พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)
อำมาตย์ตรี พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) | |
---|---|
จุฬาราชมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มกราคม พ.ศ. 2454 – 27 เมษายน พ.ศ. 2466 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) |
ถัดไป | พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2411 |
เสียชีวิต | 27 เมษายน พ.ศ. 2466 |
เชื้อชาติ | ไทย |
ศาสนา | อิสลามนิกายชีอะฮ์ |
คู่สมรส | คุณหญิงถนอม อหะหมัดจุฬา |
บุตร | พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) |
บุพการี |
|
อำมาตย์ตรี พระยาจุฬาราชมนตรี นามเดิม สัน เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) มีชื่อทางศาสนาว่า มิซซา อาลีระชา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2411 เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมท่าขวามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชาเศรษฐี เมื่อ พ.ศ. 2432 แล้วเลื่อนเป็นพระราชเศรษฐี ตามลำดับ ต่อมาย้ายไปรับราชการกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเงินแล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ จนวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2454 จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา ถือศักดินา 1400[1]
นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาในด้านศาสนาอิสลามถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานนามสกุล "อหะหมัดจุฬา" เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2456[2]
พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) ป่วยเป็นไข้ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2466 สิริอายุได้ 53 ปี[3] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฝังศพแทนพระองค์ด้วยที่มัสยิดต้นสน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[5]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 14 มกราคม ร.ศ. 130, หน้า 2261
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 14 กันยายน พ.ศ. 2456, หน้า 1247
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๘๘, ๒๗ พฤศจิกายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๕, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๐, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๔, ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
- ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามสมัย. กรุงเทพฯ:จิรรัชการพิมพ์. 2544
- เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กรุงเทพฯ:ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549.
ก่อนหน้า | พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) | พระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 11 (12 มกราคม พ.ศ. 2454 — 27 เมษายน พ.ศ. 2466) |
พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) |