กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Ministry of Education | |
เครื่องหมายราชการ ตราเสมาธรรมจักร | |
ตราพระเพลิงทรงระมาด (ตราเดิม) | |
วังจันทรเกษม ที่ทำการปัจจุบันของกระทรวง | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2435 |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
บุคลากร | 702,859 คน (พ.ศ. 2565)[1] |
งบประมาณต่อปี | 340,774,601,700 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
รัฐมนตรี |
|
รัฐมนตรีช่วย | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม
ประวัติ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง กระทรวงธรรมการ ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ กระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่วังจันทรเกษมจนถึงปัจจุบัน
หน่วยงานในสังกัด
ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- กรมส่งเสริมการเรียนรู้
องค์การมหาชน
แบ่งเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 จำนวน 3 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 3 แห่ง
- องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
- องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
หน่วยงานในอดีต
- กรมธรรมการ (หน่วยงานในสมัยที่เป็นกระทรวงธรรมการ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการศาสนา)
- กรมศึกษาธิการ (หน่วยงานในสมัยที่เป็นกระทรวงธรรมการ)
- กรมมหาวิทยาลัย ต่อมายกฐานะเป็นทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันยุบรวมเข้ากับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดตั้งเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- กรมวิชาการ ปัจจุบันลดฐานะเป็น สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- กรมวิสามัญศึกษา มีหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ภายหลังยุบรวมกับกรมสามัญศึกษา
- กรมการฝึกหัดครู ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
- กรมพลศึกษา ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 39 แห่ง
- กรมการศาสนา เดิม ออกเป็น 2 ส่วน คือ กรมการศาสนาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- กรมศิลปากร ย้ายไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
- สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เดิมคือกองวัฒนธรรมสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ย้ายไปสังกัด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
- สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ย้ายไปสังกัดกระทรวงพาณิชย์
ตรากระทรวง
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 5 ) ได้มีการก่อตั้ง “กระทรวงธรรมการ" ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ ( ต่อมาได้มีการแยกหน่วยงานต่าง ๆ ออกไป ) ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ “กระทรวงศึกษาธิการ" สมัยที่กระทรวงศึกษาธิการยังเป็นกระทรวงธรรมการอยู่ พระราชทานตราบุษบกตามประทีป ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรเก่า เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2436 โปรดให้เลื่อนตราบุษบกตามประทีปไปเป็นตราตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ จึงพระราชทานตราพระเพลิงทรงระมาดซึ่งเป็นตราเก่าให้เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการใช้ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการไปในที่ต่าง ๆ คู่กับตราเสมาธรรมจักรซึ่งใช้ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการที่มีถึงพระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ยกเลิกตราพระเพลิงทรงระมาด แล้วให้สร้างตราเสมาธรรมจักร “เหตุที่ทรงเปลี่ยน โดยที่ทรงพระราชดำริว่า นามเสนาบดีกระทรวงธรรมการก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้ตามนามในตำแหน่งเดิมแล้ว (คือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีซึ่งในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่า ถือตราเสมาธรรมจักร) ”แต่ตราเก่าเป็นรูปจักราวุธอยู่ในบุษบก แล้วมีใบเสมาขนาบอยู่สองข้าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ชอบพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ทำตราเสมาธรรมจักรขึ้นใหม่ ตราเสมาธรรมจักรที่โปรดให้สร้างขึ้นใหม่รูปกลม มีลายเสมาตั้งบนฐาน มีอักษรขอม ทุ. ส. นิ. ม. หัวใจพระอริยสัจ อยู่ที่ขอบเบื้องบนเสมา
กระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ " กระทรวงธรรมการ " และ “ กระทรวงศึกษาธิการ " อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า " กระทรวงศึกษาธิการ " ตั้งแต่นั้นมา เหตุที่ตรากระทรวงศึกษาธิการเป็นรูปเสมาธรรมจักร น่าจะเป็นเพราะว่าแต่ก่อนดูแลกิจการในพระศาสนาด้วย โดยมีการรวมการศึกษา และศาสนาเข้าด้วยกัน และมีการแยกออกจากกันและกลับมารวมกันอีกหลายครั้ง ปัจจุบันกรมการศาสนา ย้ายไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) แห่งราชอาณาจักรไทย มีลักษณะดังนี้ "เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ เป็นรูปเสมาธรรมจักร"
-
ตราบุษบกตามประทีป
-
ตราพระเพลิงทรงระมาด
-
ตราเสมาธรรมจักร (เดิม)
-
ตราเสมาธรรมจักร (ใหม่)
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สถิติจำนวนบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกตามประเภทและสังกัด ปีการศึกษา 2565, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
ดูเพิ่ม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย
- รายชื่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการของไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
- กระทรวงศึกษาธิการ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์