การประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789
การประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 (ฝรั่งเศส: États généraux de 1789) เป็นการประชุมสภาฐานันดรฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมครั้งก่อนหน้าเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1614 สภาฐานันดรเป็นสมัชชาใหญ่อันประกอบด้วยผู้แทน 1,200 คนจากสามฐานันดรแห่งราชอาณาจักร อันได้แก่ ฐานันดรที่หนึ่ง (พระ), ฐานันดรที่สอง (ขุนนาง) และฐานันดรที่สาม (สามัญชน)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมเพื่อเสนอทางออกแก่ปัญหาการคลังของราชสำนัก สภาฐานันดรมีการประชุมกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงมิถุนายน ค.ศ. 1789 การประชุมนี้มีข้อติดขัดตั้งวาระแรกของสมัยประชุม วาระนี้คือการพิจารณาระเบียบการออกเสียงว่าจะใช้ระบบเช่นใด ระหว่าง ระบบแรกคือฐานันดรทั้งสามจะออกเสียงได้ฐานันดรละหนึ่งเสียง อันจะให้ความได้เปรียบแก่สองฐานันดรแรกและต้องพระประสงค์ขององค์กษัตริย์ หรือระบบที่สองคือให้ผู้แทนทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียงเท่ากัน อันจะทำให้ฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนสมาชิกมากสุดได้เปรียบ
การประชุมสภาฐานันดรดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อฐานันดรที่สามแยกไปตั้งสมัชชาแห่งชาติ (Assemblée nationale) ทั้งเชิญอีกสองฐานันดรเข้าร่วมซึ่งขัดต่อพระราชประสงค์ อันเป็นสัญญาณการเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส