ข้ามไปเนื้อหา

ชาลส์ วีตสโตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาลส์ วีตสตัน)
ชาลส์ วีตสโตน

เซอร์ชาลส์ วีตสโตน (อังกฤษ: Charles Wheatstone) เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 ที่เทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) ในประเทศอังกฤษ และเสียชีวิตในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1875 Wheatstone คือนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษผู้ซึ่งคิดค้นเครื่องวัดแรงต้านทานไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้วัดแรงต้านทานไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และใช้กันอย่างแพร่หลายในหองทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เขายังมีสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ อีกได้แก่ หีบเพลงชักขนาดเล็กและกล้อง 3 มิติ

ใน ค.ศ. 1834 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตร์จารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาที่สถาบัน King’s College ในเมืองลอนดอน และในปีเดียวกันนั้นเขาได้ใช้กระจกซึ่งสามารถหมุนได้ในการทดลองเพื่อใช้วัดหาอัตราความเร็วของกระแสไฟฟ้าตัวนำของกระแสไฟต่าง ๆ และในภายหลังกระจกชนิดนี้ได้นำมาใช้ในการหาค่าความเร็วของแสง โดย 3 ปีต่อมา ผลงานชิ้นถูกนำไปจดสิทธิบัตรโดย Sir William Fothergill Cooke แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1843 จากคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ Samuel Christie ได้สร้างเรื่องวัดแรงต้านทานกระแสไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าสะพานไฟ และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากในตอนนั้น ต่อมาภายหลังในปี ค.ศ. 1868 เขาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นอัศวินแห่งอังกฤษ

ใน ค.ศ. 1838 เขาได้อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการมองภาพ 3 มิติ กระจกในการทำกล้อง 3 มิติ ต้องสามารถมองเห็นภาพที่อยู่ในมุมกลับกัน ข้อดีอุปกรณ์ตัวนี้คือ มันสามารถที่จะใช้กับรูปภาพขนาดใหญ่ได้ ซึ่งนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน เช่น การฉายกล้องเอกซเรย์ และการถ่ายภาพทางอากาศมันกลายเป็นสิ่งที่น่าดีใจว่า หลักการของภาพ 3 มิติ ได้นำมาใช้ทางด้านกระบวนการถ่ายภาพด้วย และผู้ที่มีส่วนร่วมกับการประดิษฐ์กล้องนี้คือ วีตสโตนผู้ซึ่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1838 ได้ให้คำจำกัดความไว้กับ Royal Scottish Society of Arts เกี่ยวกับการมองเห็นโดยใช้อุปกรณ์ตัวนี้ว่า “ฉันคิดว่ามันควรใช้ชื่อว่า Stereoscope” ซึ่งเอาไว้ใช้แสดงลักษณะรูปร่างของของแข็ง กล้อง 3 มิติ และเครื่องวัดความต้านทานไฟฟ้า ตอนนี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน กล้อง 3 มิตินี้ถูกตั้งไว้ในพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ก่อนที่ Sir David Brewster สามารถค้นพบกล้องส่องทางไกลและกล้องถ่ายภาพ 3 มิติตัวแรกถูกผลิตออกมา 11 ปี