ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์
ภาพที่ถ่ายระหว่าง ค.ศ. 1914 ถึง 1919
เกิด3 มีนาคม ค.ศ.1847
เอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิตสิงหาคม 2, 1922(1922-08-02) (75 ปี)
Beinn Bhreagh รัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา
พลเมืองสหราชอาณาจักร (ค.ศ.1847–1882)
ชาวอังกฤษในแคนาดา (ค.ศ.1870–1882)
สหรัฐ (ค.ศ.1882–1922)
ศิษย์เก่า
อาชีพ
  • นักประดิษฐ์
  • นักวิทยาศาสตร์
  • วิศวกร
  • ศาสตราจารย์a
ครูผู้พิการทางหู[2]
มีชื่อเสียงจากผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์b
คู่สมรสมาเบล การ์ดิเนอร์ ฮับบาร์ด (สมรส 1877–1922)
บุตร4c
บิดามารดา
ญาติ
รางวัล
ลายมือชื่อ
หมายเหตุ

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell - 3 มีนาคม ค.ศ. 1847 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1922) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone company) สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างมากของเบลล์และเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมาก ได้แก่ โทรศัพท์ ซึ่งได้คิดค้นอย่างอิสระได้พร้อมๆ กับ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ เบลล์ยังเป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากในงานวิจัยทางด้านอากาศยาน และ ไฮโดรฟอยล์

ประวัติ

[แก้]

อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ เกิดที่เมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์[4] ประเทศอังกฤษ

ครอบครัวของเบลล์ มีความเกี่ยวพันกับทางด้านภาษาศาสตร์ว่าด้วยการออกเสียง (Elocution) โดยปู่ ลุง และพ่อของเบลล์ ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา ภายหลังต่อมาได้มีการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดาของเบลล์ (อเล็กซานเดอร์ เมลวิลล์ เบลล์) ได้ผลิตงานวิจัยสำคัญได้แก่ การประดิษฐ์ระบบการออกเสียง Visible Speech[4] โดยเป็นการศึกษาและออกแบบระบบแสดงวิธีการออกเสียงพูดของมนุษย์ โดยใช้สัญลักษณ์ในการแทนการเคลื่อนไหว ปาก ลิ้นและลำคอ เป็นงานวิจัยซึ่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยการพูดสำหรับบุคคลหูหนวก และต่อมาในภายหลัง เบลล์ได้นำมาปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถอ่านริมฝีปากของผู้พูดเพื่อทำความเข้าใจกับคำพูด

แกรห์ม เบลล์ได้รับการศึกษาที่โรงเรียน Royal High School เมืองเอดินบะระ หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งที่ Weston House Acedamy ในตำแหน่งผู้ช่วยสอนในสาขาการออกเสียงและดนตรี ที่เอลกิน ในมอเรย์ไชน์ หลังจากนั้น เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเอดินบะระ จากนั้นในปี ค.ศ. 1866 ถึงปี ค.ศ. 1867 หรือปี พ.ศ. 2409ถึงปี พ.ศ. 2410 ได้เข้าเป็นผู้บรรยายที่มหาวิทยาลัย Somersetshire เมืองบาร์ทประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ยังอยู่ที่สกอตแลนด์ได้เบนความสนใจไปยังส่วนของงาน Acoustic เพื่อมีส่วนช่วยในความหูหนวกของมารดา

ในปี 1870 เขาได้ติดตามครอบครัวไปยังแคนาดา โดยพำนักที่เมือง Brentford, Ontargio โดยก่อนย้ายออกจาก Scottland เบลล์ได้เริ่มให้ความสนใจกับโทรศัพท์ และในแคนนาดา ได้ให้ความสนใจกับอุปกรณ์การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาเปียโน ซึ่งสามารถส่งเสียงดนตรี ผ่านสัญญาณไฟฟ้าได้สำเร็จ และปี 1882 เขาโอนสัญชาติเป็นอเมริกัน

การประกาศสิทธิบัตรโทรศัพท์

[แก้]

เบลล์ได้จดสิทธิบัตรโทรศัพท์เป็นสิทธิของตนในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1876 และเป็นเหตุอันน่าบังเอิญเหลือเกินที่ได้มีการจดสิทธิบัตร โดย เอลิช่า เกรย์ (Elisha Gray) ในวันเดียวกัน โดยเป็นการจดสิทธิบัตรภายหลังจากเบลล์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

เครื่องส่งสัญญาณของเกรย์ถูกออกแบบโดยใช้อุปกรณ์แบบเก่า ซึ่งถูกเรียกว่า lovers telephone โดยมีวงจรสองวงจรถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

เครื่องตรวจจับโลหะ

[แก้]

เบลได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องตรวจจับโลหะในปี 1881 อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างรีบร้อนเพื่อใช้ในการค้นหาปลอกกระสุนในร่างของประธานาธิบดี เจมส์ กาลฟิลด์ อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถทำงานได้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถค้นพบปลอกกระสุนได้ก็ตาม

การทดลองอากาศยาน

[แก้]

เบลล์ได้ให้ความสนใจทางด้านอากาศยานและเป็นผู้สนับสนุนในงานวิจัยทางด้านนี้ ผ่านทางสมาคม Aerial Experiment โดยเป็นสมาคมซึ่งจัดตั้งที่ Baddeck, Nova Scotia เมื่อเดือนตุลาคม 1907 จากการแนะนำของนาง มาเบล เบลล์ ผู้เป็นภรรยาของเบลล์เอง รวมถึงการสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยการนำของตัวเบลล์เอง ร่วมกับสมาชิก 4 คน ได้แก่ American Glenn H. Curtiss เจ้าของบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์ ซึ่งภายหลังได้รับรางวัล Scientific American Trophy จากรางวัลการบินมากกว่า 1 กิโลเมตรครั้งแรก และภายหลังเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน F.W. (Casey) Baldwin , J.A.D. McCurdy; and Lieutenant Thomas Selfridge ผู้สังเกตการณ์จากรัฐบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประดิษฐ์ aileron หรืออุปกรณ์หลักส่วนหนึ่งของเครื่องบินในปัจจุบัน

หน่วยวัดเสียงเบลและเดซิเบล

[แก้]

เบล เป็นหน่วยวัดซึ่งใช้ชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ โดยหน่วยวัดนี้ใช้ในการวัดความดังของความเข้มเสียง หรือ ระดับพลังงานของเสียง โดย เดซิเบล เป็นหน่วยวัดซึ่งเทียบระดับพลังงานของเสียงในระดับของกำลังกับเสียงเบาที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Boileau, John (2004). Fastest in the World: The Saga of Canada's Revolutionary Hydrofoils. Halifax, Nova Scotia: Formac Publishing. p. 12. ISBN 978-0-88780-621-6.
  2. [Is the following a quote from the source referenced?:] While Bell worked in many scientific, technical, professional and social capacities throughout his life he would remain fondest of his earliest vocation. To the end of his days, when discussing himself, Bell would always add with pride "I am a teacher of the deaf".[1]
  3. "Particle Physics Resurrects Alexander Graham Bell's Voice". IEEE Spectrum. April 30, 2018. สืบค้นเมื่อ May 10, 2018.
  4. 4.0 4.1 "Alexander Graham Bell Laboratory Notebook, 1875-1876". World Digital Library. 1875–1876. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)