เหล่าไรเดอร์ทั้ง 5 ได้แก่ คาเมนไรเดอร์ หมายเลข1, คาเมนไรเดอร์ หมายเลข 2, คาเมนไรเดอร์ V3, ไรเดอร์แมน และ คาเมนไรเดอร์เอ็กซ์ ได้เข้ามา ขัดขวางจนในที่สุด คิงดาร์คก็บังคับให้ ดร.วิสุทธิ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย สร้างปีศาจค้างคาวที่มีพลังเหนือกว่าเหล่า คาเมนไรเดอร์ ได้สำเร็จ พร้อมด้วย สมุนปีศาจทั้ง 4 และเมื่อ คิงดาร์ค ขยายร่างยักษ์ คาเมนไรเดอร์ทั้ง 5 จึงไม่สามารถ รับมือได้วิธีสุดท้ายก็คือการรวบรวมพลังระหว่าง คาเมนไรเดอร์ทั้ง 5 และเจ้า หนุมาน เท่านั้น แต่ไม่มีใครรู้ว่า เจ้า หนุมาน จะปรากฏกายเมื่อใด
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/12
ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ในเวลาต่อมา ทางบันลือกรุ๊ป ได้ใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับการจัดทำขายหัวเราะในรูปแบบอีแม็กกาซีน โดยเวอร์ชันทดลองแรกเริ่ม มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน นอกจากนี้ ขายหัวเราะยังจัดเป็นนิตยสารการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดขายได้กว่าล้านเล่มของแต่ละเดือน ตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
ขายหัวเราะ เป็นนิตยสารที่นำเสนอการ์ตูนตลกสามช่องจบ หรือ การ์ตูนแก๊กเกือบตลอดทั้งเล่ม ภายในลงพิมพ์เรื่องขำขันแทรกเป็นช่วงๆ และเรื่องสั้นสามเรื่องในแต่ละฉบับ ซึ่งไอเดียในการเขียนการ์ตูนแก๊ก ขำขัน และเรื่องสั้นเหล่านี้ ผู้อ่านสามารถเขียนเพื่อนำเสนอให้ทางนิตยสารตีพิมพ์ได้ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการก่อน นักเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนก็เคยมีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับนี้ เช่น อธิชัย บุญประสิทธิ์, ดำรง อารีกุล, น้ำอบ, นอติลุส, เพชรน้ำเอก เป็นต้น
ส่วนขนาดรูปเล่มของขายหัวเราะ ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือขายหัวเราะในปัจจุบัน ส่วนขายหัวเราะฉบับเดิมก็ยังคงพิมพ์ต่อไป จนกระทั่งมีการยกเลิกในเวลาต่อมา เหลือเพียงขายหัวเราะฉบับกระเป๋าเท่านั้น
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/13
มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ
รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์"
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/14
รามาวตาร เป็นผลงานการ์ตูนไทยของ อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน สาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่ ภายหลังได้มีการพิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสี่สี 30 เล่มจบ
รามาวตาร เป็นการ์ตูนเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบนิยายภาพ โดยยึดถือตามรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เกือบทั้งหมด แต่มีการแต่งเรื่องราวเพิ่มบางส่วนเพื่อให้เรื่องราวสนุกยิ่งขึ้น และมีการแทรกเทวตำนานประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวยิ่งขึ้น อนึ่งในฉากการสู้รบนั้น นอกจากศึกสำคัญในเรื่องแล้ว ส่วนมากมักจะกล่าวถึงอย่างค่อนข้างรวบรัด
เรื่องราวในรามาวตารจับความตั้งแต่กำเนิดนนทุก ไปจนถึงตอนอภิเษกพระรามกับนางสีดาครั้งที่ 2 ที่เขาไกรลาสในเล่มที่ 28 ส่วนอีก 2 เล่มที่เหลือ เป็นการ์ตูนที่เฟนเขียนเพิ่มเติม โดยในเล่ม 29 เป็นเรื่องราวการผจญภัยของหนุมานก่อนพบพระราม (ส่วนนี้เฟนแต่งเรื่องเพิ่ม) และเล่ม 30 เป็นเรื่องรามเกียรติ์ในฉบับรามายณะของอินเดีย ความยาว 3 ตอนจบ
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/15
สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ เป็นหนังสือการ์ตูนไทยที่รวมงานเขียนของ อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) ซึ่งเป็นชุดการ์ตูนเรื่องสั้นล้อเลียนภาพยนตร์และละครยอดนิยม ในลักษณะขำขันสนุกสนานและมีการหักมุมจบในตอนท้ายเรื่อง เดิมการ์ตูนชุด "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" เคยตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุกรายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ต่อมาทางสำนักพิมพ์เห็นว่าการ์ตูนเรื่องสั้นชุดนี้มีแฟนประจำติดตามมากระดับหนึ่ง จึงให้แยกการ์ตูนชุดสาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ออกมาเป็นหนังสือรวมเล่มขึ้นมาใหม่อีกเล่มหนึ่ง เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา โดยออกเป็นรายเดือนจนถึงทุกวันนี้
หนังสือชุด สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ ตีพิมพ์ผลงานการ์ตูนเรื่องสั้นล้อเลียนภาพยนตร์และละครยอดนิยมทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งนิทานและวรรณกรรมพื้นบ้านด้วย การเดินเรื่องแบบจบในตอน จำนวน 3 - 4 เรื่องต่อ 1 ฉบับ และรวมการ์ตูนแก๊กที่เคยตีพิมพ์ในขายหัวเราะ มหาสนุก และเขียนขึ้นใหม่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นผลงานที่ อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) เขียนเองแทรกอยู่ด้วย ในบางฉบับก็จะปรากฏผลงานการ์ตูนแก๊กของ ช่วง ชุ่มวงศ์ รวมอยู่ด้วยเช่นกัน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/16
นักสืบโจ หัวปลาหมึก เป็นการ์ตูนไทยแต่งโดย สุทธิชาติ ศราภัยวานิช ลิขสิทธิ์โดย ทูมอโรว์ คอมมิค โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากโลกเหลือพื้นน้ำเพียง 1 ใน 4 สัตว์น้ำต่างวิวัฒนาการขึ้นมาอยู่ร่วมกับมนุษย์ ยุคสมัยที่สับสน ยุ่งเหยิงและเฮฮา ตัวเอกของเรื่องคือ นักสืบหัวปลาหมึก"โจ" และตัวละครอื่นๆ ที่จินตนาการได้พิลึกพิลั่น ปัจจุบันออกรวมเล่มมาถึงเล่มที่ 3 และเล่มพิเศษอีก 3 เล่มที่นำตัวประกอบในเรื่องมาขยายเป็นการ์ตูนสั้นหลายๆ ตอน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/17
มีดที่ 13 เป็นการ์ตูนไทยที่สร้างสรรค์โดยทีมงาน Big Boss Band ปัจจุบันลงตีพิมพ์อยู่ในนิตยสาร BOOM สร้างสรรค์โดยนพ วิฑูรย์ทอง (Whitecrow) และบุญเชิด แช่มประเสริฐ (Ice Hornet)
ประกอบด้วย 5 ภาค (รวมภาคนิยาย) คือมีดที่ 13, The Legend, Nostalgia, Reborn (ภาคนิยาย) และมีดที่ 13 Extinction นอกจากนี้ ยังมี มีดที่ 13 Another Story ซึ่งเป็นตอนพิเศษอีกด้วย ซึ่งจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ตัวละครแต่ละคนในมีดที่ 13 มีตอนด้วยกัน 8 และตอนที่ 5 เป็นตอนพิเศษที่ คุณชาติ หรือ SS แห่งมอนสเตอร์คลับเป็นคนเขียน
มีดที่ 13 ถือเป็นการ์ตูนไทยที่เขียนต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ถึง 14 ปี และเป็นหนึ่งในการ์ตูนไทยที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมี 4 ภาค รวมถึง ยังได้รับการจัดพิมพ์เป็นฉบับนิยาย ซึ่งเนื้อหาจะมีความเข้มข้นและละเอียดกว่าในฉบับการ์ตูน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/18
การ์ตูนตุ๊กตา เป็นหนังสือการ์ตูนของไทย ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2497 วาดโดยพิมน กาฬสีห์ โดยชื่อ "ตุ๊กตา" มาจากชื่อเล่นของลูกสาวพิมน ซึ่งเขานำมาใช้เป็นนามปากกาในการวาดภาพ
ตัวละครในการ์ตูนตุ๊กตา ตัวหลักประกอบด้วยพี่น้องสี่คน ชื่อ หนูนิด หนูไก่ หนูหน่อย หนูแจ๋ว และคุณพ่อคุณแม่ โดยบุคลิกของหนูไก่ และหนูหน่อย ถอดมาจากบุคลิกของลูกสาวพิมน คุณพ่อคุณแม่ ถอดมาจากบุคลิกของพิมนและภรรยา ส่วนหนูนิด และหนูแจ๋ว เป็นตัวละครที่พิมนจินตนาการขึ้นมาเอง
ภาพหน้าปกหนังสือการ์ตูนตุ๊กตา ในบางฉบับจะมีภาพถ่ายดาราหรือนักร้องที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น ประกอบภาพวาดของสี่พี่น้อง เป็นเอกลักษณ์ และมีผู้สนับสนุนโฆษณารายหลัก ต่อเนื่องมานานหลายสิบปี คือ ร้านขายแว่นตา ชื่อ "ห้างแว่นตาภิรมย์เภสัช"
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/19
สตรีทบอลสะท้านฟ้า เป็นการ์ตูนไทย ผลงานของ "ต้น" จักรพันธ์ ห้วยเพชร ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์มหาสนุก จัดพิมพ์โดยบันลือบุ๊คส์ เป็นการ์ตูนแนวกีฬาที่ให้ความรู้เรื่องกีฬาบาสเกตบอล ปัจจุบันมีการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มแล้ว 6 เล่ม
เป็นเรื่องราวของ "ร็อกกี้" นักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดังของ NBA เดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว แต่เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกต้องมาติดเกาะ อาศัยอยู่กับครอบครัวของ "โตโต้" เด็กน้อยชาวเกาะ ร็อกกี้ได้สอนการเล่นบาสเกตบอลให้โตโต้ จนโตโต้หลงใหลในบาสเกตบอลมาก 2 ปีต่อมา ร็อกกี้ต้องเดินทางกลับประเทศ จึงได้มอบปลอกแขนของตนให้โตโต้เป็นของที่ระลึก โตโต้ได้ใส่ปลอกแขนนั้นติดตัวมาตลอด เมื่อโตโต้อายุ 13 ปี โตโต้ได้จากเกาะมาเรียนในเมืองพัทยา โตโต้มุ่งมั่นที่จะเล่นบาสเกตบอลอย่างเต็มที่ แต่รุ่นพี่โรงเรียนได้ยึดสนามบาสเกตบอลไว้เล่นฟุตบอลจึงหมดโอกาสเล่นบาสเกตบอล ต่อมา โตโต้ได้พบเพื่อนใหม่จากต่างโรงเรียนชื่อ "ไตเติ้ล" ซึ่งชอบบาสเกตบอลเช่นกัน ไตเติ้ลเห็นฝีมือของโตโต้จึงได้ชวนตั้งทีมเข้าแข่งสตรีทบอล ภายหลังก็ได้"ยักษ์" รุ่นพี่ร่างใหญ่ และ"มนซี่" พี่ชายที่เป็นกะเทยของไตเติ้ลมาร่วมทีมอีกด้วย โดยตั้งชื่อทีมว่า Super Dunker
บทความแนะนำ 20-29
[แก้]ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/20
ก้านกล้วย 2 เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติภาคต่อของไทย กำกับภาพยนตร์โดยทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์ และอำนวยการสร้างโดยบริษัทกันตนา แอนิเมชั่น ก้านกล้วย 2 เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นภาคต่อของก้านกล้วย เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ต้องปกป้องครอบครัวและบ้านเมือง ในสมัยสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี ภาพยนตร์ดังกล่าวทำรายได้ 79 ล้านบาท
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอาชนะสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวากรุงศรีอยุทธยาก็สงบสุขและได้รับเอกราชจากหงสาวดี แต่ผลจากสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้นสร้างความแค้นใจให้กับพระเจ้านันทบุเรงเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องสูญเสียลูกชายด้วยน้ำมือของพระนเรศวร จึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเสมอ พระนเรศวรทรงแต่งตั้งให้ก้านกล้วยรับตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาปราบหงสาวดี และร่วมออกศึกคู่พระองค์เรื่อยมา แต่เนื่องจากต้องออกศึกบ่อยครั้ง ก้านกล้วยที่แต่งงานกับชบาแก้วและกำลังจะมีลูกด้วยกันจึงไม่มีเวลาดูแลชบาแก้วเท่าที่ควร ทำให้ชบาแก้วทุกข์ใจและหนีก้านกล้วยไปอยู่ที่หมู่บ้านหินขาว(หมู่บ้านที่ชบาแก้วเคยอาศัยอยู่) พร้อมกับแสงดา แม่ของก้านกล้าวย และได้คลอดลูกออกมา เป็นช้างแฝดชื่อ ต้นอ้อและกอแก้ว
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/21
ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่ เป็นการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติของประเทศไทย ความยาว 26 ตอน ซึ่งสร้างจากตัวละคร "ปังปอนด์" ในผลงานการ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข ผลิตโดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นประจำทุกวันเสาร์ เวลา 15.45 น. - 16.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552 ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552
แนวคิดของแอนิเมชันชุดนี้คือการนำเสนอแนวคิดใหม่ของคำว่า “ฮีโร่” โดยมุ่งหมายที่จะให้คำนี้หมายถึงการใช้หัวใจ ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/22
ด๊อกกาดู๊ป เป็นแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท โฮมรันเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 ต่อจาก โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน และได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากในประเทศไทย ทำให้เรื่องด๊อกกาดู๊ปมีเรทติ้งสูงติดอันดับท๊อป 3 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
นอกจากนี้ บริษัท โฮมรันเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้นำด๊อกกาดู๊ปไปเปิดแสดงในงาน MIP TV 2009 ณ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความสนใจจากหลายประเทศในแถบ ยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และประเทศเกาหลีใต้ โดยได้เซ็นต์สัญญาแพร่ภาพไปยังบางประเทศ เช่น กลุ่มตะวันออกกลาง และประเทศโปแลนด์ เป็นต้น
ด๊อกกาดู๊ปเป็นเรื่องราวของบรรดาสุนัขตำรวจฝึกหัด เนื้อเรื่องเกิดที่เมืองดู๊ปทาวน์ซึ่งเมืองนี้มีแต่สุนัข โดยสถานีตำรวจด๊อกกาดู๊ปได้เปิดรับสมัครตำรวจ แต่มีมาสมัครแค่ 5 ตัวเท่านั้น ได้แก่ บราวนี่ ผัดไทย แจ๊คพอต กุ๊ดจี่ และ มู่ทู่ โดยแต่ละตัวก็ล้วนแต่มาสมัครด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน แต่ว่าทั้ง 5 นั้นไม่ได้มีลักษณะของสุนัขตำรวจเลย แต่เนื่องจากไม่มีผู้สมัครอื่นอีกแล้วทำให้สารวัตรของด๊อกกาดู๊ปต้องจำใจรับไว้ โดยมีเงื่อนไขว่าทั้ง 5 ต้องเป็นตำรวจฝึกหัดไปก่อน และต้องทำคะแนนให้ได้ถึง 100 คะแนน จึงจะได้เป็นตำรวจเต็มขั้น แต่ถ้าไม่ผ่านการทดสอบก็จะไม่ได้เป็นตำรวจ
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/23
ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่สร้างจากการ์ตูนชุด "ปังปอนด์" (หรือในชื่อเดิม "ไอ้ตัวเล็ก") ซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผลิตโดยบริษัท วิธิตา จำกัด ซึ่งบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) กำกับภาพยนตร์โดย ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ เดิมสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสำหรับออกออกาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2545 ต่อมาจึงได้ตัดต่อใหม่เพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ โดยออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/24
มุนินฺ เป็นหนังสือการ์ตูนไทยแนวจิตวิทยา ซึ่งเป็นผลงานของ มุนินทร์ สายประสาท จัดพิมพ์โดยจ้ำอ้าวสำนักพิมพ์ และจัดจำหน่ายโดย บริษัท บิสซี่เดย์ จำกัด ซึ่งการ์ตูนมุนินฺได้รับความนิยมสำหรับคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก และเป็นการ์ตูนไทยที่ได้รับการตอบรับในเกณฑ์ที่ดี ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 ชุด โดยการ์ตูนมุนินฺในเล่มหนึ่งจะเป็นการ์ตูนชุดตอนต่างๆ ประมาณ 10 ตอนเป็นต้นไป ทั้งนี้ ชื่อ มุนินฺ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของ มุนินทร์ สายประสาท ซึ่งเป็นผู้แต่งเรื่องดังกล่าว โดยใส่พินทุ ใต้อักษร น เป็นภาษาบาลี
จุดประกายหนังสือเล่มนี้เริ่มจากการที่ มุนินทร์ สายประสาท ได้เริ่มวาดรูปส่งเข้าประกวดงานต่างๆ จนเธอก็ได้รางวัลมาตลอดได้ใบประกาศนียบัตรการันตีมาแล้วหลายงาน โดยตอนชั้นอนุบาลเธอจะชอบวาดรูปตามหนังสือการ์ตูนชื่อดัง และตอนมัธยมเธอนั้นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น เลยวาดตามและนำเรื่องเพื่อนๆมาแต่งเป็นการ์ตูน จนหลายคนชื่นชมจึงนำการวาดภาพมาเป็นงานอดิเรก จนมาเรียนในมหาวิทยาลัยเธอก็ได้วาดการตูนเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ เช่น ยูทูบ จนจ้ำอ้าวสำนักพิมพ์ ได้มาชักชวนเธอให้มาออกหนังสือ จนเธอสนใจจนได้ออกเล่นมาเป็นการ์ตูน มุนินฺ ในปัจจุบัน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/25
อภัยมณี ซาก้า เป็นการ์ตูนไทย แนวผจญภัยผสมแฟนตาซี โครงเรื่องหลักเอามาจากวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ แต่ได้ถูกแต่งเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้วาดเข้าไป เช่น ตัวมอนสเตอร์,ปีศาจ ได้ตีพิมพ์เป็นตอนลงในนิตยสารบูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์เนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท์ นอกจากนี้การ์ตูน"อภัยมณีซาก้า"ยังเป็นการ์ตูนไทยเรื่องแรกที่ได้จำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย
เนื้อเรื่องกล่าวถึงนครรัตนา ซึ่งมีเจ้าชายรัชทายาทสององค์ คือ เจ้าชายอภัยมณี รัชทายาทอันดับหนึ่ง อายุ 17 ปี และเจ้าชายศรีสุวรรณ รัชทายาทอันดับสองผู้เป็นน้องชาย อายุ 16 ปี เจ้าชายอภัยมณีรักอิสระ มีความฝันอยากจะท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ส่วนเจ้าชายศรีสุวรรณ เป็นผู้คลั่งไคล้ในวิชากระบอง
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/26
สามก๊ก มหาสนุก เป็นงานเขียนการ์ตูนเรื่องยาวจากวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก (แต่งโดย หลอกว้านจง) โดย สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2550 ได้พิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสีรวมทั้งหมด 45 เล่ม และบริษัทวิธิตาได้นำเรื่องสามก๊กมาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นมาแล้ว 2 ภาค ออกฉายทางช่อง 7 ล่าสุดได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว ซึ่งจัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอ็มจี โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซัมซุง บุ๊ค พับลิเชอร์
สามก๊ก มหาสนุกที่เป็นหนังสือการ์ตูนนั้น ใช้ชื่อว่า "การ์ตูนมหาสนุก ฉบับ สามก๊ก" ส่วนสามก๊ก มหาสนุกที่เป็นการ์ตูนแอนิเมชันนั้นใช้ชื่อว่า "สามก๊ก มหาสนุก"
การ์ตูนสามก๊กฉบับนี้ดำเนินเรื่องค่อนข้างรวดเร็ว แต่คงเนื้อหาและใจความหลักของเรื่องเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่ ภายในเรื่องจะมีการสอดแทรกมุขเสียดสีสถานการณ์บ้านเมืองขณะที่เขียนไว้อย่างแสบๆ คันๆ อยู่เสมอ ตอนใดที่ในสามก๊กฉบับภาษาจีนมีบทกวีที่ไพเราะ ก็จะมีการแปลแทรกและเขียนประกอบไว้ในเรื่องด้วย เช่น ตอนหองจูเปียนรำพันก่อนถูกลิยู ลูกน้องของตั๋งโต๊ะปลงพระชนม์ ตอนโจสิดต้องร่ายกลอนให้สำเร็จภายในชั่ว 7 ก้าวเดินเพื่อเอาชีวิตรอด เป็นต้น
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/27
โปรเจกต์อุลตร้าแมน เป็นภาพยนตร์ละครโทรทัศน์อุลตร้าซีรีส์ ที่ผลิตโดยบริษัทในประเทศไทย ร่วมทุนกับบริษัทในประเทศจีน
โปรเจกต์ อุลตร้าแมน เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด 50% กับบริษัท ริวชิ คัลเจอร์ ดีเวลลอปปิ้ง จำกัด 40% และบริษัท เอเพ็กซ์ทอย จำกัด 10% และมีบริษัท อาร์เอสไอ ดรีม เป็นผู้ร่วมร่วมเซ็นสัญญาซื้อลิขสิทธิ์ มีกำหนดการฉายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในตอนแรก แต่เนื่องจากกรณีพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน ระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นจึงถูกระงับการออกอากาศตามคำสั่งศาล
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/28
เอ็กซีคิวชั่นแนล มหาสงครามออนไลน์ถล่มจักรวาล เป็นการ์ตูนไทยรูปแบบคอมิกส์ ผลงานของ ภานุวัฒน์ วัฒนนุกูล ผู้เขียน ตำนานป่วนก๊วนนางฟ้า ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซีคิดส์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ลงต่อเนื่องฉบับเว้นฉบับ และได้มีการสร้างเป็นเกมบนมือถือด้วย
ปัจจุบันฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 15 เล่ม และเนื้อเรื่องยังคงดำเนินต่อไป โดยเนื้อเรื่องได้กล่าวถึงเกม Neo Universe ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ที่ผู้คนในเรื่องนิยมเล่นเป็นอย่างมาก เป็นเกมที่มีผู้เล่นสูงถึง 1 ล้าน 5 แสนคนหลังจากเกมเปิดตัวแค่ 1 เดือนเท่านั้น กานดา พระเอกของเรื่องก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมเล่นเกมเกมนี้ด้วยเช่นกัน เขามีพี่ชายเป็น GM (ผู้ดูแลเกม) และพี่ชายของเขาก็ได้ชักชวนให้กานดาเข้ามาเป็นสมาชิกของกลุ่ม GM แต่ทว่า เหตุการณ์ได้กลับตาลปัตรทำให้เขาต้องมาเป็นหนึ่งในสมาชิก "กองกำลังต่อต้าน GM" แทน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/29
สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นสำนักพิมพ์ที่มีบทบาทมากในประวัติศาสตร์การ์ตูนไทย จากการจัดพิมพ์นิยายชุดและหนังสือการ์ตูนยอดนิยมหลายชุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ หนูหิ่นอินเตอร์ เป็นต้น และเป็นผู้บุกเบิกการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เป็นรายแรกของประเทศไทย
สำนักพิมพ์บรรลือสาสน์ก่อตั้งโดยบันลือ อุตสาหจิต เมื่อปี พ.ศ. 2498 ที่ถนนนครสวรรค์ ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ จังหวัดพระนคร ในระยะแรกสำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายนวนิยายของทมยันตี,แก้วเก้า หนังสือเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง และหนังสือการ์ตูนชุดต่างๆ เช่น สิงห์เชิ้ตดำ, หนูป้อม - ลุงเป๋อ, หนูจ๋า, เบบี้, หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน และอื่นๆ โดยทางสำนักพิมพ์ได้ทาบทามให้ เสถียร หาญคุณตุละ เจ้าของนามปากกา "จิงโจ้" มาเป็นนักเขียนภาพประกอบและนักเขียนการ์ตูนรายแรกของสำนักพิมพ์ หลังจากนั้นจึงมีนักเขีบนคนอื่นๆ ได้แก่ เศก ดุสิต, จำนูญ เล็กสมทิศ (จุ๋มจิ๋ม), วัฒนา เพชรสุวรรณ (วัฒนา, อาวัฒน์, ตาโต) เข้ามาร่วมงานด้วยกัน ส่วนด้านการตลาดนั้น บันลือ อุตสาหจิตได้ลงทุนเป็นผู้บุกเบิกการตลาดด้วยตัวเอง เดินทางสำรวจและเยี่ยมเยียนลูกค้าตามจังหวัดต่างๆ ทำให้สำนักพิมพ์จึงประสบความสำเร็จ ทั้งด้านคุณภาพการจัดทำและการจัดจำหน่ายในระยะเวลาไม่นานนัก
ในปี พ.ศ. 2516 วิธิต อุตสาหจิต บุตรชายคนโตของบันลือ (ขณะนั้นอายุได้ 18 ปี) ในฐานะบรรณาธิการ ได้ให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ "ขายหัวเราะ" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนตลกรูปแบบการ์ตูนแก๊กแบบ 3 ช่องจบ โดยรวบรวมผลงานจากนักเขียนการ์ตูนหลายคนไว้ในเล่มเดียว นิตยสารดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ในปี พ.ศ. 2518 วิธิตจึงได้ออกนิตยสารการ์ตูนอีกเล่มหนึ่งชื่อ "มหาสนุก" ซึ่งมีรูปแบบเนื้อหาที่คล้ายกันกับขายหัวเราะ แต่ได้มีการเพิ่มการ์ตูนเรื่องสั้นไว้ในนิตยสารฉบับนี้ด้วย นิตยสารทั้งสองเล่มได้กลายเป็นแหล่งสร้างสรรค์นักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่ เช่น นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ (นิค), ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย), ผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ) ฯลฯ และการ์ตูนยอดนิยมชุดต่างๆ เช่น ปังปอนด์, สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่, หนูหิ่นอินเตอร์ และยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บทความแนะนำ 30-39
[แก้]ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/30
แดร๊กคูล่าต๊อก เป็นภาพยนตร์ตลกที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2522 กำกับ เขียนบท และนำแสดงโดยล้อต๊อก เป็นภาพยนตร์ที่ล้อต๊อกรับบทนำ และสร้างชื่อเสียง และสร้างภาพเป็นที่จดจำเรื่องหนึ่งให้กับตัวเขา ภาพยนตร์เรื่องนี้ กลายเป็นที่มาของแอนิเมชันและหนังสือการ์ตูน "แดร็กคูล่า ต๊อก โชว์" ผลงานของบริษัท บี.บอย คาแรคเตอร์ จำกัด ของ บอย โกสิยพงษ์ สร้างจากบุคลิกของนักแสดงตลกไทยอาวุโส คือ ล้อต๊อก, ท้วม ทรนง, เทิ่ง สติเฟื่อง และ สีเทา
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/31
ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน เป็นการ์ตูนไทยผลงานของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" เริ่มจากเขียนครั้งแรกลงในนิตยสารหนูจ๋า ปีที่ 19 ฉบับที่ 10 เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 จากนั้นได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือมหาสนุกประจำวันพุธที่ 4 - 10 มกราคม พ.ศ. 2543 ต่อมาย้ายตีพิมพ์ลงในหนังสือ "หนูหิ่น อินเตอร์" ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545
การ์ตูนชุดซนแสบใสได้เป็นฉบับรวมเล่มครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (ออกรายสะดวก) หลังจากนั้น ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน ฉบับรวมเล่ม 4 สี ได้รับการเปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/32
ตำนานป่วน ก๊วนนางฟ้า เป็นการ์ตูนไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ ภานุวัฒน์ วัฒนนุกูล ผู้วาด เอ็กซีคิวชั่นแนล วาดเอาไว้ เคยถูกตีพิมพ์ในนิตยสารรายปักษ์ CX แต่ปัจจุบันนิตยสารถูกปิดตัว และการ์ตูนเรื่องนี้ก็ถูกทิ้งไว้ให้ยังไม่จบ
โดยเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ "นาวิก" หนุ่มน้อยที่ถูกพี่สาวทั้งสามรุมทารุณกรรมในวัยเด็ก ทำให้เขาเป็นโรคเกลียดกลัวผู้หญิงจนขึ้นสมอง ชีวิตเขาทำท่าจะสงบสุขเมื่อพี่สาวทั้งสามออกเดินทางไปต่างประเทศ แต่ชะตาฟ้ากลั่นแกล้งให้วันหนึ่งมีเอเย่นต์นำจดหมายของพี่สาวมาส่งให้ที่บ้านพร้อมผงเกษียรสมุทรสำเร็จรูปที่เมื่อใส่ลงในน้ำแล้วกวนก็จะมีนางอัปสรปรากฏกายออกมาทำให้สิ่งที่ต้องการสมหวัง นาวิกเผลอหยิบซองผงใส่ลงไปในเครื่องซักผ้าโดยไม่ตั้งใจ และแล้วนางอัปสรสาวสวยชื่อว่า น้ำ ก็ปรากฏตัวออกมาทำให้ความรักสมหวัง ชีวิตอันสงบสุขของนาวิกจึงจบลง
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/33
ก้านกล้วย (ตัวละคร) เป็นตัวละครสำคัญในก้านกล้วยภาคแรกและภาคสอง และเป็นตัวละครจากอนิเมชั่นของไทยที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยมาจากเกร็ดบางส่วนของพงศาวดาร ว่าลักษณะคชลักษณ์ของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ชื่อตามพงศาวดารนั้นคือเจ้าพระยาปราบหงสาวดี หรือเดิมชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือพลายภูเขาทอง
ตัวละครของก้านกล้วยและจิ๊ดริ๊ด ได้รับการปั้นเป็นหุ่นขี้ผึ้งจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพ นับเป็นตัวการ์ตูนที่สร้างโดยคนไทยตัวแรกที่ได้สร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้งโดยชาวต่างประเทศ และเป็นหุ่นขี้ผึ้งตัวเดียวในพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้สร้างจากคนจริง
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/34
อุลตร้าแมนมิลเลเนี่ยม เป็นตัวละครจากซีรีส์อุลตร้าแมน ซื่งมีทักษะการใช้แม่ไม้มวยไทยในการต่อสู้กับเหล่าสัตว์ประหลาดจากต่างดาว ปรากฏตัวครั้งแรกในละครเวที "อุลตร้าแมนไลฟ์โชว์" เมษายน พ.ศ. 2547
มีความเป็นมา คือ อุลตร้าแมนมิลเลเนี่ยม เป็นฉายาที่ชาวโลกเรียกอุลตร้าแมนคนใหม่ เขาเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ชุดเตรียมบรรจุเข้าสู่กองกำลังป้องกันอวกาศดาวอุลตร้า ประจำการอยู่ที่ดวงจันทร์ในขอบแกแล๊คซี่เอ็ม 78 ซึ่งเคยเป็นด่านหน้าในการรับมือกองทัพสัตว์ประหลาดที่บุกถล่มดาวอุลตร้าเมื่อ 40,000 ปีก่อน ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนใช้คุมขังสัตว์ประหลาดและมนุษย์ต่างดาวที่ชั่วร้าย ในระหว่างนั้น อุลตร้าแมน มิลเลนเนียม มีโอกาสเดินทางผ่านสุริยะจักรวาล เมื่อคราวติดตามจับกุมมนุษย์ดาวนัคเคิ่ลที่หลบหนีที่คุมขังมาทางโลก ทำให้รู้จักกับร้อยเอกโชว ผู้ช่วยเหลือเขาในการจับกุมมนุษย์ดาวนัคเคิ่ลจนเสียชีวิตที่ฐานปฎิบัติการในวงโคจรของดาวพฤหัส อุลตร้าแมนมิลเลนเนียมมอบชีวิต (วิญญาณ) ส่วนหนึ่งให้กับโชวแต่เพียงเพื่อให้เขามีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น เพราะอุลตร้าแมน มิลเลนเนียมยังไม่ได้รับการคัดเลือกจากดาวอุลตร้าให้ทำหน้าที่บนโลก
ที่ดวงจันทร์ในขอบแกแล๊คซี่ เอ็ม 78 อุลตร้าแมน มิลเลนเนียม คิดค้นท่าไม้ตายประจำตัวได้ จึงตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์ว่า "แสงลูน่าบลาสท์" เป็นท่าไม้ตายที่มีอนุภาพไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสโตเรี่ยมของอุลตร้าแมนทาโร่ นอกจากนี้ เขายังได้รับการฝึกฝนจากอุลตร้าเซเว่นในการใช้แสงวายช๊อต (แสงอนุภาพสูงของเซเว่น) จนนำมาคิดค้นพัฒนาเป็นอาวุธใหม่ " เอ็กซตรีมวายด์ช๊อต"
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/35
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน เป็นผลงานการ์ตูน ของ ชัย ราชวัตร ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยเนื้อหาเป็นแนวการเมืองและล้อเลียนข่าวประจำวัน ตีพิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 มีตัวละครที่สำคัญคือ ผู้ใหญ่มา (ผู้ใหญ่บ้านรูปร่างท้วม มีผ้าขาวม้าคาดพุง) และไอ้จ่อย (ลูกบ้านตัวผอม นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ใส่แว่นตาดำ ถือถุงกระดาษ)
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 กำกับโดย สมชาติ รอบกิจ บทภาพยนตร์โดย หยอย บางขุนพรหม (ศรีศักดิ์ นพรัตน์) โดยมี ล้อต๊อก รับบท ผู้ใหญ่มา และ นพดล ดวงพร ในบทบาท ไอ้จ่อย
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/36
กองอาทมาตประกาศศึก เป็นการ์ตูนไทยแนวแอคชัน เขียนโดย "พงษ์พัฒน์ เพชรรัตน์" ลิขสิทธิ์เป็นของ "บริษัท อาทมาต ครีเอชั่น" จัดจำหน่ายในปี พ.ศ. 2550 โดยเนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ. 2302 ซึ่งเป็นสมัยของ "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์" (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) จากวีรกรรมที่กล้าหาญของกองกำลังอาสาที่วิเศษชัยชาญทั้ง 400 คน ที่ชื่อว่า "กองอาทมาต"
ในปี พ.ศ. 2552 "กองอาทมาตประกาศศึก" ได้ถูกส่งเข้าประกวดในงาน "การ์ตูนนานาชาติ" (International Manga Award) ครั้งที่ 3 จากประเทศญี่ปุ่น และทำให้ "พงษ์พัฒน์ เพชรรัตน์" ผู้เขียน ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดการ์ตูนในครั้งนี้ ส่วนผู้ชนะเลิศเป็นของ "จักรพันธ์ ห้วยเพชร" จากเรื่อง "สตรีทบอลสะท้านฟ้า" นักวาดการ์ตูนชาวไทยเช่นเดียวกัน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/37
เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ (อังกฤษ: Bird : Flying With Byrd) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เชลล์ฮัทเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ซึ่งได้ประสบความสำเร็จจากการ์ตูนเชลล์ดอน ที่ได้ทำการออกอากาศไปทั้งกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เบิร์ดแลนด์..แดนมหัศจรรย์ จะทำการออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ในคณะที่เด็กๆจากทวีปต่างๆ นั้น กำลังเรียนดนตรีอยู่ในห้องดนตรีที่น่าเบื่อ พวกเขาได้มองเห็นเบิร์ดแลนด์ และพี่เบิร์ดผู้ที่เป็นเสมือนไอดอล ของพวกเขาผ่านทาง Blooberry พวกเขาจึงเกิดจินตนาการและนำพวกเขาไปสู่เบิร์ดแลนด์ และการผจญภัยของพวกเขากับพี่เบิร์ดก็ได้เริ่มขึ้น แต่ละตอนพี่เบิร์ดและพวกเขาจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อจะเก็บรวบรวมตัวโน้ตดนตรีที่หายไปมาให้ครบ เพื่อทำให้โลกเกิดสันติภาพขึ้น ซึ่งการผจญภัยของพวกเขานั้นต้องผ่านอุปสรรคต่างๆนานา โดยเฉพาะเจ้าพวกวายร้ายตัวฉกาจที่จะแย่งชิงเอาตัวโน้ตมาให้ได้ เพราะเขาเกลียดในเสียงดนตรีหรือโน้ตดนตรีที่ถูกต้อง
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/38
อหังการ์ราชันย์ยักษ์ เป็นการ์ตูนไทยในรูปแบบมังงะหรือคอมมิค ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานคือนักวาดการ์ตูนชาวไทยสองคนได้แก่ มนตรี คุ้มเรือน เป็นผู้วาดภาพ และ อรุณทิวา วชิรพรพงศา เป็นผู้แต่งเรื่อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแบบพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดไม่เกิน 200 หน้าและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยทีมงาน Cartoon Thai Studio ในเครือของ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ปัจจุบันออกวางจำหน่ายแล้วจำนวน 5 เล่ม (ยังไม่จบ) และมีเล่มพิเศษอีก 1 เล่มในชื่อ Episode Zero:Shadow of The Knight
การ์ตูนไทยเรื่องโอเกอร์คิงเป็นการ์ตูนแนวแฟนตาซีร่วมสมัย ฉากต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกสมมุติขึ้นมา และมีความเป็นไทยรวมถึงวัฒนธรรมไทยหลายอย่างสอดแทรกอยู่ภายในภาพและเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง จึงทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของผู้อ่านการ์ตูนไทยหลายคน บางช่วงของเนื้อเรื่องยังมีการนำเอาประวัติศาสตร์ไทยมาดัดแปลงและวางบทบาทลงไปในเรื่องราวได้อย่างลงตัว โอเกอร์คิง มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับยักษ์ คาถาอาคมสมัยโบราณ และการผจญภัยของกลุ่มเพื่อน โดยมี "ชิน" เด็กน้อยวัย 15 ปี ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งยักษ์เป็นตัวละครนำ
ก่อนหน้าที่โอเกอร์คิงจะถูกรวมเล่ม การ์ตูนเรื่องนี้เคยถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายปักษ์ Mac X Big size แต่หลังจากที่นิตยสารเล่มนี้วางแผงออกมาได้เพียง 9 ฉบับ ก็หายสาบสูญไปจากแผงหนังสืออย่างไร้ร่องรอย แต่แม้กระนั้นฉบับรวมเล่มของโอเกอร์คิงก็ยังถูกตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ และได้ออกภาคพิเศษในชื่อ Episode ZERO : Shadow of the knight ตีพิมพ์ลงในนิตสารรายสัปดาห์ C-Kids ฉบับที่ 10/209, 11/2009, 20/2009 และ 21/2009 รวมทั้งหมด 4 ตอน
ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บทความแนะนำ/39
รวมเรื่องสั้นจิตหลุด เป็นหนังสือการ์ตูนไทย ผลงานของ "เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์" ลิขสิทธิ์เป็นของ "สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ" โดยเนื้อหาในเรื่องเป็นการรวมเรื่องสั้นแนวสยองขวัญจำนวน 5 เรื่องไว้ในเล่มเดียว จากสายเส้นที่สวยงาม และจากมุมมองที่สร้างความน่าสนใจจากผู้เขียนนี้ ส่งผลให้ 2 ใน 5 เรื่องได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ คือเรื่อง "13 quiz show" ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "13 เกมสยอง" และอีกเรื่องคือ "ยันต์สั่งตาย" ถูกสร้างเป็น 1 ตอนในภาพยนตร์เรื่อง "สี่แพร่ง" ในเวลาต่อมา
บรรณาธิการจาก นิตยสาร HOBBY TOYS & MODEL กล่าวถึงการ์ตูนชุดนี้ว่า เป็นการ์ตูนระดับคุณภาพ และอาจหาอ่านได้ยากพอสมควรเนื่องจากขายดี ซึ่งรวมเรื่องสั้นจิตหลุดเป็นการ์ตูนที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย แม้ไม่มีตัวหนังสือบรรยายประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง women from mars ที่เชื่อว่าสามารถนำไปดัดแปลงสู่รูปแบบโอวีเอที่สามารถสร้างความน่าสนใจอย่างมากได้อีกเรื่องหนึ่ง
เสนอบทความ
[แก้]- การเพิ่มบทความ
- ทุกคนมีสิทธิ์เสนอบทความ โดยสามารถเพิ่มบทความ (ที่มีความน่าสนใจ) ได้ทางด้านบนของรายการ
- ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือไม่ทราบวิธีการ กรุณาสอบถามหรือขอความช่วยเหลือได้ที่หน้าพูดคุย คุยเรื่องสถานีย่อย:การ์ตูนไทย