นามสกุลพระราชทาน
นามสกุลพระราชทาน[2][3] หมายถึง นามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455[4] โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือกตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458[5][6] พระองค์ทรงมีพระราชดำริถึงประโยชน์ของการมีนามสกุลหรือชื่อตระกูลเมื่อ พ.ศ. 2454 ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล ความว่า[7]
ยังมีอีกเรื่อง ๑ ซึ่งได้พูดกันลงความเห็นกัน คือว่าด้วยชื่อแส้ฤๅตระกูล ซึ่งในเมืองอื่น ๆ เฃาก็มีกันแบบทั่วไป แต่ในเมืองเรายังหามีไม่ เห็นว่าดูถึงเวลาอยู่แล้วที่จะต้องจัดให้มีขึ้น การมีชื่อตระกูลเปนความสดวกมาก อย่างต่ำ ๆ ที่ใคร ๆ ก็ย่อมจะมองแลเห็นได้ คือชื่อคนในทะเบียฬสำมโนครัวจะได้ไม่ปนกัน แต่อันที่จริงจะมีผลสำคัญกว่านั้น คือจะทำให้เรารู้จักรำฤกถึงบรรพบุรุษของตนผู้ได้อุสาหก่อร่างสร้างตัวมา และได้ตั้งตระกูลไว้ให้มีชื่อในแผ่นดิน เราผู้เปนเผ่าพันธุ์ของท่านได้รับมรฎกมาแล้ว จำจะต้องประพฤติตนให้สมกับที่ท่านได้ทำดีมาไว้ และการที่จะตั้งใจเช่นนี้ ถ้ามีชื่อที่ต้องรักษามิให้เสื่อมทรามไปแล้ว ย่อมจะทำให้เปนเครื่องยึดเหนี่ยวหน่วงใจคนมิให้ตามใจตนไปฝ่ายเดียว จะถือว่า "ตัวใครก็ตัวใคร" ไม่ได้อีกต่อไป จะต้องรักษาทั้งชื่อของตัวเอง ทั้งชื่อของตระกูลด้วยอีกส่วน ๑
— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุรายวันเล่ม ๒, รัตนโกสินทรศก ๑๒๐.
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลเป็นครั้งแรก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 จำนวน 4 นามสกุล คือ สุขุม มาลากุล พึ่งบุญ และ ณ มหาชัย[8]: 152:เชิงอรรถ ๒ โดยมีนามสกุล "สุขุม" ซึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับแรก[9] ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลไว้จำนวนทั้งสิ้น 6464 นามสกุล เป็นนามสกุลตามสมุดทะเบียน 6439 นามสกุล (ในสมุดทะเบียนลงลำดับที่นามสกุลที่ได้พระราชทานไปเพียง 6432 นามสกุล) , นามสกุลพิเศษ 1 นามสกุล คือ นามสกุล ณ พิศณุโลก และนามสกุลพระราชทานสำหรับราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราชจำนวน 24 นามสกุล[10]
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่เจ้านายและข้าราชบริพารเป็นวาระพิเศษอีกหลายครั้ง
รายชื่อสกุลที่ขึ้นต้นด้วย "ณ"
[แก้]สกุลที่ขึ้นต้นด้วย "ณ" เป็นนามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[11]
สำหรับราชสกุลที่ใช้สร้อย ณ กรุงเทพ ต่อท้ายนามสกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ดำรัสสั่งให้ใช้สร้อย ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลแทนตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป ด้วยสร้อย ณ กรุงเทพ ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงสมัยอยุธยาหรือสมัยรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เดิมพระบรมราชวงศ์เป็นสกุลตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานีจึงควรใช้สร้อย ณ อยุธยา ให้ตรงกับพระราชพงศาวดาร[12]
สกุลที่ขึ้นด้วย ณ
[แก้]สกุล | อักษรโรมัน | เลขที่ | พระราชทานแด่ | สืบเชื้อสายจาก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ณ กาฬสินธุ์ | na Kâlasindhu | 1190 | พระยาชัยสุนทร (เก) | พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) | [13] |
ณ จัมปาศักดิ์ | na Champâsakdi | 1618 | เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (อุย) | เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) | [13] |
ณ เชียงใหม่ | na Chiengmai | 1161 | เจ้าแก้วนวรัฐ (แก้ว) | พระเจ้ากาวิละ พระยาธรรมลังกา พระยาคำฟั่น |
[13][14] |
ณ ตะกั่วทุ่ง | na Takuathung | 2289 | หลวงราชภักดี (หร่าย) | พระยาโลหะภูมิพิสัย | [13] |
ณ ถลาง | na Thâlang | 0742 | พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี), พระอาณาจักรบริบาล (อ้น) และพระพิไสยสุนทรการ (แปลง) | พระยาถลาง (ฤกษ์) | [13] |
ณ นคร | na Nagara | 0103 | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) | เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) | [13] |
ณ น่าน | na Nân | 1162 | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริยะ) | พระยาหลวงติ๋นมหาวงศ์ | [13][14] |
ณ บางช้าง | na Bâng Xâng | 0360 | หลวงขจรเนาวรัฐ (หลำ) และหลวงพิพิธวรรณการ (ม้วน) | พระแม่กลอง (สอน) กับเจ้าคุณหญิงแก้ว | [13] |
ณ ป้อมเพชร์ | na Pombejra | 0150 | พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ) | พระยาไชยวิชิต (เผือก) | [13] |
ณ พัทลุง | na Badalung | 2279 | หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) | พระยาพัทลุง (ขุน) | [13] |
ณ พิศณุโลก | พิเศษ | หม่อมคัทริน | [13][15] | ||
ณ มโนรม | na Manorom | 2770 | หลวงวินิจสารา (ดวง) | พระยามโนรม | [13] |
ณ มหาไชย | na Mahajai | 0004 | พระยาเทพทวาราวดี (สาย) | พระยานรนารถภักดี | [13] |
ณ ร้อยเอ็จ | na Roi Ech | 1189 | พระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์ | เพี้ยพระนคร (คำ) | [13] |
ณ ระนอง | na Ranong | 2345 | พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี) | พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (ซู้เจียง) | [13] |
ณ ลำปาง | na Lampâng | 1166 | เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (บุญทวงษ์) | พระยาคำโสม พระเจ้าดวงทิพย์ พระยาอุปราชหมูล่า |
[13][14] |
ณ ลำภูน | na Lambhûn | 0866 | เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (จักรคำ) | พระยาคำฟั่น | [13] |
ณ วิเชียร | na Vijira | 2803 | พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) | [13] | |
ณ สงขลา | na Sonkhlâ | 0108 | พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (ฑิตย์) | พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง) | [13] |
ณ หนองคาย | na Nonggai | 1181 | พระยาวุฒาธิคุณ (แพ) | พระปทุมเทวาภิบาล (สุวอ) | [13] |
ณ อุบล | Na Ubol | 3127 | พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) | พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) | [13] |
สกุลที่มี ณ อยู่ท้ายสกุล
[แก้]สกุล | อักษรโรมัน | เลขที่ | พระราชทานแด่ | สืบเชื้อสายจาก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พรหมสาขา ณ สกลนคร | Brâhmasâkhâ na Sakolnagara | 1368 | พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) | พระบรมราชา (พรหมา) | [16] |
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม | Bhavabhûtânanda na Mahasaragama | 1218 | พระเจริญราชเดช (อุ่น) | พระเจริญราชเดช (กวด) | [17] |
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต | Ratnatilaka na Bhuket | 2327 | หลวงวรเทพภักดี (เดช) | พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เจิม) | [18] |
สุนทรกุล ณ ชลบุรี | Sundarakul na Jolburi | 4603 | หม่อมหลวงจาบ | กรมขุนสุนทรภูเบศร์ | [19] |
สกุลย่อยที่ใช้ ณ ต่อท้ายสกุล
[แก้]สกุล | อักษรโรมัน | เลขที่ | พระราชทานแด่ | แยกจากสกุล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
โกมารกุล ณ นคร | Komârakul na Nagara | 0253 | พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) | ณ นคร | [20] |
ประทีป ณ ถลาง | Pradîp na Thâlang | 3945 | หลวงราชอาณัติ (กล่อม) | ณ ถลาง | [21] |
สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง | Sugandhâbhiromya na Badalung | 2425 | สมบุญ | ณ พัทลุง | [22] |
รายชื่อนามสกุลที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ
[แก้]- เศียนเสวี พระราชทาน พระอักษรสมบูรณ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) เสมียนตรากระทรวงวัง และนายพันตรีในกองทัพบก บิดาเป็นชาวเยอรมัน นามสกุลเดิมว่า “Falck” คือมุ่งว่า “falk” แปลว่าเหยี่ยว แปลกลับเป็นสันสกฤตว่า “เศ์ยน” แผลงเป็นไทยว่า “เศียน”
- เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่ากระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น “หินขาว”)
- สุมิตร พระราชทาน นายอี สเปนช์ สมิต ผู้ช่วยอธิบดีกรมศึกษาธิการ ขอพระราชทานให้บุตรชายหญิงซึ่งมารดาเป็นไทย
- เวลานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ (ต่อมาถูกถอนสัญชาติและเรียกคืนนามสกุล เมื่อคราวประเทศสยามประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1)
- อันตรนิยุกต์ พระราชทาน ขุนทิพรศโอชา (ปีเตอร์) พนักงานครัวเฃ้าต้น กรมมหาดเล็ก นามสกุลเดิม “อันโตนิโอ”
- สีมันตร พระราชทาน ขุนเลขการวิจิตร (แสวง) นายเวรกรมที่ปฤกษา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาเป็นชาวโปรตุเกส นามสกุลเดิมว่า “ซีโมเอนส์”
- เตชะวณิช พระราชทาน พระอนุวัตน์ราชนิยม (ฮง) สังกัดกรมมหาดเล็ก แซ่แต้
- อับดุลพันธุ์ พระราชทาน นายหมู่ตรีปุ๋ย ประจำแผนกเกียกกาย กองเสนารักษาดินแดนกรุงเทพฯ ปู่ทวดชื่อเฮเดอรใบ ปู่ชื่อเมียโบ บิดาชื่ออับดุลโคยุม
- อับดุลละบุตร พระราชทาน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโว๊ะ) พระยาเมืองยะหริ่ง ปู่ทวดชื่ออับดุลเลาะ
- คุณะดิลก พระราชทาน พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ตีเลกี, William Alfred Tilleke) อธิบดีกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม เขาชื่อเช่นนี้มาแต่เดิมแล้วแต่ต้องการได้รับอนุมัติ จึ่งตกลงให้เขียนว่า“คุณะดิลก”เช่นนี้ เพื่อให้เป็นไทย เดิมเขียนว่า“คุณะติละกะ” (ตัวโรมัน“Guna Tilleke”)
- สิงหลกะ พระราชทาน พระดรุณรักษา (เสงี่ยม) ปลัดบาญชีกรมมหาดเล็ก หลานพระอุดรพิสดาร (สิญญ) ซึ่งเป็นชาวสิงหล
รายชื่อนามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล
[แก้]- สืบสกุลจากเจ้าเมือง มีคำราชทินนามนำหน้า อาทิ นามสกุล นาคบุรี,รามสูต,รามบุตร,รัตนะธิยากุล อินทรสูต, พรหมเทพ, นุชนิยม ,สมานกุล เป็นต้น
- สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือ วานิช หรือ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, วณิชาชีวะ, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช, นาควานิช, กุลวานิช, เอกวานิช, เตมียาเวส, โกศัลวัฒน์ เป็นต้น
- สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, นิตย์อำนวยผล, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน เป็นต้น
- สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร,พงษ์สาริกิจ, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต เป็นต้น
- สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน, กมลโยธิน, โกษะโยธิน, อัครโยธิน, วัฒนโยธิน,อินทรโยธิน เป็นต้น
- สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, อังคะนาวิน, กฤษณกลิน, สมุทรกลิน, บุญยรัตกลิน เป็นต้น
- สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ, วุฒากาศ, อากาศไชย เป็นต้น
- สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน เป็นต้น
- ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ เป็นต้น
- นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน เป็นต้น
- กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน เป็นต้น
- สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น บุรณเวช,โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, พัฒนเวชวงศ์, ตีรแพทย์, ไวทยะชีวิน, มิลินทแพทย์, เวชภูติ, เวชชาชีวะ, ปิณฑะแพทย์, วิริยเวช, รัตนเวช, ไวทยะกร , นัดดาเวช เป็นต้น
- โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ, หิรัญโชติ เป็นต้น
- พราหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล , วุฒิพราหมณ์ , รัตนพราหมณ์ เป็นต้น
ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖
[แก้]ลำดับ | นามสกุล (อักษรไทย) | นามสกุล (อักษรโรมัน) | พระราชทานแด่ | วันที่พระราชทาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | สุขุม | Sukhum | เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงนครบาล | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [23] | * ทรงเขียนให้เอง * เป็นชื่อสกุลแรกที่พระราชทาน[24] |
2 | บุนนาค | Bunnag | เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ , เสนาบดีกระทรวงธรรมการ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [25] | * ทรงเขียนให้เอง * สำหรับบรรดาผู้สืบสกุลจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา |
3 | มาลากุล ณ กรุงเทพ | Malakul na Krungdeb | พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ และพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [26] | * ทรงเขียนให้เอง * สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ |
3 | พึ่งบุญ ณ กรุงเทพ | Phungbun na Krungdeb | พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ) จางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [27] | *ทรงเขียนให้เอง * สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ |
4 | ไกรฤกษ์ | Krairiksh | พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) อธิบดีกรมชาวที่ และพระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (ลออ) กรรมการศาลฎีกา | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [28] | * ทรงเขียนให้เอง * สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากพระยาไกรโกษา (ฤกษ์) |
5 | กัลยาณมิตร | Kalyanamitra | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย) สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 [28] | * ทรงเขียนให้เอง * สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลจากเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย) |
6 | อหะหมัดจุฬา | Ahmadchula | พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) จางวางกรมท่าขวา ผู้ช่วยเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรม สำหรับผู้สืบสายโลหิตตรงลงมาจากเฉกอะหะหมัด ลงทางพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) | 12 กันยายน พ.ศ. 2456 [29] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น จุฬารัตน เมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
7 | อธินันทน์ | Adhinandana | นายร้อยเอก หลวงพิทักษ์โยธา (ตอด) ผู้รั้งปลัดกองพลที่ ๙ มณฑลปราจิณบุรี พระยาพรหมยกระบัตร (ยิ่ง) เป็นทวด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 [30] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
8 | เดชะคุปต์ | Tejagupta | พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า กับพระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม) ปลัดมณฑลปัตตานี และ หลวงประชุมบรรณสาร (พิน) เลฃานุการกรมแผนที่ ขุนฤทธิดรุณเสรฐ (เดช) | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2456 | * ทรงเขียนให้เอง |
9 | เมนะรุจิ | Menaruchi | หลวงบุรคามบริรักษ์ (นาค) นายอำเภอสูงเนิน เมืองนครราชสีมา | 30 กันยายน พ.ศ. 2457 [31] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
10 | อินทโสฬส | Indasolasa | ขุนบริบาลนิคมเฃต (ดิศ) นายอำเภอกลาง เมืองนครราชสีมา | 30 กันยายน พ.ศ. 2457 [32] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
11 | บินอับดุลลาห์ | bin Abdullah | อำมาตย์ตรี พระโกซาอิศหาก (ตุ๋ย) ปลัดเมืองสตูล มณฑลภูเก็ต | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2458 [33] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น สมันตรัฐ เมื่อ 9 มกราคม พ.ศ. 2484 จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
12 | สมานกุล | Sa^man^kula
Samankul |
หลวงสมานสมัคจีนนิกร ปลัดเมืองตรัง มณฑลภูเก็ต (นามเดิม ขุนภิรมย์สมบัติ แซ่ตัน) | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 | * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ |
13 | รสานนท์ | Rasa^nanda
Rasananda |
อำมาตย์ตรี ขุนทิพย์สุภา (ฟอง) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสกลนคร ปู่ชื่อรส | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 | * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ |
14 | สุวรรณสุทธิ | Su^var^suddhi
Suvarnasuddhi |
หลวงไพจิตร สัตยาดุล (สุทธิ์) | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 | * ทรงเขียนให้เอง ณ อ่างศิลา |
15 | ศิริบุตร | Se^Le^BUd
Selebud |
พระศรีวรบุตร พ่อตาของ เจ้าบวรวัฒนา(เชื้อพระวงศ์ลาว) | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | * ทรงเขียนให้เอง ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ |
ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๗
[แก้]ลำดับ | นามสกุล (อักษรไทย) | นามสกุล (อักษรโรมัน) | พระราชทานแด่ | วันที่พระราชทาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | บริพัตร ณ อยุธยา | Paribhatra na Ayudhya | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [34] | * ทรงเขียนให้เอง |
2 | จักรพงษ์ ณ อยุธยา | Chakrabongse na Ayudhya | สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [35] | * ทรงเขียนให้เอง * ทิวงคต เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 |
3 | มหิดล ณ อยุธยา | Mahitala na Ayudhya | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [36] | * ทรงเขียนให้เอง |
4 | จุฑาธุช ณ อยุธยา | Chudadhuj na Ayudhya | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [37] | * ทรงเขียนให้เอง * สิ้นพระชนม์ เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 |
5 | ยุคล ณ อยุธยา | Yukala na Ayudhya | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [38] | * ทรงเขียนให้เอง |
6 | กิติยากร ณ อยุธยา | Kitiyakara na Ayudhya | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [39] | * ทรงเขียนให้เอง |
7 | ฉัตรชัย ณ อยุธยา | Chhatr-jaya na Ayudhya | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 [40] | * ทรงเขียนให้เอง |
8 | พรหมนารท | Brahmanarada | รองอำมาตย์เอก หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์) ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี และ รองอำมาตย์โท หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ) บิดา | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 [41] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
9 | มหาณรงค์ | Mahanaranga | นายร้อยเอก หลวงรามฤทธิรงค์ (เขียว) ผู้บังคับกองตำรวจภูธร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 [42] | * ทรงเขียนให้เอง * ขอพระราชทานใหม่ เป็น ณ ราชสีมา เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2494 จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๘
[แก้]ลำดับ | นามสกุล (อักษรไทย) | นามสกุล (อักษรโรมัน) | พระราชทานแด่ | วันที่พระราชทาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | สมันตรัฐ | พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) | 9 มกราคม พ.ศ. 2484 [43] | * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ * ขอพระราชทานเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้เป็นภาษาไทย | |
2 | เครือขรรค์ชัย ณ เวียงจันทน์ | Khru'akhanchai Na Wiangchan | ท้าวอุ่น | 4 เมษายน พ.ศ. 2484 [44] | * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
3 | จุฬารัตน | Chularatana | ทายาท พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) | 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 [45] | * โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ * ขอพระราชทานเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้เป็นภาษาไทย |
ส่วนหนึ่งของนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๙
[แก้]ลำดับ | นามสกุล (อักษรไทย) | นามสกุล (อักษรโรมัน) | พระราชทานแด่ | วันที่พระราชทาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | ณ ราชสีมา | Na Rajasima | พระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทโสฬศ) , พระบุคราบริรักษ์ (นาค เมนะรุจิ) , พันตรี พระพิทักษ์โยธา (พิทักษ์ อธินันทน์) , หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ พรหมนารท) , หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท) , พันตรี หลวงรามฤทธิ์รงค์ (รามฤทธิรงค์ มหาณรงค์) และ พันตรี ขุนกำแหงเสนีย์ (กำแหง อินทรกำแหง) | 22 กันยายน พ.ศ. 2494 [46] | * ทรงเขียนให้เอง ณ พระตำหนักวิลลาวัฒนา โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ * ขอพระราชทานใหม่ โดยรวมวงศ์ญาติผู้สืบสกุลจากเจ้าพระยานครราชสีมา ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
2 | ธรรมธำรง | นายเจริญ น้อยพันธ์ อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๓ จังหวัดนครราชสีมา | 24 กันยายน พ.ศ. 2522 [47] | * ทรงเขียนให้เอง | |
3 | ดุรงควิบูลย์ | พันตำรวจเอก พรศักดิ์ สุขเกษม | 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 [48] | * ทรงเขียนให้เอง | |
4 | สิริวัฒนภักดี | นายเจริญ ศรีสมบูรณานนท์ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 [49] | * ทรงเขียนให้เอง | |
5 | พิทยะ | รศ.หาญณรงค์ ลำใย | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 [50] | * ทรงเขียนให้เอง | |
6 | ภักดีภูมิ | พลตำรวจโท โกวิท ภู่พานิช | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2534 [51] | * ทรงเขียนให้เอง | |
7 | นรินทรภักดี | นายชำเรือง คล้ายทองคำ พนักงานขับรถยนต์ สังกัดฝ่ายรถยนต์หลวง กองพระราชพาหนะ สำนักพระราชวัง | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2541 [52] | * ทรงเขียนให้เอง | |
8 | พิจิตรากร | นายไพบูลย์ ฝั่งสาคร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2541 [53] | * ทรงเขียนให้เอง | |
9 | สุทธิชลวัฒน์ | นายล้วน แตงขุด นายช่างชลประทาน 7 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 5 กันยายน พ.ศ. 2542 [54] | * ทรงเขียนให้เอง |
นามสกุลจากราชทินนาม
[แก้]นามสกุลจากราชทินนาม คือ นามสกุลที่ตั้งขึ้นมาโดยมีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ราชทินนาม มีความหมายคือ นามที่ได้รับพระราชทาน ราชชิต ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 [55] ว่า "ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและได้นำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"
ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ได้มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก [56] จำนวน 10 คน ดังนี้
- จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
- พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
- นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์
- พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม
- พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี
- พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
- นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ
- นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
- หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ
- ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร
การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยกเลิกบรรดาศักดิ์ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้ข้าราชการเลิกใช้บรรดาศักดิ์ คงเป็นนายเท่าเทียมกันทั้งหมด จึงทำให้บรรดาข้าราชการที่เคยมีบรรดาศักดิ์และเคยรู้จักกันทั่วไปราชทินนามต่างๆ พากันนำราชทินนามมาใช้ร่วมกับนามและนามสกุลเดิม เช่น
- พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เปลี่ยนมาใช้นามตามรัฐนิยมว่า หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา ภะรตราชา
- พระยาอนุมานราชธน ท่านก็เปลี่ยนมาเป็นนายยง เสฐียรโกเศศ อนุมานราชธน
- สกุลเจ้าเมืองจังหวัดสุรินทร์ ก็สามารถใช้ราชทินนาม"พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง" มาใช้ร่วมกับนามและนามสกุลพระราชทานตาม รัฐนิยมว่า สุรินทร์ภักดี อินทนูจิตร ได้ ,
- ขุนเสลวาปี ขุนนางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มาใช้ราชทินนามร่วมกับนามตาม รัฐนิยม ว่า เสลวาปีนุสรณ์
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 เป็นพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2505 [57] โดยในมาตรา 19 บัญญัติว่า "ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามของตน ของผู้บุพการีหรือของผู้สืบสันดานเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร แล้วให้นายทะเบียนท้องที่นั้นเสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง เมื่อนายทะเบียนกลางพิจารณาเห็นสมควร ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น และออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศิลปวัฒนธรรม, 27(7-9)(พฤษภาคม-กรกฎาคม 2549): 34.
- ↑ นามสกุลพระราชทาน จากเว็ปไซต์พระราชวังพญาไท
- ↑ เทพ สุนทรศารทูล. นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รัชกาลที่8 รัชกาลที่9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้เลื่อนการใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ก, ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ การเลื่อนใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ก, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๔๙๓
- ↑ "จดหมายเหตุรายวัน เล่ม ๒ รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๗๒ พทุธสาสนายุกาล ๒๔๕๔ วันที่ ๑๓ มกราคม ถึง วันที่ ๓๑ มินาคม," ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517. 200 หน้า. หน้า 47.
- ↑ คณะกรรมการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ และ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2524). "นามสกุล", สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ ก-ม. จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเปิดหอวชิราวุธานุสรณ์ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์. 500 หน้า. ISBN 974-791-904-4 อ้างใน ปิ่น มาลากุล, ม.ล. บันทึกความรู้เรื่องนามสกุลถึงผู้เขียน ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๓. (ต้นฉบับตัวเขียน).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๖๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ง, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๑๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๙๕
- ↑ ประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล. (๒๔๖๗, ๒๙ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๑ หน้า ๔,๖๑๙.
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 "นามสกุลพระราชทาน อักษร ณ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๔ (ลำดับที่ ๑๑๕๖ ถึงลำดับที่ ๑๑๘๒)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 72. 5 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุลพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 832. 27 กรกฎาคม 2456.
- ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร พ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ภ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ร". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ส". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ก". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ป". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ป". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๑ สุขุม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Bangkok: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 30: 648–659. 2456-06-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2562-07-15.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๒ บุนนาค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๒ มาลากุล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๓ พึ่งบุญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ 28.0 28.1 "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ - ๕ ไกรฤกษ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕ - ๓๗๑ อหะหมัดจุฬา
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๑ - ๙๑๓ อธินันทน์
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๒๐ - ๑๕๗๘ เมนะรุจิ
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๒๐ - ๑๖๐๑ อินทโสฬส
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓๑ - ๒๓๐๓ บินอับดุลลาห์
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๑ บริพัตร ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๒ จักรพงศ์ ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๓ มหิดล ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๔ จุฑาธุช ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๕ ยุคล ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๖ กิติยากร ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ - ๑๑ ฉัตรชัย ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล พรหมนารท
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล มหาณรงค์
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล สมันตรัฐ
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล เครือขรรค์ชัย ณ เวียงจันทน์
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล จุฬารัตน
- ↑ ต้นสกุล ณ ราชสีมา
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ธรรมธำรง
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ดุรงควิบูลย์
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล สิริวัฒนภักดี
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล พิทยะ
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล ภักดีภูมิ
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล นรินทรภักดี
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล พิจิตรากร
- ↑ ประกาศพระราชทานชื่อสกุล สุทธิชลวัฒน์
- ↑ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาไทย เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาติใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ↑ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2505 สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557