ข้ามไปเนื้อหา

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Arts, Silpakorn University
สถาปนา20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ
ที่อยู่
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสาร
  • วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สี  สีฟ้าตาแมว[1]
มาสคอต
ตัวอักษร ก ไก่ ลายสือไทย
เว็บไซต์www.arts.su.ac.th

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2511 จัดตั้งคณะอักษรศาสตร์
    • มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะวิชาทางด้านศิลปะและโบราณคดีรวมทั้งสิ้น 4 คณะ ณ วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อผู้แทนของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น
    • ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง "คณะอักษรศาสตร์" ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา
    • จัดตั้งภาควิชาประวัติศาสตร์เป็นภาควิชาแรกในคณะฯ เปิดสอนหลักสูตร อักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกประวัติศาสตร์และวิชาโท
    • ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์คนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
    • เปิดใช้อาคาร A1 (ปัจจุบันคือหอพักทับแก้ว 1)
    • จัดตั้งภาควิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาอังกฤษและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
    • เปิดสอนวิชาภาษาไทย
    • เปิดสอนวิชาโทภาษาเยอรมัน
  • พ.ศ. 2512
    • เปิดใช้อาคาร A3 (ปัจจุบันเป็นที่ทำการกองบริหารงานวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
    • เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาศึกษาทั่วไป
  • พ.ศ. 2513
    • ศาสตราจารย์ คุณหญิง ศรีนาถ สุริยะ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2514
    • ศาสตราจารย์ คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2514
    • เปิดใช้อาคาร A4 (ปัจจุบันคือโรงละครวัชรนาฏยสภา คณะอักษรศาสตร์)
    • เปิดสอนวิชาโทนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาโทการแสดงศึกษา)
    • เปิดสอนวิชาปรัชญาและศาสนา
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภูมิศาสตร์และวิชาโท
    • นักศึกษาวิชาเอกประวัติศาสตร์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2515
    • จัดตั้งภาควิชาภาษาไทย เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาไทยและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาสังคมศาสตร์ โดยสังกัดภาควิชาประวัติศาสตร์
    • จัดตั้งหมวดวิชาทัศนศิลป์ เปิดสอนวิชาทัศนศิลป์เป็นวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาโท
    • ที่ประชุมกรรมการคณะมีมติให้ตั้งกรรมการร่างระเบียบงานบริหารคณะอักษรศาสตร์ ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบงานธุรการในคณะอักษรศาสตร์
    • นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2516
    • เปิดใช้อาคาร C2 (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 1 ที่ทำการสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และภาควิชาภูมิศาสตร์)
    • จัดตั้งหมวดวิชาปรัชญาและศาสนา
  • พ.ศ. 2517
    • อาจารย์ ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
    • นักศึกษาวิชาเอกภูมิศาสตร์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
    • จัดตั้งหมวดวิชาสังคมศาสตร์ เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • มีเจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานธุรการคณะอักษรศาสตร์
    • รองศาสตราจารย์ ดร. เสริน ปุณณะหิตานนท์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ถึง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2518 อาจารย์ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ถึง 11 เมษายน พ.ศ. 2519
  • พ.ศ. 2519
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจตนา นาควัชระ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2519 ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2522
    • เปิดสอนวิชาโทปรัชญาและศาสนา (ปัจจุบันคือวิชาโทปรัชญา)
  • พ.ศ. 2520
    • จัดตั้งหมวดวิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนวิชาโทบรรณารักษศาสตร์
    • นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2521 เปิดใช้อาคารใหม่ที่มีทางเชื่อมกับอาคาร C2 (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 2)
  • พ.ศ. 2522
    • รองศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2522
    • รองศาสตราจารย์ ดร. มนู วัลยะเพ็ชร์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2526
  • พ.ศ. 2524
    • อาคาร C1 ปรับปรุงหอนอนทรงพลเป็นห้องเรียนและห้องพักอาจารย์ (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 3 หรืออาคารทรงพล)
    • อาคาร C3 ปรับปรุงโรงอาหารทรงพลเป็นโรงละครทรงพล ห้องเรียน ห้องพักอาจารย์นาฏยศาสตร์และนาฏยสังคีต (ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว)
  • พ.ศ. 2525 ยกฐานะหมวดวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และวิชาโท
  • พ.ศ. 2526
    • รองศาสตราจารย์ ดร.มนู วัลยะเพ็ชร์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ถึง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
    • ศาสตราจารย์ ดร. แถมสุข นุ่มนนท์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2530
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    • ยกฐานะหมวดวิชาสังคมศาสตร์เป็นภาควิชาสังคมศาสตร์ โดยเน้นสาขาการพัฒนา
  • พ.ศ. 2527 จัดตั้งภาควิชานาฏยสังคีต เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกการแสดงศึกษา) และวิชาโทสังคีตศิลป์ (ปัจจุบันคือวิชาโทสังคีตศิลป์ไทย)
  • พ.ศ. 2529 นักศึกษาวิชาเอกนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกการแสดงศึกษา) รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2530
    • นักศึกษาวิชาเอกภาษาเยอรมันรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรพินท์ ชาตรูปะมัย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ เจริญพจน์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  • พ.ศ. 2531 จัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์)
  • พ.ศ. 2534
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ศรีคำ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535
    • ยกฐานะหมวดวิชาปรัชญาและศาสนาเป็นภาควิชาปรัชญา
  • พ.ศ. 2535
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรพินท์ ชาตรูปะมัย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีระ นุชเปี่ยม ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  • พ.ศ. 2536
    • เปิดใช้อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นอาคารเรียนหลังใหม่ ทดแทนอาคารไม้ที่ถูกรื้อออกไป
    • ภาษาฝรั่งเศสมีฐานะเป็นวิชาบังคับเลือกเทียบเท่าภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสังคีตศิลป์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกสังคีตศิลป์ไทย)
  • พ.ศ. 2537
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ถึง 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537
    • อาจารย์ จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2541
  • พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก โดยรวมสาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาอาหรับเข้าด้วยกัน
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและวิชาโท
  • พ.ศ. 2541
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2545
    • เปิดสอนวิชาโทภาษาอาหรับ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาจีนและวิชาโท
  • พ.ศ. 2545
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิขิต กาญจนาภรณ์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ถึง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนัย ครองยุทธ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ถึง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
    • อาจารย์จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2549
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาเกาหลีและวิชาโท
    • ปรับหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต จากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • พ.ศ. 2547
    • เปิดใช้อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์
    • เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา (ปัจจุบันคือสาขาวิชาประวัติศาสตร์)
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา โดยเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออก
  • พ.ศ. 2549 รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
  • พ.ศ. 2550 รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  • พ.ศ. 2551 สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์) ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น
  • พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ (โครงการพิเศษ)
  • พ.ศ. 2554
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย สำเนียงงาม ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
    • ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออกปรับหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก มีวิชาเอก 3 สาขา ได้แก่ วิชาเอกภาษาจีน วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น และวิชาเอกภาษาเกาหลี และวิชาโท 4 สาขา ได้แก่ วิชาโทภาษาจีน วิชาโทภาษาญี่ปุ่น วิชาโทภาษาเกาหลี และวิชาโทภาษาอาหรับ
  • พ.ศ. 2555 เปิดใช้อาคารวชิรมงกุฎ (บริเวณพื้นที่โรงละครทรงพลเดิม)
  • พ.ศ. 2556 ปรับโครงสร้างและการดำเนินงานของหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา เพื่อรองรับการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา และการก้าวสู่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2558 (ปัจจุบันระงับโครงการแล้ว)
  • พ.ศ. 2557
    • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ลานทรงพลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และศิษย์เก่า โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา วิชาโทภาษาเวียดนาม
  • พ.ศ. 2559 เปิดสอนวิชาโทสหสาขาวิชา
  • พ.ศ. 2561 ครบรอบ 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • พ.ศ. 2566 เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชายุโรปศึกษา (หลักสูตรพหุวิทยาการ) โดยเน้นภูมิภาคยุโรป

เทพประจำคณะ

[แก้]

เทวีแห่งสรรพความรู้อันล้ำเลิศ สัญลักษณ์แห่งศิลปะทุกแขนง และเป็นเทวีแห่ง "อักษรศาสตร์" ประทับอยู่บนดอกบัว แสดงถึงการแสวงหาความรู้ มีพาหนะเป็นหงส์และนกยูง แสดงถึงการแยกแยะระหว่างความจริงและความลวงจากกัน พระองค์ทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา หรือ จะเข้ ของอินเดียอยู่เสมอ เป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรีศิลปะทุกแขนงและการสร้างสรรค์ ในพระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์พระเวท แสดงถึงความรู้และการศึกษา พระหัตถ์อีกข้างทรงถือลูกประคำ ซึ่งหมายถึงการมีสมาธิในการศึกษาหาความรู้

พระสุรัสวดีประจำคณะอักษรศาสตร์สร้างด้วยทองเหลือง เป็นศิลปะอินเดียในปางยืน สูง 130 เซนติเมตร ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานขึ้นเนื่องในวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นที่สักการะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะอักษรศาสตร์

เทพเจ้าแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์ ขจัดอุปสรรค มักได้รับการบูชาก่อนเทพเจ้าอื่น ๆ ในการเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ทรงประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ด้านขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับลวดลายกนกซึ่งเป็นพระราชนิยม ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และยังทรงสถาปนาพระพิฆเนศขึ้นเป็นเทพเจ้าประจำ พระราชวังสนามจันทร์ ทั้งยังเป็นตราของ กรมศิลปากร และตราสัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระพิฆเนศประจำคณะอักษรศาสตร์จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 45 ปี ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยออกแบบจากตราสัญลักษณ์ประจำคณะ ในปางประทับนั่งมี 4 กร ในพระกรทรงวชิราวุธซึ่งเป็นอาวุธตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งแสดงถึงการทำลายอุปสรรค

หน่วยงาน

[แก้]
อาคารอักษร 1
  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชานาฏยสังคีต
  • ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาปรัชญา
  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส
  • ภาควิชาภาษาเยอรมัน
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • หมวดวิชาทัศนศิลป์

หลักสูตร

[แก้]
ปริญญาตรี
ปริญญาตรี (วิชาโท)
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตร อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
ภาคปกติ

  • สาขาวิชาภาษาไทย วิชาเอกภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เอกเดี่ยว)
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ วิชาเอกประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์ วิชาเอกภูมิศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาตะวันตก
    • วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
    • วิชาเอกภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชานาฏยสังคีต
    • วิชาเอกการละคร
    • วิชาเอกสังคีตศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาปรัชญา วิชาเอกปรัชญา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา วิชาเอกสังคมศาสตร์การพัฒนา
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ วิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก
    • วิชาเอกภาษาจีน
    • วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
    • วิชาเอกภาษาเกาหลี

โครงการพิเศษ

  • สาขาวิชาเอเชียศึกษา
  • สาขาวิชายุโรปศึกษา

วิชาโท

  • วิชาโทภาษาไทย
  • วิชาโทภาษาอังกฤษ
  • วิชาโทประวัติศาสตร์
  • วิชาโทภูมิศาสตร์
  • วิชาโทภูมิสารสนเทศ
  • วิชาโทภาษาฝรั่งเศส
  • วิชาโทภาษาเยอรมัน
  • วิชาโทการละคร
  • วิชาโทสังคีตศิลป์ไทย
  • วิชาโททัศนศิลป์
  • วิชาโทปรัชญา
  • วิชาโทรัฐศาสตร์
  • วิชาโทเศรษฐศาสตร์
  • วิชาโทสื่อเพื่อการพัฒนา
  • วิชาโทการจัดการสารสนเทศ
  • วิชาโทภาษาจีน
  • วิชาโทภาษาญี่ปุ่น
  • วิชาโทภาษาเกาหลี
  • วิชาโทสหสาขาวิชา

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ

หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
รายนามคณบดีคณะอักษรศาสตร์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2513[2] (ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513)[3]
2
ศาสตราจารย์ คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ รักษาการแทนคณบดี 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2514[4]
27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 31 มกราคม พ.ศ. 2517 (ลาออกราชการ)[5]
3
อาจารย์ ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค รักษาการแทนคณบดี 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[6]
รักษาการแทนคณบดี 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 – 11 เมษายน พ.ศ. 2519
4
รองศาสตราจารย์ ดร.เสริน ปุณณะหิตานนท์ รักษาการแทนคณบดี 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518[7]
5
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ 12 เมษายน พ.ศ. 2519 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2522[8]
รักษาการแทนคณบดี 19 มิถุนายน พ.ศ. 2522 – 30 กันยายน พ.ศ. 2522[9]
6
รองศาสตราจารย์ ดร.มนู วัลยะเพ็ชร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526[10]
รักษาการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
7
ศาสตราจารย์ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2530[11]
8
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรพินท์ ชาตรูปะมัย รักษาการแทนคณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530[12]
รักษาราชการแทนคณบดี 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535[13]
9
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ เจริญพจน์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2534[14]
10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ศรีคำ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535[15]
11
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[16]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537[17]
12
อาจารย์จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 30 เมษายน พ.ศ. 2541[18]
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549[19]
13
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 30 เมษายน พ.ศ. 2545[20]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[21]
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[22]
14
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[23]
15
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนัย ครองยุทธ รักษาราชการแทนคณบดี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545[24]
16
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สำเนียงงาม 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[25]
17
รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[26]

12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน[27]

18
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ลิ้มประเสริฐ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[28]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

กิจกรรมนักศึกษา

[แก้]
  • Young SU Camp (ค่ายเปิดประตูสู่ฝัน บ้านสีฟ้า)

เป็นค่ายที่รับสมัครน้อง ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เพื่อมาร่วมเปิดประสบการณ์ ตามหาคำตอบว่าอักษรศาสตร์คืออะไร และอยากมาเป็นชาวอักษรศาสตร์ได้อย่างไร

  • เปิดรั้วทัวร์อักษร

กิจกรรมสำหรับน้องใหม่ได้ทำความรู้จักคณะอักษรศาสตร์ ก่อนเข้ามาศึกษา

  • กิจกรรมรับน้องและประชุมเชียร์

กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้น้องใหม่ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่จะใช้ชีวิตการเรียนร่วมกัน และเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน พี่น้อง ร่วมสถาบันเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการให้น้องใหม่มีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นช่วงภาคการศึกษาต้นที่มีนักศึกษาใหม่ทุกปี

  • Freshy Night

กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จัดให้กับนักศึกษาน้องใหม่ รวมถึงนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ ก็จะมาเข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง

  • Thank P'

กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับการให้ดูแลจัดกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ตลอดช่วงการรับน้องใหม่ของแต่ละปีการศึกษา

  • Trendy & Smart

กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาอักษรศาสตร์ที่เรียนดีและมีความสามารถ เข้าร่วมการประกวดเพื่อได้รับการคัดเลือกเป็น Trendy & Smart Arts Ambassador และ Trendy & Smart Team เพื่อเป็นกลุ่มตัวแทนและพัฒนาจิตอาสาช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะฯ

  • Byenior

กิจกรรมที่นักศึกษารุ่นน้องจัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นการแสดงความยินดีที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา

  • Silpakorn Music Award (SMA)

การประกวดวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวศิลปากร โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

  • เปิดโลกชมรม

กิจกรรมแนะนำชมรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้กับน้องใหม่ เพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือตำราเรียน อีกทั้งน้อง ๆ จะได้ทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ รุ่นพี่ และได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

  • โครงการทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศ ของคณะอักษรศาสตร์

เป็นโครงการที่มีเป้าหมายให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาที่เรียนมา และได้เรียนรู้การใช้ชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา โครงการทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศ ได้แก่ โครงการศึกษาภาษาจีน โครงการศึกษาภาษาเกาหลี โครงการศึกษาภาษาฝรั่งเศส และโครงการทัศนศึกษาของสาขาวิชาเอเชียศึกษา

  • โครงการสานสัมพันธ์อักษรศิลป์ (One Arts)

งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ

เกร็ด

[แก้]
  • คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหนึ่งในสองคณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย โดยอีกแห่งหนึ่งคือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะอักษรศาสตร์ อ่านว่า อัก–สอ–ระ–สาด ไม่ใช่ อัก–สอน–สาด แล้วก็ไม่ใช่ อัก–สอน–ระ–สาด

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. บันทึกข้อความมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 22 เมษายน 2511
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 145/2513 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2513
  4. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2513 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2513
  5. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2514 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2514
  6. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2517 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2517
  7. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 6/2517 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2517
  8. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2519 ลงวันที่ 12 เมษายน 2519
  9. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 3/2522 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2522
  10. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2522 ลงวันที่ 18 กันยายน 2522
  11. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2526 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2526
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 505/2530 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2530
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 942/2535 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2535
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 840/2530 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2530
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 891/2534 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2534
  16. คำสั่ง มศก.ที่ 1174/2535 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535
  17. คำสั่ง มศก.ที่ 286/2537 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2537
  18. คำสั่ง มศก.ที่ 600/2537 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2537
  19. คำสั่ง มศก.ที่ 1244/2545 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545
  20. คำสั่ง มศก.ที่ 193/2541 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2541
  21. คำสั่ง มศก.ที่ 1536/2549 ลงวันที่ 25 กันยายน 2549
  22. คำสั่ง มศก.ที่ 1409/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
  23. คำสั่ง มศก.ที่ 448/2545 ลงวันที่ 29 เมษายน 2545
  24. คำสั่ง มศก.ที่ 472/2545 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2545
  25. คำสั่ง มศก. ที่ 1002/2554 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2554
  26. คำสั่ง มศก. ที่ 685/2558 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2558
  27. คำสั่ง มศก. ที่ 1150/2566 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2566
  28. คำสั่ง มศก. ที่ 1150/2562 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]