จุดจบของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
รัฐประหาร 9 แตร์มีดอร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติฝรั่งเศส | |||||||
ภาพวาด Le IX thermidor an II โดย ชาร์ล มงแน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
แตร์มิดอร์เรียน |
รอแบ็สปีแยร์
| ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ระบุ | ผู้จงรักภักดี 3,000 คน | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ระบุ |
หลายคนล้วนถูกประหารชีวิต:
|
รัฐประหาร 9 แตร์มีดอร์ หรือ จุดจบของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เป็นการกล่าวถึงหนึ่งในเหตุการณ์ที่เริ่มต้นด้วยการกล่าวอภิปรายของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ต่อที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 แตร์มีดอร์ ปี 2 (26 กรกฏาคม ค.ศ. 1794) เขาถูกจับกุมในวันถัดไป และถูกประหารชีวิต เมื่อวันที่ 10 แตร์มีดอร์ ปี 2 (27 กรกฏาคม ค.ศ. 1794) ในคำกล่าวสุนทรพจน์ของวันที่ 8 แตร์มีดอร์ รอแบ็สปีแยร์ได้พูดถึงการมีอยู่ของศัตรูภายใน ผู้สมรู้ร่วมคิด และผู้ฟ้องร้องเท็จ(calumniators) ภายในสภาและคณะกรรมการปกครอง เขาได้ปฏิเสธที่จะให้มีการเอ่ยชื่อแก่พวกเขา ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกแก่เหล่าผู้แทนที่หวาดกลัวต่อรอแบ็สปีแยร์ที่กำลังเตรียมพร้อมจะกวาดล้างในสภาอีกครั้ง
ในวันถัดมา ด้วยภาวะความตึงเครียดกลางสภาทำให้ฌ็อง-ล็องแบร์-ตาลเลียง หนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิดที่รอแบ็สปีแยร์ได้มีความคิดที่จะกล่าวประณามโทษเขา ได้โน้มน้าวฝูงชนกลางสภาหันมาต่อต้านรอแบ็สปีแยร์และออกประกาศสั่งจับกุมเขา ในช่วงสิ้นสุดของวันถัดไป รอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิตในปลัสเดอลาเรวอลูว์ซียง ที่ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกสำเร็จโทษเมื่อปีก่อน เขาถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ