ข้ามไปเนื้อหา

หน่วยรบพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Special forces)

หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือ กองกำลังพิเศษ เป็นกำลังทหารหรือพลเรือนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีโดยกองทัพหรือกองกำลังพลเรือน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษอย่างเช่น การลาดตระเวนพิเศษ การสงครามนอกแบบ และการต่อต้านการก่อการร้าย

ทหารหน่วยรบพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐ

ขีดความสามารถ

[แก้]

สงครามนอกแบบ (อังกฤษ: unconventional warfare) เป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน

การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ (อังกฤษ: counter insurgency) เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ

โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม

การปฏิบัติการจิตวิทยา (อังกฤษ: Psychological Operation) เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ ทั้งโดยการใช้เครื่องขยายเสียง วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารมวลชนด้านอื่นๆ

การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (อังกฤษ: Direct Action) ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ

การลาดตระเวนพิเศษ (อังกฤษ: Special Reconnaissance) เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทางนิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง

การต่อสู้การก่อการร้าย

[แก้]

การต่อต้านการก่อการร้าย (อังกฤษ: Counter - Terrorist) หมายถึง มาตรการการป้องกันไม่ให้มีเหตุ และติดตามกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมทั้งมาตรการในการตอบโต้ เมื่อมีการก่อการร้ายเกิดขึ้น ส่วนมากบทบาทของหน่วยรบพิเศษ จะอยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจับตัวประกันโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองระหว่างประเทศ และข้อเรียกร้องด้านชาติพันธุ์ ศาสนา

ในประเทศไทยมีการจับยึดตัวประกันมาแล้ว 8 ครั้งแล้วแต่มีการใช้กำลังต่อสู้เพียง 1 ครั้ง คือเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543

การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ

[แก้]

การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ เป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมิตรประเทศให้เกิดความมั่นคง ด้วยการสนับสนุนงานด้านต่างๆ เช่น การฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป้าหมายคือช่วยให้มิตรประเทศมีความมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางอ้อมและนำมาซึ่งความมั่นคงของภูมิภาค

ภารกิจคู่ขนาน

[แก้]

ภารกิจคู่ขนาน หมายถึงภารกิจที่มีหน่วยงานอื่นปฏิบัติเป็นหลักอยู่ในขั้นต้น โดยมีหน่วยรบพิเศษสามารถที่จะปฏิบัติการเสริมการปฏิบัติการดังกล่าวได้ กิจกรรมนี้เป็นช่องทางหนึ่งของหน่วยรบพิเศษที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม ซึ่งตามหลักนิยมของสหรัฐแล้วเป็นเพียงภารกิจที่เสริมการปฏิบัติหลัก โดยเฉพาะการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัย คล้ายกับการเข้าไปติดต่อเริ่มแรกและสามารถสร้างพื้นที่ในการปฏิบัติการป้องกันภายในมิตรประเทศ ซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ของการเสริมสร้างกำลังกองโจรใน ศนบ. แต่เปลี่ยนจากกำลังกองโจรเป็นกำลังทหารของรัฐบาล ที่จะใช้เป็นพันธมิตรในอนาคต ในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน

ภารกิจคู่ขนานที่หน่วยรบพิเศษ อาจจะต้องมีส่วนร่วม รวมถึง

  • การปราบปรามยาเสพติด

ประวัติ

[แก้]

หน่วยรบพิเศษของประเทศไทย

[แก้]

ทหารหน่วยรบพิเศษของประเทศไทย

[แก้]

กองทัพบก

[แก้]

ศูนย์สงครามพิเศษ (Special Warfare Center) สังกัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (Special Warfare Command)

กองทัพเรือ

[แก้]

กองทัพอากาศ

[แก้]
  • กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
    • ศูนย์การค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ (พลร่มกู้ภัย) (CSAR)

ตำรวจหน่วยปฏิบัติพิเศษของประเทศไทย

[แก้]

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

[แก้]
  • กองบัญชาการตำรวจนครบาล
    • อรินทราช 26 อังกฤษ : Arintharat 26 (ชื่อทางการ : กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.)​)
  • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    • นเรศวร 261 (อังกฤษ : Naresuan 261) (ชื่อทางการ : กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน)
  • กองบัญชาการ​ตำรวจสอบสวนกลาง
  • กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
    • สยบไพรี 43 (Sayobpairee 43 / NSB Commando) กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
  • ตำรวจภูธรภาค 1-9

หน่วยรบพิเศษที่จัดเป็นหน่วยภารกิจพิเศษของประเทศไทย

[แก้]

ขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) กองบัญชาการกองทัพไทย

  • กองทัพบก
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ ​กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ.รพศ. 3 รอ.) ศูนย์สงครามพิเศษ​
  • กองทัพเรือ
    • กรมรบพิเศษที่ 1 หน่​วยบัญชาการ​สงครามพิเศษทางเรือ
  • กองทัพอากาศ
    • กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน หรือ นเรศวร 261
    • กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.)​ หรือ อรินทราช 26

หน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ

[แก้]

ทหารและกำลังกึ่งทหารหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ

[แก้]

เอเชีย

[แก้]

ออสเตรเลีย

[แก้]

ยุโรป

[แก้]

อเมริกาเหนือ

[แก้]

ลาตินอเมริกา

[แก้]

ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษของต่างประเทศ

[แก้]

เอเชีย

[แก้]

ออสเตรเลีย

[แก้]

ยุโรป

[แก้]

อเมริกาเหนือ

[แก้]

ลาตินอเมริกา

[แก้]

อดีตหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ

[แก้]

กองทัพเรือ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

[1]

  1. หลักนิยมหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย พ.ศ. ๒๕๕๐