จาซินดา อาร์เดิร์น
จาซินดา อาร์เดิร์น | |
---|---|
Jacinda Ardern | |
จาซินดา อาร์เดิร์น เมื่อ ค.ศ. 2018 | |
นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์คนที่ 40 | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 – 25 มกราคม ค.ศ. 2023 | |
กษัตริย์ | |
ผู้สำเร็จราชการ | |
รอง | |
ก่อนหน้า | บิลล์ อิงกลิช |
ถัดไป | คริส ฮิปกินส์ |
หัวหน้าพรรคแรงงานคนที่ 17 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม ค.ศ. 2017 – 22 มกราคม ค.ศ. 2023 | |
รอง | เคลวิน เดวิส |
ก่อนหน้า | แอนดรูว์ ลิตเติล |
ถัดไป | คริส ฮิปกินส์ |
ผู้นำฝ่ายค้านคนที่ 36 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม ค.ศ. 2017 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 | |
รอง | เคลวิน เดวิส |
ก่อนหน้า | แอนดรูว์ ลิตเติล |
ถัดไป | บิลล์ อิงลิช |
รองหัวหน้าพรรคแรงงานคนที่ 17 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม ค.ศ. 2017 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 2017 | |
ผู้นำ | แอนดรูว์ ลิตเติล |
ก่อนหน้า | แอนเนตต์ คิง |
ถัดไป | เคลวิน เดวิส |
สมาชิกรัฐสภาสภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ สำหรับเมาท์อัลเบิร์ต | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 มีนาคม ค.ศ. 2017 | |
ก่อนหน้า | เดวิด เชียร์เรอร์ |
คะแนนเสียง | 21,246 |
สมาชิกรัฐสภาสภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ สำหรับพรรคแรงงาน แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2008 – 8 มีนาคม ค.ศ. 2017 | |
ถัดไป | เรย์มอนด์ ฮั้ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จาซินดา เคต ลอเรลล์ อาร์เดิร์น 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ฮามิลตัน, นิวซีแลนด์ |
พรรคการเมือง | แรงงาน |
คู่อาศัย | คลาร์ก เกย์ฟอร์ด (2013–ปัจจุบัน) |
บุตร | นีฟ เต อะโรฮา อาร์เดิร์น เกย์ฟอร์ด |
บุพการี |
|
ที่อยู่อาศัย | พรีเมียร์ เฮาส์, เวลลิงตัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแห่งไวกาโต (BCS) |
เว็บไซต์ | jacinda |
เดมจาซินดา เคต ลอเรลล์ อาร์เดิร์น[1] (อังกฤษ: Jacinda Kate Laurell Ardern; /dʒəˈsɪndə ɑːrˈdɜːrn/ jə-sin-də-_-ar;[2] เกิด 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1980) เป็นนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์คนที่ 40 นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สามของนิวซีแลนด์ และหัวหน้าพรรคแรงงานนิวซีแลนด์ (New Zealand Labour Party) ตั้งแต่ ค.ศ. 2017 เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภานิวซีแลนด์ครั้งแรกในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบบัญชีรายชื่อ (List MP) พรรคแรงงาน เมื่อ ค.ศ. 2008 ต่อมาได้รับเลือกตั้งในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรประจำเขตเลือกตั้งเมาท์อัลเบิร์ต ซึ่งเธอได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017[3]
อาร์เดิร์นเกิดที่เมืองฮามิลตัน เติบโตและเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา―มัธยมศึกษาในมอร์รินส์วิลล์ และมูรูปารา อาร์เดิร์นสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยไวกาโตเมื่อ ค.ศ. 2001 และได้เข้าทำงานตำแหน่งนักวิจัยในสำนักนายกรัฐมนตรีของอดีตนายกรัฐมนตรี เฮเลน คลาร์ก ต่อมาเธอได้ย้ายมาทำงานในกรุงลอนดอนในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักคณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จากนั้น ค.ศ. 2008 อาร์เดิร์นได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหภาพเยาวชนสังคมนิยมนานาชาติ อาร์เดิร์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2008 เป็นสมัยเดียวกันที่พรรคแรงงานแพ้การเลือกตั้งหลังจากที่เป็นรัฐบาลมา 9 ปี จากนั้นเธอก็ได้รับเลือกตั้งในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตเลือกตั้งเมาท์อัลเบิร์ต ในการเลือกตั้งซ่อมวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017
หลังจากการลาออกของแอนเนตต์ คิง รองหัวหน้าพรรคแรงงาน พรรคจึงได้มีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2017 เลือกอาร์เดิร์นขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคแทน ต่อจากนั้นเพียง 5 เดือน แอนดรูว์ ลิตเติล ก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวพรรค หลังผลคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคแรงงานได้ตกต่ำลงอย่างเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอาร์เดิร์นก็ได้รับการสนับสนุนอย่างไร้คู่แข่งเพื่อขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทนลิตเติล[4] หลังจากที่อาร์เดิร์นขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค แรงสนับสนุนที่มีต่อพรรคแรงงานก็ได้กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใต้การนำของอาร์เดิร์นพรรคแรงงานได้รับที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นถึง 14 ที่นั่งในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2017 จึงทำให้พรรคแรงงานมีที่นั่งรวมในสภา 46 ที่นั่งเอาชนะพรรคแห่งชาตินิวซีแลนด์ (New Zealand National Party) ที่มี 56 ที่นั่ง[5] ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างน้อยจากการเจรจากับพรรคนิวซีแลนด์เฟิสต์ (New Zealand First) และการสนับสนุนจากพรรคกรีน (Green Party of Aotearoa New Zealand) โดยมีจาซินดา อาร์เดิร์นเป็นนายกรัฐมนตรี เธอเข้าพิธีสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 โดยมีแพตซี เรดดีเป็นผู้สำเร็จราชการ[6] อาร์เดิร์นจึงกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลหญิงที่มีอายุน้อยที่สุดของโลกด้วยวัยเพียง 37 ปี[7] หนึ่งปีถัดมาในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2018 อาร์เดิร์นได้ให้กำเนิดบุตรสาว (ชื่อว่า นีฟ; Neve) ทำให้เธอเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งคนที่สองของโลกที่ให้กำเนิดบุตรขณะดำรงตำแหน่ง (คนแรกคือ เบนาซีร์ บุตโต)[8]
อาร์เดิร์นอธิบายว่าตนเองมีแนวคิดแบบประชาธิปไตยสังคมนิยมและเป็นพวกหัวก้าวหน้า[9][10] รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคแรงงานชุดที่ 6 ได้มุ่งเน้นในการจัดการวิกฤตที่อยู่อาศัยในประเทศ, ปัญหาความยากจนในเด็ก และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 หลังจากเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช อาร์เดิร์นได้เสนอกฎหมายควบคุมอาวุธปืนเป็นการเร่งด่วนเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว[11] และตลอด ค.ศ. 2020 เธอเป็นผู้นำในการควบคุมและจัดการกับการระบาดของโควิด-19[12] อาร์เดิร์นนำพรรคแรงงานคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2020 ด้วยที่นั่งในสภารวม 65 ที่นั่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์ที่มีพรรคการเมืองชนะด้วยเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของสภา นับตั้งแต่เริ่มใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนเมื่อ ค.ศ. 1996[13][14][15]
ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2023 อาร์เดิร์นประกาศว่าเธอจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานกับนายกรัฐมนตรี[16][17][18] หลังการเลือกตั้งให้คริส ฮิปกินส์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเธอ อาเดิร์นจึงลาออกจากหัวหน้าพรรคแรงงานในวันที่ 22 มกราคม และยอมรับการลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีต่อผู้สำเร็จราชการในวันที่ 25 มกราคม[19]
ชีวิตในวัยเยาว์ และการศึกษา
[แก้]อาร์เดิร์นเกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ที่เมืองฮามิลตัน ประเทศนิวซีแลนด์[20] เธอเติบโตในมอร์รินส์วิลล์ และมูรูปารา ที่ที่รอสส์ อาร์เดิร์น พ่อขอเธอทำงานเป็นตำรวจอยู่[21] ส่วนแม่ของเธอ ลอเรลล์ อาร์เดิร์น (สกุลเดิม: บัตทอมลีย์) ทำงานเป็นผู้ดูแลการจัดหาอาหารและโภชนาการในโรงเรียน[22][23] อาร์เดิร์นในวัยเยาว์เติบโตขึ้นในครอบครัวชาวคริสต์ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย อีกทั้งปู่ของเธอเอง เอียน เอส. อาร์เดิร์น ก็เป็นหนึ่งในบรรดาแอเรีย เซเวนตี (Area Seventy) ของศาสนจักร[24][25] อาร์เดิร์นเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมอร์รินส์วิล์คอลเลจ[26] ในขณะที่กำลังเรียนอยู่เธอได้รับเลือกให้ทำงานในคณะกรรมการประจำโรงเรียนในฐานะตัวแทนของฝ่ายนักเรียน[27] ในระหว่างที่เรียนชั้นมัธยมอาร์เดิร์นก็ได้เริ่มทำงานในร้านขายฟิชแอนด์ชิปส์ไปด้วย ซึ่งนี่ถือว่าเป็นอาชีพอาชีพแรกที่เธอเคยทำ[28]
อาร์เดิร์นเข้าเป็นสมาชิกพรรคแรงงานตอนอายุ 17 ปี[29] โดยมีป้าของเธอ มารี อาเดิร์น ผู้เป็นสมาชิกพรรคแรงงานมาอย่างยาวนานเป็นคนรับอาร์เดิร์นเข้ามาเพื่อช่วยทำงานหาเสียงให้กับแฮร์รี ไดน์โฮเวน เพื่อชิงตำแหน่ง ส.ส. เขตนิวไปล์เมาท์ ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1999[30]
อาร์เดิร์นเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไวกาโต และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรการสื่อสาร (Bachelor of Communication Studies; BCS) สาขาการเมืองและการประชาสัมพันธ์ ใน ค.ศ. 2001[31][32] ในปีเดียวกันนี้อาร์เดิร์นก็ได้ไปเรียนต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตตเป็นจำนวน 1 ภาคเรียน[33][34] หลังจากจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา เธอได้เข้าไปทำงานเป็นนักวิจัยในสำนักงานของฟิล กอฟฟ์ และสำนักนายกรัฐมนตรีเฮเลน คลาร์ก จากนั้นเธอได้ออกไปเป็นอาสาสมัครที่นครนิวยอร์ก, สหรัฐ โดยทำงานในโรงทานแจกอาหารให้แก่คนยากจน[35] และร่วมทำงานรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิแรงงาน[36] หลังจากนั้นอาร์เดิร์นได้ย้ายมาที่ลอนดอนใน ค.ศ. 2006[37] เพื่อมาดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งใน 80 ที่ปรึกษาระดับสูง ด้านนโยบาย ประจำนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์[38] (เธอไม่เคยพบกับแบลร์ตัวต่อตัวในขณะทำงานที่ลอนดอน แต่ต่อมาใน ค.ศ. 2011 เธอได้พบกับเขาในงานงานหนึ่งที่นิวซีแลนด์ ซึ่งโทนี แบลร์ได้มาร่วมงานด้วย อาร์เดิร์นได้พูดคุยและตั้งคำถามกับเขาเรื่องการตัดสินใจรุกรานอิรัก)[37] และอาร์เดิร์นได้ไปทำงานในลอนดอนอีกเป็นครั้งที่สองในการช่วยทบทวนและตรวจสอบนโยบายในอังกฤษและเวลส์[31][39]
อาชีพทางการเมืองในช่วงต้น
[แก้]ประธานสหภาพเยาวชนสังคมนิยมนานาชาติ
[แก้]อาร์เดิร์นในวัย 27 ปี เธอได้รับเลือกให้เป็นประธานสหภาพเยาวชนสังคมนิยมนานาชาติ (IUSY) จากการลงมติในการประชุมสหภาพประจำปี ค.ศ. 2008 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐโดมินิกัน วันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2008 โดยประธานที่ได้รับเลือกจะมีวาระ 2 ปี สิ้นสุดใน ค.ศ. 2010[40][41] การทำหน้าที่ประธานสหภาพระดับนานาชาติทำให้อาร์เดิร์นต้องเดินทางไปหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฮังการี, จอร์แดน, อิสราเอล, และจีน[31] ขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานสหภาพมาได้ครึ่งทาง อาร์เดินก็ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (List MP) สังกัดพรรคแรงงาน ถึงแม้จะมีงานในรัฐสภามาเพิ่ม เธอก็ยังสามารถรักษาในฐานะประธานสหภาพได้จนครบวาระ 15 เดือนที่เหลืออยู่
สมาชิกรัฐสภา
[แก้]ค.ศ. | ครั้งที่ | เขต | ลำดับ | พรรค | |
2008―2011 | 49 | บัญชีรายชื่อ | 20 | แรงงาน | |
2011―2014 | 50 | บัญชีรายชื่อ | 13 | แรงงาน | |
2014―2017 | 51 | บัญชีรายชื่อ | 5 | แรงงาน | |
2017 | 51 | เมาท์อัลเบิร์ต | แรงงาน | ||
2017―2020 | 52 | เมาท์อัลเบิร์ต | 1 | แรงงาน | |
2020―2023 | 53 | เมาท์อัลเบิร์ต | 1 | แรงงาน |
ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2008 อาร์เดิร์นอยู่ในอันดับที่ 20 ของรายชื่อแคนดิเดต ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นอันดับที่สูงมากสำหรับบุคคลที่ไม่เคยเป็น ส.ส. มาก่อน และแทบจะสามารถการันตีได้เลยว่าจะสามารถได้ที่นั่งในสภาอย่างแน่นอน หลังจากที่อาร์เดิร์นกลับจากลอนดอน และได้เริ่มการหาเสียงอย่างเต็มตัว[42] อาเดิร์นก็ได้เป็นแคนดิเดต ส.ส. แบบแบ่งเขต ประจำเขตการเลือกตั้งไวกาโตด้วย แม้จะไม่ได้รับชัยชนะในฐานะ ส.ส. เขตดังกล่าว แต่เธอก็ได้เข้าสู่รัฐสภาในฐานะ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากการคำนวณคะแนนโหวตพรรค ซึ่งเธออยู่ในอันดับที่สูงมากของอันดับบัญชีรายชื่อพรรคแรงงาน[43] เมื่อเข้าทำงานในรัฐสภา เธอกลายเป็น ส.ส. ที่อายุน้อยที่สุดในรัฐสภานิวซีแลนด์ขณะนั้น จนกระทั่งแกเรต ฮุจส์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[44]
ฟิล กอฟฟ์ ผู้นำฝ่ายค้านในสมัยนั้นได้สนับสนุนเธอจนได้ขึ้นมานั่งในตำแหน่งสมาชิกแถวหน้าของพรรคแรงงาน โดยให้เธอทำงานในฐานะโฆษกประจำคณะรัฐมนตรีเงาด้านกิจการเด็กและเยาวชน และงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน[45]
เธอมักจะปรากฏตัวเป็นประจำในช่วง "Young Guns" ของรายการ Breakfast สถานีโทรทัศน์ TVNZ โดยมักจะออกรายการพร้อมกับซีมอน บริดส์ ส.ส. พรรคแห่งชาติ (และผู้นำพรรคแห่งชาติในเวลาถัดมา)[46]
ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2011 อาร์เดิร์นได้ลงแข่งขันเลือกตั้งเพื่อชิง ส.ส. เขตออกแลนด์เซ็นทรัลในนามพรรคแรงงาน โดยมีคู่แข่งคนสำคัญ คือ พรรคขั้วตรงข้ามอย่างพรรคแห่งชาติ ที่ส่งนิกกี เคย์ ส.ส. เก่าที่ชนะการเลือกตั้งเขตนี้ในสมัยที่แล้ว และเดนิส รอช ผู้สมัครจากพรรคกรีน เธอรณรงค์หาเสียงด้วยการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโหวตอย่างมียุทธศาสตร์ โดยโน้มน้าวผู้ที่มีแนวโน้มจะเลือกพรรคกรีนเทกลับมาเลือกพรรคแรงงาน เพื่อรวมคะแนนเสียงเอาชนะพรรคแห่งชาติที่มีจุดยืนตรงข้ามกับทั้งสองพรรค แต่เมื่อผลการเลือกตั้งเขตออกมา เธอก็ยังไม่สามารถเอาชนะเคย์จากพรรคแห่งชาติไปได้ด้วยผลต่าง 717 คะแนน อย่างไรก็ตามอาร์เดิร์นก็ยังคงได้รับเลือกเข้าสู่สภาในฐานะ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคแรงงาน ลำดับที่ 13[47]
หลังจากการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคของกอฟฟ์ เนื่องจากความพ่ายแพ้ของพรรคแรงงานในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2011 อาร์เดินได้สนับสนุนเดวิด เชียร์เรอร์ มากกว่าเดวิด คันลิฟฟ์ในการขึ้นมาดำรงหัวหน้าพรรคคนใหม่ และในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ภายใต้การนำของเดวิด เชียร์เรอร์ หัวหน้าพรรคแรงงานคนใหม่ เธอก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีเงาอันดับสี่จากทั้งหมด 20 อันดับของคณะรัฐมนตรีเงา ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมเงา[45]
ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2014 อาร์เดิร์นได้ลงเลือกตั้งในเขตออกแลนด์เซนทรัลอีกครั้ง เธอได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสองรองจากเคย์เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามครั้งนี้เธอได้รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อน และผลต่างระหว่างคะแนนเสียงที่โหวตให้เคย์และคะแนนเสียงที่โหวตให้อาร์เดิร์นลดลงจาก 717 เป็น 600 คะแนน[48] แม้จะแพ้ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แต่ในขณะเดียวกันอาร์เดิร์นอยู่ในอันดับที่ห้า ของลำดับผู้ลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคแรงงาน ทำให้เธอสามารถรักษาที่นั่งในสภาได้อีกสมัย สำหรับการทำงานในสภาครั้งนี้อาร์เดิร์นได้รับหน้าที่เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงยุติธรรม, กระทรวงเยาวชน, กระทรวงธุรกิจขนาดย่อม และกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้การนำของแอนดรูว์ ลิตเติล[49]
ใน ค.ศ. 2014 อาร์เดิร์นได้รับคัดเลือก และเข้าร่วมการประชุมผู้นำโลกรุ่นใหม่ (Forum of Young Global Leaders) ที่จัดขึ้น ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสภาเศรษฐกิจโลก (WEF)[50] หลังจากนั้นเธอก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมผู้นำโลกรุ่นใหม่ (Young Global Leaders Alumni Community) และยังคงไปปาฐกถาในกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย WEF อยู่บ่อยครั้ง[51]
การเลือกตั้งซ่อมที่เมาท์อัลเบิร์ต
[แก้]อาร์เดิร์นได้เสนอตัวเข้าเป็นผู้ท้าชิง ส.ส. ในการเลือกตั้งซ่อมเขตเมาท์อัลเบิร์ต ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017[52] ภายหลังจากการลาออกของเดวิด เชียร์เรอร์ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2016 หลังจากปิดการให้เสนอตัวผู้ท้าชิงของพรรคแรงงานในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นเป็นเพียงคนเดียวที่ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกจากพรรคอย่างไรคู่แข่ง วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นได้เข้าร่วมขบวนวีเมนส์มาร์ช การประท้วงที่จัดขึ้นทั่วโลก เพื่อต่อต้านดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ชองสหรัฐในขณะนั้น[53] และในวันถัดมา (22 มกราคม) พรรคแรงงานก็ได้ลงมติยืนยันว่าอาร์เดิร์นจะเป็นตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งซ่อมที่จะจัดขึ้น[54][55] อาร์เดิร์นได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ได้รับคะแนนเสียงถึง 77 เปอร์เซ็นต์ในการเลือกตั้งดังกล่าว[56][57]
รองหัวหน้าพรรคแรงงาน
[แก้]หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งซ่อม อาร์เดิร์นได้รับการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคแรงงานในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2017 หลังจากการลาออกของแอนเนตต์ คิง ผู้ซึ่งตั้งใจจะวางมือจากงานการเมืองในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[58] ส่วนตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อที่เป็นที่นั่งเดิมของอาร์เดิร์น เรย์มอนด์ ฮัวได้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน[59]
ผู้นำฝ่ายค้าน
[แก้]1 สิงหาคม ค.ศ. 2017 เพียงเจ็ดสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงาน และตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในลำดับถัดมา สืบเนื่องจากการลาออกของแอนดรูว์ ลิตเติล ที่ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลคะแนนนิยมของพรรคที่ตกต่ำลงอย่างเป็นประวัติการณ์[60] ในที่ประชุมพรรคแรงงาน ในวันเดียวกันกับการลาออกของลิตเติล อาร์เดิร์นได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์และไร้คู่แข่งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนถัดไป[61] อาเดิร์นกลายเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานนิวซีแลนด์ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยอายุ 37 ปี[62] อีกทั้งเป็นหัวหน้าพรรคหญิงคนที่สองถัดจากเฮเลน คลาร์ก[63] อ้างจากคำบอกเล่าของอาร์เดิร์น ลิตเติลได้มาเข้ามาพบเธอก่อนหน้านั้น เมื่อ 26 กรกฎาคม ปีที่ผ่านมา เธอบอกว่าเขามีความคิดว่าเธอควรขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานแทนตัวเขา เนื่องจากเขามีความเห็นว่าเขาไม่สามารถพลิกฟื้นพรรคให้กลับมาดีขึ้นได้เลย ทว่าอาร์เดิร์นกลับปฏิเสธ และบอกเขาให้ "ทนต่อไปก่อน (Stick it out)"[64]
ในงานแถลงข่าวครั้งแรกหลังจากการขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคของเธอ เธอกล่าวว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงจะเป็นหนึ่งใน "ความเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดพัก (relentless positivity)"[29] ทันทีหลังจากการขึ้นดำรงตำแหน่ง พรรคแรงงานได้รับเงินบริจาคอย่างอย่างล้นหลาม ยอดสูงสุดถึง 700 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ต่อนาที (ประมาณ 17,200 บาทต่อนาที)[65] และผลสำรวจคะแนนนิยมของพรรคแรงงานได้ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงท้ายของเดือนสิงหาคม พรรคแรงงานได้รับคะแนนนิยมถึง 43 เปอร์เซ็นต์ ในการสำรวจของคอลมา บรุนตัน (จากเดิมที่ได้ 24 เปอร์เซ็นต์ในสมัยของหัวหน้าพรรคแอนดรูว์ ลิตเติล) อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่พรรคแรงงานได้คะแนนนิยมมากกว่าพรรคแห่งชาติ[64] อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่ต่อต้านสังเกตว่าการทำงานของเธอคล้ายกับแอนดรูว์ ลิตเติลอย่างมาก แล้วบอกว่าการเพิ่มขึ้นของความนิยมต่อพรรคแรงงานอย่างฉับพลันนั้นมีเหตุผลจากความหนุ่มสาวและลักษณะหน้าตาที่ดูดีของเธอ[62]
ในกลางเดือนสิงหาคม อาร์เดิร์นได้ระบุว่ารัฐบาลพรรคแรงงานจะจัดตั้งหน่วยการทำงานศึกษาเกี่ยวกับภาษีเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการในการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ และยกเลิกการเก็บภาษีบ้านและที่อยู่อาศัย[66][67] ภายหลังจากได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบอย่างกว้างขวาง อาร์เดิร์นตัดสินใจละทิ้งแผนการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในระหว่างการเป็นรัฐบาลสมัยแรก[68][69] ต่อมา แกรนต์ โรเบิร์ตสัน โฆษกกระทรวงการคลังชี้แจ้งว่ารัฐบาลพรรคแรงงานจะไม่เสนอการเรียกเก็บภาษีใหม่ใด ๆ จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งสมัยหน้า ค.ศ. 2020 การเปลี่ยนแปลงนโยบายเกิดขึ้นพร้อมกับข้อกล่าวหาที่รุนแรงจากสตีเวน จอยซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขากล่าวว่าพรรคแรงงานได้ "สูญเสีย" งบประมาณ 11.7 พันล้านดอลลาร์ไปกับการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับภาษี[70][71]
ภาษีน้ำและมลพิษที่เสนอโดยพรรคแรงงานและพรรคกรีนยังก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากเกษตรกร เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2017 กลุ่มสหพันธ์เกษตรกร (Federated Farmers) ได้จัดการประท้วงต่อต้านภาษีที่เมื่อมอร์รินส์วิลล์ บ้านเกิดของอาร์เดิร์น วินส์ตัน ปีเตอส์ หัวหน้าพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สได้เข้าร่วมการประท้วงดังกล่าว แต่ก็ถูกเกษตรกรตะโกนด่าทอว่าเขาเองมีความน่าสงสัยว่าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนให้เกิดการเรียกเก็บภาษีนี้เช่นกัน ระหว่างการประท้วง มีเกษตรกรคนหนึ่งชูป้ายที่กล่าวหาอาร์เดิร์นว่าเป็น "นักคอมมิวนิสต์แสนสวย (Pretty communist)" เฮเลน คลาร์ก อดีตนายกรัฐมนตรีวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อความดังกล่าวแสดงความเกลียดชังต่อสตรี[72][73]
ในวันสุดท้ายของกำหนดการหาเสียง ผลต่างระหว่างคะแนนนิยมของทั้งสองพรรคลดน้อยลงโดยพรรคแห่งชาติกลับขึ้นมานำพรรคแรงงานเล็กน้อย[74]
การเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2017
[แก้]ระหว่างการเลือกตั้งทั่วเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นยังคงสามารถรักษาเก้าอี้ ส.ส. เขตเมาท์อัลเบิร์ต ชนะไปด้วยคะแนนเสียง 15,264 คะแนน[75][76][77] พรรคแรงงานมีส่วนแบ่งของคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 36.89 เปอร์เซ็น ขณะที่พรรคแห่งชาติมีส่วนแบ่งลดลงกลับลงมาที่ 44.45 เปอร์เซ็น พรรคแรงงานได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 14 ที่นั่ง รวมเป็นที่นั่งในสภาทั้งหมด 46 ที่นั่ง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับพรรคนับตั้งแต่สูญเสียอำนาจใน ค.ศ. 2008[78]
พรรคแห่งชาติ และพรรคฝ่ายตรงข้ามกับพรรคแรงงานไม่มีจำนวนที่นั่งมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงได้มาเจรจากับพรรคกรีนและพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสม แต่อย่างไรก็ตามภายใต้ระบบการเลือกตั้งให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม (MMP) พรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สอยู่ในตำแหน่งของผู้คุมดุลอำนาจได้ตัดสินใจเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคแรงงาน[79][80]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 2017–2023)
[แก้]สมัยที่หนึ่ง (ค.ศ. 2017–2020)
[แก้]เมื่อ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2017 วินส์ตัน ปีเตอส์ หัวหน้าพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สตกลงเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคแรงงาน[6] ทำให้จาซินดา อาร์เดินกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 40 ของประเทศนิวซีแลนด์[81][82] การจัดตั้งรัฐบาลผสมครั้งนี้ได้รับความไว้วางใจและการสนับสนุนจากพรรคกรีน[83] อาร์เดิร์นแต่งตั้งให้ปีเตอร์เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่งตั้ง ส.ส. สามคนจากพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รวมที่นั่งในรัฐบาลที่เธอมอบโควตาให้แก่พรรคนิวซีแลนด์เฟิร์สเป็นห้าตำแหน่ง[84][85] ในวันถัดมา อาร์เดิร์นให้การยืนยันว่าเธอจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่งคงและข่าวกรองแห่งรัฐ, กระทรวงศิลปะ วัฒนธรรม และมรดกทางประวัติศาสตร์, และกระทรวงเด็กกลุ่มเปราะบาง (ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับช่วงที่เธอเป็นผู้นำฝ่ายค้านในคณะรัฐมนตรีเงาเมื่อรัฐบาลสมัยที่แล้ว)[86] ภายหลังในวาระของ ส.ส. เทรซีย์ มาร์ติน จากพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์ส ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเด็กกลุ่มเปราะบางได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลดความยากจนในเด็ก[87] อาร์เดิร์นและคณะรัฐบาลได้เข้าพิธีสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 โดยมีเดมแพตซี เรดดีเป็นผู้สำเร็จราชการ[88] เมื่อเข้ารับตำแหน่ง อาร์เดิร์นกล่าวว่ารัฐบาลของเธอจะ "มุ่งมั่น, เห็นอกเห็นใจ และเข้มแข็ง (focused, empathetic and strong)"[89]
อาร์เดิร์นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สามของประเทศถัดจากเจนนี ชิปลีย์ (ค.ศ. 1997–1999) และเฮเลน คลาร์ก (ค.ศ. 1999–2008)[90][91] เธอเป็นสมาชิกของสภาผู้นำสตรีโลก[92] ด้วยอายุ 37 ปี อาร์เดิร์นกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลนิวซีแลนด์ที่มีอายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยของเอ็ดเวิร์ด สแตฟฟอร์ด (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สามของนิวซีแลนด์เมื่อ ค.ศ. 1856)[93] เมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2018 อาร์เดิร์นประกาศว่าเธอกำลังตั้งครรภ์ และมอบหมายให้วินส์ตัน ปีเตอส์ รักษาราชการแทนเป็นเวลาหกสัปดาห์[94] ในช่วงที่เธอลาคลอดตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 2 สิงหาคม ค.ศ. 2018[95][96][97]
กิจการภายในประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กิจการระหว่างประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การระบาดของโควิด-19
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมัยที่สอง (ค.ศ. 2020–2023)
[แก้]ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2020 อาร์เดิร์นได้นำพรรคแรงงานคว้าชัยชนะอย่างถล่มทลาย[98] ด้วยจำนวน ส.ส. เสียงข้างมากในสภารวม 65 ที่นั่ง จากทั้งหมด 120 ที่นั่งของสภาผู้แทนราษฎร และได้รับคะแนนโหวตพรรค (Party vote) ถึง 50% ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง[99][100] และอาร์เดิร์นก็ยังสามารถรักษาชัยชนะในเขตเลือกตั้งเมาท์อัลเบิร์ตด้วยคะแนนมากกว่าคู่แข่งอันดับสองถึง 21,246 คะแนน[101] อาร์เดิร์นระบุว่าชัยชนะในครั้งนี้เกิดจากผลงานของรัฐบาลในการจัดการวิกฤตการระบาดของโควิด-19 และผลต่อเนื่องทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว[102]
กิจการภายในประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โควิด-19 และแผนการฉีดวัคซีน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กิจการระหว่างประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มุมมองทางการเมือง
[แก้]อาร์เดิร์นนิยามตนเองว่ามีอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยสังคมนิยม[9], พิพัฒนาการนิยม[10], สาธารณรัฐนิยม[103] และสตรีนิยม[104] เธอยกย่องเฮเลน คลาร์กว่าเป็นวีรสตรีทางการเมือง[9][105] เธอบอกว่าการเพิ่มขึ้นของปัญหาความยากจนในเด็ก ปัญหาการไม่มีที่อยู่อาศัยและคนไร้บ้านเป็น "ความล้มเหลวที่โจ่งแจ้งและไร้ยางอาย" ของระบบทุนนิยม[106][107] เธอกล่าวว่า: "ฉันระบุว่าตัวฉันเป็นประชาธิปไตยสังคมนิยมมาโดยตลอด" ในระหว่างการตอบคำถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน ค.ศ. 2021 อย่างไรก็ตามการประกาศตนว่ามีอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยสังคมนิยมก็ไม่ได้สร้างผลประโยชน์อะไรมาก เนื่องจากเป็นคำที่ไม่ได้นิยมกล่าวกันโดยทั่วไปในภูมิทัศน์ทางการเมืองของนิวซีแลนด์[108] อาเดิร์นสนับสนุนการลดลงของอัตราการนำเข้าผู้อพยพ โดยคาดหวังให้เพดานการรับผู้อพยพลดลงเหลือราวปีละ 20,000–30,000 คน เธอให้เหตุผลว่า "ความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานทักษะสูงของเรายังดำเนินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง และยังไม่มีแผนรองรับการเจริญเติบโตของประชากรที่เพียงพอ (there hasn't been enough planning about population growth, we haven't necessarily targeted our skill shortages properly.)" และ "จะมีปัญหาต่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (infrastructure issue)"[109] อย่างไรก็ตาม เธอต้องการเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัย[110]
อาร์เดิร์นเชื่อว่าการจะยุบหรือคงไว้ซึ่งเขตเลือกตั้งพิเศษสำหรับชาวมาวรี (Māori electorates) ควรจะได้รับการตัดสินจากชาวมาวรี เธอกล่าวว่า "ถ้า[ชาวมาวรี]ยังไม่ได้มีการเรียกร้องให้ยกเลิกที่นั่งเหล่านี้ไป แล้วทำไมเราต้องยกประเด็นขึ้นมา ([Māori] have not raised the need for those seats to go, so why would we ask the question?)"[111] เธอสนับสนุนให้โรงเรียนในนิวซีแลนด์สอนวิชาภาษามาวรีเป็นวิชาบังคับ[9]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นบอกว่าเธอต้องการให้นิวซีแลนด์มีการจัดการอภิปรายเกี่ยวกับการถอดถอนพระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ[103] ระหว่างการอ่านคำแถลงการณ์ในพิธีแต่งตั้งเดม ซินดี คิโร เป็นผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์ อาร์เดิร์นบอกว่าเธอเชื่อว่านิวซีแลนด์จะกลายเป็นสาธารณรัฐภายในช่วงชีวิตของเธอนี้[112] อย่างไรก็ตามในตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ เธอได้เข้าพบกับพระบรมวงศานุวงษ์อยู่บ่อยครั้ง เธอกล่าวว่า "ทัศนะทางการเมืองของฉันไม่ได้มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงความเคารพที่ฉันมีต่อพระบาทสมเด็จพระราชินีและพระบรมวงศานุวงษ์ และต่อคุณูปการที่ที่ราชวงศ์ได้ทรงทำไว้ให้กับประเทศนิวซีแลนด์ ฉันคิดว่าเราสามารถมีมุมมองทั้งสองอย่างไปพร้อมกันได้ (ทั้งการนำประเทศสู่สาธารณรัฐ และความเคารพต่อราชวงษ์) และนี่คือสิ่งฉันคิด (My particular views do not change the respect that I have for Her Majesty and for her family and for the work that they've done for New Zealand. I think you can hold both views, and I do.)"<[113]
อาร์เดิร์นได้อภิปรายสนับสนุนการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน[114] และโหวตสนับสนุนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมการสมรส (นิยามการสมรส) ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทำให้การสมรสระหว่างเพศเดียวกันนั้นสามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย[115] ใน ค.ศ. 2018 เธอกลายเป็นนายรัฐมนตรีนิวซีแลนด์คนแรกที่เข้าร่วมไพรด์พาเรด[116] อาร์เดิร์นสนับสนุนให้ลบการทำแท้งออกจากการเป็นความผิดอาญาในพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา ค.ศ. 1961[117][118] ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 เธอได้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบพระราชบัญญัติการทำแท้ง กฎหมายที่บัญญัติให้การทำแท้งปราศจากความผิดทางอาญาเมื่อเป็นการร้องขอจากผู้ตั้งครรภ์[119][120]
อาเดิร์นกล่าวถึงนโยบายเขตปลอดนิวเคลียร์ของนิวซีแลนด์ ว่าปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เปรียบเสมือนกับปฏิบัติการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ในรุ่นของเธอ ("Climate change is my generation nuclear-free monment.")[121]
อาร์เดิร์นได้กล่าวสนับสนุนทางออกสองรัฐเพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์[122] เธอประณามอิสราเอลในการสังหารชาวปาเลสไตน์ที่ออกมาชุมนุมประท้วงที่ชายแดนกาซา[123]
อาร์เดิร์นโหวตสนับสนุนการทำให้กัญชาถูกต้องตามกฎหมายในการทำประชามติเกี่ยวกับกัญชาใน ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ตามเธอหลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยจุดยืนของเธอ จนกระทั่งผลการลงประชามติเสร็จสิ้น[124]
ภาพลักษณ์ต่อสาธารณชน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รางวัล และเกียรติยศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มุมมองทางศาสนา
[แก้]ในวัยเด็กเธอนับถือศาสนาคริสต์ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย (ศาสนจักรแอลดีเอส) แต่เมื่ออาร์เดิร์นอายุได้ 25 ปี เธอก็หันหลังให้กับคริสต์ศาสนา เพราะเธอมองว่าศาสนจักรมีมุมมองความเชื่อที่ขัดแย้งกับเธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสนับสนุนสิทธิและการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[125][126] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2017 อาร์เดิร์นระบุว่าเธอเป็นอไญยนิยม (กลุ่มบุคคลที่บอกว่าปัญญาของมนุษย์นั้นไปไม่อาจจะสามารถตัดสินได้ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง หรือไม่มีอยู่จริง) เธอกล่าวว่า[125] "ฉันมองไม่เห็นโอกาสที่ตัวฉันจะกลับไปเป็นศาสนิกชนขององค์กรทางศาสนาใด ๆ ได้อีกครั้ง" ("I can't see myself being a member of an organised religion again.")
ในฐานะนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ค.ศ. 2019 เธอได้เข้าพบกับรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ผู้นำศาสนาจักรแอลดีเอส[127]
ครอบครัว
[แก้]อาร์เดิร์นเป็นลูกพี่ลูกน้องคนที่สองของแฮมิช แมคโดอัลล์ นายกเทศมนตรีของวางกานูอี[128] เธอเป็นญาติห่าง ๆ ของเชน อาร์เดิร์น อดีต ส.ส. พรรคแห่งชาติ เขตทารานากิ-คิง[129] เชน อาร์เดิร์นได้พ้นจากตำแหน่งในรัฐสภาตั้งแต่ ค.ศ. 2014 สามปีก่อนที่จาซินดา อาร์เดิร์นจะเป็นนายกรัฐมนตรี[130]
คู่ชีวิตของเธอ คลาร์ก เกย์ฟอร์ดทำงานเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์[131][132] ทั้งคู่พบกันครั้งแรกใน ค.ศ. 2012 ผ่านคอริน มาทูรา-เจฟฟรี นางแบบและเจ้าของรายการโทรทัศน์ ผู้ซึ่งเพื่อนที่ทั้งคู่รู้จัก[133] แต่ตอนนั้นทั้งสองก็ยังไม่ได้คบหากันจนกระทั่งเกย์ฟอร์ดได้ติดต่อหาอาร์เดิร์นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่มีความขัดแย้งกับหน่วยข้อมูลและงานรักษาความปลอดภัย[131] เมื่อ 3 เมษายน ค.ศ. 2019 ได้มีการรายงานว่าได้อาร์เดิร์นได้เข้าพิธีหมั้นกับเกย์ฟอร์ดแล้ว[134][135] พิธีสมรสได้กำหนดไว้ราวเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 แต่ก็ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากการระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน[136][137]
วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2018 อาร์เดิร์นได้ประกาศว่าเธอกำลังจะมีลูกคนแรกในเดือนมิถุนายน ทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์คนแรกที่ตั้งครรภ์ระหว่างกำลังดำรงตำแหน่ง[138] อาร์เดิร์นได้คลอดบุตรสาวในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2018 ที่โรงพยาบาลนครออกแลนด์[139][140][141] เธอเป็นหัวหน้ารัฐบาลจากการเลือกตั้งคนที่สองของโลกที่ได้ให้กำเนิดบุตรขณะที่กำลังดำรงตำแหน่ง (คนแรกคือ เบนาซีร์ บุตโต ให้กำเนิดบุตรเมื่อ ค.ศ. 1990)[8][141] เธอได้ตั้งชื่อบุตรสาวของตนว่า นีฟ เต อะโรฮา (Neve Te Aroha)[142] Neve (นีฟ) เป็นขื่อที่แผลงจากคำว่า Niamh (นีฟ) ในภาษาไอริช มีความหมายว่าแสงสว่าง ส่วน Aroha (อะโรฮา) เป็นภาษามาวรี แปลว่าความรัก และ Te Aroha (เต อะโรฮา) เป็นชื่อเมืองเมืองหนึ่งในชนบทของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาไคไม ใกล้กับมอร์รินส์วิลล์ บ้านเก่าของอาร์เดิร์น[143]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Members Sworn". Parliamentary Debates (Hansard). New Zealand Parliament. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2013.
- ↑ "Talking work-related hearing loss with NZ Prime Minister Jacinda Ardern". WorkSafe New Zealand. 28 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
- ↑ "2008 GENERAL ELECTION – OFFICIAL RESULT". 6 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2008. สืบค้นเมื่อ 18 July 2022.
- ↑ Davison, Isaac (1 August 2017). "Andrew Little quits: Jacinda Ardern is new Labour leader, Kelvin Davis is deputy". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 1 August 2017.
- ↑ "2017 General Election – Official Results". Electoral Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ 6.0 6.1 Griffiths, James (19 October 2017). "Jacinda Ardern to become New Zealand Prime Minister". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
- ↑ "The world's youngest female leader takes over in New Zealand". The Economist. 26 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ 8.0 8.1 Khan, M Ilyas (21 June 2018). "Ardern and Bhutto: Two different pregnancies in power". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
Now that New Zealand's Prime Minister Jacinda Ardern has hit world headlines by becoming only the second elected head of government to give birth in office, attention has naturally been drawn to the first such leader – Pakistan's late two-time Prime Minister Benazir Bhutto.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Murphy, Tim (1 August 2017). "What Jacinda Ardern wants". Newsroom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ 10.0 10.1 "Live: Jacinda Ardern answers NZ's questions". Stuff. 3 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
- ↑ Fifield, Anna (18 March 2019). "New Zealand's prime minister receives worldwide praise for her response to the mosque shootings". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 June 2022.
- ↑ Friedman, Uri (19 April 2020). "New Zealand's Prime Minister May Be the Most Effective Leader on the Planet". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
- ↑ "The 2020 General Election and referendums: results, analysis, and demographics of the 53rd Parliament" (PDF). Parliament.nz. สืบค้นเมื่อ 18 July 2022.
- ↑ "Election 2020: The big winners and losers in Auckland". Stuff (ภาษาNew Zealand English). 17 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ Schwartz, Matthew (17 October 2020). "New Zealand PM Ardern Wins Re-Election In Best Showing For Labour Party In Decades". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ Malpass, Luke (19 January 2023). "Live: Jacinda Ardern announces she will resign as prime minister by February 7th". Stuff (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
- ↑ McClure, Tess (19 January 2023). "Jacinda Ardern resigns as prime minister of New Zealand". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
- ↑ "Jacinda Ardern: New Zealand PM to step down next month". BBC News. 19 January 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
- ↑ McClure, Tess (22 January 2023). "New Zealand: Chris Hipkins taking over from Jacinda Ardern on Wednesday". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 22 January 2023.
- ↑ "Candidate profile: Jacinda Ardern". 3 News. 19 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2012. สืบค้นเมื่อ 20 December 2011.
- ↑ Cumming, Geoff (24 September 2011). "Battle for Beehive hot seat". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 February 2013.
- ↑ Bertrand, Kelly (30 June 2014). "Jacinda Ardern's country childhood". Now to Love. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2017. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
- ↑ Keber, Ruth (12 June 2014). "Labour MP Jacinda Ardern warms to Hairy and friends". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ Walch, Tad (20 May 2019). "President Nelson meets New Zealand Prime Minister Jacinda Ardern, says church will donate to mosques". Deseret News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
- ↑ "Elder Ian S. Ardern: 'Go and do'". Church News. 23 April 2011. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
- ↑ "Jacinda Ardern visits Morrinsville College". The New Zealand Herald. 10 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2018. สืบค้นเมื่อ 28 February 2018.
- ↑ "Ardern, Jacinda: Maiden Statement". Parliamentary Debates (Hansard). New Zealand Parliament. 16 December 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.
- ↑ Tanirau, Katrina (10 August 2017). "Labour leader Jacinda Ardern hits hometown in campaign trail". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ 29.0 29.1 Ainge Roy, Eleanor (7 August 2017). "Jacinda Ardern becomes youngest New Zealand Labour leader after Andrew Little quits". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2017.
- ↑ Cooke, Henry (16 September 2017). "How Marie Ardern got her niece Jacinda into politics". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2017. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 "Waikato BCS grad Jacinda Ardern becomes leader of the NZ Labour Party". University of Waikato. 2 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ "2018". waikato.ac.nz (ภาษาNew Zealand English). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-10. สืบค้นเมื่อ 27 October 2022.
- ↑ "'Jacindamania' sweeps New Zealand as it embraces a new prime minister, Jacinda Ardern, who isn't your average pol". Los Angeles Times. 9 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
- ↑ "Ardern pays tribute to lives lost 20 years on from 9/11". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
- ↑ Tweed, David; Withers, Tracy (21 October 2017). "Kiwi PM Jacinda Ardern will be world's youngest female leader". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2018.
- ↑ Duff, Michelle (2019). Jacinda Ardern: The Story Behind An Extraordinary Leader. Allen & Unwin. p. 70.
- ↑ 37.0 37.1 Dudding, Adam (17 August 2017). "Jacinda Ardern: I didn't want to work for Tony Blair". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2017.
- ↑ "People – New Zealand Labour Party". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2008.
- ↑ "New Voices: Jacinda Ardern, Chris Hipkins and Jonathan Young". The New Zealand Herald (ภาษาNew Zealand English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 August 2021.
- ↑ Kirk, Stacey (1 August 2017). "Jacinda Ardern says she can handle it and her path to the top would suggest she's right". The Dominion Post. Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern to lead IUSY". The Standard (ภาษาNew Zealand English). 31 January 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2021. สืบค้นเมื่อ 18 August 2021.
- ↑ "Labour Party list for 2008 election announced | Scoop News". Scoop. 31 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 August 2017.
- ↑ "Official Count Results – Waikato". electionresults.govt.nz. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2017. สืบค้นเมื่อ 16 August 2017.
- ↑ Trevett, Claire (29 January 2010). "Greens' newest MP trains his sights on the bogan vote". The New Zealand Herald (ภาษาNew Zealand English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.
- ↑ 45.0 45.1 "Jacinda Ardern". New Zealand Parliament. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ Huffadine, Leith; Watkins, Tracy. "'Bridges and Ardern': the young guns who are now in charge". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2018. สืบค้นเมื่อ 23 May 2018.
- ↑ "Auckland Central electorate results 2011". Electionresults.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ "Official Count Results – Auckland Central". Electoral Commission. 4 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
- ↑ Small, Vernon (24 November 2014). "Little unveils new Labour caucus". Stuff. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ "The Forum of Young Global Leaders". The Forum of Young Global Leaders (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
- ↑ "Community". The Forum of Young Global Leaders (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
- ↑ Sachdeva, Sam (19 December 2016). "Labour MP Jacinda Ardern to run for selection in Mt Albert by-election". Stuff. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2016. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
- ↑ Ainge Roy, Eleanor (15 September 2017). "'I've got what it takes': will Jacinda Ardern be New Zealand's next prime minister?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 September 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern Labour's sole nominee for Mt Albert by-election". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
- ↑ Jones, Nicholas (12 January 2017). "Jacinda Ardern to contest Mt Albert byelection". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern wins landslide victory Mt Albert by-election". The New Zealand Herald. 25 February 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
- ↑ "Mt Albert – Preliminary Count". Electoral Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern confirmed as Labour's new deputy leader". The New Zealand Herald. 6 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
- ↑ "Labour's Raymond Huo set to return to Parliament after Maryan Street steps aside". The New Zealand Herald. 21 February 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 February 2017.
- ↑ "Andrew Little's full statement on resignation". The New Zealand Herald (ภาษาNew Zealand English). 31 July 2017. ISSN 1170-0777. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 May 2018.
- ↑ "Jacinda Ardern is Labour's new leader, Kelvin Davis as deputy leader". 7 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2017.
- ↑ 62.0 62.1 Kwai, Isabella (4 September 2017). "New Zealand's Election Had Been Predictable. Then 'Jacindamania' Hit". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
- ↑ Ainge Roy, Eleanor (31 July 2017). "Jacinda Ardern becomes youngest New Zealand Labour leader after Andrew Little quits". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
- ↑ 64.0 64.1 "Little asked Ardern to lead six days before he resigned". The New Zealand Herald. 14 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.
- ↑ "Donations to Labour surge as Jacinda Ardern named new leader". The New Zealand Herald. 2 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
- ↑ "Video: Jacinda Ardern won't rule out capital gains tax". Radio New Zealand. 22 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Tarrant, Alex (15 August 2017). "Labour leader maintains 'right and ability' to introduce capital gains tax if working group suggests it next term; Would exempt family home". Interest.co.nz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Kirk, Stacey (1 September 2017). "Jacinda Ardern tells Kelvin Davis off over capital gains tax comments". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Hickey, Bernard (24 September 2017). "Jacinda stumbled into a $520bn minefield". Newsroom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Cooke, Henry (14 September 2017). "Election: Labour backs down on tax, will not introduce anything from working group until after 2020 election". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "Steven Joyce still backing Labour's alleged $11.7b fiscal hole". Newshub. 19 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "Farmers protest against Jacinda Ardern's tax policies". The New Zealand Herald. 18 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "Labour leader Jacinda Ardern unshaken by Morrinsville farming protest". Newshub. 19 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Vowles, Jack (3 July 2018). "Surprise, surprise: the New Zealand general election of 2017". Kōtuitui: New Zealand Journal of Social Sciences Online. 13 (2): 147–160. doi:10.1080/1177083X.2018.1443472.
- ↑ "Mt Albert – Official Result". Electoral Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 November 2020.
- ↑ "Preliminary results for the 2017 General Election". Electoral Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "'Jacindamania' fails to run wild in New Zealand poll". The Irish Times. Reuters. 23 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "2017 General Election – Official Result". Electoral Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 November 2020.
- ↑ "Ardern and Davis to lead Labour negotiating team". Radio New Zealand. 26 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "NZ First talks with National, Labour begin". Stuff. 5 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ Haynes, Jessica. "Jacinda Ardern: Who is New Zealand's next prime minister?". Australian Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
- ↑ Chapman, Grant. "New PM Jacinda Ardern joins an elite few among world, NZ leaders". Newshub. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ "Green Party ratifies confidence and supply deal with Labour". The New Zealand Herald. 19 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern reveals ministers of new government". The New Zealand Herald. 26 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ "New government ministers revealed". Radio New Zealand. 25 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ Small, Vernon (20 October 2017). "Predictable lineup of ministers as Ardern ministry starts to take shape". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ "Ministerial List". Ministerial List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
- ↑ Cheng, Derek (26 October 2017). "Jacinda Ardern sworn in as new Prime Minister". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ Steafel, Eleanor (26 October 2017). "Who is New Zealand Prime Minister Jacinda Ardern – the world's youngest female leader?". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ "Premiers and Prime Ministers". Ministry for Culture and Heritage. 12 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
- ↑ "It's Labour! Jacinda Ardern will be next PM after Winston Peters and NZ First swing left". The New Zealand Herald. 19 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ "Members – President Of The Council Of Women World Leaders". lrp.lt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ Atkinson, Neill. "Jacinda Ardern Biography". Ministry for Culture and Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
- ↑ "Jacinda Ardern on baby news: 'I'll be Prime Minister and a mum'". Radio New Zealand. 19 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ Patterson, Jane (21 June 2018). "Winston Peters is in charge: His duties explained". Radio New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
- ↑ "Winston Peters is now officially Acting Prime Minister". The New Zealand Herald. 21 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
- ↑ "'Throw fatty out': Winston Peters fires insults on last day as PM". The New Zealand Herald (ภาษาNew Zealand English). 1 August 2018. ISSN 1170-0777. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
- ↑ "New Zealand election: Jacinda Ardern's Labour Party scores landslide win". BBC News. 17 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ "2020 General Election and Referendums – Official Result". Electoral Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2020. สืบค้นเมื่อ 11 November 2020.
- ↑ Shaw, Richard; Hayward, Bronwyn; Vowles, Jack; Curtin, Jennifer; MacDonald, Lindsey (17 October 2020). "Jacinda Ardern and Labour returned in a landslide — 5 experts on a historic New Zealand election". The Conversation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ "Mt Albert – Official Result". Electoral Commission. สืบค้นเมื่อ 12 November 2020.
- ↑ "New Zealand's Ardern credits virus response for election win". The Independent. 18 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ 103.0 103.1 Lagan, Bernard (7 September 2017). "Jacinda Ardern, New Zealand's contender for PM, says: let's lose the Queen". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 8 September 2017.
- ↑ Ardern, Jacinda (20 May 2015). "Jacinda Ardern: I am a feminist". Villainesse. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ "Ardern confirmed as new Labour leader". Otago Daily Times. 1 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ Satherley, Dan; Owen, Lisa (21 October 2017). "Homelessness proves capitalism is a 'blatant failure' – Jacinda Ardern". Newshub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
Asked directly if capitalism had failed low-income Kiwis, Ms. Ardern was unequivocal."If you have hundreds of thousands of children living in homes without enough to survive, that's a blatant failure. What else could you describe it as? . . . . It all comes down to whether or not you recognize where the market has failed and where intervention is required. Has it failed our people in recent times? Yes.
- ↑ Baynes, Chris (1 April 2019). "New Zealand's new prime minister calls capitalism a 'blatant failure'". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
- ↑ "Watch: Prime Minister Jacinda Ardern says Budget 2021 is 'a real milestone for us'". Radio New Zealand. 21 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ "Video: Ardern committed to cutting immigration numbers". Radio New Zealand. 15 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ "Labour's new leader shakes up New Zealand's election". The Economist. 14 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2017.
- ↑ "Labour's leadership duo talk tax, Maori prisons and who'll be deputy leader in a coalition". Stuff. 5 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern believes New Zealand will become a republic 'in her lifetime'". The New Zealand Herald. 24 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
- ↑ "Prime Minister Jacinda Ardern meets the Queen in 'warm' exchange". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "Broadsides: Do you support same-sex marriage?". The New Zealand Herald (ภาษาNew Zealand English). 22 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ "Marriage equality bill: How MPs voted". Waikato Times. 18 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
- ↑ Ainge Roy, Eleanor (17 February 2018). "Jacinda Ardern becomes first New Zealand PM to march in gay pride parade". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2018. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
- ↑ Miller, Corazon (11 September 2017). "Labour leader Jacinda Ardern tackles 'smear campaign' on abortion stance". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
- ↑ "English, Little, Ardern on abortion laws". Your NZ. 13 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2017. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
- ↑ "Parliament removes abortion from Crimes Act". The Beehive (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 23 March 2020.
- ↑ "Abortion Legislation Bill passes third and final reading in Parliament" (ภาษาNew Zealand English). Radio New Zealand. 18 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ Trevett, Claire (20 August 2017). "Jacinda Ardern's rallying cry: Climate change the nuclear-free moment of her generation". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2018. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
- ↑ "NZ won't be bullied on Israel vote – Ardern". Radio New Zealand. 21 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ Trevett, Claire (15 May 2018). "PM Jacinda Ardern: Gaza deaths show US Embassy move to Jerusalem hurt chance of peace". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ "PM defends no comment stance on cannabis referendum". Stuff. 31 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
- ↑ 125.0 125.1 Knight, Kim (29 January 2017). "The politics of life: The truth about Jacinda Ardern". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ Park, Benjamin (14 November 2018). "Commentary: What the two 'Mormon' senators tell us about the LDS battle over sexuality". The Salt Lake Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2018. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
- ↑ "President Nelson Meets with New Zealand Prime Minister". newsroom.churchofjesuschrist.org (ภาษาอังกฤษ). 20 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
- ↑ Manhire, Toby (19 September 2017). "'My final, final plea': a day in Whanganui with Jacinda Ardern". The Spinoff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 6 July 2020.
- ↑ "Things we learned about Jacinda Ardern". Newshub. 6 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "Shane Ardern to Step Down". Radio New Zealand. 3 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2018. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
- ↑ 131.0 131.1 Knight, Kim (16 July 2016). "Clarke Gayford: Jacinda Ardern is the best thing that's ever happened to me". The New Zealand Herald. ISSN 1170-0777. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
- ↑ "Clarke Gayford". NZ On Screen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
- ↑ "Jacinda Ardern was on a date with another man when she first met Clarke Gayford". Stuff. 1 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
- ↑ "Prime Minister Jacinda Ardern engaged to partner Clarke Gayford". Radio New Zealand. 3 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Prime Minister Jacinda Ardern and Clarke Gayford engaged". The New Zealand Herald. 3 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Covid 19 Omicron outbreak: PM Jacinda Ardern cancels wedding as country moves to red". The New Zealand Herald. 23 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ "'Such is life': NZ PM calls off wedding". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ "Prime Minister Jacinda Ardern announces pregnancy". The New Zealand Herald. 19 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ "Here comes the baby: Prime Minister Jacinda Ardern in labour, at Auckland Hospital with partner Clarke Gayford". The New Zealand Herald. 21 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
- ↑ "Live: Prime Minister Jacinda Ardern's baby is on the way". Stuff. 21 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
- ↑ 141.0 141.1 "It's a girl! Jacinda Ardern gives birth to her first child". Newshub. 21 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
She is only the second world leader in history to give birth while in office. Former Prime Minister of Pakistan Benazir Bhutto gave birth to a baby girl in 1990.
- ↑ "Watch: PM Jacinda Ardern leaves hospital with 'Neve Te Aroha'". Radio New Zealand. 24 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.
- ↑ "PM's baby named: Neve Te Aroha Ardern Gayford". Radio New Zealand. 24 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2018. สืบค้นเมื่อ 24 June 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Jacinda Ardern's เก็บถาวร 2017-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน profile on the New Zealand Parliament website
- Jacinda Ardern at the New Zealand Labour Party
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน