ข้ามไปเนื้อหา

แลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แลน (อังกฤษ: local area network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณระยะใกล้ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกลหรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ

  1. Hight มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
  2. Low เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
  3. Rang เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Com หรือ device ในการปล่อย analog เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ข้อดีของระบบแลน

  1. เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น
  2. การขนย้ายข้อมูลทำได้ง่าย

ข้อเสียของระบบแลน

  1. ถ้าละทิ้งจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้
  2. ไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลเกมระยะไกลมากๆ ได้

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายแลน

[แก้]

ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายในองค์กร ปัญหาที่พบอยู่เสมอคือความผิดปกติภายในระบบที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ กว่าที่ผู้ดูแลระบบจะรับทราบถึงปัญหา เวลาก็อาจผ่านไปเนิ่นนานจนเกิดความเสียหาย อีกทั้งการระบุต้นเหตุของปัญหาก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก การนำระบบตรวจสอบการทำงานเครือข่ายอัตโนมัติมาใช้ จึงสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ดูแลระบบ ทำให้สามารถรับรู้ในทันทีที่เกิดปัญหา และสามารถทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้การทำงานของระบบเครือข่ายภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ

  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ NetHAM modul เวอร์ชัน 1.0 สำหรับบริหารเครือข่ายขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นระบบตรวจสอบและแสดงสถานภาพเครือข่าย โดยเฉพาะสำหรับห้างร้าน องค์กรขนาดเล็ก หรือโรงเรียน ซึ่งอาจจะไม่มีงบประมาณมากพอที่จะซื้อซอฟต์แวร์บริหารเครือข่ายราคาแพง NetHAM เน้นให้ใช้งานสะดวก มีระบบการแสดงผลด้วยภาพที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถเห็นภาพรวมของระบบได้อย่างรวดเร็ว

ผลที่ได้จากการแลนข้อมูล

[แก้]
  1. มีการแบ่งไฟล์งานใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องได้โดยการแลนข้อมูล
  2. ไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนดิสเกตต์จากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง
  3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
  • ส่วนใหญ่แลนจะพบมากและใช้กันอย่างแพร่หลายในสำนักงานบริษัทต่าง ๆ เพื่อประหยัดในการลงทุนซื้อ ซีดีรอม, โมเด็ม, เครื่องโทรสาร ในการโอนย้ายข้อมูลหรือแบ่งปันข้อมูล

แหล่งข้อมูล

[แก้]
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549- 2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.