ข้ามไปเนื้อหา

เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ

พิกัด: 13°44′00″N 100°35′12″E / 13.73333°N 100.58667°E / 13.73333; 100.58667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ
ซากอาคารซานติก้าผับ หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ วันที่ 4 มกราคม 2552
วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-01-01)
สถานที่ซานติก้าผับ
ที่ตั้ง235/11 ซอยสุขุมวิท 63 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°44′00″N 100°35′12″E / 13.73333°N 100.58667°E / 13.73333; 100.58667
ประเภทเพลิงไหม้
สาเหตุพลุ หรือ ระบบไฟฟ้าระเบิด
เสียชีวิต67 ราย
บาดเจ็บไม่ถึงตาย222 ราย

เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 มีผู้เสียชีวิต 66 คน[1][2] (สื่อมวลชนไทยรายงานว่าเสียชีวิต 66 คน)[3]อายุต่ำสุด 17 ปี เด็กนักเรียนชาย 2 คน สูงสุดอายุ 51 ปี โดยสื่อมวลชนไทย รายงานผู้เสียชีวิตชื่อทรงพลถึง 3 ราย และนามสกุลคล้ายกันมาก ได้แก่ นาย ทรงพล หวังทวีวงศ์ นาย ทรงพล ธาโพธิ์ เสียชีวิตที่เกิดเหตุ และ นาย ทรงพล โปธา เสียชีวิตที่ สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี[4]ในวันที่ 22 มีนาคม พบศพเพิ่มเติมอีกหนึ่งราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 225 คนในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 45 ราย (สื่อมวลชนไทยรายงานว่า 222 คนที่บาดเจ็บ)[5][6] เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังช่วงจัดงานปีใหม่[7] เวลา 00.35 น.[8] ชาวต่างชาติจากประเทศออสเตรเลีย เบลเยียม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น เนปาล เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้รับบาดเจ็บในเหตุนี้ด้วย[5][7][9][8] และมีชาวต่างชาติจากประเทศสิงคโปร์ 3 ราย ประเทศญี่ปุ่น 1 รายประเทศซูดาน 1 รายเสียชีวิต ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น 1 ราย ลูกครึ่งไทย-พม่า 1 ราย ลูกครึ่งไทย-ฟิลิปปินส์ และ ลูกครึ่งไทย-แคนาดา 1 ราย[10]

ก่อนเกิดเหตุ

[แก้]

ซานติก้าผับได้เปิดทำการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ซานติก้าผับเป็นอาคารเดี่ยวในพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตรปลูกอยู่ในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ยกระดับ 3 ชั้น เป็น ชั้น1 ชั้น 2 และชั้นใต้ดิน ซานติก้าผับ มีประตูทางออก 4 ประตู โดยแบ่งเป็น ประตูทางออกสำหรับบุคคลสำคัญ และ ประตูทางออกสำหรับออกไปสูบบุหรี่ ประตูทางออกหลัก 2 ประตู ซานติก้าผับได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานบันเทิงที่มีชื่อเสียงและหรูหราที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยซึ่งมีกำหนดหมดสัญญาเช่าในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ทางผับได้จัดงานอำลาวันสุดท้ายของผับขึ้นโดยเชิญ โจอี้ บอย และนักร้อง ดีเจ มาร่วมคืนฉลองส่งท้ายวันทำการวันสุดท้ายของซานติก้าผับ ใช้ชื่องานว่า "goodbye santika 2009"

วันเกิดเหตุ

[แก้]

31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาที่ผับเพื่อฉลองปีใหม่ ในค่ำคืนนั้น มีการจุดไฟเย็น ดื่มเหล้า ทานอาหารและแสดงดนตรี จำนวนคนร่วมงานคาดการณ์ว่ามากถึง 1000 คน ซึ่งเกิดกว่าขีดจำกัดของทางผับที่รับได้ประมาณ 500 คน[11] นักท่องเที่ยวทั้งหมดเข้ามาจากทางประตูหน้าที่มีความกว้างสองเมตรครึ่ง จำนวนคนในผับแน่นขนัดทั้งสองชั้นและบริเวณบันได

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 นักท่องเที่ยวได้จุดพลุไฟเย็นในขณะที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อมีการแจกพลุกระดาษให้กับนักท่องเที่ยวพวกเขาจุดพลุกระดาษจนไปติดไฟสปอร์ตไลท์ ขณะนั้น แม้ว่า เพลิงไหม้แล้ว นักท่องเที่ยวยังไม่ทราบว่าเกิดเหตุ มีคนตะโกนว่า "เอฟเฟกต์ เอฟเฟกต์" ภายหลังจึงพบหลักฐานในที่เกิดเหตุ หลักฐานดังกล่าวคือกล้องที่ตกอยู่ ซึ่งบันทึกภาพการแสดงในช่วงเวลาที่เกิดเหตุไฟไหม้ได้ เผยให้เห็นภาพการแสดงของวงเบิร์น ที่เมื่อแสดงจบนักร้องนำคนดังกล่าวก็ได้เดินออกไปข้างเวที ก่อนที่สเปเชียลเอฟเฟกต์จะถูกจุดขึ้นกลางเวที ในตอนนั้นที่นักร้องคนใหม่เดินเข้ามา ก่อนที่จะเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเพลิงที่ไหม้ซานติก้าผับ แท้จริงแล้วเกิดจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ของเวที ซึ่งเกิดจากระบบไฟฟ้า ไม่ใช่พลุกระดาษที่นักร้องนำวงเบิร์นเป็นคนจุด[12]ภายหลังจากนั้นไฟฟ้าในอาคารได้ดับลง กว่าจะทราบว่าเป็นเพลิงไหม้ เพลิงก็ได้ทำการลุกไหม้จากบริเวณชั้นสอง ทำให้โครงสร้างถล่มลงมา เนื่องจากภายในผับมีวัตถุที่เอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ อาทิ ผนังโฟม สุรา ฯลฯ เพลิงจึงลุกไหม้อย่างรวดเร็ว นักท่องเที่ยวพยายามหนีออกมาทางประตูด้านหน้า ซึ่งมีขนาดเพียงสองเมตรครึ่ง เนื่องจากไม่ทราบทางออกอื่น แต่ไม่สามารถออกมาได้เนื่องจากคนแน่นขนัดมาก และ ประตูมีขนาดเล็ก คนที่ล้มลงในสถานที่เกิดเหตุไม่สามารถลุกขึ้นมาได้และถูกเหยียบซ้ำสภาพศพหลายศพถูกทับกัน

ต้นเหตุ

[แก้]

ต้นเหตุการเกิดไฟไหม้ครั้งนี้ ตอนแรกทางตำรวจสันนิษฐานว่ามาจากการยิงพลุกระดาษ โดยก่อนเกิดไฟไหม้หลังจากวงเบิร์นได้แสดงเสร็จ มีการแจกไฟเย็น โดยการโยนให้กับนักท่องเที่ยวและมีการยิงพลุกระดาษจนไปติดสปอร์ตไลท์ด้านบนจึงเกิดประกายไฟและไฟไหม้ ในเวลาต่อมาทางตำรวจได้แจ้งจับนักร้องนำวงเบิร์น ด้วยข้อหาเป็นคนจุดพลุไฟ จนทำให้เกิดเพลิงไหม้

อย่างไรก็ตาม เมื่อทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุอีกครั้ง พวกเขาก็ได้พบกับหลักฐานชิ้นสำคัญซึ่งช่วยพิสูจน์ความบริสุทธิ์แก่นักร้องนำวงเบิร์นได้ รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ต้นเพลิงมาจากอะไรกันแน่ หลักฐานดังกล่าวคือภาพจากกล้องวงจรปิดของซานติก้าผับ ซึ่งสามารถบันทึกภาพการแสดงในช่วงเวลาที่เกิดเหตุไฟไหม้ได้ เผยให้เห็นภาพการแสดงของวงเบิร์น ที่เมื่อแสดงจบนักร้องนำคนดังกล่าวก็ได้เดินออกไปข้างเวที ก่อนที่สเปเชียลเอฟเฟกต์จะถูกจุดขึ้นกลางเวที ในตอนนั้นที่นักร้องคนใหม่เดินเข้ามา ก่อนที่จะเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเพลิงที่ไหม้ซานติก้าผับ แท้จริงแล้วเกิดจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ของเวทีและเกิดจากระบบไฟฟ้า ไม่ใช่พลุกระดาษที่ตำรวจกล่าวหาว่านักร้องนำวงเบิร์นเป็นคนจุด

หลังเกิดเหตุ

[แก้]

มีการสั่งย้ายผู้อำนวยการเขตปทุมวันและเขตวัฒนา และนำคดีฟ้องศาล ศาลฎีกามีคำสั่ง จำคุก นายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ และและนายบุญชู เหล่าสีนาท กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัทโฟกัสไลท์ ซาวน์ซิสเต็ม คนละ 3 ปี ทั้งให้ชดใช้โจทก์ร่วมที่บาดเจ็บและเสียชีวิต อีก 5.12 ล้านบาท[13]

นอกจากนั้นมีกลุ่มผู้เสียหาย 12 คน ไปยื่นฟ้อง กทม. ต่อศาลปกครองกลาง เนื่องจากละเลยไม่ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมอาคารที่เปิดเป็นสถานบริการ ซานติก้าผับ ศาลปกครองอ่านคำพิพากษาให้ กทม. ชดเชยค่าเสียหายให้ทั้ง 12 คน ในจำนวนร้อยละ 20 ของค่าเสียหายทั้งหมดที่ผู้เสียหายเรียกร้อง พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษา เนื่องจากศาลเห็นว่า กทม. มีส่วนร่วมในการปล่อยปละละเลยการตรวจตราสถานบันเทิง ซานติก้าผับ[14]

ภายหลังเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับมีการออก กฎกระทรวง กำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. 2555[15] สาระสำคัญคือได้แบ่งขนาดพื้นที่บริการ 6 ประเภท ตามขนาดพื้นที่และลักษณะอาคารเดี่ยว หรือสถานบริการหลายประเทศรวมกัน กำหนดตำแหน่งบันไดหนีไฟอย่างน้อย 2 ทาง รวมถึงทางออก และประตูทางออก ที่สอดคล้องกับจำนวนคนสูงสุดที่อยู่ในพื้นที่บริการ มีการกำหนดโครงสร้างหลัก โครงสร้างหลังคาที่ต้องมีอัตราทนไฟ รวมทั้งมีอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ หรือหัวจ่ายน้ำดับเพลิง ตามขนาดสถานบริการ เป็นต้น[16]

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการพบชิ้นส่วนกระดูกเพิ่มเติมที่ชั้นสองของอาคาร[17]ส่งผลให้ พ.ต.ต.อุเทน ทักขิโน พนักงานสอบสวน.ทองหล่อเดินทางมารับชิ้นส่วนกระดูกและซากโทรศัพท์มือถือไอโฟนอย่างไรก็ตามไม่ได้มีการเปิดเผยผลการสอบสวนแต่อย่างใด

ปัจจุบันซอยเอกมัย 11 ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของซานติก้า ถูกพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้มอล แอท เอกมัย[18]

ผู้เสียชีวิต

[แก้]

มีผู้เสียชีวิตในระหว่างการชุมนุมทุกเหตุการณ์ทั้งหมด 66 ราย บุคคล

  1. น.ส. กุลธิดา หอมพิกุล อายุ 29 ปี
  2. น.ส. สิรภัทร มณีสว่างวงศ์ อายุ 24 ปี
  3. น.ส. กานต์ธิดา วิโนทัย อายุ 30 ปี
  4. น.ส. ภัชรีย์ คุ้มผล อายุ 25 ปี
  5. นาย ต่อศักดิ์ อยู่โต อายุ 51 ปี
  6. นาย กานต์ ไกรศรี อายุ 37 ปี
  7. นาย สุรศักดิ์ สุวรรณวิเศษกุล อายุ 17 ปี
  8. นาย กริช ณรงค์ อายุ 36 ปี
  9. น.ส. วิไลรัฐ ยงค์รัมย์ อายุ 23 ปี
  10. น.ส. อนงลักษณ์ อาจนนลา อายุ 26 ปี
  11. น.ส. อัมแพวา บูรพาพิธักษ์ภูมิ อายุ 37 ปี
  12. น.ส. พรรณทิพา บัวมาก อายุ 31 ปี
  13. น.ส. แพง อัยรา อายุ 28 ปี
  14. นาย ชาญวิทย์ วุฒิเลิศอนันต์ อายุ 22 ปี
  15. น.ส. สุมาลี เมฆทรัพย์ อายุ 26 ปี
  16. นาย ยศธร กุภาพันธ์ อายุ 17 ปี
  17. นาย ทรงพล หวังทวีวงศ์ อายุ 24 ปี
  18. น.ส. ลีลาวดี บุญพรม อายุ 34 ปี
  19. นาย เฉลิมชนม์ บุญพรม อายุ 20 ปี
  20. น.ส .การดา บุญเหง้า อายุ 24 ปี
  21. น.ส. รุ่งนภา ไทยประเสริฐ อายุ 30 ปี
  22. นาย สมิต ยินดีธรรมกิจ อายุ 25 ปี
  1. นาย ปุณรัตน์ แสนเมืองชิน อายุ 30 ปี
  2. น.ส. พิมพ์ฤดี อินทร์สุข อายุ 26 ปี
  3. น.ส. พรพิมล หลำจำนงค์ อายุ 21 ปี
  4. นาย เสกสรร กิ่งแก้ว อายุ 30 ปี
  5. นาย ธนวัติ พรมยศ อายุ 27 ปี
  6. นาย มีศักดิ์ แก้วละเอียด อายุ 29 ปี
  7. นาย สุรพล เมฆไพร อายุ 21 ปี
  8. นาย มงคล วันบันเทิง อายุ 22 ปี
  9. น.ส. สุมัทธนา คุ้มม่วง อายุ 25 ปี
  10. น.ส. จันทร์เจ้า แผนสมบูรณ์ อายุ 29 ปี
  11. น.ส. พรเพ็ญ อมรรัตน์โชติ อายุ 30 ปี
  12. Mr. LU WEIYE อายุ 26 ปี ชาวสิงคโปร์
  13. น.ส. ชาลัยกา ชาเวส พานแก้ว อายุ 28 ปี
  14. Mr. WIN KYAW DHYDB ชาวพม่า
  15. Mr. BEE SOON LESLIE อายุ 41 ปี ชาวสิงคโปร์
  16. น.ส. บุศรินทร์ สินทรัพย์ อายุ 30 ปี
  17. นาย กษิดิส เหมือนเดช อายุ 25 ปี
  18. น.ส. จีราภัทร กลีบเมฆ อายุ 32 ปี
  19. นาย พันธกานต์ เจริญพานิช อายุ 21 ปี
  20. นาย มาร์ค เลาพิกานนท์ อายุ 28 ปี
  21. น.ส. ปัญญา ไชยสิทธิ์ อายุ 30 ปี
  22. น.ส. ธัญญาภรณ์ ต้นสวรรค์ อายุ 26 ปี
  1. น.ส. อภิชญา สิริกมลรุ่งโรจน์ อายุ 23 ปี
  2. นาง มณีวัลย์ อุบลมณี อายุ 29 ปี[19]
  3. Mr. Teo sze siong ชาวสิงคโปร์
  4. นาง จรินทร์ ซูซูกิ อายุ 30 ปี
  5. นาย ทิวากร ปิณฑะบุตร อายุ 27 ปี
  6. นาย จักรชัย น่วมเจริญ อายุ 20 ปี
  7. น.ส. วีณา กาญจนวิจิตร อายุ 29 ปี
  8. น.ส. วราศรี ปัญญาทิพย์ อายุ 26 ปี
  9. นาย นคร เจริญศุภกุล อายุ 31 ปี
  10. น.ส. วัลยา ซำคง อายุ 34 ปี
  11. น.ส. กฤติมา ตันติจตุรพร อายุ 29 ปี
  12. นาย ศุภฤกษ์ พัฒนสิน อายุ 22 ปี
  13. น.ส. จีระพันธุ์ มาพรม อายุ 27 ปี
  14. นาย อาทิตย์เทพ ปฐมานุรักษ์ อายุ 35 ปี
  15. นาย ทรงพล โปทา
  16. นาย ยุทธนา ตันไพบูลย์ผล อายุ 26 ปี
  17. น.ส. วิภาพรรณ ถนอมปัญญารักษ์ อายุ 30 ปี
  18. น.ส. วิระฉัตร เทียนทอง อายุ 24 ปี
  19. น.ส. เดือนเพ็ญ พรมทอง อายุ 24 ปี
  20. นาย เคอิจิ วาดะ อายุ 25 ปี ชาวญี่ปุ่น
  21. น.ส. มนันท์ยา บุญสาร อายุ 47 ปี[20]
  22. น.ส. มายะดะห์ ฮัซซัน อาลี อะห์หมัด อายุ 25 ปี ชาวซูดาน[21]

สื่อร่วมสมัย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Disturbing details in Thai blaze inquiry BBC News, 4 April 2009
  2. ยอดเหยื่อซานติก้าเพิ่มเป็น 66 คน/ซูดานตายเช้านี้+หญิงไทยญาติเพิ่งแจ้ง
  3. เฮียขาวทำบุญ
  4. ญาติรับศพที่โรงพยาบาลอีกสี่ราย
  5. 5.0 5.1 Gray, Denis D. (2009-01-01). "Fire at Bangkok nightclub kills 61, injures 200". AP. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  6. Mydans, Seth (2009-01-01). "At Least 59 Die in Bangkok Club Fire". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  7. 7.0 7.1 "New Year inferno at Bangkok nightclub kills at least 58". AFP. 2009-01-01. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  8. 8.0 8.1 Young, Linda (2009-01-01). "Upscale Bangkok Nightclub Fire Kills 59 New Year's Revelers, Injures 200". AHN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  9. Schuettler, Darren (2009-01-01). "Bangkok fire kills at least 59 New Year clubbers". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  10. รายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมดซานติก้าผับ
  11. เพลิงไหม้ซานติก้าคร่าชีวิตผู้คน
  12. ซานติก้า ความร้อน ความตาย ที่ใกล้แค่เอื้อม
  13. "ย้อนรอยไฟไหม้ 'ซานติก้าผับ' ดับสลด 67 ศพ บทเรียน…ที่ไม่เคยจำ!". เดลินิวส์.
  14. "เปิดบทเรียน 'ซานติก้า' อุทาหรณ์นักท่องราตรี !". ไทยรัฐ.
  15. ""ไฟไหม้" ผับ "MountainB" บทเรียนและคำถามถึง ก.ม.ความปลอดภัยสถานบริการ". กรุงเทพธุรกิจ.
  16. "ย้อนรอย "ซานติก้าผับ" 14 ปีฝันร้ายคืนปีใหม่". ไทยพีบีเอส.
  17. ซานติก้าเฮี้ยนผีสาวโผล่เรียกรปภ.ตามหาชิ้นส่วน
  18. "สยามอรุณ กรุ๊ป ผุดไลฟ์สไตล์มอลล์ "แอทเอกมัย"". กรุงเทพธุรกิจ. 27 พฤศจิกายน 2021.
  19. เฮียขาวทำบุญให้เหยื่อซานติก้า วงเบิร์นปัดไม่เกี่ยวจุดเอฟเฟกท์
  20. จุฬาฯ เผยเหยื่อ “ซานติก้า” ตายแล้ว 59 สาหัสอีก 5
  21. เหยื่อซานติก้าชาวซูดานตายเพิ่มอีก 1 เหตุติดเชื้อ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]