การประชุมเจนีวา (ค.ศ. 1954)
การประชุมเจนีวา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 เป็นการประชุมซึ่งมีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก คือ ความพยายามที่จะหาหนทางรวมประเทศเกาหลี ประการที่สอง คือ อภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน[1] สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศผู้เข้าร่วมประชุมตลอดระยะเวลาการประชุม ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ซึ่งกังวลเกี่ยวกับปัญหาทั้งสองก็ได้นำเสนอระหว่างการอภิปรายคำถามที่เกี่ยวข้อง[2] ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่ส่งกำลังทหารไปช่วยสหประชาชาติในสงครามเกาหลี และอีกหลายประเทศซึ่งยุติสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งระหว่างฝรั่งเศสและเวียดมินห์ ส่วนของการประชุมเกี่ยวกับปัญหาเกาหลีได้ยุติลงโดยไม่มีการประกาศแถลงการณ์หรือข้อเสนอแต่อย่างใด ผู้เข้าร่วมการประชุมและนักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวโทษสหรัฐอเมริกาที่ขัดขวางความพยายามในการรวมประเทศ[2] ในปัญหาเกี่ยวกับอินโดจีน ที่ประชุมได้ข้อสรุปเป็นเอกสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ข้อตกลงเจนีวา" ข้กตกลงมีเนื้อหาให้แยกเวียดนามออกเป็นสองส่วน ทางเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของเวียดมินห์ และทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐเวียดนาม ภายใต้การนำของอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม "แถลงการณ์การประชุมสุดท้าย" ซึ่งเสนอโดยผู้นำการประชุมชาวอังกฤษ มีเนื้อหาให้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1956 เพื่อสร้างรัฐเวียดนามที่รวมเป็นหนึ่งเดียว ถึงแม้ว่าจะถูกเสนอในมุมมองที่เห็นพ้องกัน เอกสารดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากผู้แทนจากทั้งเวียดนามใต้หรือสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากนี้ ข้อตกลงหยุดยิงสามฉบับแยกกัน ซึ่งครอบคลุมกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้มีการลงนามในที่ประชุมด้วย
ภูมิหลัง
[แก้]ปัญหาเกาหลี
[แก้]ในการลงนามสงบศึกหลังจากสงครามเกาหลีได้มีข้อกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการประชุมทางการเมืองภายใน 3 เดือน ซึ่งเป็นกำหนดการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ "เพื่อจัดการผ่านการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาของการถอนกองกำลังต่างชนิดทั้งหมดออกจากเกาหลี การจัดการอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาหลี และอื่น ๆ"[3]
ปัญหาอินโดจีน
[แก้]หลังจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ฟื้นฟูการปกครองอาณานิคมในอินโดจีนฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1946 ได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนพวกชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ สงครามอาณานิคมครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างกองทัพรบนอกประเทศของสหภาพฝรั่งเศสและกองโจรเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ซึ่งได้เปลี่ยนไปสู่วิกฤตการณ์สงครามเย็นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1950[4] คอมมิวนิสต์เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเพิ่งจะได้รับการประกาศใหม่ และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝรั่งเศสและกองทัพแห่งชาติเวียดนามซึ่งเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
ยุทธการที่เดียนเบียนฟูซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคมและดำเนินไประหว่างการประชุม ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการมีชัยชนะและสร้างตำแหน่งซึ่งอำนวยประโยชน์สำหรับการเจรจาที่ได้รับการวางแผนไว้เกี่ยวกับ "ปัญหาอินโดจีน" หลังจากมีการรบเป็นเวลา 55 วัน ที่ตั้งของฝรั่งเศสซึ่งถูกล้อมได้พ่ายแพ้และตำแหน่งกลางของฝรั่งเศสทั้งหมดถูกยึดครองโดยเวียดมินห์
สงครามครั้งนี้มีความสำคัญซึ่งได้แสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่ามหาอำนาจอาณานิคมตะวันตกสามารถถูกเอาชนะได้โดยกองกำลังปฏิวัติของชนพื้นเมือง ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ปราบปรามการลุกฮือที่คล้ายคลึงกันในอาณานิคมมาดากัสการ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการที่เดียนเบียนฟู ได้วางกำลังทหารในแอลจีเรีย และสงครามประกาศอิสรภาพซึ่งเป็นสงครามกองโจร เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1954 ความไม่ไว้วางใจและการต่อต้านของบรรดาเสนาธิการของกองทัพต่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่รัฐประหารสองครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1958 และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 นายพลกบฏส่วนใหญ่เป็นทหารผ่านศึกอินโดจีน รวมไปถึงอดีตผู้บัญชาการ ราอูล ซาลัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Indochina - Midway in the Geneva Conference: Address by the Secretary of State". Avalon Project. Yale Law School. May 7, 1954. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
- ↑ 2.0 2.1 "The Geneva Conference". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China. 2000-11-17. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
- ↑ "Text of the Korean War Armistice Agreement". Findlaw.com. July 27, 1953. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|source=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Replacing France: The Origins of American Intervention in Vietnam, Kathryn C. Statler, University Press of Kentucky, July 2007