หน่วยรบพิเศษ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือ กองกำลังพิเศษ เป็นกำลังทหารหรือพลเรือนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีโดยกองทัพหรือกองกำลังพลเรือน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษอย่างเช่น การลาดตระเวนพิเศษ การสงครามนอกแบบ และการต่อต้านการก่อการร้าย
ขีดความสามารถ
[แก้]สงครามนอกแบบ (อังกฤษ: unconventional warfare) เป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน
การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ (อังกฤษ: counter insurgency) เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ
โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม
การปฏิบัติการจิตวิทยา (อังกฤษ: Psychological Operation) เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ ทั้งโดยการใช้เครื่องขยายเสียง วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารมวลชนด้านอื่นๆ
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (อังกฤษ: Direct Action) ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ
การลาดตระเวนพิเศษ (อังกฤษ: Special Reconnaissance) เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทางนิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง
การต่อสู้การก่อการร้าย
[แก้]การต่อต้านการก่อการร้าย (อังกฤษ: Counter - Terrorist) หมายถึง มาตรการการป้องกันไม่ให้มีเหตุ และติดตามกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมทั้งมาตรการในการตอบโต้ เมื่อมีการก่อการร้ายเกิดขึ้น ส่วนมากบทบาทของหน่วยรบพิเศษ จะอยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจับตัวประกันโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองระหว่างประเทศ และข้อเรียกร้องด้านชาติพันธุ์ ศาสนา
ในประเทศไทยมีการจับยึดตัวประกันมาแล้ว 8 ครั้งแล้วแต่มีการใช้กำลังต่อสู้เพียง 1 ครั้ง คือเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543
การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ
[แก้]การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ เป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมิตรประเทศให้เกิดความมั่นคง ด้วยการสนับสนุนงานด้านต่างๆ เช่น การฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป้าหมายคือช่วยให้มิตรประเทศมีความมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางอ้อมและนำมาซึ่งความมั่นคงของภูมิภาค
ภารกิจคู่ขนาน
[แก้]ภารกิจคู่ขนาน หมายถึงภารกิจที่มีหน่วยงานอื่นปฏิบัติเป็นหลักอยู่ในขั้นต้น โดยมีหน่วยรบพิเศษสามารถที่จะปฏิบัติการเสริมการปฏิบัติการดังกล่าวได้ กิจกรรมนี้เป็นช่องทางหนึ่งของหน่วยรบพิเศษที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม ซึ่งตามหลักนิยมของสหรัฐแล้วเป็นเพียงภารกิจที่เสริมการปฏิบัติหลัก โดยเฉพาะการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัย คล้ายกับการเข้าไปติดต่อเริ่มแรกและสามารถสร้างพื้นที่ในการปฏิบัติการป้องกันภายในมิตรประเทศ ซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ของการเสริมสร้างกำลังกองโจรใน ศนบ. แต่เปลี่ยนจากกำลังกองโจรเป็นกำลังทหารของรัฐบาล ที่จะใช้เป็นพันธมิตรในอนาคต ในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ภารกิจคู่ขนานที่หน่วยรบพิเศษ อาจจะต้องมีส่วนร่วม รวมถึง
- การปราบปรามยาเสพติด
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หน่วยรบพิเศษของประเทศไทย
[แก้]ทหารหน่วยรบพิเศษของประเทศไทย
[แก้]กองทัพบก
[แก้]ศูนย์สงครามพิเศษ (Special Warfare Center) สังกัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (Special Warfare Command)
- กองพลรบพิเศษที่ 1
- กรม รพศ. 1
- กรม รพศ. 2
- กรม รพศ. 3 รอ.
- กองพันจู่โจมรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์
- กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ.รพศ. 3 รอ.) (ชื่อเดิม : หน่วยปฏิบัติการพิเศษเฉพาะกิจ 90)
- กรม รพศ. 4
- กรม รพศ. 5
กองทัพเรือ
[แก้]- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
- กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน (RECON)
กองทัพอากาศ
[แก้]- กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- ศูนย์การค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ (พลร่มกู้ภัย) (CSAR)
ตำรวจหน่วยปฏิบัติพิเศษของประเทศไทย
[แก้]สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
[แก้]- กองบัญชาการตำรวจนครบาล
- อรินทราช 26 อังกฤษ : Arintharat 26 (ชื่อทางการ : กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.))
- กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- นเรศวร 261 (อังกฤษ : Naresuan 261) (ชื่อทางการ : กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน)
- กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- คอมมานโด (COMMANDO) กองกำกับการต่อต้านก่อการร้าย กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ (ชื่อเดิม : กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ สยบริปูสะท้าน คอมมานโดกองปราบปราม, กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ, กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ตามลำดับ)[1]
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หนุมานกองปราบ (HANUMAN) กองบังคับการปราบปราม
- กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
- สยบไพรี 43 (Sayobpairee 43 / NSB Commando) กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
- ตำรวจภูธรภาค 1-9
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (หน่วยปฏิบัติการพิเศษ: นปพ.)
หน่วยรบพิเศษที่จัดเป็นหน่วยภารกิจพิเศษของประเทศไทย
[แก้]ขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) กองบัญชาการกองทัพไทย
- กองทัพบก
- กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ.รพศ. 3 รอ.) ศูนย์สงครามพิเศษ
- กองทัพเรือ
- กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กองทัพอากาศ
- กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน หรือ นเรศวร 261
- กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.) หรือ อรินทราช 26
หน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ
[แก้]ทหารและกำลังกึ่งทหารหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ
[แก้]เอเชีย
[แก้]- กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษ (หน่วยในอัตรากองทัพกลุ่มที่ขึ้นต่อหน่วยบัญชาการภาคพื้นของกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน)
- หน่วยคอมมานโดเจียวหลง (蛟龙突击队)
- กองกำลังคอมมานโดส่งทางอากาศเหล่ยเฉิน (中国空降兵 雷神突击队)
- คอมมานโดใบมีด (中国人民解放军 特种部队 : zcdd)
- หน่วยโจมตีต่อต้านการก่อการร้าย (战略支援部队反恐突击)
- หน่วยคอมมานโดพยัคฆ์ดาวหิมะ (雪豹突击队)
- พารา
- มาร์คอส
- กองกำลังคอมมานโดการุด
- กลุ่มพิเศษ (4 Vikas)
- กองปฏิบัติการพิเศษ 51
- หน่วยเฉพาะกิจพิเศษ 81
- เดนจากา
- หน่วยเฉพาะกิจ 90 บราโว
- กองเรือ 13
- หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
- หน่วยชาลดัก
- สเปเชียลบอร์ดดิงยูนิต
- กลุ่มหน่วยรบพิเศษ
- กองพันภารกิจพิเศษ 525 (525 특수작전대대)
- กองพันภารกิจพิเศษ ต่อต้านก่อการร้าย (จินแฮ) (특수임무대대 (CT: Counter Terror, 대테러) (진해))
- กองภารกิจพิเศษที่ 707
- ชุดควบคุมการรบ (공군 특수임무대 CCT)
ออสเตรเลีย
[แก้]- ฝูงบินที่ 4 กองทัพอากาศออสเตรเลีย
- เหล่าทำลายใต้น้ำ กองทัพเรือออสเตรเลีย
- กรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศออสเตรเลีย
- กรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศนิวซีแลนด์ที่ 1
ยุโรป
[แก้]- กรมพลร่มทหารราบนาวีที่ 1
- คอมมานโดอูแบร์
- คอมมานโดพลร่มทางอากาศ หมายเลข 10
- ฌีฌีง
- หน่วยบัญชาการกำลังรบพิเศษ
- หน่วยบัญชาการกำลังรบพิเศษทางเรือ
- กรมพลร่มจู่โจมที่ 9 (โกล โมกิน)
- หน่วยบัญชาการกลุ่มดำน้ำและจู่โจม
- กลุ่มแทรกแทรงพิเศษ
- กองบินจู่โจมที่ 17
- มนุษย์กบคอมมานโดรัสเซีย
- กองพลน้อยแยกองครักษ์ปฏิบัติการพิเศษที่ 45
- ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ "เซเนตซ์"
- ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษที่ 604
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือ
- หมวดบินรบพิเศษ, ฝูงบินหมายเลข 47 กองทัพอากาศอังกฤษ
อเมริกาเหนือ
[แก้]- กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 2
- กองบินยุทธการพิเศษทางอากาศ 427
- ทีมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ตำรวจม้าแคนาดา
- ฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24
- กองกำลังเดลตา
- ซีลทีมซิกซ์
- กรมจู่โจมนาวิกโยธิน
ลาตินอเมริกา
[แก้]- หน่วยแทรกแทรงพิเศษ (คอสตาริกา)
- กองกำลังตอบโต้พิเศษ
- กำลังรบพิเศษ (กองทัพเรือเม็กซิโก)
- กลุ่มแมงป่อง
- กลุ่มปฏิบัติการพิเศษ (กองทัพอากาศอาร์เจนตินา)
- กลุ่มดำน้ำยุทธวิธี
- กลุ่มอัลบาโตรส
- กองร้อยคอมมานโด 601
- ฝูงบินกู้ภัยส่งทางอากาศ
- กองพันรบพิเศษที่ 1
- กลุ่มดำน้ำจู่โจม
- กลุ่มต่อต้านก่อการร้ายทางอากาศ
- กองพันพลร่มที่ 1 เปลันตารู (1º Batallón de Paracaidistas Pelantaru)
- หน่วยบัญชาการกำลังรบพิเศษ (กองทัพเรือชิลี)
- กลุ่มตำรวจปฏิบัติการพิเศษ (ตำรวจทหารชิลี)
- Sección de Operaciones Tácticas
ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษของต่างประเทศ
[แก้]เอเชีย
[แก้]- หน่วยยุทโธปกรณ์และยุทธวิธีพิเศษปักกิ่ง (北京特警总队)
- กองพันคอมมานโดปฏิบัติการฉับพลัน (COBRA)
- จีจานา
- ยามัม
- ทีมจู่โจมพิเศษ
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 868
ออสเตรเลีย
[แก้]ยุโรป
[แก้]- เรอ์
- เกเอสเก 9
- ศูนย์ความมั่นคงกำลังเฉพาะกิจกลาง
- กลุ่มอัลฟา
- วึมเปล
- หน่วยยุทโธปกรณ์พิเศษต่อต้านก่อการร้าย (CTSFO)
อเมริกาเหนือ
[แก้]ลาตินอเมริกา
[แก้]- กลุ่มปฏิบัติการพิเศษ
- กลุ่มปฏิบัติการพิเศษกลาง (อาร์เจนตินา)
- หน่วยบัญชาการปฏิบัติการทางยุทธวิธี
- Equipo de Reacción Táctica Antinarcóticos (ERTA)
อดีตหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ
[แก้]กองทัพเรือ
[แก้]- คอมมานโดราชนาวี (ค.ศ. 1942 – ค.ศ. 1945)
- บีชจัมเปอร์ (ค.ศ. 1943 – ค.ศ. 1946 , ค.ศ. 1951 – ค.ศ. 1972)
- ทีมทำลายใต้น้ำ (ค.ศ. 1942 – ค.ศ. 1983)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หลักนิยมหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย พ.ศ. ๒๕๕๐