การุณ ใสงาม
การุณ ใสงาม | |
---|---|
การุณ ในปี พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2495 อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2526–2543, 2552–2564) ประชาราช (2550) มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551) ไทยสร้างไทย (2565–ปัจจุบัน) |
การุณ ใสงาม (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาราช อดีตรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย
ประวัติ
[แก้]การุณ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ที่ ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้อง 8 คน บิดาเป็นสมาชิกสภาจังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัย
การุณจบการศึกษาจากวิทยาลัยครูนครราชสีมา เมื่ออายุ 16 ปี และสมัครเข้าเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2514
ในยุครัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เกิดการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมระหว่างชาวบ้าน กับนายทุนที่ผูกขาดสัมปทานรถประจำทางในอำเภอประโคนชัย เกิดกรณี 9 กบฏสองแถว หญิงท้องแก่ถูกไล่ลงจากรถสองแถว ระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล แล้วทิ้งไว้ข้างทางจนเสียชีวิต การุณ ใสงาม เข้าร่วมประท้วงด้วย จนถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหา กบฏในราชอาณาจักร และน้องชายชื่อ มงคล ใสงาม ซึ่งร่วมประท้วงด้วยถูกยิงเสียชีวิต
ในช่วงใกล้เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สถานการณ์การเมืองรุนแรงขึ้น จนต้องหนีเข้าป่าพร้อมกับน้องชายชื่อ สมนึก ใสงาม เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีชื่อจัดตั้งว่า ‘สหายสมคิด’ ทำให้ครอบครัวถูกเพ่งเล็งจากทางการ น้องชาย, บิดาและแม่เลี้ยง ถูกยิงเสียชีวิต
การุณออกจากป่าเมื่อ พ.ศ. 2525 และกลับเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนสำเร็จการศึกษา จากนั้นไปทำงานเอ็นจีโอ โครงการพัฒนาชนบท ปัจจุบัน จบปริญญาโทพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสแล้ว มีบุตร 2 คน
การเมือง
[แก้]การุณ ใสงาม สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2526, 2529 และ 2538 ในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ มาโดยตลอด และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกที่มีการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543
ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายการุณได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เข้าร่วมสังกัดพรรคประชาราช ได้รับตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค แต่ลาออกเมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมกับกลุ่มของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายการุณได้ลงสมัครในระบบสัดส่วน กลุ่ม 4 ลำดับที่ 2 ในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 ได้ลงสมัครนายกเทศมนตรีตำบลประโคนชัย บ้านเกิดอีกครั้ง ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ช่วงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2551 นายการุณ ใสงาม ได้เข้าร่วมขึ้นเวทีปราสรัย โดยมีนายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีต ส.ว.ยโสธร และ นายอธิวัฒน์ บุญชาติ แกนนำอีสานกู้ชาติ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นักการเมืองจากจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมชุมนุมกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชนชนเพื่อประชาธิปไตย
ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย[1]
ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บุรีรัมย์ เขตเลือกตั้งที่ 10 สังกัดพรรคไทยสร้างไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ผลงาน
[แก้]การุณ ใสงาม เคยจัดรายการโทรทัศน์ชื่อ "ตรงไป ตรงมา" ทาง ASTV ช่อง NEWS1 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 23.00 - 24.00 น. และรายการ "วิเคราะห์บ้าน วิจารณ์เมือง" ทาง ASTV ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.30 - 21.30 น. ต่อมาได้เลิกจัดรายการดังกล่าว เนื่องจากเข้าเป็นนักการเมืองในสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย และมีผลงานหนังสือชื่อ "ตรงไป ตรงมา" ซึ่งเป็นผลงานเขียนอย่างตรงไป ตรงมา เกี่ยวกับการเมืองไทย โดยใช้สไตล์ของตัวเอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ส่วนตัว เก็บถาวร 2006-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ‘การุณ ใสงาม’ เจ้าของวลี ‘เอากะไดมาล่อ’ เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลจากอำเภอประโคนชัย
- นักการเมืองไทย
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชาราช
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคไทยสร้างไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.