สถาบันพระบรมราชชนก
Praboromarajchanok Institute | |
ชื่อเดิม | สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข |
---|---|
ชื่อย่อ | สบช. / PBRT |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงสาธารณสุข |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 2,603,018,200 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาสถาบัน | ศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล[2] |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์พิเศษ วิชัย เทียนถาวร |
อาจารย์ | 2,654 คน (พ.ศ. 2565)[3] |
บุคลากรทั้งหมด | 5,359 คน (พ.ศ. 2565)[3] |
ที่ตั้ง | เลขที่ 88/20 อาคารกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 ประเทศไทย |
วิทยาเขต |
|
เพลง | มาร์ชสถาบันพระบรมราชชนก |
สี | สีฟ้า |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
สถาบันพระบรมราชชนก เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ผลิตบุคลากรด้านการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และสาธารณสุขไทย และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระมารดาแห่งการสาธารณสุขไทย สถาบันมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของ กระทรวงสาธารณสุข ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพ ทำการสอน การวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบุคลากรด้านการสาธารณสุขเข้าด้วยกัน เพื่อเอกภาพด้านนโยบาย การวางแผนการดำเนินงาน โดยมีการตราพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดตั้งเป็น "สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข" ดูแลงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข[4]
การพระราชทานนาม
[แก้]เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงวางรากฐานความเจริญทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขของไทย รัชกาลที่ 9 จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อสถาบันว่า “สถาบันพระบรมราชชนก” เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2537 และได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 112 ตอนที่ 53 ก วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันพระบรมราชชนก”[5]
ต่อมาราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนที่ 43 ก หน้า 50 ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562[6] โดยให้สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ปริญญาโท
[แก้]- สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
- พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
- พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
ปริญญาตรี
[แก้]- พยาบาลศาสตรบัณฑิต
- สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
- สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข)
- การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (การแพทย์แผนไทย)
- การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (เวชระเบียน)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
- แพทยศาสตรบัณฑิต (ศึกษาช่วงปี 1-3 ที่ ม.มหิดล)
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
[แก้]- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคนิคเภสัชกรรม
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเวชระเบียน
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์
การแบ่งส่วนราชการ
[แก้]สำนักงานอธิการบดี
[แก้]คณะแพทยศาสตร์
[แก้]- โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการโดยปรับเปลี่ยนโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งสมทบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตกับมหาวิทยาลัยมหิดล มาใช้หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก แต่ยังฝากเรียนในชั้นปีที่ 1 - 3 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
- โครงการจัดตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์อุดรธานี
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 3 แห่ง ในการเรียนการสอนชั้นปีที่ 4 - 6 ประกอบด้วย
กลุ่มสถาบันการพยาบาล
[แก้]วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เป็นวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งที่เปิดดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว และที่จะเปิดใหม่ภายหลังว่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โดยมีสถาบันในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 30 แห่ง ได้แก่[7]
- สถาบันที่ย้ายไปสังกัดอื่น
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม (โอนไปสังกัด มหาวิทยาลัยนครพนม)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นราธิวาส (โอนไปสังกัด มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปัจจุบันเป็นคณะพยาบาลศาสตร์)
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
[แก้]
|
โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์
[แก้]โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและนวัตกรรม
[แก้]สำนักวิชาการ
[แก้]อดีตส่วนราชการในสังกัด
[แก้]- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม (โอนไปสังกัด มหาวิทยาลัยนครพนม)[8]
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นราธิวาส (โอนไปสังกัด มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปัจจุบันเป็นคณะพยาบาลศาสตร์)[9]
- วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (ปัจจุบันสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข)
- แก้วกัลยาสิกขาลัย (ปัจจุบันสังกัดศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ [1]
- ↑ 3.0 3.1 สถาบันพระบรมราชชนก, แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2569, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2536" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2018-04-22.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณะสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-17. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
- ↑ "พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
- ↑ "สถาบันการศึกษาที่ทำการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล" (PDF). สภาการพยาบาล. 18 April 2022.
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 75ก วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548
- ↑ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-22.