ข้ามไปเนื้อหา

กองกำลังสุรนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองกำลังสุรนารี
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 2
เครื่องหมาย
ประจำการ16 มิถุนายน พ.ศ. 2521; 46 ปีก่อน (2521-06-16)
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบกองกำลังป้องกันชายแดน
หน่วยเฉพาะกิจ
บทบาทการลาดตระเวน
หน่วยยามชายแดน
กำลังกึ่งทหาร
ขึ้นกับ กองทัพบกไทย
กองบัญชาการค่ายวีรวัฒน์โยธิน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
สมญากกล.สุรนารี
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์suranareecommand-rta.net
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.กกล.สุรนารีพลตรี ณัฎฐ์ ศรีอินทร์
เสธ.กกล.สุรนารีพันเอก สุรกิจ กาฬเนตร
เครื่องหมายสังกัด
ฉก.ตชด.21
ฉก.ตชด.22
ฉก.ทพ.23
ฉก.ทพ.26

กองกำลังสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree Command หรือ Suranaree Task Force[1]) คือกองกำลังป้องกันชายแดน 1 ใน 7 ของกองทัพบกไทย[2] ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ดูแลพื้นที่ชายแดนไทย–กัมพูชาช่วงจังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี และชายแดนไทย–ลาวช่วงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมประมาณ 750 กิโลเมตร (470 ไมล์)[3]

กองกำลังสุรนารียังปฏิบัติงานในฐานะ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 2 (กอ.รมน.ภาค 2 สย.2) อีกด้วย[4]

ประวัติ

[แก้]

กองกำลังสุรนารี จัดตั้งตามติคณะรัฐมนตรีให้เป็นกองกำลังป้องกันชายแดนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เพื่อป้องกันการรุกรานอธิปไตยจากนอกประเทศรวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ (อีสานใต้) ซึ่งกองทัพบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 2 รับผิดชอบในการจัดตั้งกองกำลังสุรนารีในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2521 จึงได้ถือเอาวันที่ 16 มิถุนายนเป็นวันสถาปนากองกำลัง รับผิดชอบพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ระยะทางรวมประมาณ 750 กิโลเมตร (470 ไมล์) แบ่งเป็นแนวเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 562 กิโลเมตร (349 ไมล์) และผืนน้ำของแม่น้ำโขงประมาณ 188 กิโลเมตร (117 ไมล์) ซึ่งรักษาแนวจากแนวชายแดนเข้ามาประมาณ 5–10 กิโลเมตรเพื่อเป็นแนวป่าไม้ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง และประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง ประกาศเป็นป่าสงวน 12 แห่ง และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง[4] และมีผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี[5]

ขณะที่ในปี พ.ศ. 2522 กองทัพภาคที่สองมอบหมายให้กองพลทหารราบที่ 6 รับผิดชอบแผนงานรักษาความมั่นคงภายใน และจัดตั้งเป็นที่บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 (กท.พล.ร.6) มอบหมายให้รับผิดชอบพื้นที่ 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร และร้อยเอ็ด จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ได้ปรับรูปแบบการต่อสู้เป็นรูปแบบเบ็ดเสร็จโดยเปลี่ยนบัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 เปลี่ยนชื่อเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 2 (กอ.รมน.ภาค 2 สย.2)[4]

ในปี พ.ศ. 2527 จากการต่อสู้กันภายในประเทศกัมพูชา ส่งผลให้มีสถานการณ์การสู้รบระหว่างกองกำลังในกัมพูชาและทหารเวียดนามมาประชิดกับชายแดนไทยในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งทหารเวียดนามได้ปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังต่อต้านในพื้นที่ช่องพระพลัย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้ชาวกัมพูชาอพยพข้ามเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก กองกำลังสุรนารีจึงสั่งการในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2527 ให้สนธิกำลังจากหน่วยต่าง ๆ เข้าผลักดันกองกำลังต่างชาติออกจากเขตแดนของประเทศไทย[6]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ในพื้นที่ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่าง 3 ประเทศได้แก่ไทย ลาว และกัมพูชา ได้มีกองกำลังทหารเวียดนามรุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยของไทย โดยวางกำลังในรูปแบบฐานปฏิบัติการบนเนินต่าง ๆ เช่น เนิน 500, 408 และ 382 ลึกเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยประมาณ 2–3 กิโลเมตร ทำให้กองกำลังสุรนารีได้เปิดยุทธการ ดี-9 จัดกำลังเข้าผลักดันกองกำลังของเวียดนาม แต่ไม่สามารถผลักดันได้สำเร็จ เนื่องจากการสนับสนุนจากปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิดของฝ่ายเวียดนาม ทำให้ต้องใช้กำลังของกองทัพภาคที่ 2 เข้าควบคุมการยุทธ์และเข้าตีเนิน 500 จนสามารถขึ้นยึดที่หมายได้ และเกิดการเจรจาหยุดยิง ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าสามเหลี่ยมมรกต[6]

ในปี พ.ศ. 2551 ได้เกิดกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา อันเนื่องมาจากการถือแผนที่แนวเขตแดนคนละฉบับ หลังจากการยื่นขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งฝ่ายไทยได้ยื่นแสดงสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวอยู่เช่นกัน ส่งผลกระทั่งเกิดการประท้วงจากประชาชนทั้งจากฝั่งไทยและกัมพูชา และเกิดการปะทะกันขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554 ระหว่างกองทัพไทยโดยกองกำลังสุรนารีและกองทัพกัมพูชา[6] ซึ่งเริ่มปะทะกันด้วยปืนเล็กยาวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 บริเวณพื้นที่ทับซ้อนบริเวณฐาน ตชด.เก่า ห่างจากผามออีแดงประมาณ 4 กิโลเมตร และส่งผลให้เกิดการใช้อาวุธหนักโจมตีใส่กันตลอดแนวชายแดนไทยกัมพูชา โดยมีการหยุดยิงและปะทะกันใหม่ตลอดจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ จึงได้มีการหยุดยิงในพื้นที่หลัก คือในพื้นที่เขาพระวิหาร[7]

ทหารพรานในจังหวัดบุรีรัมย์

โครงสร้าง

[แก้]

หน่วยขึ้นตรง

[แก้]

กองกำลังสุรนารี ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ ดังนี้[8]

  • ฝ่ายกำลังพล (ฝกพ.)
  • ฝ่ายการข่าว (ฝขว.)
  • ฝ่ายยุทธการ (ฝยก.)
  • ฝ่ายส่งกำลังบำรุง (ฝกบ.)
  • ฝ่ายกิจการพลเรือน (ฝกร.)
  • กองร้อยบังคับการ (ร้อย.บก.)
  • ศปย.
  • ศปร.
  • สำนักงาน พชด./ปชด.
  • ศตส.กกล.สุรนารี
  • กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล (ร้อย.ลว.ไกล)[9]
  • ชุดปฏิบัติการบินกองทัพบก[10]
  • ชุดสุนัขทหาร[11]

หน่วยขึ้นควบคุมทางยุทธการ

[แก้]

กองกำลังสุรนารี ประกอบด้วยหน่วยสมทบและขึ้นควบคุมทางยุทธการ ดังนี้

หน่วยเฉพาะกิจรับผิดชอบพื้นที่

[แก้]

กองกำลังสุรนารี ประกอบด้วยหน่วยเฉพาะกิจรับผิดชอบพื้นที่ ดังนี้

  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี – รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดอำนาจเจริญ, อุบลราชธานี และศรีสะเกษ[20]
    • กองพันทหารราบที่ 12 – รับผิดชอบพื้นที่ปราสาทพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ[15]
    • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22[21]
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2301 – อุบลราชธานี[22]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2302 – อุบลราชธานี[23]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2303 – ศรีสะเกษ[24]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2304 – ศรีสะเกษ[25]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2305 – อุบลราชธานี[11]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2306 – ศรีสะเกษ[26]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2307 – ศรีสะเกษ[27]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2308 – อุบลราชธานี[28]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2309 – ศรีสะเกษ[27]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2310 – อุบลราชธานี[29]
  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กองกำลังสุรนารี – รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดสุรินทร์[30] และบุรีรัมย์[31]
    • กองพันทหารราบที่ 21 – รับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่ลำห้วยจันทบเพชร ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ถึงช่องเสม็ด ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของปราสาทตาเมือน [32]
    • กองพันทหารราบที่ 22 – รับผิดชอบพื้นที่ปราสาทตาควาย ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จนถึงตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
    • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21[33]
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26[13] – บุรีรัมย์, สุรินทร์
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2602[34]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2603[35]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2604 – ช่องสายตะกู[36]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2605[37]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2606[38]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2607[39]
      • กองร้อยทหารพรานที่ 2608[40]
  • หน่วยเฉพาะกิจที่ 3 กองกำลังสุรนารี – รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ
    • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26[13] – ศรีสะเกษ
    • กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจลาดตระเวนชายแดนที่ 224[18]

ภารกิจ

[แก้]

กองกำลังสุรนารี มีพื้นที่ในการรับผิดชอบในจังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ รวม 5 จังหวัด 21 อำเภอ[20] ระยะทางรวมประมาณ 750 กิโลเมตร (470 ไมล์) แบ่งเป็น

  • ฝั่งประเทศลาว ตั้งแต่พื้นที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มาจนถึงพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยพื้นที่ทางบกตั้งแต่อำเภอสิรินธร ถึงอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 199 กิโลเมตร (124 ไมล์) และพื้นที่ทางน้ำตามแม่น้ำโขงตั้งแต่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 188 กิโลเมตร (117 ไมล์)[43]
  • ฝั่งประเทศกัมพูชา ตั้งแต่พื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ความยาว 363 กิโลเมตร (226 ไมล์) โดยอาศัยแนวทิวเขาพนมดงรักเป็นพรมแดนธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นหน้าผาชันสูงในฝั่งกัมพูชา และลาดลงมาในฝั่งไทย[43]

กองกำลังสุรนารี มีภารกิจในการสถาปนาความมั่นคงตามแนวชายแดนทั้งไทยทั่งฝั่งของประเทศกัมพูชาและประเทศลาวตามแผนป้องกันประเทศ โดยวางกำลังทหารหลักเป็นแนวตามชายแดน และวางกำลังกั่งทหารเป็นหย่อมเพื่อคอยต้านทานตามแนวชายแดน รวมถึงควบคุมภูมิประเทศที่มีความสำคัญ จุดต้านทาน และเส้นทางยุทธวิธีในการเข้าสู่พื้นที่ชายแดน รวมถึงการสร้างการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน[5] และประสานงานด้านความร่วมมือกับกองกำลังประเทศเพื่อนบ้านตามกำหนดวงรอบเพื่อลดความหวาดระแวงและลดความตึงเครียดในพื้นที่[43]

ส่วนของความมั่นคงภายใน กองกำลังสุรนารีปฏิบัติงานในบทบาทของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ส่วนแยก 2 (กอ.รมน.ภาค 2 สย.2) เป็นหน่วยงานบูรณาการภารกิจด้านความมั่นคงผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด มีพื้นที่รับผิดชอบใน 7 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดอำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด และยโสธร และยึดถือการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ผ่านการจัดการ 3 ระบบ คือ การจัดการประชากร การจัดการระบบพัฒนา และการจัดระบบการรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน[5]

นอกจากนี้ กองกำลังสุรนารีมีภารกิจในการบังคับใช้และระวังไม่ให้เกิดการละเมิดต่อบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชาปี 2543 (MOU 2543)[43] ที่ได้ทำระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2543[44][45] และงานตามภารกิจพิเศษอื่น ๆ ได้แก่[5]

  • การติดตามโครงการพระราชดำริ
  • การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • การดำเนินงาน หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3 เก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดและกับระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งที่ตกค้างจากช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา และที่นำมาวางใหม่ในพื้นที่รอยต่อชายแดน[18]
  • การแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนด้วยการจัดชุดในการรักษาความปลอดภัยและตรวจค้น เก็บกู้วัตถุระเบิดให้กับหน่วยสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของกรมแผนที่ทหาร

ฐานปฏิบัติการ

[แก้]
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์บริเวณเชิงเขาพระวิหารในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

ฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนของกองกำลังสุรนารีจากการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและรายงานต่าง ๆ ของกองกำลัง เช่น

จังหวัดศรีสะเกษ

[แก้]
  • ฐานปฏิบัติการเสือดาว[46]
  • จุดตรวจการสัตตะโสม[46]
  • ฐานปฏิบัติการผาหลวง[46]
  • ฐานปฏิบัติการเสาธงชัย[47]
  • ฐานปฏิบัติการดอยทอง[47]
  • ฐานปฏิบัติการอำพัน[47]
  • ฐานปฏิบัติการชนแดน[48]

จังหวัดอุบลราชธานี

[แก้]
  • ฐานปฏิบัติการอนุพงศ์[49]
  • ฐานจุดตรวจเนิน 500[49]
  • ฐานปฏิบัติการภูมดง่าม[49]
  • ฐานปฏิบัติการภูโคกใหญ่[29]

จังหวัดสุรินทร์

[แก้]
  • ฐานปฏิบัติการ 22 บี
  • ฐานปฏิบัติการบุสะอางค์
  • ฐานปฏิบัติการช่องกร่าง

พื้นที่อ้างสิทธิ

[แก้]
พื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี

กองกำลังสุรนารี ดูแลพื้นที่อ้างสิทธิหลักที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี เป็นที่ตั้งของฐานปฏิบัติการเสือดาว จุดตรวจการสัตตะโสม ฐานปฏิบัติการผาหลวง[46]

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อ้างสิทธิอยู่ตลอดแนวชายแดนไทย–กัมพูชา ตั้งแต่แนวทิวเขาพนมดงรัก ต่อเนื่องไปจนหลักเขตที่ 1 ถึง 27 จำนวน 17 พื้นที่[32]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "25 September 2019, at the Suranaree Task Force, Surin Province". www.senate.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  2. "ชายแดน 5,526 กม. กองกำลัง 'รั้วของชาติ' ดูแลตรงไหนบ้าง? | The Opener". theopener.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-22.
  3. "ประวัติกองกำลังสุรนารี | suranareecommand-rta.net". 2024-06-21.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประวัติกองกำลังสุรนารี | suranareecommand-rta.net". 2024-06-21.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 คิดคินสัน, เอื้อพร. "ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่และแนวทางแก้ไขปัญหาของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี". tdc.thailis.or.th.
  6. 6.0 6.1 6.2 "ประวัติความเป็นมาของหน่วยกรมทหารพรานที่ 23". kmtp23.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  7. "ย้อนรอยศึก 'เขาพระวิหาร' สงครามสุดท้ายไทย-เขมร!?!". www.thairath.co.th. 2015-02-06.
  8. หมายเลขโทรศัพท์ภายใน กองทัพบก 2564 (PDF). กรมสรรพาวุธทหารบก. pp. 207–208.[ลิงก์เสีย]
  9. "'กองกำลังสุนารี'ซ้อมแผนกู้ภัยทางอากาศ-เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน". mgronline.com. 2006-09-07.
  10. ""กกล.สุรนารี"ฝึกซ้อมแผนกำลังพล-ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศ". mgronline.com. 2007-07-02.
  11. 11.0 11.1 "รถขน 'ไม้พะยูง' ชนต้นไม้ ทิ้งของกลาง 81 ท่อน คาด ร.ต.ท. มีเอี่ยว". workpointTODAY.
  12. "รถใครหายไปดูด่วน! กองกำลังสุรนารี ตรวจยึดรถยนต์ 8 คัน ก่อนส่งข้ามแม่น้ำโขง". bangkokbiznews. 2024-03-26.
  13. 13.0 13.1 13.2 "ผบ.ทบ. ตรวจเยี่ยม กกล.สุรนารี ให้กำลังใจทหารชายแดนเสียสละ ปกป้องประเทศ". www.thairath.co.th. 2023-10-20.
  14. "ผวจ.อุบลราชธานี ร่วมกับ กองกำลังสุรนารี ตรวจสภาพพื้นที่ เพื่อสกัดกั้นยาเสพติด ตามแนวชายแดน ไทย-ลาว". ubonratchathani.prd.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 ""ทหารลาดตระเวน เข้มตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา"". thaitv5hd.com (ภาษาอังกฤษ).
  16. "NBT CONNEXT". thainews.prd.go.thnull (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  17. ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (PDF). ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย.[ลิงก์เสีย]
  18. 18.0 18.1 18.2 "ผงะ! จนท.ป่าห้วยศาลาร่วมทหาร-ตชด.พบทุ่นระเบิดสังหารกว่า 40 ลูกในป่าชายแดนไทย-กัมพูชา". mgronline.com. 2021-01-26.
  19. ""Cobra Gold 2024 นปท.3 "". armyprcenter.com/.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 "9 พ.ค. 66 สวพ.ทบ. ตรวจเยี่ยมหน่วยพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา". ardo.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  21. "ศรีสะเกษคุมเข้มหมู่บ้านชายแดนเขมร หลัง ตชด.ปะทะกองกำลังลอบตัดไม้ดับ 2 ศพ". mgronline.com. 2009-07-12.
  22. "กองกำลังสุรนารี โดย ฉก.ทพ.23 จับกุมราษฎร สปป.ลาว ลักลอบเข้าราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย". กองทัพภาคที่ 2.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "ทหารพรานยึด รถยนต์-รถไถ จาก ขบวนการโจรกรรมรถยนต์ข้ามชาติ ขณะลำเลียงข้ามโขง ส่งประเทศเพื่อนบ้าน". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "ชายแดนศรีสะเกษตึงเครียด - ทหารไทยเหยียบระเบิดขาขาด 2 นาย". mgronline.com. 2008-10-06.
  25. "รองผบ.กองทัพเขมรอ้างทหารไทยรุกล้ำดินแดนจนเกิดการปะทะกัน 2 ครั้ง". Thai PBS.
  26. "เปิดอนุสาวรีย์วีรกรรมเหล่านักรบผู้กล้า ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์". www.banmuang.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. 27.0 27.1 "อุทยานฯเขาพระวิหาร รวบชายชาวกัมพูชา​แอบเข้าไทย ลอบตัดไม้พะยูง​กว่า 24 ท่อน". 2021-08-29. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 36 (help)
  28. "กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี รวมกับ กองกำลังสุรนารี ตรวจพื้นที่ชายแดน และจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน". ubonratchathani.prd.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 "เจ้าหน้าที่ในสังกัดฯ ลาดตระเวนร่วมกับกองร้อยทหารพรานที่ 2310 กรมทหารพรานที่ 23 ในการลาดตระเวนตรวจสอบสภาพผืนป่ายอดโดม เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการล่าสัตว์ป่า ในพื้นที่ เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่ายอดโดม - สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-14.
  30. ""ตชด." สุรินทร์สนธิกำลังทหาร-ตร.-ป่าไม้ กวาดล้างลอบตัดไม้ชายแดน". mgronline.com. 2011-09-15.
  31. "ผอ.ทสจ.นม. ร่วมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ตามแนวชายแดน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กกล.สุรนารี ณ.ช่องสายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์". www.mnre.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  32. 32.0 32.1 บทบรรยายและภาพประกอบ ร.23 พัน.1 (2024-03-19), กองพันทหารราบที่ 21 หน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กองกำลังสุรนารี V1, สืบค้นเมื่อ 2024-07-14
  33. ""ตชด." สุรินทร์สนธิกำลังทหาร-ตร.-ป่าไม้ กวาดล้างลอบตัดไม้ชายแดน". mgronline.com. 2011-09-15.
  34. "ทหารเขมร 300 นายเหิมบุกยึด"ตาควาย"-ยื่นไทยถอยพ้น"ตาเมือนธม"-2 ฝ่ายตรึงกำลังเครียด". mgronline.com. 2010-02-11.
  35. "สุรินทร์แก๊งมอดไม้ขว้างระเบิดใส่ทหารไร้เจ็บ". www.sanook.com/news. 2012-07-04.
  36. "เสริมกำลังทหารเฝ้าระวังชายแดนบุรีรัมย์". posttoday. 2011-02-07.
  37. "ทหารเขมรเคลื่อนพลประชิดชายแดนสุรินทร์". posttoday. 2011-02-02.
  38. "สุรินทร์ตรวจยึดไม้พะยูง9ท่อนซุกสวนยาพารา". www.sanook.com/news. 2017-03-18.
  39. "ปะทะชายแดนสุรินทร์ดุเดือด! สั่งอพยพชาวบ้านอีก 5 ตำบล สะพัดถึงขั้นแตกหัก". mgronline.com. 2011-04-23.
  40. "ตร.สุรินทร์สนธิกำลังทหารบุกจับเขมรลอบตัดไม้ 'พะยูง' แนวชายแดน". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  41. "ขสป.ห้วยศาลา สนธิกำลังลาดตระเวนเพื่อป้องกันการกระทำผิดและติดตามค้นหาบุคคลสูญหายเป็นการต่อเนื่อง - สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-01.
  42. "พบตัวแล้ว กับภารกิจค้นหากว่า 3 วัน ชายไทยพลัดหลงป่า". armyprcenter.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมาธิการด้านการป้งกันประเทศ การปฏิบัติการด้วยกำลังทหาร และการพัฒนาในคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4. รัฐสภาไทย. 2563.
  44. "ประชุมไทย-กัมพูชา กรณีปัญหาช่องอานม้า ยอมถอนบ้าน-พืชผลที่รุกล้ำข้อตกลง MOU 43". mgronline.com. 2016-05-26.
  45. "อิทธิฤทธิ์เอ็มโอยูอันตรายที่สำแดงอีกครั้ง". mgronline.com. 2011-04-28.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 "ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหน่วยในพื้นที่ตามแนวชายแดน ตรวจจุดเฝ้าระวังและสุ่มเสี่ยง ชายแดน ไทย – กัมพูชา". web.army2.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. 47.0 47.1 47.2 "ตรวจโรคทั่วไปพร้อมประเมินสุขภาพจิต กายภาพบำบัด และอบรมสุขภาพจิตให้กับกำลังพลปฏิบัติราชการสนามตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา". khupandin.com.
  48. "องคมนตรี เชิญสิ่งของพระราชทาน เนื่องในโอกาสปีใหม่ 2566 ไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่กองกำลังชายแดน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และนครพนม". news.ch7.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. 49.0 49.1 49.2 "ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยมหน่วยกำลังป้องกันชายแดนในพื้นที่ กองกำลังสุรนารี". web.army2.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)