ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครบุรีรัมย์

พิกัด: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°E / 14.99417; 103.10222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครบุรีรัมย์
ถนนรมย์บุรียามเย็น
พระสุภัทรบพิตรบนเขากระโดง
คำขวัญ: 
คูเมืองโบราณ ตำนานเล่าขาน อาหารเลิศรส งามงดประเพณี คนดีมีน้ำใจ
แผนที่
ทน.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์
ที่ตั้งของเทศบาลนครบุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทน.บุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ทน.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.บุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์
ทน.บุรีรัมย์ (ประเทศไทย)
พิกัด: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°E / 14.99417; 103.10222
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอเมืองบุรีรัมย์
จัดตั้ง
  •  • 14 กุมภาพันธ์ 2479 (ทม.บุรีรัมย์)
  •  • 31 ตุลาคม 2567 (ทน.บุรีรัมย์)
พื้นที่
 • ทั้งหมด75.44 ตร.กม. (29.13 ตร.ไมล์)
ความสูง163 เมตร (535 ฟุต)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด23,364 คน
รหัส อปท.04310102
สนามบินIATA: BFV – ICAO: VTUO
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนรมย์บุรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เว็บไซต์www.buriramcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์

เทศบาลนครบุรีรัมย์เดิมมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมเพียงตำบลในเมืองทั้งตำบล รวม 6.0 ตารางกิโลเมตร (3,800 ไร่) แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุมเพิ่มเติมถึงตำบลอิสาณทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเสม็ด (เฉพาะหมู่ที่ 9, 11, 13 และ 16) รวมทั้งหมด 75.44 ตารางกิโลเมตร (47,150 ไร่) และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครไปพร้อมกัน นับเป็นเทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน

ประวัติศาสตร์

[แก้]
สำนักงานเทศบาลนครบุรีรัมย์

เทศบาลนครบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นเทศบาลเมืองในชื่อ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งในขณะนั้นมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[2]

ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด[3]

ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยยุบรวมเทศบาลตำบลอิสาณทั้งหมด รับโอนพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด และเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองขึ้นเป็น เทศบาลนครบุรีรัมย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม[4][5][6]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร เขตเทศบาลนครบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ดและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนวน (อำเภอห้วยราช) และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด เขตเทศบาลตำบลบ้านบัว และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหนองตาด (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)

สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครบุรีรัมย์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C 31.67 34.02 36.02 36.45 33.87 34.35 33.60 33.07 32.57 31.25 30.52 29.77 33.10
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C 17.65 20.10 22.65 24.47 24.50 24.80 24.37 24.17 24.22 23.32 20.87 18.30 22.45
หยาดน้ำฟ้า มม 0.07 7.10 42.02 113.75 241.87 100.82 176.10 109.87 288.90 177.50 94.27 6.00 1,358.27
Average high °F 89.01 93.24 96.84 97.61 92.97 93.83 92.48 91.53 90.63 88.25 86.94 85.59 91.58
Average low °F 63.77 68.18 72.77 76.05 76.1 76.64 75.87 75.51 75.6 73.98 69.57 64.94 72.41
Precipitation inches 0.0028 0.2795 1.6543 4.4783 9.5224 3.9693 6.9331 4.3256 11.374 6.9882 3.7114 0.2362 53.4752
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0 2 5 10 20 14 18 12 18 14 5 2 120
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ประชากร

[แก้]

จำนวนประชากรในเทศบาลนครบุรีรัมย์ ตามสถิติการทะเบียนราษฎรเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนรวมทั้งหมด 50,632 คน แบ่งออกตามพื้นที่เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงฐานะได้ดังนี้[7]

  • เทศบาลเมืองบุรีรัมย์เดิม จำนวน 22,887 คน
  • เทศบาลตำบลอิสาน จำนวน 22,097 คน
  • หมู่บ้านที่เคยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด
    • หมู่ที่ 9 จำนวน 1,305 คน
    • หมู่ที่ 11 จำนวน 1,440 คน
    • หมู่ที่ 13 จำนวน 1,810 คน
    • หมู่ที่ 16 จำนวน 1,093 คน

ชุมชนและหมู่บ้าน

[แก้]
ชุมชนและหมู่บ้านในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ แบ่งตามตำบลท้องที่
ตำบลในเมือง
  1. ชุมเห็ด
  2. หลักสถานีรถไฟ
  3. หนองปรือ
  4. ประปาเก่า
  5. หน้าสถานีรถไฟ
  6. บุลำดวนเหนือ
  7. ตลาด บ.ข.ส.
  8. หลังศาล
  9. เทศบาล
  10. ตลาดสด
  11. วัดอิสาณ
  12. บุลำดวนใต้
  13. หลังราชภัฏ
  14. ต้นสัก
  15. หลักเมือง
  16. สะพานยาว
  17. โคกกลาง
  18. ฝั่งละลม
ตำบลอิสาณ
  1. ชุมชนโคกวัด
  2. ชุมชนโคกใหญ่
  3. ชุมชนโคกหัวช้าง
  4. ชุมชนไทยเจริญ
  5. ชุมชนหนองโพรง
  6. ชุมชนโคกสะอาด
  7. ชุมชนห้วย
  8. ชุมชนหนองแปบ
  9. ชุมชนยาง
  10. ชุมชนหัวลิง
  11. ชุมชนโพธิ์ศรีสุข
  12. ชุมชนไผ่น้อย
  13. ชุมชนโคกขุนสมาน
  14. ชุมชนสวนครัว
  15. ชุมชนศิลาชัย
  16. ชุมชนโคกมะกอก
  17. ชุมชนหินลาด
  18. ชุมชนทรัพย์สมบูรณ์
ตำบลเสม็ด (บางส่วน)
  1. หมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่
  2. หมู่ที่ 11 บ้านโคกเขา
  3. หมู่ที่ 13 บ้านเขากระโดง
  4. หมู่ที่ 16 บ้านศิลาทอง

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

  • ระดับก่อนประถมศึกษา 4 แห่ง
  • ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 10 แห่ง
  • ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส) 3 แห่ง
  • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และ โรงเรียนภัทรบพิตร
  • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร 3 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร และโรงเรียนเทศบาล 3 เมืองบุรีรัมย์
  • ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 2 แห่ง คือ โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา และโรงเรียนฮั่วเคี้ยวบุรีรัมย์
  • ระดับวิทยาลัยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ โรงเรียนเบญจเทคโน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม 3 แห่ง คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดกลางวพระอารามหลวง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอิสาณ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดธรรมธีราราม
  • ระดับมหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สาธารณสุข

[แก้]
โรงพยาบาลบุรีรัมย์

การสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีดังนี้

โทรคมนาคมและการสื่อสาร

[แก้]
เสาสัญญาณองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)

สาธารณูปโภค

[แก้]

เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 21,084 ครัวเรือน มีห้วยจระเข้มาก และห้วยชุมเห็ดเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง

ในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 21,084 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด

การขนส่ง

[แก้]

เทศบาลนครบุรีรัมย์สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน

เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลักที่อยู่ใกล้เคียงดังนี้

ทางราง

[แก้]
สถานีรถไฟบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทศบาล

สถานีรถไฟบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางตอนเหนือของเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากบุรีรัมย์สู่พื้นที่อื่น ๆ ของตัวจังหวัด และภาคอีสาน ทั้งรถไฟด่วนและรถไฟธรรมดา อาทิเช่น รถไฟสายสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี, นครราชสีมา–อุบลราชธานี, กรุงเทพ (หัวลำโพง)–สุรินทร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ จะมีรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี และกรุงเทพ–ศรีสะเกษ เปิดเดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน

ทางถนน

[แก้]

ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติส ถนนสายสำคัญในตัวเมือง อาทิเช่น ถนนธานี, ถนนรมย์บุรี, ถนนปลัดเมือง, ถนนจิระ, ถนนสุนทรเทพ, ถนนนิวาศ

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง ให้บริการรถโดยสารในหลายเส้นทาง อาทิเช่น สายกรุงเทพ–บุรีรัมย์, กรุงเทพ–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์, กรุงเทพ–ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์–นางรอง, บุรีรัมย์–นครราชสีมา รถประจำทางในเมืองบุรีรัมย์ คือ รถสองแถว สายสีชมพู ให้บริการในสองเส้นทาง (สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง และสายบ้านบัว) ในอดีตเคยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในตัวเมือง แต่ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ หรือ สนามบินบุรีรัมย์ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองบุรีรัมย์มากที่สุด ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมือง 34 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สายการบินที่ให้บริการคือ นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย เปิดทำการทุกวัน

เศรษฐกิจ

[แก้]

อุตสาหกรรม

[แก้]

โรงงานอุตสาหกรรม มี 6 แห่ง ได้แก่

  1. บริษัท ศิลาชัย (1991) จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลอิสาณ
  2. บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลอิสาณ
  3. หิดลาด จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 ตำบลอิสาณ
  4. บริษัท แอดเดอร์รานท์ไทย จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 ตำบลอิสาณ
  5. บริษัท สรรไท ซุปเปอร์เทค จำกัด ตั้งอยู่ที่ 999 หมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่ ตำบลเสม็ด
  6. บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด ตั้งอยู่ที่ 333 หมู่ที่ 16 บ้านศิลาทอง ตำบลเสม็ด

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
  • โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
  • โรงเรียนภัทรบพิตร
  • โรงเรียนโสภณวรวัฒน์วิทยา
  • โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์
  • โรงเรียนฮั่วเคี้ยวบุรีรัมย์
  • โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์
  • โรงเรียนบ้านโคกสะอาดวิทยาคาร
  • โรงเรียนบ้านโคกวัด
  • โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา
  • โรงเรียนประกาศธรรมคุณวิทยา
  • โรงเรียนเบญจเทคโน
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
  • โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา
  • โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร
  • โรงเรียนเทศบาล 3 เมืองบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
  • กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26
  • สถานีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์
  • กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์
  • สถานีดับเพลิงเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
  • สระว่ายน้ำ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
  • ห้องสมุดประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์
  • สวนสาธารณะรมย์บุรี
  • คลองละลม (ตั้งอยู่กลางเมืองบุรีรัมย์มีลักษณะเป็นรูปวงรี แบ่งเป็น 6 ส่วนหรือ 6 ลูก)
  • วัดกลางพระอารามหลวง
  • ทวีกิจ พลาซ่า
  • ตลาดไนท์บาซาร์
  • ตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์
  • สถานีรถไฟบุรีรัมย์
  • สถานบันเทิงย่านตะวันแดง
  • ช้างอารีนา
  • ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต
  • อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
  • ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
  • สนามกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
  • กองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดบุรีรัมย์
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์
  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์
  • แขวงทางหลวงบุรีรัมย์
  • วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง
  • “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ประชากร
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลอิสาณ รับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดมารวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แยกพื้นที่บางส่วนไปรวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  7. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน)". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ที่มา:โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  9. 9.0 9.1 9.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]