ข้ามไปเนื้อหา

ฐานันดรที่สามคือ?

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าแรกของฐานันดรที่สามคือ?

ฐานันดรที่สามคือ? (ฝรั่งเศส: Qu'est-ce que le Tiers-État?) เป็นจุลสารการเมืองที่ถูกเขียนขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1789 ไม่นานก่อนการปะทุของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยนักเขียนและนักบวชชาวฝรั่งเศสนามว่า คุณพ่อ(Abbé) แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (ค.ศ. 1748–1836) จุลสารดังกล่าวเป็นการตอบสนองของซีเยแย็สต่อคำเชิญของขุนคลังเอก ฌัก แนแกร์ สำหรับนักเขียนให้ชี้แจงว่า พวกเขาคิดว่าควรที่จะจัดตั้งสภาฐานันดรอย่างไร

ในจุลสารดังกล่าว ซีเยแย็สได้ให้เหตุผลว่า ฐานันดรที่สาม-ประชาชนทั่วไปของฝรั่งเศส-ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นชาติที่สมบูรณ์ในตัวเอง และไม่จำเป็นต้องมี "น้ำหนักตายตัว" ของอีกสองฐานันดร ฐานันดรที่หนึ่งและสองของคณะสงฆ์และชนชั้นสูง ซีเยแย็สได้ระบุว่าประชาชนต้องการผู้แทนที่แท้จริงในสภาฐานันดร ตัวแทนที่เท่าเทียมกับสองฐานันดรที่ได้นำมารวมตัวกัน และการออกคะแนนเสียงโดยนับตามจำนวนคนและไม่ใช่นับตามรายฐานันดร แนวคิดเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส

ใจความสรุป

[แก้]

จุลสารฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นเกี่ยวกับคำถามเชิงสมมุติสามข้อและคำตอบของซีเยแย็ส คำถามและคำตอบคือ :

  • ฐานันดรที่สามคืออะไร? ทุกสิ่งทุกอย่าง
  • ฐานันดรที่สามมีสถานะอะไรในโครงสร้างทางการเมืองที่เคยผ่านมาจนถึงทุกวันนี้? ไม่มี
  • ฐานันดรที่สามต้องการที่จะเป็นอะไร? บางสิ่งบางอย่าง

ตลอดทั้งหมดของจุลสารดังกล่าว ซีเยแย็สได้ให้เหตุผลว่าฐานันดรที่หนึ่งและที่สองนั้นแทบไม่มีความจำเป็นเลย และฐานันดรที่สามเป็นฐานันดรที่ถูกต้องตามกฏหมายเพียงแห่งเดียวของฝรั่งเศสอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งหมด ดังนั้น เขาจึงยืนยันว่า สมควรแทนที่อีกสองฐานันดรทั้งหมด ฐานันดรที่สามต้องทนแบกรับน้ำหนักของภาษีส่วนใหญ่