ข้ามไปเนื้อหา

กดเพื่อพูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักวิทยุสมัครเล่นกำลังกดปุ่มกดเพื่อพูดบนชุดไมค์แบบตั้งโต๊ะในการออกอากาศ

กด-เพื่อ-พูด (อังกฤษ: push-to-talk: PTT หรืออีกความหมายคือ press-to-transmit) หรือ การกดเพื่อพูด เป็นวิธีการสนทนาหรือสนทนาบนสายสื่อสารฮาล์ฟดูเพล็กซ์ รวมทั้งวิทยุสองทาง โดยใช้ปุ่มชั่วขณะ (กดละเด้งกลับคืนเมื่อปล่อย) เพื่อเปลี่ยนจากโหมดการรับเสียงเป็นโหมดส่ง

ประวัติ[แก้]

ตัวอย่างเช่น ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศมักจะดูแลเครื่องบินหลายลำและพูดคุยกับเครื่องบินทุกลำโดยใช้ความถี่วิทยุเดียว ผู้ที่อยู่ในความถี่เดียวกันสามารถได้ยินการส่งสัญญาณของผู้อื่นในขณะที่ใช้คำขั้นตอน เช่น "เบรค break", "เบรค เบรค break break" เพื่อแยกลำดับระหว่างการสนทนา (เอกสาร ICAO ที่ 9432) เป็นการรู้ถึงการกระทำและเจตนาของกันและกัน ไม่เหมือนกับการประชุมทางโทรศัพท์ พวกเขาไม่ได้ยินเสียงพื้นหลังจากคนที่ไม่ได้พูด ข้อควรพิจารณาที่คล้ายกันนี้ใช้กับวิทยุตำรวจ การใช้วิทยุย่านความถี่ธุรกิจในสถานที่ก่อสร้าง และสถานการณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ย่านความถี่ภาคประชาชนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้งานของผู้ใช้งานการกดเพื่อพูดแบบคลาสสิก

โดยทั่วไป สวิตช์กดเพื่อพูดจะอยู่ที่ไมโครโฟนมือถือของวิทยุหรือสำหรับวิทยุมือถือขนาดเล็กโดยตรงบนวิทยุ สำหรับผู้ใช้วิทยุที่ใช้งานหนัก อาจใช้เท้าเหยียบสวิตช์กดเพื่อพูด และสามารถใช้ร่วมกับไมโครโฟนแบบติดตั้งแบบบูมหรือชุดหูฟังที่มีไมโครโฟนในตัวก็ได้

ในสถานการณ์ที่ผู้ใช้อาจยุ่งเกินกว่าจะจัดการสวิตช์เพื่อพูด บางครั้งอาจใช้สวิตช์ควบคุมด้วยเสียง (VOX) บางระบบใช้ PTT ID เพื่อระบุผู้พูด

โทรศัพท์เคลื่อนที่[แก้]

การกดเพื่อพูดผ่านเซลลูลาร์ (Push-to-talk over cellular: PTToC) เป็นตัวเลือกบริการเครือข่ายโทรศัพท์เซลลูลาร์ที่ให้สมาชิกสามารถใช้โทรศัพท์เป็นวอล์คกี้-ทอล์คกี้ได้แบบไม่จำกัดระยะ โดยทั่วไปการติดต่อแบบกดเพื่อพูดจะติดต่อกันแทบจะในทันที ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการกดเพื่อพูดคือคนคนเดียวสามารถเข้าถึงกลุ่มสนทนาที่ใช้งานอยู่ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์หลายสายเพื่อประสานงานกับกลุ่ม

การโทรผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบกดเพื่อพูดให้การสื่อสารแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ในทำนองเดียวกัน ในขณะที่คนหนึ่งส่ง อีกคนหนึ่งจะรับ ซึ่งเป็นการรวมข้อดีในการดำเนินงานของการกดเพื่อพูดเข้ากับการลดสัญญาณรบกวนและข้อดีอื่น ๆ ของโทรศัพท์มือถือ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์วิทยุสื่อสารใส่ซิม (POC หรือ PoC) เช่น ทูลแอร์[1] และ ไฮเทรา สหรัฐ[2]

บริการกดเพื่อพูดเคลื่อนที่ ถูกเสนอโดยผู้ให้บริการมือถือบางรายโดยตรงและโดยบริษัทอิสระ เพิ่มฟังก์ชันการทำงานของการกดเพื่อพูดให้กับสมาร์ทโฟนและชุดโทรศัพท์มือถือเฉพาะทาง (เทอร์มินัลวิทยุกดเพื่อพูดแบบพกพาและแบบเคลื่อนที่/สถานีฐาน) นอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือแล้ว บริการบางอย่างยังใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เดสก์ท็อป และแท็บเล็ตอีกด้วย

แอปสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์[แก้]

การพัฒนาล่าสุดในการสื่อสารของการกดเพื่อพูด คือการปรากฏของแอปบนสมาร์ทโฟน ซึ่งบางแอปสามารถทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์ม ระบบกดเพื่อพูดในระดับผู้ให้บริการระบบไร้สายได้ปรับและนำแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนมาใช้โดยการจัดหาแอปที่ดาวน์โหลดได้ ซึ่งสนับสนุนระบบกดเพื่อพูดบนแพลตฟอร์มมือถือจำนวนมาก ส่วนแอปพลิเคชันแบบบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต Over-the-top: OTT ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการหรือประเภทของเครือข่ายการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจง[3] และอาจช้ากว่าการใช้งานของผู้ให้บริการ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sharon O'Keeffe. "ToooAir Launches a Push to Talk Over Cellular Device". www.farmonline.com.au. November 28, 2017.
  2. Jena Tesse Fox. "Hytera introduces the PNC360S series of PoC devices". Hotel Management. May 26, 2022.
  3. "Push-to-Talk Services - Orion". www.orionlabs.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-10. สืบค้นเมื่อ 2024-03-03.