ข้ามไปเนื้อหา

ความถี่ฉุกเฉินอากาศยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยุบนเครื่องบินเซสนา ในโหมดสแตนด์บาย 121.5

ความถี่ฉุกเฉินอากาศยาน (อังกฤษ: aircraft emergency frequency) หรือที่รู้จักในสหรัฐในชื่อ ความถี่การ์ด คือความถี่ที่ใช้บนย่านความถี่อากาศยานที่สงวนไว้สำหรับการสื่อสารฉุกเฉินสำหรับอากาศยานที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ความถี่คือ 121.5 MHz สำหรับพลเรือน หรือที่รู้จักในชื่อ ความถี่แจ้งเหตุร้ายทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Distress: IAD) หรือ ถวามถี่วีเอชเอฟการ์ด (VHF Guard) และ 243.0 MHz ซึ่งเป็นฮาร์โมนิกที่สองของความถี่วีเอชเอฟการ์ด สำหรับการใช้งานทางทหาร หรือที่เรียกว่า ความถี่แจ้งเหตุร้ายทางทหาร (Military Air Distress: MAD) หรือ ความถี่ยูเอชเอฟการ์ด เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉิน (ELT) ก่อนหน้านี้ใช้ความถี่การ์ดในการส่งสัญญาณ แต่เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉินที่ทันสมัยกว่าใช้ความถี่เพิ่มเติม 406 MHz ในการส่งสัญญาณ

ประวัติ

[แก้]

การใช้ความถี่ 121.5 MHz จัดทำโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)[1] ร่วมกับ เอริงค์ และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

การเฝ้าติดตาม

[แก้]

ในสหรัฐ ความถี่ฉุกเฉินได้รับการเฝ้าติดตามโดยหอควบคุมการจราจรทางอากาศ, สถานีบริการการบิน (FSS), ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศแห่งชาติ, หน่วยป้องกันทางอากาศของทหาร และหน่วยการบินและบริการฉุกเฉินอื่น ๆ ตลอดจนโดยเครื่องบินพาณิชย์จำนวนมาก ประกาศถึงนักบิน FDC 4/4386 กำหนดให้ "...เครื่องบินทุกลำที่ทำงานในน่านฟ้าแห่งชาติของสหรัฐ หากสามารถทำได้ จะต้องคงการเฝ้าฟังการฟังบนความถี่วีเอชเอฟการ์ด 121.5 หรือยูเอชเอฟ 243.0"[2]

ในสหราชอาณาจักร ความถี่ 121.5 MHz ได้รับการเฝ้าติดตามโดยหน่วยรับแจ้งเหตุร้ายและการเปลี่ยนเส้นทางกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (Royal Air Force Distress and Diversion Cell) (รู้จักในชื่อ "D&D") ที่ศูนย์ควบคุมเทอร์มินัลลอนดอน (London Terminal Control Center) และหน่วยควบคุมแชนวิคโอเชียนิก (Shanwick Oceanic Control) จากเครือข่ายสายอากาศทั่วประเทศ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงและตำแหน่งของเครื่องบิน บุคลากรในศูนย์อาจสามารถใช้การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักบินหากเครื่องบินสูญหายหรือ "ไม่แน่ใจตำแหน่งชั่วคราว"

การใช้งาน

[แก้]
เครื่องบินขับไล่ F/A-18 Hornet ของกองทัพอากาศสวิสที่มีคำสั่ง STBY 121.50 เขียนอยู่บนถังน้ำมันภายนอก

อากาศยานทุกลำที่ประสบเหตุร้ายหรือประสบเหตุฉุกเฉินสามารถใช้ความถี่การ์ดทั้งสองความถี่ได้ และยังสามารถใช้โดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศเพื่อเตือนเครื่องบินหากกำลังจะบินเข้าสู่น่านฟ้าที่ถูกจำกัดหรือหวงห้าม

ความถี่การ์ดสามารถใช้สำหรับการเรียกขานแจ้งเหตุ เช่น การเรียกขานเมย์เดย์ (Mayday) และการเรียกขานฉุกเฉิน เช่น การเรียกขาน แพน-แพน (Pan-pan)

อากาศยานจะได้รับการติดต่อบนคลื่นความถี่ 121.5 MHz เมื่อเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศเข้าสกัดกั้น เพื่อขอตรวจสอบตัวตนและจุดประสงค์ และเพื่อส่งต่อคำแนะนำ

การใช้ในทางที่ผิด

[แก้]

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ภาคผนวก 10 เล่มที่ 5 § 4.1.3.1.1 ระบุว่า "ช่องสัญญาณฉุกเฉิน (121.5 MHz) จะต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ฉุกเฉินอย่างแท้จริงเท่านั้น"

การใช้ความถี่ในทางที่ผิดอาจส่งผลให้เกิดการลงโทษได้ ในสหรัฐ กฎของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) ห้ามมิให้การเรียกขานแจ้งเหตุผิดพลาดและการสื่อสารที่ไม่จำเป็น หากสำนักงานบังคับใช้ของ FCC สามารถระบุตัวตนบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎดังกล่าวนี้ บุคคลนั้นอาจถูกปรับสูงสุด 19,246 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการละเมิดหนึ่งครั้ง และสูงสุด 144,344 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการละเมิดอย่างต่อเนื่อง FCC อาจยึดอุปกรณ์วิทยุที่ใช้ก่อเหตุและมีความผิดทางอาญา[3]

ในสหราชอาณาจักร นักบินอาจเรียกขาน "ฝึกซ้อมแพน" หรือ "เทรนนิ่งฟิก"[4][5] แต่ไม่อนุญาตให้ฝึกการเรียกขานเมย์เดย์[6]

การระบุตำแหน่งบีคอน

[แก้]

เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉินรุ่นเก่าจะส่งคลื่นความถี่ที่ 121.5 MHz ในกรณีที่เกิดการกระแทก ELT รุ่นใหม่ส่งสัญญาณบนความถี่ 406 MHz พร้อมบีคอนกำลังต่ำที่ 121.5 MHz สำหรับท้องที่นั้น ดาวเทียมจะคอยฟังสัญญาณและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ถึงเหตุฉุกเฉิน และสัญญาณช่วยให้การค้นหาและช่วยเหลือค้นหาที่เกิดเหตุได้เร็วขึ้น บีคอนที่ทำงานที่ 406 MHz ได้รับการเข้ารหัส ช่วยให้ระบุเรือต้นทางได้และตรวจสอบสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับรุ่นที่สนับสนุนการใช้งานกับดาวเทียมที่ความถี่ 121.5 MHz เท่านั้นถูกยกเลิกการใช้งานไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552[7][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Misuse of International Aeronautical Emergency Frequency 121.5 MHz | SKYbrary Aviation Safety". skybrary.aero.
  2. "FDC 4/4386 Special Notice - National Airspace System Intercept Procedes" (PDF). Federal Aviation Administration.
  3. "FAA, FCC Investigating Misuse of 121.5 MHz Mayday Frequency". National Business Aviation Association. 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2023.
  4. "Distress and Diversion Cell" (PDF). Royal Air Forcr (Unit) Swanwick.
  5. "Distress and Diversion Cell: A practical guide to Practice Pan and Training Fix". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2024.
  6. "Radiotelephony Manual (CAP 413)" (PDF). Civil Aviation Authority (CAA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 มกราคม 2024.
  7. "Emergency Beacons". NOAA.
  8. "Emergency Position Indicating Radiobeacon (EPIRB)". U.S. Coast Guard.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]