ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 | |
---|---|
ถนนเจริญราษฎร์(เชียงใหม่),ถนนเชียงใหม่-ลำพูน,ถนนเจริญราษฎร์(ลำพูน),ถนนอินทยงยศ,ถนนลำพูน-ป่าซาง | |
เส้นทางช่วงดอนไชย–อุโมงค์ | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 256.359 กิโลเมตร (159.294 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2438–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก | ถนนจรดวิถีถ่อง ใน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย |
ถนนพหลโยธิน ใน อ.เถิน จ.ลำปาง ทล.116 ใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ทล.114 ใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ทล.121 ใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ | |
ถึง | ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ใน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 สายสวรรคโลก–อุโมงค์[1] เป็นถนนขนาด 2-4 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางเข้าสวรรคโลก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1370) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ผ่านอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง อำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่นั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ มีต้นขี้เหล็กและต้นยางนาสูงใหญ่ปลูกเรียงรายตลอดสองข้างทางตั้งแต่ลำพูนจนถึงเชียงใหม่ จนเรียกกันว่าเป็น "ถนนสายต้นยาง" หรือ "ถนนต้นยาง"[2]
สำหรับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงสวรรคโลก–ดอนไชย กรมทางหลวงได้ทำการรวมเส้นทางกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048 และทางเข้าดอนไชยหรือถนนพหลโยธินสายเก่า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1352) บางส่วน และช่วงอำเภอสารภี-ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มีการโอนความรับผิดชอบไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ประวัติ
[แก้]ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คือ เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย
ในราว พ.ศ. 2101 สมัยพญาแม่กุแม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101–2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว
แม้ว่าแม่น้ำปิงจะมีการเปลี่ยนร่องน้ำ แต่ยังปรากฏว่ามีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรตามแนวแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบตามแนวแม่น้ำสายดังกล่าว เป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ และเมืองลำพูนมาจนปัจจุบัน
ถนนสายเลียบแม่น้ำปิงห่าง หรือถนนเชียงใหม่-ลำพูน มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการขึ้น โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2438 เริ่มสร้างตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ (หน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนในปัจจุบัน) เลียบตามแนวแม่น้ำปิงห่างจนถึงเมืองลำพูน
พระยาทรงสุรเดช...จะทำถนนระหว่างเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูลให้เกวียนเดินได้ด้วย การที่ไม่เปนไปโดยพลันทันทีได้เพราะขัดข้องด้วยเรื่องการภาษีอากรเมืองเชียงใหม่อยู่ ถ้าได้จัดการเรียบร้อยแล้ว พระยาทรงสุรเดชจะได้ลงมือจัดการแต่งสร้างถนนหนทางขึ้นให้สมควรแก่สมัยที่เจริญขึ้นได้
สันนิษฐานว่าถนนคงจะแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2440 เพราะปีแอร์ โอร์ต (Pierre Orts) ที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยมที่เดินทางขึ้นไปร่วมพิจารณาพิพากษาคดีที่นครเชียงใหม่แล้วเลยไปตรวจราชการหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลลาวเฉียง ได้บันทึกไว้เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2440 ว่า
ข้าพเจ้าออกจากเชียงใหม่เมื่อเวลาบ่าย 3 โมง นับว่าเป็นการออกเดินทางที่เอิกเกริกมาก มีข้าราชการสองคนตามไปส่งพร้อมด้วยพวกเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อย ถนนจากเชียงใหม่ไปลำพูนซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวถึงด้วยความชื่นชมนั้นมิได้มีสิ่งใดพิเศษ เป็นเพียงเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมาใต้ต้นไม้สูงหรือป่า มีธารน้ำไหลผ่านหลายแห่ง ภูมิประเทศดูเหมือนว่ามีราษฎรอาศัยอยู่หนาแน่น เราพบฝูงวัวควายที่ดูน่าชมหลายฝูง อีกราว 2 กิโลเมตรจะถึงเมืองลำพูน ข้าพเจ้าพบเจ้านายลำพูน 3 องค์ที่มาคอยรับล่วงหน้า ตอน 6 โมงครึ่งข้าพเจ้าก็มาถึงเมืองลำพูน
— Diaries of a Belgian Assistant Legal Advisor During the Reign of King Chulalongkorn 3 August 1897 - 5 January 1898
ต่อมาในคราวที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นข้าหลวงพิเศษขึ้นมาจัดระเบียบราชการในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือเมื่อปลายปี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ก็ได้มีการกล่าวถึงถนนสายเชียงใหม่–ลำพูนในรายงานประชุมปรึกษาข้อราชการที่เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 118 ว่า
มิสเตอร์คอลลินซ์ (Rev. David G. Collins) กล่าวขึ้นว่า ได้ทราบข่าวจากชาวเมืองลำพูนว่าได้ตกลงกันจะปูอิฐตลอดถนนในระหว่างเมืองลำพูนแลเชียงใหม่ มิสเตอร์คอลลินซ์เห็นว่าถนนสายนี้เป็นถนนดีมาก ถ้าจะเอาอิฐปูเข้า เข้าใจว่ากลับทำให้ถนนเสียลง
ที่ประชุมได้ปรึกษากันช้านาน พระยาศรีสหเทพจึงพูดว่า ได้ฟังเสียงในที่ประชุมเห็นกันโดยมากว่าไม่ควรจะปูอิฐตามถนนในระหว่างเมืองเชียงใหม่แลเมืองลำพูน แต่ควรจะซ่อมแซมถนนให้ดีขึ้นนั้น พระยาศรีสหเทพมีความยินดีที่ได้ทราบดังนั้น ราษฎรจะได้ไม่มีความลำบากที่จะต้องทำถนน เพราะฉะนั้นจะได้ทดลองเอาอิฐปูตามถนนบางแห่งเพื่อจะได้ทราบว่าอิฐจะทนน้ำฝนได้เพียงไร และขอให้บรรดาท่านทั้งหลายที่ได้เคยไปมาตามถนนลำพูนได้โปรดชี้แจงว่าควรจะซ่อมตอนใดบ้าง
มิสเตอร์เกรก (H. W. Clarke) กล่าวว่าชาวบ้านมักจะทำนาบนถนน ควรจะมีข้อบังคับให้เปิดทางไว้ให้คนเดินได้บ้าง
มิสเตอร์แฮริซ (Rev. Dr. William Harris) ชี้แจงว่าในเรื่องทำนาบนถนนนี้ มิสเตอร์แฮริซได้ทราบเหตุเรื่องหนึ่งที่มีท่านผู้หนึ่งต้องเสียเงิน 15 รูเปียเพื่อเป็นค่าทำขวัญที่ต้องเดินตัดนาไป
พระยาศรีสหเทพจึงได้ตกลงว่าต่อไปจะได้ห้ามมิให้ราษฎรทำนาบนถนนใหญ่ แต่จะต้องเปิดทางเดินไว้ให้กว้าง 6 ฟิตเสมอ แต่ข้อที่จะห้ามนี้เฉพาะแต่ถนนใหญ่ ถ้าเป็นทางเดินเล็กน้อยไม่เป็นที่ห้ามอย่างใด
3 เดือนถัดมาจากการประชุม พ.ศ. 2443 หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรศักดิ์) ข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ ได้มีโทรเลขรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่า
ในโทรเลข ข้าพระพุทธเจ้า หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก 119 ว่าถนนที่เมืองนครเชียงใหม่ ตั้งแต่สนามแข่งม้าจนถึงต่อแดนเมืองนครลำพูน หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้ให้เจ้าราชบุตรเปนแม่กองใหญ่ เจ้าน้อยมหาวัน พระยาสุนทร พระยาธรรมพิทักษ์ พระยาเทพวงษ์ ท้าวขุนแก้ว เปนผู้ช่วยให้แบ่งน่าที่กันทำเปนตอน ๆ ถนนสายนี้ได้ทำเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม รัตนโกสินทร ศก 119 เจ้าอุปราชแลข้าราชการอีกหลายนาย พร้อมด้วยหม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้ไปตรวจดูถนนสายนี้ เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเรียบร้อยดีพอใช้ รถเทียมม้าได้ตลอดทาง แลเปนที่กว้างมาก ข้างริมคันถนน เจ้าราชบุตรได้สั่งให้ปลูกต้นยางได้ปลูกแล้วบ้าง แลยังกำลังปลูกอีกต่อไป การทำถนนสำเร็จได้โดยเร็วดังนี้ ควรเปนที่สรรเสริญเจ้าราชบุตร แลผู้ที่ช่วยทำนั้นเปนอันมาก กับทั้งเจ้าอุปราชก็ได้ช่วยเปนธุระสั่ง ในเรื่องทำถนนสายนี้โดยแขงแรง แลการทำถนนนั้นถ้าทำเสร็จแล้วไม่มีการรักษาก็คงซุดโซมเร็ว หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์จะได้จัดระเบียบการที่จะรักษาต่อไป
จากโทรเลขนี้ ทำให้ทราบว่าผู้ที่ปลูกต้นยางตลอดสองข้างทางถนนในเขตเชียงใหม่ คือเจ้าราชบุตร (เจ้าน้อยคำตื้อ) บุตรของเจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นคนปลูกต้นขี้เหล็กในถนนฝั่งลำพูน
ส่วนถนนทางด้านเมืองลำพูน ปรากฏในโทรเลขที่เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้านครลำพูน รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 188 ว่า
เจ้านครลำพูนพร้อมกับพระยาศรีสหเทพได้จัดที่นอกเวียงข้างเหนือทำเป็นตลาดหลวงใหญ่ตลอดออกไปจากถนนในเวียง เจ้านครลำพูนรับก่ออิฐถนนก่ออิฐตั้งตะแคงอย่างถนนในกรุงเทพฯ แต่เมืองนครลำพูนไปจนต่อเขตร์แดนเมืองนครเชียงใหม่ กำหนดจะแล้วใน 4 เดือน
พ.ศ. 2448 ได้มีการปรับปรุงและขยายผิวถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนอีกครั้ง ตามใบบอกของพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลพายัพ ลงวันที่ 26 กรกฎาคม ร.ศ. 124 ว่า
ถนนสายนครเชียงใหม่ไปนครลำพูนที่ทำไว้แล้วแต่ก่อนแคบไปบ้าง กว้างไปบ้างไม่เท่ากัน และชำรุดทรุดโทรมไปมาก ถนนสายนี้เป็นทางสำคัญลูกค้าได้อาไศรย์ใช้ล้อเกวียนเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลคนเดินทางมาก เค้าสนามหลวงนครเชียงใหม่กับนครลำพูนได้ตกลงกันจะช่วยซ่อมแซมทำให้ดีขึ้น...ได้ให้มิศเตอร์โรเบิตตี้ที่ข้าหลวงโยธาออกไปเป็นผู้แนะนำ แลในแขวงเชียงใหม่จัดให้เจ้าบุรีรัตน์กับกรมการแขวงป่ายางเป็นผู้ดูแล ส่วนแขวงลำพูนจัดให้เจ้าราชภาติกะวงษ์เป็นผู้ดูแล ทั้งสองกองนี้ได้ขอแรงราษฎรมาช่วยทำเดือนเศษจึงแล้วเสร็จ ถนนสายที่ทำนี้ทำโดยกว้าง 3 วา ยาว 665 เส้น
รายชื่อทางแยก
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
สวรรคโลก–ดอนไชย | |||||
สุโขทัย | 0+000 | − | เชื่อมต่อจาก: ทางเข้าโรงพยาบาลสวรรคโลก | ||
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1370 ไปอำเภอศรีสำโรง บรรจบ ทล.101 | ถนนจรดวิถีถ่อง เข้าเมืองสวรรคโลก บรรจบ ทล.101 | ||||
สะพานพัฒนาภาคเหนือ 3 ข้ามแม่น้ำยม | |||||
− | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1195 ไปอำเภอศรีสำโรง | ไม่มี | |||
4+500 | − | สท.4006 สท.4006 ไปบ้านหนองกลับ | ไม่มี | ||
− | ไม่มี | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1201 ไปอำเภอศรีสัชนาลัย | |||
− | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 ไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 ไปบ้านสารจิตร, อำเภอศรีสัชนาลัย | |||
27+300 | − | ทางเข้าบ้านแม่ทุเลา | สท.4008 สท.4008 ไปบ้านลำโชค, อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย | ||
− | ไม่มี | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1330 ไปบ้านแม่ท่าแพ, อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย | |||
− | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1415 ไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม | ไม่มี | |||
ลำปาง | 91+000 | แยกเถินบุรินทร์ | ถนนพหลโยธิน ไปจังหวัดตาก | ถนนพหลโยธิน ไปอำเภอเมืองลำปาง | |
แยกดอนไชย | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ไปจังหวัดลำพูน | ไม่มี | |||
ตรงไป: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1352 ไปถนนพหลโยธิน | |||||
ดอนไชย–ลำพูน | |||||
ลำปาง | 93+700 | แยกดอนไชย | ทล.106 จากจังหวัดตาก, อำเภอสวรรคโลก | ทล.1352 จาก จังหวัดลำปาง | |
94+055 | สะพาน ข้ามแม่น้ำวัง | ||||
101+400 | − | ทางหลวงชนบท ลป.3021 ไปบ้านล้อมแรด | ไม่มี | ||
ลำพูน | 46+900 | แยกโรงพยาบาลลี้ | ทล.1087 ไปบ้านก้อทุ่ง, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง | ไม่มี | |
50+000 | แยกเมืองลี้ | ไม่มี | ทล.1274 ไปลำปาง | ||
68+495 | แยกแม่เทย | ไม่มี | ทล.1219 ไปอำเภอทุ่งหัวช้าง | ||
73+992 | แยกแม่ตืน | ทล.1103 ไปอำเภอดอยเต่า | ไม่มี | ||
113+262 | สะพาน ข้ามแม่น้ำลี้ | ||||
118+533 | แยกม่วงโตน | ทล.1010 ไปอำเภอเวียงหนองล่อง | ไม่มี | ||
128+802 | แยกแม่อาว | ไม่มี | ทล.1184 ไปอำเภอทุ่งหัวช้าง | ||
133+300 | แยกสันห้างเสือ | ทล.1031 (เดิม) ไปอำเภอเวียงหนองล่อง, อำเภอจอมทอง | ไม่มี | ||
139+675 | แยกสะปุ๋ง | ทล.116 ไปอำเภอสันป่าตอง | ทล.116 ไปเชียงใหม่ | ||
145+848 | แยกสบทา | ทล.1156 ไปอำเภอเวียงหนองล่อง, อำเภอจอมทอง | ไม่มี | ||
146+135 | สะพาน ข้ามแม่น้ำกวง | ||||
149+556 | แยกท่าจักร (แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านใต้) |
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไปบรรจบ ทล.11, เชียงใหม่, ลำปาง | ทล.1033 ไปอำเภอแม่ทา | ||
153+903 | − | ตรงไป: ถนนลำพูน–ป่าซาง เข้าเมืองลำพูน | |||
ดอนไชย–ลำพูน (ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองลำพูน) | |||||
ลำพูน | แยกประตูลี้ | ถนนอินทยงยศ ไปบรรจบ ถนนเจริญราษฎร์ เข้าเมืองลำพูน | ถนนประตูลี้ ไปสนามกีฬา | ||
ตรงไป: ถนนรอบเมืองใน/ถนนรอบเมืองนอก ไปบรรจบ ทล.114 | |||||
ลำพูน–อุโมงค์ (ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองลำพูน) | |||||
ลำพูน | – | ไม่มี | ถนนวังขวา ไปอำเภอป่าซาง, เชียงใหม่, ลำปาง | ||
– | ถนนจามเทวี ไปอำเภอสันป่าตอง | ไม่มี | |||
– | ถนนรอบเมืองใน ไปอำเภอป่าซาง | ถนนรอบเมืองใน ไปเชียงใหม่, ลำปาง | |||
ตรงไป: ถนนเจริญราษฎร์ ไปเชียงใหม่ | |||||
ลำพูน–อุโมงค์ | |||||
ลำพูน | 158+556 | − | เชื่อมต่อจาก: ถนนเจริญราษฎร์ จากเมืองลำพูน | ||
160+085 | – (แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านเหนือ) |
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไปอำเภอแม่ทา | ทล.1136 ไปบรรจบ ทล.11, ลำปาง | ||
แยกป่าเห็ว | ถนนป่าเห็ว–ริมปิง ไปตำบลริมปิง, อำเภอสันป่าตอง, บรรจบทล.1015 | ไม่มี | |||
เชียงใหม่-ลำพูน(ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่) | |||||
เชียงใหม่ | แยกกองทราย | ทล.121 ไปอำเภอหางดง | ทล.121 ไปอำเภอสันกำแพง | ||
สะพานเวียงกุมกามโบราณสถาน | 132 ทล.132 ไปอำเภอหางดง | 132 ทล.132 ไปอำเภอสันกำแพง | |||
แยกหนองหอย | ถนนมหิดล ไปแม่ฮ่องสอน, ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ถนนมหิดล ไปอำเภอสันกำแพง | |||
แยกสะพานนวรัฐ | ถนนเจริญเมือง เข้าเมืองเชียงใหม่ | ถนนเจริญเมือง ไป อำเภอสันกำแพง บรรจบ ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง | |||
แยกขัวนครพิงค์ฝั่งตะวันออก | ถนนแก้วนวรัฐ เข้าเมือง เชียงใหม่ | ถนนแก้วนวรัฐ ไป อำเภอดอยสะเก็ด,เชียงราย | |||
แยก ร.9 ฝั่งตะวันออก | ถนนรัตนโกสินทร์ เข้าเมือง เชียงใหม่ | ถนนรัตนโกสินทร์ ไป สามแยกสุสานสันกู่เหล็ก,สถานีอาเขต,อำเภอสันทราย,อำเภอดอยสะเก็ด | |||
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ไป ดอยสุเทพ,อำเภอแม่ริม | ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ไป เชียงราย,ลำพูน,ลำปาง | ||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]- เพลง "เชียงใหม่ 106" ของวงซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-27.
- ↑ หนึ่งเดียวในไทย ถนนต้นยางนาอายุกว่า 150 ปี นับพันต้น รุกขมรดกของแผ่นดิน
- ↑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๓๙ เรื่อง ซ่อมและสร้างถนนกับที่ว่าการมณฑลพายัพ (๔ มีนาคม ๑๑๔ – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๑๖)
- ↑ ปีแอร์ โอร์ต . พิษณุ จันทร์วิทัน (แปล). ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สายธาร, 2546.
- ↑ เจ้าราชบุตร. (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร(วงษต์วัน ณ เชียงใหม่) ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2561). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, โทระเลขข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ แลใบบอกข้าหลวงประจำเมืองน่าน, เล่ม 17, ตอน 12, 17 มิถุนายน ร.ศ. 119, หน้า 114.
- ↑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๔๒ เรื่อง พระยาศรีสหเทพ ตรวจจัดราชการต่างๆ ในมณฑลพายัพ (๓๐ มกราคม – ๒๖ มีนาคม ๑๑๘).
- ↑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ม.๕๘/๔๖ เรื่องก่อสร้างซ่อมถนนถนนหนทาง แลตะพานในมณฑลพายัพ (๒๗ กรกฎาคม ๑๒๐ – ๓๐ สิงหาคม ๑๒๔).
- ↑ วรชาติ มีชูบท. ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน.
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำพูน, 2542, หน้า 275-277.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม