วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ
วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ (อังกฤษ: Marine VHF radio) เป็นระบบรับส่งสัญญาณวิทยุแบบสองทางที่ใช้งานกันทั่วโลกบนเรือและพาหนะทางน้ำสำหรับสื่อสารด้วยเสียงแบบสองทิศทาง จากเรือถึงเรือ จากเรือถึงฝั่ง (เช่น กับนายท่าเรือ) และในบางกรณี จากเรือสู่อากาศยาน โดยใช้ช่องเอฟเอ็มในย่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (วีเอชเอฟ) ในช่วงความถี่แบบรวม ๆ ระหว่าง 156 ถึง 174 MHz ซึ่งถูกกำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้เป็น ย่านความถี่เคลื่อนที่ทางทะเลวีเอชเอฟ (VHF maritime mobile band) ในบางประเทศมีการใช้ช่องสัญญาณเพิ่มเติม เช่น ช่อง L และ F สำหรับการเดินเรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และการประมงในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (ช่วงความถี่ 155.5–155.825 MHz) โดยจำกัดกำลังส่งอยู่ที่ 25 วัตต์ ทำให้มีระยะส่งอยู่ที่ประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์; 54 ไมล์ทะเล)
เป็นระบบทั่วโลกของตัวรับส่งสัญญาณวิทยุแบบสองทางบนเรือและทางน้ำที่ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยเสียงแบบสองทิศทางจากเรือถึงเรือ เรือถึงฝั่ง (เช่น กับนายท่าเรือ) และในบางกรณีจากเรือสู่เครื่องบิน ใช้ช่อง FM ในย่านความถี่วิทยุความถี่สูงมาก (VHF) ในช่วงความถี่ระหว่าง 156 ถึง 174 MHz ซึ่งรวมอยู่ด้วย ซึ่งกำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้เป็นคลื่นความถี่เคลื่อนที่ทางทะเล VHF ในบางประเทศมีการใช้ช่องสัญญาณเพิ่มเติม เช่น[1] ช่อง L และ F สำหรับเรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประมงในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (ที่ 155.5–155.825 MHz) กำลังส่งจำกัดอยู่ที่ 25 วัตต์ ทำให้มีช่วงประมาณ 100 (62 ไมล์; 54 ไมล์ทะเล)
อุปกรณ์วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟได้รับการติดตั้งบนเรือขนาดใหญ่ทุกลำและในเรือขนาดเล็กที่ใช้ออกทะเลส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานในลำน้ำและทะเลสาบโดยมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันเล็กน้อย มันถูกใช้งานในจุดประสงค์ที่หลากหลาย ซึ่งรวมไปถึงการเดินเรือทางทะเลและการควบคุมการจราจร การเรียกขานเพื่อร้องขอการกู้ภัย และการสื่อสารกับท่าจอดเรือ ช่องทางเดินเรือ (Navigation Lock) สะพาน และท่าเทียบเรือ
ประวัติ
[แก้]วิทยุทางทะเลเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านวิทยุในเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ซึ่งช่วยให้เรือสามารถที่จะติดต่อกับชายฝั่งและเรือลำอื่น ๆ ได้ และใช้ในการเรียกขานเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้ โดยกูลเยลโม มาร์โกนี ได้คิดค้นการสื่อสารทางวิทยุในคริสต์ทศวรรษที่ 1890 และบริษัทมาร์โกนีได้ติดตั้งสถานีโทรเลขไร้สายบนเรือตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2443 มาร์โกนีได้สร้างสถานีฝั่งไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ได้เริ่มต้นใช้งานระบบเรียกขอความช่วยเหลือด้วยรหัสมอร์สขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้อักษร CQD ในการเรียกขานขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2449 ได้มีการนำอักษร SOS มาใช้งานแทนตามข้อตกลงร่วมกันในการเดินทะเล เหตุการณ์สำคัญที่ได้ใช้งานการขอความช่วยเหลือด้วยวิทยุคือเหตุการณ์เรือ อาร์เอ็มเอส รีพับบลิคล่ม ในปี พ.ศ. 2452 ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้กว่า 1,500 คนในเหตุการณ์นั้น และการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก ในปี พ.ศ. 2455 ที่ทำให้กิจการวิทยุทางทะเลเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และพนักงานวิทยุทางทะเลถูกถือว่าเป็นวีรบุรุษในเหตุการณ์ครั้งนั้น โดยในปี พ.ศ. 2463 สหรัฐมีสถานีชายฝั่งจำนวน 12 แห่งตั้งทอดยาวไปตามชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่บาร์ฮาร์เบอร์ รัฐเมน จนถึงแคปเมย์ รัฐนิวเจอร์ซีย์[2]
เครื่องส่งสัญญาณวิทยุทางทะเลเครื่องแรกใช้ความถี่ช่วงคลื่นยาว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การกล้ำแอมพลิจูดได้รับการพัฒนาขึ้น และในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 อุปกรณ์วิทยุโทรเลขแบบสปาร์ค (spark radiotelegraphy) ถูกแทนที่ด้วยวิทยุโทรศัพท์แบบหลอดสูญญากาศที่ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 ยังมีการค้นพบปรากฏการณ์การข้ามชั้นบรรยากาศหรือคลื่นฟ้า ซึ่งทำให้เครื่องส่งแบบหลอดสูญญากาศกำลังส่งต่ำที่ทำงานในแถบความถี่ช่วงคลื่นสั้นสามารถสื่อสารในระยะไกลได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะสกัดกั้นการตรวจจับการสื่อสารวิทยุจากฝ่ายเยอรมัน ในภารกิจคุ้มกันภายในมหาสมุทรแอตแลนติก อเมริกันและอังกฤษจึงใช้วิทยุสื่อสารย่านวีเอชเอฟในรูปแบบของ TBS (Talk-Between-Ships)[3]
ประเภทของอุปกรณ์
[แก้]ชุดของอุปกรณ์นั้นมีทั้งรูปแบบติดตั้งประจำที่และแบบพกพาได้ โดยปกติชุดประจำที่จะมีข้อดีคือมีแหล่งพลังงานที่เสถียรกว่า มีกำลังส่งที่สูงกว่า สายอากาศที่ใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมไปถึงจอแสดงผลและปุ่นมที่ใหญ่ใช้งานง่าย ในขณะที่ชุดพกพา (โดยปกติจะเป็นเครื่องรับส่งวิทยุแบบมือถือย่านวีเอชเอฟที่กันน้ำ) สามารถพกพาได้บนเรือคายัคหรือบนเรือชูชีพได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแหล่งพลังงานในตัวและกันน้ำได้หากได้รับการรับรองตามมาตรฐานตามระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety Sytem: GMDSS) ซึ่งวิทยุวีเอชเอฟแบบพกพาบางรุ่นยังได้รับการรับรองให้ใช้งานเป็นวิทยุฉุกเฉินสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยจากภายใน (Intrinsically Safe) เช่น บนเรือบรรทุกแก๊ส แท่นขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น
เสียงเท่านั้น
[แก้]อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเท่านั้น เป็นอุปกรณ์แบบดั้งเดิมที่อาศัยเสียงของมนุษย์ในการเรียกและสื่อสาร อุปกรณ์แบบพกพาที่มีราคาต่ำส่วนใหญ่เป็นแบบใช้เสียงเท่านั้น แบบเดียวกับอุปกรณ์แบบประจำที่รุ่นเก่า
การเรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิตอล
[แก้]อุปกรณ์เรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิตอล (Digital selective calling: DSC) เป็นส่วนหนึ่งของระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (GMDSS) มีคุณสมบัติเหมือนกันกับอุปกรณ์แบบใช้เสียงเท่านั้น และยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่น ๆ อีกหลายด้าน ประกอบไปด้วย
- ความสามารถในการเรียกเรือลำอื่น ๆ โดยใช้สิ่งระบุตัวตนเฉพาะที่เรียกว่าเลขหมายระบุตัวตนในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (MMSI) ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งในรูปแบบดิจิทัลและชุดเครื่องรับสัญญาณจะแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานเมื่อมีการตรวจพบการเรียกขานเลขหมาย MMSI ที่ตรงกับของตนเอง การเรียกจะถูกตั้งค่าอยู่ในช่อง 70 ของย่านวีเอชเอฟ ซึ่งอุปกรณ์ DSC จะมีการเปิดรับสัญญาณที่ถูกส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และการพูดคุยสื่อสารด้วยเสียงจริง ๆ จะเกิดในช่องสื่อสารด้วยเสียงอื่นที่ได้รับแจ้งมาจากข้อมูลผ่านอุปกรณ์ DSC
- ปุ่มแจ้งเหตุฉุกเฉิน จะส่งสัญญาณฉุกเฉินอัตโนมัติในรูปแบบดิจิทัลโดยระบุถึงข้อมูลของเรือที่ส่งสัญญาณและลักษณะของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
- เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสในตัวเครื่องหรือเครื่องรับส่งสัญญาณจีพีเอสแบบเชื่อมต่อแยกจากตัวเครื่องจะช่วยส่งตำแหน่งที่อยู่ของเรืออัตโนมัติพร้อมกับการส่งสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
เมื่อซื้ออุปกรณ์วิทยุ DSC ใหม่ ผู้ใช้งานจะได้รับบริการในการตั้งโปรแกรมเลขหมาย MMSI ของเรือที่จะใช้งานเครื่อง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเลขหมาย MMSI หลังการโปรแกรมในครั้งแรกอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ และต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ใช้งานโดยผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงเลขหมายหลังจากการโจรกรรมเรือ
ระบบสําแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ
[แก้]เครื่องรับส่งสัญญาณขั้นสูงส่วนใหญ่จะรองรับระบบสําแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (Automatic identification system: AIS) อุปกรณ์นี้จะอาศัยตัวรับสัญญาณจีพีเอสที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุย่านวีเอชเอฟหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกซึ่งตัวรับส่งสัญญาณจะได้รับตำแหน่งจากดาวเทียมและส่งข้อมูลดังกล่าวออกไปพร้อมกับรายละเอียดอื่น ๆ ของเรือ (เลขหมาย MMSI, สินค้าที่ขน, การกินน้ำลึกของเรือ, จุดหมายปลายทาง และข้อมูลอื่น ๆ) ไปยังเรือลำอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ระบบ AIS จะทำงานในรูปแบบของเครือข่ายแบบตาข่าย (mesh network) และเรือที่มีอุปกรณ์ที่สมบูรณ์จะช่วยถ่ายทอดข้อความ AIS ของเรือลำอื่น ๆ ทำให้ช่วยขยายขอบข่ายของเครือข่ายขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม เรือที่ใช้อุปกรณ์ระดับเริ่มต้นจะสามารถรับข้อมูลได้เท่านั้นหรือไม่สนับสนุนระบบการถ่ายทอดข้อความ
ข้อมูลระบบ AIS จะถูกส่งในช่อง 87B และช่อง 88B ในย่านวีเอชเอฟ ที่อัตราบอด 9,600 บิต/วินาที โดยใช้การมอดดูเลชั่นแบบ Gaussian minimum-shift keying (GMSK)[4] และใช้รูปแบบของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา
การส่งข้อความ
[แก้]การใช้มาตรฐาน RTCM 12301.1 ทำให้สามารถรับและส่งข้อความในลักษณะเดียวกันกับ SMS ระหว่างเครื่องรับส่งสัญญาณย่ายวีเอชเอฟซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุข้างต้น[5] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2562 มีเครื่องรับส่งสัญญาณเพียงไม่กี่รุ่นที่รองรับคุณสมบัตินี้ ซึ่งสถานีที่รับข้อความจะต้องปรับช่องให้ตรงกับสถานีที่ส่งสัญญาณจึงจะสามารถรับข้อความได้
ระเบียบข้อบังคับ
[แก้]ในสหรัฐ บุคคลใด ๆ สามารถซื้อเครื่องวิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟได้อย่างถูกกฎหมายและใช้ในการสื่อสารได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตพิเศษใด ๆ ตราบใดที่ผู้ใช้งานเหล่านั้นปฏิบัติตามระเบียบบางประการที่ถูกกำหนดเอาไว้ แต่ในประเทศอื่น ๆ จำนวนมาก ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตในการออกอากาศในความถี่ทางทะเลย่านวีเอชเอฟ
ในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และบางประเทศในยุโรป ประกาศนียบัตรสื่อสารวิทยุระยะใกล้ (Short Range Certificate) เป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการใช้งานเครื่องวิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟที่ถูกติดตั้งไว้ โดยปกติจะได้รับหลังการอบรมสองวันและผ่านการทดสอบของหลักสูตร โดยใบรับรองเหล่านี้มีไว้สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ใช้งานในทะเลสาบและในบริเวณชายฝั่ง ในขณะที่ประกาศนียบัตรสื่อสารวิทยุระยะไกล (Long Range Certificate) มักจะเหมาะกับผู้ปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง เนื่องจากประกาศนียบัตรนี้ยังอนุญาตครอบคลุมถึงวิทยุย่าน HF และ MF เช่นเดียวกับระบบ Inmarsat ส่วนใบอนุญาตวิทยุสื่อสารทางทะเลขั้นต้นสามารถขอรับได้โดยไม่ต้องผ่านการทดสอบหลักสูตร[6]
ระบบระบุตัวตนเครื่องส่งสัญญาณอัตโนมัติ (ทางทะเล)
[แก้]สำหรับการใช้งานบนทางน้ำบนฝั่งในทวีปยุโรป การส่งสัญญาณระบบระบุตัวตนเครื่องส่งสัญญาณอัตโนมัติ (Automatic Transmitter Identification System: ATIS) แบบบังคับจะสื่อถึงตัวตนของเรือหลังจากการเรียกขานด้วยเสียงแต่ละครั้ง โดยเป็นรหัสหลักสิบที่เป็นสัญญาณเรียกขานแบบตัวอักษรและตัวเลขของเรือแบบเข้ารหัส หรือสำหรับเรือจากนอกภูมิภาค MMSI ของเรือจะขึ้นต้นด้วยหมายเลข "9" ซึ่งข้อกำหนดการใช้ระบบ ATIS ในยุโรป และในช่องย่านวีเอชเอฟที่สามารถใช้งานได้จะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ตามข้อตกลงบาเซิลฉบับล่าสุด
ช่องและความถี่
[แก้]ชุดวิทยุความถี่ย่านวีเอชเอฟทางทะเลเป็นเครื่องส่งและรับสัญญาณแบบอยู่ในเครื่องเดียว และทำงานบนความถี่มาตรฐานสากลที่เรียกว่าช่อง ซึ่งช่อง 16 (156.8 MHz) เป็นช่องสำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุระหว่างประเทศ กำลังส่งอยู่ในช่วงระหว่าง 1 ถึง 25 วัตต์ในระยะสูงสุดประมาณ 60 ไมล์ทะเล (110 กิโลเมตร) ระหว่างสายอากาศที่ตั้งบนเรือที่มีความสูงและเนินเขาสูง และ 5 ไมล์ทะเล (9 กิโลเมตร; 6 ไมล์) ระหว่างสายอากาศที่ติดตั้งอยู่บนเรือเล็กที่ระดับน้ำทะเล[7] โดยการใช้การกล้ำความถี่ (FM) ซึ่งมีโพลาไรเซชันในแนวตั้ง หมายความว่าสายอากาศจะต้องตั้งอยู่ในแนวตั้งเพื่อให้รับสัญญาณได้ดี สำหรับการสื่อสารระยะไกลในทะเล สามารถใช้ย่าน MF และ HF ทางทะเลและโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมได้
ช่องแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์นี้มีรายการความถี่ A และ B ที่เหมือนกัน ความถี่ ช่อง และวัตถุประสงค์ในการใช้งานจะอยู่ภายใต้การกำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) สำหรับรายการทั้งหมดสามารถดูได้ที่รายชื่อด้านล่าง[8] โดยการจัดสรรช่องเดิมประกอบไปด้วยช่อง 1 ถึง 28 มีระยะห่างระหว่างช่องสัญญาณ 50 kHz และความถี่ที่สองสำหรับการทำงานแบบฟูลดูเพล็กซ์ที่สูงกว่า 4.6 MHz
การปรับปรุงเทคโนโลยีด้านวิทยุในภายหลังทำให้สามารถลดช่องระหว่างช่องสัญญาณเหลือเพียง 25 kHz โดยมีจำนวน 60 ถึง 88 ช่องกระจายอยู่ในระหว่างช่องเดิม
ช่อง 75 และช่อง 76 จะถูกเว้นเอาไว้ เนื่องจากเป็นช่องสัญญาณทั้งสองด้านสำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน ช่อง 16 เป็นช่องสำหรับเฝ้าฟัง ความถี่ที่น่าจะเป็นช่องความถี่ที่สองของช่องฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (half-duplex) จะไม่ถูกใช้งานในวัตถุประสงค์ทางทะเล แต่สามารถใช้งานได้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น 161.000 ถึง 161.450 MHz เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรความถี่ให้กับสมาคมการขนส่งทางรางแห่งสหรัฐอเมริกา (Association of American Railroads: AAR) ซึ่งใช้งานในรถไฟของสหรัฐและแคนาดา[9][10]
หมายเลขช่อง | ความถี่ (MHz) | สหราชอาณาจักร[11] | สหรัฐอเมริกา | แคนาดา | ออสเตรเลีย | นิวซีแลนด์ | ฟินแลนด์[12] | สหภาพยุโรป CEPT[13] ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน
(ทะเล, มหาสมุทร) |
เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ แม่น้ำไรน์: ต้นกำเนิดหลัก แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ หนองน้ำ ปากแม่น้ำ[14][15] | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
A สถานีเรือ | B สถานีฝั่ง | |||||||||
0 | 156.000 | 160.600 | ช่องส่วนตัว ใช้โดยยามฝั่ง A | |||||||
1 | 156.050 | 160.650 | เรือ-กับ-เรือ/ฝั่ง, เชิงพาณิชย์และความปลอดภัย ชายฝั่งตะวันตก A |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) ชายฝั่ง BC |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ.. (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
2 | 156.100 | 160.700 | สาธารณะ ชายฝั่ง BC |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ.. (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
3 | 156.150 | 160.750 | A ผิดกฎหมายในการใช้งานสาธารณะ[a] | สาธารณะ ชายฝั่ง BC/ในประเทศ |
เรือ-กับ-เรือ - คาวาอู | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ, ศุลกากร ยามฝั่ง, ค้นหาและกู้ภัย |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ. (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||
4 | 156.200 | 160.800 | เรือ-กับ-เรือ/ฝั่ง, เชิงพาณิชย์และความปลอดภัย ชายฝั่งตะวันออกและในประเทศ A ยามฝั่งแคนาดา - ช่องใช้งานสาธารณะ |
เรือ-กับ-เรือ ตูตูคากะ/รากลัน | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ, ศุลกากร, ยามฝั่ง, ค้นหาและกู้ภัย |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | |||
5 | 156.250 | 160.850 | บริการข้อมูลเรือเทียบท่า | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ, หน่วยงานที่รับผิดชอบ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
6 | 156.300 | 156.300 | เรือ-กับ-เรือ และ เรือ-กับ-อากาศ A | เรือ-กับ-เรือ และ เรือ-กับ-อากาศ A | เหตุประสบภัย เรือ-กับ-อากาศ | การทำงานระหว่างเรือ | A เรือ-กับ-เรือ (เชิงพาณิชย์) รวมไปถึง การค้นหาและกู้ภัย: เรือ-กับ-เรือ และ เรือ-กับ-อากาศ |
A เรือ-กับ-เรือ และ เรือ-กับ-อากาศ | เรือ-กับ-เรือ (จำกัดที่ 1 วัตต์) และ เรือ-กับ-อากาศ | |
7 | 156.350 | 160.950 | ช่องใช้งานทั่วไป | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
กองทัพเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
8 | 156.400 | 156.400 | เรือ-กับ-เรือ A | เรือ-กับ-เรือ ชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก ทะเลสาบวินนิเพก A |
การทำงานระหว่างเรือ | การทำงานระหว่างเรือ | A เรือ-กับ-เรือ (เชิงพาณิชย์) | A เรือ-กับ-เรือ | A เรือ-กับ-เรือ (จำกัดที่ 1 วัตต์) | |
9 | 156.450 | 156.450 | ความถี่ใช้โดยพนักงานนำร่อง A | เรียกขาน A , เชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ | เรือ-กับ-อากาศ สำหรับการสนับสนุนทางทะเล แอตแลนติกและ ชายฝั่ง BC A |
นำร่อง, งานท่าเรือ | งานท่าเรือ | A VTS เรือ-กับ-เรือ + งานท่าเรือ |
นำร่องท่าจอดเรือ, งานท่าจอดเรือ, เรือในท่าจอดเรือ | นำร่องท่าจอดเรือ, งานท่าจอดเรือ, เรือในท่าจอดเรือ, จำกัดที่ 1 วัตต์ |
10 | 156.500 | 156.500 | ความถี่ใช้โดยยามฝั่งสหราชอาณาจักร A | เรือ-กับ-อากาศ - การค้นหาและกู้ภัย และการต่อต้านมลภาวะ A งานทั่วไป-แอตแลนติกและ ชายฝั่ง BC, เกรตเลกส์ |
งานท่าเรือ | A เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ รวมไปถึง การค้นหาและกู้ภัย และการกำจัดคราบน้ำมันเท่านั้น VTS บนอ่าวฟินแลนด์ |
น่านน้ำระหว่างประเทศ เรือ-กับ-เรือ; ศุลกากร, ยามฝั่ง, กองทัพเรือ | Calling; เรือ-กับ-เรือ; ศุลกากร, ใช้งานบนเรือ, จำกัดที่ 1 วัตต์; เรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยและเพื่อความปลอดภัย | ||
11 | 156.550 | 156.550 | งานท่าเรือ | VTS - ชายฝั่ง BC นำร่อง A |
งานท่าเรือ | A งานท่าเรือ, รวมถึงช่องทางเดินเรือคลองไซมาด้วย | กองทัพเรือ | งานท่าเรือ | ||
12 | 156.600 | 156.600 | งานท่าเรือ | VTS - นอกชายฝั่งซานฟรานซิสโก
การนำร่อง A |
VTS - ชายฝั่ง BC งานท่าเรือและนำร่อง A |
งานท่าเรือ, VTS | งานท่าเรือ | A งานท่าเรือ | งานท่าเรือเชิงพาณิชย์, งานท่าเรือประมง, นำร่อง, เรือในท่าเรือประมง เรือในท่าเรือพาณิชย์ | |
13 | 156.650 | 156.650 | ใช้งาน สะพาน-กับ-สะพาน A | ความปลอดภัย สะพาน-กับ-สะพาน A : เรือที่อยู่ห่างมากกว่า 20 ม. จะต้องเฝ้าระวัง, จำกัดกำลังส่งที่ 1 วัตต์. สะพานที่เคลื่อนตัวได้ / ประตูระบายน้ำเดินเรือ | VTS - ชายฝั่ง BC ความปลอดภัย สะพาน-กับ-สะพาน A |
งานท่าเรือ, VTS | ความปลอดภัยในการนำทางระหว่างเรือ | A นำร่อง เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ, ยามฝั่ง | เรือ-กับ-เรือ (จำกัดที่ 1 วัตต์) |
14 | 156.700 | 156.700 | งานท่าเรือ | VTS - อ่าวซานฟรานซิสโกและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
การนำร่อง A |
VTS - ชายฝั่ง BC งานท่าเรือและนำร่อง A |
งานท่าเรือ | A ช่องการทำงานของหน่วยค้นหาและกู้ภัย, วิทยุตุรกุ (งานท่าเรือ) |
งานท่าเรือ, กองทัพเรือ | งานท่าเรือ | |
15 | 156.750 | 156.750 | A ใช้งานบนเรือ จำกัดที่ 1 วัตต์ | A สูงสุด 1 วัตต์ ระหว่างเรือ เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ |
การเฝ้าระวังชายหาด | วิทยุคมนาคมบนเรือหรือในกลุ่มเรือที่ถูกลากจูงหรือผลัก ตลอดจนคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับทิศทางและการเทียบท่า, จำกัดที่ 1 วัตต์ | ||||
16 | 156.800 | 156.800 | เรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยและเพื่อความปลอดภัย A เรือทุกลำที่ติดตั้งระบบวิททยุวีเอชเอฟจะต้องคอยเฝ้าฟัง |
ชะวากทะเล (16 + 10). ไม่ใช้กับ: ต้นน้ำ แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ หนองน้ำ | ||||||
17 | 156.850 | 156.850 | A ใช้งานบนเรือ | กิจกรรมกีฬาทางน้ำ | A สูงสุด 1 วัตต์ ระหว่างเรือ เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ, กองทัพเรือ, ตำรวจน้ำ | วิทยุคมนาคมบนเรือหรือในกลุ่มเรือที่ถูกลากจูงหรือผลัก ตลอดจนคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบังคับทิศทางและการเทียบท่า (จำกัดที่ 1 วัตต์) | |||
18 | 156.900 | 161.500 | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||||
19 | 156.950 | 161.550 | สิ่งอำนวยความสะดวกบนบก: นายท่า, ท่าจอดเรือ | ช่องใช้งานยามฝั่งแคนาดา | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
20 | 157.000 | 161.600 | ใช้งานทวนสัญญาณ | สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง บริการความปลอดภัยทางทะเล |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ, Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), (จำกัดที่ 1 วัตต์ คลองใต้ดินปารีส) | |||
21 | 157.050 | 161.650 | A ยามฝั่งสหรัฐเท่านั้น | ออกอากาศต่อเนื่องทางทะเล B (WX 8) |
สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง บริการความปลอดภัยทางทะเล |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ | |||
22 | 157.100 | 161.700 | A ช่องใช้งานสาธารณรัฐมฝั่งสหรัฐ[c] | สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง บริการความปลอดภัยทางทะเล |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ, public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
23 | 157.150 | 161.750 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย: ปัจจุบันคือช่อง 62, 63, 64. | A ยามฝั่งสหรัฐเท่านั้น | สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง บริการความปลอดภัยทางทะเล |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ, Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | ||
24 | 157.200 | 161.800 | หน่วยค้นหาและกู้ภัยสหราชอาณาจักร กว้านพื้นสู่อากาศ A หน่วยค้นหาและกู้ภัยสหราชอาณาจักร การสื่อสารสองทาง B [d] |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
25 | 157.250 | 161.850 | ช่องใช้งานวิทยุทางทะเล | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
26 | 157.300 | 161.900 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย | Public correspondence (ผู้ให้บริการโทรศัพท์ทางทะเล) | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
27 | 157.350 | 161.950 | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||||
28 | 157.400 | 162.000 | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||||
31 | 157.550 | 162.150 | (เนเธอร์แลนด์) ช่องท่าจอดเรือ public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||||||
M1/37A | 157.850 | 157.850 | (ที่ M1) สโมสรเรือยอทช์ คณะกรรมการการแข่งขัน และท่าจอดเรือ | |||||||
60 | 156.025 | 160.625 | GOFREP ในอ่าวฟินแลนด์ public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||||
61 | 156.075 | 160.675 | A ผิดกฎหมายในการใช้งานสาธารณะ[a] | GOFREP (เอสโตเนีย) ในอ่าวฟินแลนด์ Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | ||||
62 | 156.125 | 160.725 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย[d] | เรือ-กับ-เรือ - ไวเฮเก/วานการัว | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
63 | 156.175 | 160.775 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย (half-duplex) [d] | เรือ-กับ-เรือ - มานูเกา | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
ยามฝั่ง, งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
64 | 156.225 | 160.825 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย (half-duplex) [d] | A ผิดกฎหมายในการใช้งานสาธารณะ[a] | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
ยามฝั่ง, งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) | |||
65 | 156.275 | 160.875 | สถาบันเฝ้าระวังชายฝั่งแห่งชาติ (NCI) และสถานีเฝ้าระวังชายฝั่งอิสระ (http://www.seasafetygroup.org) ช่องทำงานเพื่อสื่อสารกับท่าเรือท้องถิ่นเพื่อทดสอบสัญญาณวิทยุและสภาพทะเลในพื้นที่ มีผลใช้บังคับวันที่ 1 มีนาคม 2564 | ช่องใช้งานช่วยเหลือทางทะเล | เรือ-กับ-เรือ - โคโรมันเดล | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง full-duplex) งานท่าเรือ |
ยามฝั่ง, งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
66 | 156.325 | 160.925 | A ท่าจอดเรือชายฝั่ง BC | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||||
67 | 156.375 | 156.375 | ช่องความปลอดภัยของเรือเล็กสหราชอาณาจักร | ช่องปฏิบัติงาน สภาพอากาศทางทะเล | ช่องปฏิบัติงานวิทยุทางทะเล | A VTS (เรือ-กับ-เรือ + งานท่าเรือ) |
ยามฝั่ง | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
68 | 156.425 | 156.425 | ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ A | ช่องปฏิบัติงานวิทยุทางทะเล |
A งานท่าเรือ, border guard authorities, Also some yacht clubs and marinas |
ยามฝั่ง | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||
69 | 156.475 | 156.475 | งานท่าเรือ | ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ A | กองทัพเรือออสเตรเลีย | ช่องปฏิบัติงานวิทยุทางทะเล เซิร์ฟช่วยชีวิต |
A เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ |
กองทัพเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |
70 | 156.525 | 156.525 | การเรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิตอล (DSC) A | ไม่ใช้กับ: ต้นน้ำ แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ หนองน้ำ | ||||||
71 | 156.575 | 156.575 | งานท่าเรือ | ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ A | ช่องปฏิบัติงานวิทยุทางทะเล | A VTS (เรือ-กับ-เรือ + งานท่าเรือ) งานท่าเรือ |
กองทัพเรือ | งานท่าเรือ | ||
72 | 156.625 | 156.625 | เรือ-กับ-เรือ A ความถี่ใช้โดยพาหนะทางน้ำเพื่อการพักผ่อน | ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ เรือ-กับ-เรือ A | เรือ-กับ-เรือ | A เรือ-กับ-เรือ เรือ-กับ-อากาศ |
A เรือ-กับ-เรือ, การสื่อสารกับสังคม (เรือ) | A เรือ-กับ-เรือ, การสื่อสารกับสังคม (เรือ) (จำกัดที่ 1 วัตต์) | ||
73 | 156.675 | 156.675 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักรการออกอากาศด้านความปลอดภัย
ช่องสำรองความปลอดภัยของเรือขนาดเล็ก |
เรือ-กับ-เรือ | งานท่าจอดเรือ | A เรือ-กับ-เรือ เรือ-กับ-อากาศ (งานท่าเรือ) |
งานท่าเรือ, กองทัพเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
74 | 156.725 | 156.725 | ช่องใช้งานทางน้ำ/คลองและแม่น้ำของอังกฤษ (ระบบคลองและแม่น้ำ)
งานท่าเรือ |
เรือ-กับ-เรือ | ใช้งานในเรือ/ชายฝั่ง | A งานท่าเรือ | งานท่าเรือ, กองทัพเรือ, ตำรวจน้ำ | งานท่าเรือ | ||
75 | 156.775 | 156.775 | การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการนำทาง, จำกัดที่ 1 วัตต์ | A ถูกจำกัด เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ |
A ถูกจำกัด เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ, (จำกัดที่ 1 วัตต์) |
งานท่าเรือ | ||||
76 | 156.825 | 156.825 | A ถูกจำกัด งานท่าเรือ |
A ถูกจำกัด เรือ-กับ-เรือ งานท่าเรือ, (จำกัดที่ 1 วัตต์) |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||||
77 | 156.875 | 156.875 | เรือ-กับ-เรือ A | เรือ-กับ-เรือ | A เรือ-กับ-เรือ | A เรือ-กับ-เรือ, การสื่อสารกับสังคม (เรือ) | A เรือ-กับ-เรือ, การสื่อสารกับสังคม (เรือ), จำกัดที่ 1 วัตต์ | |||
78 | 156.925 | 161.525 | ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ A | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||||
79 | 156.975 | 161.575 | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
ศุลกากร, ยามฝั่ง, ค้นหาและกู้ภัย, งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||||
80 | 157.025 | 161.625 | ช่องท่าจอดเรือของสหราชอาณาจักร | ใช้งานทวนสัญญาณ | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | GOFREP on Gulf of Finland public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
ศุลกากร, ยามฝั่ง, ค้นหาและกู้ภัย, งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
81 | 157.075 | 161.675 | A รัฐบาลสหรัฐใช้เท่านั้น | ใช้งานทวนสัญญาณ | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | GOFREP (เอสโตเนีย) ในอ่าวฟินแลนด์ public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
82 | 157.125 | 161.725 | A รัฐบาลสหรัฐใช้เท่านั้น | ช่องใช้งานยามฝั่งแคนาดา | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
งานท่าเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
83 | 157.175 | 161.775 | A ยามฝั่งสหรัฐใช้เท่านั้น | ช่องใช้งานยามฝั่งแคนาดา | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||
84 | 157.225 | 161.825 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย: now on 62, 63, 64. | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||
85 | 157.275 | 161.875 | หน่วยค้นหาและกู้ภัยสหราชอาณาจักร การสื่อสารสองทาง (half-duplex) [d] | วิทยุโทรศัพท์ - full duplex | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
กองทัพเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | ||
86 | 157.325 | 161.925 | ยามฝั่งสหราชอาณาจักร: สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยทางทะเลโดย: ปัจจุบันที่ช่อง 62, 63, 64. | ช่องวิทยุใช้งานของยามฝั่ง | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) งานท่าเรือ |
กองทัพเรือ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||
87 | 157.375 | 157.375 | Public correspondence งานท่าเรือ |
Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ, ศุลกากร, ยามฝั่ง, ค้นหาและกู้ภัย | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||||
88 | 157.425 | 157.425 | เชิงพาณิชย์, ระหว่างเรือเท่านั้น | Public correspondence (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex), เครือข่ายวิทยุอิสระ | วิทยุโทรศัพท์เชื่อมโยงระหว่างสถานีเรือและสถานีภาคพื้นดินของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางน้ำภายในประเทศ (เรือ-กับ-ฝั่ง duplex) | |||||
M2/P4 | 161.425 | 161.425 | (ที่ M2) สโมสรเรือยอทช์ คณะกรรมการการแข่งขัน และท่าจอดเรือ | (ที่ P4) ในฝรั่งเศส สโมสรเรือยอทช์ ท่าจอดเรือ และคณะกรรมการการแข่งขันบางแห่ง | ||||||
87B | 161.975 | 161.975 | ระบบสําแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (AIS) A B | |||||||
88B | 162.025 | 162.025 | ระบบสําแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (AIS) A B | |||||||
L1 | 155.500 | 155.500 |
กิจกรรมยามว่าง (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในกลุ่มประเทศนอร์ดิกและเอสโตเนีย |
|||||||
L2 | 155.525 | 155.525 |
กิจกรรมยามว่าง (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในกลุ่มประเทศนอร์ดิกและเอสโตเนีย |
|||||||
L3 | 155.650 | 155.650 |
กิจกรรมยามว่าง (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในฟิลแลนด์และนอร์เวย์ |
|||||||
F1 | 155.625 | 155.625 |
ตกปลา (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในกลุ่มประเทศนอร์ดิก |
|||||||
F2 | 155.775 | 155.775 |
ตกปลา (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในกลุ่มประเทศนอร์ดิก |
|||||||
F3 | 155.825 | 155.825 |
ตกปลาและการตกปลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (เรือ-กับ-เรือ) ใช้งานในกลุ่มประเทศนอร์ดิก |
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Some radios enable channels 3A, 61A, and 64A when configured for "USA mode" even though those channels are allocated exclusively for Public Safety use by the FCC. The frequencies 156.075, 156.150, and 156.225 MHz are used for interoperability communication by police and fire departments in many areas.
- ↑ CCG public operations moved from 22A to 04A to avoid interference from USCG stations in northern Washington state.
- ↑ Channel 22A is reserved for communication between the U.S. Coast Guard vessels and private vessels. The Coast Guard does not monitor 22A: Contact must first be established on 16.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 UKSAR land-based search and rescue teams have access to the half-duplexed versions of 24, 62, 63, 64, 85 for operational and training needs. These include mountain rescue teams in England, Wales and Scotland.
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
[แก้]วิทยุย่านวีเอชเอฟทางทะเลส่วนใหญ่ใช้การส่งสัญญาณแบบฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (half-duplex) ที่ไม่ใช้รีเลย์ การสื่อสารระหว่างสถานีเรือกับสถานีเรือจะเป็นการใช้เพียงความถี่เดียว ในขณะที่การสื่อสารระหว่างสถานีเรือกับสถานีฝั่งใช้สองความถี่ แต่โดยปกติจะมีเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ส่งในแต่ละครั้ง (อย่าสับสนกับการสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ เช่น วิทยุกระจายเสียง ที่ฝ่ายหนึ่งส่งสัญญาณออกมาอย่างสม่ำเสมอ) ซึ่งปกติเครื่องรับส่งสัญญาณจะอยู่ในโหมดรับ และหากจะส่งสัญญาณผู้ใช้งานจะต้องกดปุ่ม "กดเพื่อพูด" (Push-to-talk) บนชุดอุปกรณ์หรือบนไมโครโฟนซึ่งจะเปิดใช้งานโหมดส่งและปิดโหมดรับสัญญาณ อย่างไรก็ตาม บางช่องสัญญาณเป็นช่องสัญญาณแบบ "ดูเพล็กซ์" (duplex) ซึ่งการสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทางพร้อมกัน เมื่ออุปกรณ์ทั้งสองฝั่งอนุญาต[7] แต่ละช่องฟลูดูเพล็กซ์มีการกำหนดความถี่อยู่จำนวนสองชุด ซึ่งสามารถใช้ช่องสัญญาณดูเพล็กซ์เพื่อใช้โทรออกผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะโดยมีค่าธรรมเนียมผ่านผู้ให้บริการเดินทะเล เมื่อใช้โหมดฟูลดูเพล็กซ์ (full-duplex) การโทรจะคล้ายการโทรศัพท์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์บ้าน แต่เมื่อใช้แบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ เสียงจะถูกส่งไปครั้งละทิศทางเท่านั้น และผู้ใช้งานบนเรือจะต้องกดปุ่มส่งสัญญาณเฉพาะเวลาที่พูดเท่านั้น โดยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนี้ยังสามารถใช้งานได้ในบางพื้นที่ แม้ว่าการใช้งานจะลดลงไปเนื่องจากการเกิดขึ้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์ดาวเทียม ซึ่งวิทยุย่านวีเอชเอฟทางทะเลนั้นสามารถรับสัญญาณการออกอากาศสภาพอากาศผ่านวิทยุได้หากมีระบบนี้ให้บริการอยู่ในพื้นที่
ข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับในการใช้งานวิทยุทางทะเล เรียกรวมกันว่า "ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม" ซึ่งรวมไปถึงตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ มีดังนี้:
- แต่ละสถานีควรเฝ้าฟังก่อนเป็นเวลา 30 วินาที ก่อนส่งสัญญาณออกอากาศ และไม่รบกวนสถานีอื่น
- ช่องหลักสำหรับการเฝ้าฟังคือช่อง 16 เมื่อไม่ได้ใช้งานวิทยุในการออกอากาศ เนื่องจากการเรียกขานทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ช่อง 16 ยกเว้นช่องการใช้งานแจ้งเหตุประสบภัย ให้สลับไปที่ช่องใช้งานช่องสถานีเรือกับสถานีเรือ หรือ ช่องสถานีเรือกับสถานีฝั่ง (ขั้นตอนจะแตกต่างกันไปในสหรัฐเฉพาะเมื่อมีการเรียกขานในช่อง 9)
- ในระหว่างการปฏิบัติการช่วยเหลือ (distress operations) ควรงดใช้ความถี่ในช่อง 16 โดยหลังจากสถานการณ์สิ้นสุดแล้ว สถานีควบคุมข่ายจะขานด้วยรหัสคำพูดว่า "Silence Fini" และให้ใช้ความถี่ได้ตามปกติ ซึ่งหากใช้งานช่อง 16 ในระหว่างปฏิบัติการช่วยเหลือ สถานีควบคุมข่ายจะออกคำสั่งว่า "silence mayday"
- การใช้งานชุดคำ "การเรียกขาน" ระหว่างประเทศ เช่น
- การใช้งานรหัสคำพูด[16] (Procedure word: Pro-words) มีพื้นฐานมาจากภาษาอังกฤษ เช่น In figures, In letters, Over, Out, Radio check, Read back (ภาษาท้องถิ่นใช้สำหรับบางคำเมื่อพูดคุยกับสถานีท้องถิ่น)
- ใช้การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ (NATO phonetic alphabet) : Alfa, Bravo, Charlie, Delta, Echo, Foxtrot, Golf, Hotel, India, Juliett, Kilo, Lima, Mike, November, Oscar, Papa, Quebec, Romeo, Sierra, Tango, Uniform, Victor, Whiskey, X-ray, Yankee, Zulu
- ใช้ระบบออกเสียงตามภาษาอังกฤษหรือการผสมผสานระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาโรมัน: Wun, Too, Tree, Fow-er, Fife, Six, Sev-en, Ait, Nin-er, Zero, Decimal; ตัวเลือกอื่นในการสื่อสารทางทะเล: unaone, bissotwo, terrathree, kartefour, pantafive, soxisix, setteseven, oktoeight, novenine, nadazero
ข้อกำหนดที่ได้รับการปรับแต่งมีการนำไปใช้งานกับการขนส่งภายในประเทศได้ เช่น กฎบาเซิลในยุโรปตะวันตก
อนาคต
[แก้]ในปี พ.ศ. 2565 สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) ได้ออกข้อเสนอสำหรับการนำโพรโทคอลการร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบแบ่งความถี่ (FDMA) ไปใช้ในย่านเพื่อตอบสนองต่อความพร้อมใช้งานของช่องสื่อสารด้วยเสียงที่มีการใช้งานมากขึ้นในบางสถานการณ์ เนื่องจากการใช้งานระบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น ระบบ AIS แผนดังกล่าวประกอบไปด้วยระยะห่างของช่องสัญญาณ 6.25 kHz ซึ่งแคบลงจากเดิมมาก และสามารถรองรับแอปพลิเคชันเสียงและข้อมูล[17]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kommunikationsverket 2010: Handbok i VHF-radiokommunikation för radiooperatör med kusttrafikcertifikat" (PDF). Viestintavirasto.fi. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ Harbord, J.G. (1929). "The Commercial Uses of Radio". The Annals of the American Academy. doi:10.1177/0002716229142001S09.
- ↑ "Radio Research Paper - World War 2 Naval Operations". jproc.ca. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ All about AIS
- ↑ RTCM 12301.1, Standard for VHF-FM Digital Small Message Services
- ↑ https://www.ofcom.org.uk/manage-your-licence/radiocommunication-licences/online-licensing-service
- ↑ 7.0 7.1 "MGN 324 Operational guidance on the use of radio and automatic identification systems". Gov.uk. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ Circular letter CM/19-E, International Telecommunication Union, 27 March 2009
- ↑ "American Association of Railroads channel allocation" (PDF). Arrl-al.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2013.
- ↑ "U.S. VHF Channels". Navcen.uscg.gov. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ Noice, Alison, บ.ก. (2008). VHF Radio (including GMDSS) (2nd ed.). RYA. ISBN 978-1-906435-20-2.
- ↑ "Kommunikationsverket 2010: Handbok i VHF-radiokommunikation för radiooperatör med kusttrafikcertifikat" (PDF). Viestintavirasto.fi. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ MANUEL DE PREPARATION DU CRR MARITIME 2015 Agence nationale des fréquences
- ↑ "Guide de radiotéléphonie pour la navigation intérieure 2014: Commission Centrale pour la Navigation du Rhin" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.
- ↑ MANUEL DE PREPARATION DU CRR FLUVIAL 2015 Agence nationale des fréquences
- ↑ (ร่าง) คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อม เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (คชรน.) (PDF). กองทัพบก. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-28. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.
- ↑ "Digital VHF Maritime Radio; Air interface for voice and data services using FDMA in 6,25 KHz bandwidth" (PDF). ETSI. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- US Coast Guard basic radio information for boaters
- Coast Guard marine channel listing (with frequencies)
- US FCC marine channel listing (by function) เก็บถาวร 2007-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- UK MCA advice on use of VHF at sea, including collision avoidance, effective ranges, and International channel usage*
- Canadian VHF Bands in the Maritime Service
- VHF marine band plan in Turkey (Türkiye'deki VHF Deniz Telsiz Frekans Kanal Listesi)
- New Zealand VHF Radio Resource Center