ข้ามไปเนื้อหา

สารวัตรทหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารวัตรทหารชาวสโลวัก
สารวัตรทหารชาวอินโดนีเซียในชุดเครื่องแบบเต็มยศ

สารวัตรทหาร (อังกฤษ: Military police: MP) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ หรือบางส่วนของทางทหารของรัฐ

ประเภทสารวัตรทหาร

[แก้]

ในประเทศต่าง ๆ สารวัตรทหารนั้นอาจจะหมายถึง

  • รับผิดชอบในการควบคุมดูแลพื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพ (ที่เรียกว่า Provosts) ในบางประเทศ สารวัตรทหารเรือจะถูกเรียกว่า "masters-at-arms" และกองลาดตระเวนชายฝั่ง สารวัตรทหารกองทัพอากาศ ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า ตำรวจอากาศ หรือกองกำลังความมั่นคง มีหน้า​ที่ต่อต้านการก่ออาชญากรรมทั้งหมดโดยบุคลากรทางทหารหรือพลเรือน
  • รับผิดชอบในการควบคุมดูแลทั้งในกองทัพและในพลเรือน กล่าวคือ เป็นลักษณะ​เหล่าทัพสารวัตรทหาร มีหน้าที่ต่อต้านการก่ออาชญากรรมทั้งหมด โดยบุคลากรทางทหารหรือพลเรือน (ส่วนใหญ่เป็น ฌ็องดาร์เมอรี (Gendarmerie) เช่น France Gendarmerie, Italy Carabinieri, Royal Marechaussee, Moldova Trupele de Carabinieri, Royal Moroccan Gendarmerie เป็นต้น)
  • รับผิดชอบการปกป้องพลเรือนเพียงอย่างเดียว อาจเป็นกำลังสำรอง สำหรับสนับสนุนในยามสงคราม (ส่วนใหญ่เป็น Gendarmerie เช่น องครักษ์สาธารณรัฐแห่งชาติโปรตุเกส, หน่วยพิทักษ์พลเรือนสเปน, Romania Gendarmerie, Chinese People's Armed Police Force, Carabineros De Chile, Algeria Gendarmerie Nationale เป็นต้น)
  • กองกำลังตำรวจป้องกันรัฐของบราซิล (Polícia Militar) รับผิดชอบในการปกป้องประชากรพลเรือน ซึ่งเป็นกำลังสำรองของกองทัพบราซิลในสภาพวะสงคราม

เครื่องแบบ

[แก้]

สถานะของสารวัตรทหารมักจะปรากฏในรูปแบบที่โดดเด่นจากหมวกนิรภัย หรือปลอกแขน หรือตราอาร์ม หรือบั้งติดไหล่ (shoulder Band , shoulder flash) ในสงครามโลกครั้งที่สอง สารวัตรทหารของกองทัพนาซีเยอรมัน (Feldgendarmerie) ​มักจะใช้ป้ายห้อยคอเหล็กมาเป็นสัญลักษณ์

อำนาจหน้าที่

[แก้]

อำนาจหน้าที่หลัก ๆ ของสารวัตรทหาร ประกอบไปด้วย[1]

  • ป้องกันการเกิดอาชญากรรมในกองทัพ
  • สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
  • สอดส่องตรวจตราให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ในระเบียบวินัย ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อพบการกระทำผิด
  • ควบคุมจัดระเบียบการจราจรที่อยู่ในกิจการของทหาร เช่น การเคลื่อนกำลังพล การส่งกำลังบำรุง
  • รักษาความปลอดภัยวัตถุตามที่ได้รับมอบหมาย และอารักขาบุคคลสำคัญ
  • ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเชลยศึก เรือนจำทหาร ทหารพลัดหลงจากหน่วย หรือพลเรือนที่ถูกกักกันในยามสงคราม ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Vision and Mission วิสัยทัศน์และพันธกิจ". www.nmp.navy.mi.th. Naval Military Police Regiment.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)