ข้ามไปเนื้อหา

วิทยุสื่อสารใส่ซิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยุแบบกดเพื่อพูดผ่านเซลลูลาร์
ชื่ออื่นวิทยุสื่อสารใส่ซิม
วิทยุพีโอซี
ประเภทอุปกรณ์พีโอซี
ฟังก์ชั่นหลักกดเพื่อพูด[1]
แนะนำโดยไฮเทรา
โหมดการสื่อสารฮาล์ฟดูเพล็กซ์

วิทยุแบบกดเพื่อพูดผ่านเซลลูลาร์ (อังกฤษ: push to talk over cellular radio: PoC radio หรือ PTToC radio[2][3]) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อของ วิทยุสื่อสารใส่ซิม[4] หรือ วิทยุพีโอซี[5] เป็นอุปกรณ์สื่อสารโต้ตอบแบบทันทีที่ทำงานบนเครือข่ายเซลลูลาร์[6] เป็นอุปกรณ์วิทยุที่รวมเอาเทคโนโลยีกดเพื่อพูดไว้ในเครื่องโทรศัพท์วิทยุเซลลูลาร์[7] ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเครื่องรับตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไปได้ทันที[8]ในโหมดฮาล์ฟดูเพล็กซ์[9]

แม้ว่าวิทยุสื่อสารใส่ซิมจะเป็นอุปกรณ์คล้ายเครื่องส่งรับวิทยุ[10] แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก[11] เมื่อเปรียบเทียบกับแบบหลัง แบบแรกมีช่วงช่องสัญญาณที่กว้างกว่า ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการส่งสัญญาณ[11] นอกจากนี้ วิทยุสื่อสารใส่ซิมยังรองรับฟังก์ชันขั้นสูง เช่น การโทรศัพท์ภาพ บริการข้อความสื่อประสม การติดตามตำแหน่งจีพีเอส และการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน[12]

วิทยุสื่อสารใส่ซิมถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมความปลอดภัยส่วนบุคคล โลจิสติกส์ การต้อนรับ และการช่วยเหลือ ผู้ผลิตตัวแทนของอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ไฮเทรา[13] ทูแอร์[14] อินริโก[4] และสเปนเดอร์[15]

ประวัติ

[แก้]

แนวคิดของวิทยุสื่อสารใส่ซิม ได้รับการเสนอโดยบริษัทไอเทราโทรคมนาคมของสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2530[16] โดยการใช้วิทยุสื่อสารใส่ซิมในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกก็เริ่มต้นโดยบริษัทนี้ในปี พ.ศ. 2545 เช่นกัน[17]

ในปี พ.ศ. 2547 องค์กรพันธมิตรโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเปิด (Open Mobile Alliance) ได้เสนอให้มีการกำหนดมาตรฐานวิทยุแบบกดเพื่อพูดผ่านเซลลูลาร์ โดยอ้างอิงจากเครือข่ายข้อมูลเซลลูลาร์จากโทรศัพท์เคลื่อนที่[18] และได้ประกาศมาตรฐานในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นมาตรฐานที่ได้รับอนุมัติให้เรียกว่า "พีโอซี 1.0"[19]

หลังจากการเริ่มใช้งานเครือข่ายแบบ 4 จี แอลทีอี ในเชิงพาณิชย์ ทำให้การพัฒนาวิทยุสื่อสารแบบใส่ซิมพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นอีกตัวเลือกหลักสำหรับหน่วยงานและองค์กรในการใช้งานวิทยุสื่อสาร โดยมีการพัฒนาให้รองรับคุณสมบัติขั้นสูงของวิทยุเคลื่อนที่ส่วนตัว (PMR) การส่งข้อความอักษร การโทรแบบส่วนตัวหรือกลุ่ม การติดตามตำแหน่งผ่านจีพีเอส การแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผสานการใช้งงานต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายเซลลูลาร์แบบ 3 จี/แอลทีอี/5 จี[18]

การทำงาน

[แก้]

วิทยุสื่อสารใส่ซิมจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายพื้นฐานเซลลูลาร์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านการใส่ซิมการ์ดในรูปแบบเดียวกันกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเครื่อข่ายของการสื่อสารจะตั้งอยู่ในคลาวที่ตั้งอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวของผู้ให้บริการวิทยุสื่อสารใส่ซิมนั้น ๆ และดำเนินการสื่อสารระหว่างกันผ่านแพลตฟอร์มของวิทยุสื่อสารใส่ซิมผ่านเกตเวย์[18]

ข้อดีของการใช้งานวิทยุสื่อสารใส่ซิมคือมีความน่าเชื่อถือสูง การสื่อสารไม่ติดขัด โดยไม่ต้องลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วยตนเอง รวมไปถึงแพลตฟอร์มของแต่ละวิทยุสื่อสารใส่ซิมสามารถเข้าถึงได้ง่าย (ปกติจะเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์) รวมถึงบางระบบสามารถรองรับการเชื่อมต่อแบบแลนไร้สาย (WLAN) ซึ่งสามารถอุดช่องว่างของการสื่อสารหากในพื้นที่นั้นไม่มีระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่[18]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Longxin Lin, Baorong Du, Shan Zhou. Longxin Lin; Baorong Du; Shan Zhou (4 November 2010). "The network model and routing algorithm for scalable PoC system". 2010 International Conference on Computer Application and System Modeling (ICCASM 2010). Institute of Electrical and Electronics Engineers. doi:10.1109/ICCASM.2010.5620513. ISBN 978-1-4244-7235-2. S2CID 16470544.
  2. Lakisha Davis. "9 Benefits of the PoC Radio You Need to Know". Metapress. November 13, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-25.
  3. Cooley, Brian (May 23, 2019). "With a black SIM, first responders' calls go ahead of yours". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2021.
  4. 4.0 4.1 "วิทยุสื่อสารใส่ซิม Inrico T700 รับส่งสัญญาณผ่านเครือข่าย 3G , 4G LTE". 2wayram.com | ทูเวย์ราม แหล่งรวม วิทยุสื่อสาร (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  5. "วิทยุสื่อสารใส่ซิม Hytera P30 - RICHWAVE". richwave.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. Li Hongliang, Li Lifu, Wang Yu.  "An End-to-End Encrypted Scheme for PoC Based on Cellular Network" (PDF). ProQuest. 17 December 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2022.
  7. Ray Horak. Webster's New World Telecom Dictionary. John Wiley & Sons. 2008. pp. 380–. ISBN 978-0-471-77457-0.
  8. Mooi Choo Chuah, Qinqing Zhang. Design and Performance of 3G Wireless Networks and Wireless LANs. Springer. 2005. pp. 321–. ISBN 978-0-387-24152-4.
  9. Pierre Lescuyer, Thierry Lucidarme. Evolved Packet System (EPS) : The LTE and SAE Evolution of 3G UMTS. John Wiley & Sons. 2008. pp. 282–. ISBN 978-0-470-72366-1.
  10. Gerardo Gomez, Rafael Sanchez. End-to-End Quality of Service over Cellular Networks: Data Services Performance Optimization in 2G/3G. John Wiley & Sons. 2005. pp. 88–. ISBN 978-0-470-01586-5.
  11. 11.0 11.1 "Portable Two-Way Radio: PoC Radios vs. Walkie Talkies". Express Digest. October 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2020.
  12. "IDIS acquires KT Powertel to extend secure mobile comms and IoT capability - Security and Fire News and Resources". IFSEC Global. February 5, 2021.
  13. Fox, Jena Tesse (May 26, 2022). "Hytera US launches new communications device". Hotel Management.
  14. Sharon O'Keeffe (November 28, 2017). "ToooAir release "push to talk over cellular" (PTToC) transceiver". Queensland Country Life. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2022.
  15. "วิทยุสื่อสาร ระบบ SIM CARD SPENDER รุ่น TC-7G". Spender Club Official Online Store.
  16. Ty Estes. "The push-to-talk ecosystem: Cellular, Wi-Fi, and unified platforms". Security Magazine. January 26, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-24.
  17. Thomas Plevyak, Veli Sahin. Next Generation Telecommunications Networks, Services, and Management. Wiley. 2011. pp. 157–. ISBN 978-1-118-21142-7.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 "PoC&MCS Radios - ไฮเทราประเทศไทย". www.hytera.com.
  19. Stephen Lawson (June 21, 2006). "Cell 'walkie-talkie' standard approved". Computerworld.