กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ
กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ Special Service Division | |
---|---|
อาร์มกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ | |
ชื่อทางการ | กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ |
อักษรย่อ | บก.ปพ. / SSD |
คำขวัญ | สยบทุกข์ภัย รับใช้ปวงประชา |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 27 มกราคม, พ.ศ. 2562 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
แผนที่เขตอำนาจของ กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ | |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | ทั่วราชอาณาจักร |
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 906 ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 (เมืองทองธานี) |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
บทบาท | ถวายความปลอดภัย[1] • องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท • พระบรมวงศานุวงศ์ • บุคคลสำคัญ การต่อต้านการก่อการร้าย ควบคุมฝูงชน งานด้านการข่าว ปราบปรามอาชญากรรม เก็บกู้วัตถุระเบิด จิตอาสาพระราชทาน ฝึกอบรมการถวายความปลอดภัย |
กองกำกับการ | • 9 กองกำกับการ |
ปฏิบัติการสำคัญ | |
เว็บไซต์ | |
https://www.ssd.go.th/ |
กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ (อังกฤษ: Special Service Division: SSD) หรือรู้จักกันในชื่อของตำรวจหน่วยคอมมานโด[2] เป็นหน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]จุดเริ่มต้นกับกองปราบปราม
[แก้]กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษนั้น แต่เดิมคือหน่วยคอมมานโด ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2499 โดยพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้คัดเลือกกำลังตำรวจมาจากทั่วประเทศ มาทำการฝึกอบรมการปฏิบัติการพิเศษ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และมอบหมายให้ประจำการที่กองปราบสามยอด ซึ่งก็คือที่ตั้งของกองปราบปรามในยุคนั้น[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่โชคชัย 4 และจัดหน่วยเข้าไปอยู่ภายใน แผนก 5 กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม[4] โดยมีสิ่งปลูกสร้างเพียงอาคารไม้ของกองกำกับการ กองรักษาการณ์ และโรงโภชนาการ ก่อนจะมีการก่อสร้างตึกของกองบังคับการเมือปี พ.ศ. 2514 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองปราบปราม (กก.ปพ.บก.ป.)[5] มีชื่อเรียกที่มาจากหลักสูตรการฝึกว่า สยบริปูสะท้าน[6] ซึ่งมีการประดับคำนี้เหนือคำว่า COMMANDO เหนืออาร์มของกองปราบปรามบนแขนจนกลายเป็นชื่อเรียกของหน่วย[7]
ยกฐานะเป็นกองบังคับการ
[แก้]จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[8] โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมราชทานนามเป็น กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ โดยมี พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ สุขวิมล[4] เป็นผู้บังคับการคนแรกของหน่วย และแทนที่กองกำกับการเดิมของกองปราบด้วยการจัดตั้ง กองกำกับการสนับสนุน ขึ้นมาแทน และจัดตั้งหน่วยหนุมานกองปราบขึ้นมาแทนหลังจากนั้น[9]
ลำดับต่อมา ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562 ได้มีราชกิจจานุเบกษาประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยเป็น กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904[10] ซึ่งหน่วยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม จึงได้ถือให้ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นวันสถาปนาของหน่วย[11] และในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม อีกครั้งเป็น “กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ”[4] เพื่อสอดรับกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นมาเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย[12]
โครงสร้าง
[แก้]กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ประกอบไปด้วย 1 ฝ่าย 9 กองกำกับการ ประกอบไปด้วย[13]
- ฝ่ายอำนวยการ รับผิดชอบงานบริหารและธุรการ ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- กองกำกับการ 1 มีเขตอำนาจความรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- กองกำกับการ 2 มีเขตอำนาจความรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตำรวจภูธรภาค 1 และตำรวจภูธรภาค 2
- กองกำกับการ 3 มีเขตอำนาจความรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตำรวจภูธรภาค 3 และตำรวจภูธรภาค 4
- กองกำกับการ 4 มีเขตอำนาจความรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตำรวจภูธรภาค 5 และตำรวจภูธรภาค 6
- กองกำกับการ 5 มีเขตอำนาจความรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตำรวจภูธรภาค 7 ตำรวจภูธรภาค 8 และตำรวจภูธรภาค 9
- กองกำกับการ 6 ดูแลงานด้านการฝึกอบรมและจิตอาสาพระราชทาน มีเขตอำนาจความรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร
- กองกำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ มีเขตอำนาจความรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร
- กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย มีเขตอำนาจความรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร
- กองกำกับการสายตรวจ มีเขตอำนาจความรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร
ภารกิจ
[แก้]กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ มีภารกิจหลักในการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยในขณะที่เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัย
รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่โดยรอบเขตพระราชฐาน รวมไปถึงการควบคุมฝูงชนและปราบปรามการก่อจลาจล การตรวจพิสูจน์และเก็บกู้วัตถุระเบิดที่อยู่โดยรอบเขตพระราชฐาน ปฏิบัติการด้านการข่าวต่อภัยคุกคามที่เป็นภัยต่อความมั่นคงและองค์พระมหากษัตริย์ และงานจิตอาสาพระราชทานตามที่ได้รับมอบหมาย[14][15]
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลักของตำรวจในการปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่นเดียวกับตำรวจทั่วไป โดยจะเน้นไปที่การต่อต้านการก่อการร้าย และการสนับสนุนการปฏิบัติการทางยุทธวิธีในการปราบปรามอาชญากรรมให้กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[16] โดยมีขอบเขตการปฏิบัติการทั่วราชอาณาจักร[17]
ปฏิบัติการสำคัญ
[แก้]เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
[แก้]กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในปฏิบัติการชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช โดยนำกำลังจำนวนหนึ่ง[18][19] เข้าร่วมปฏิบัติการในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ซึ่งในขณะนั้นหน่วยยังคงใช้ชื่อว่า กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ถูกเรียกในชื่อย่อว่า "ตร.มหด.904" และได้ร่วมอพยพประชาชนที่ติดค้างอยู่ในพื้นที่ปะทะและคลี่คลายสถานการณ์ โดยทีมจนท. จำนวนหนึ่งได้เข้าเคลียร์พื้นที่เพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ได้รับบาดเจ็บ และถูกผู้ก่อเหตุที่ซ่อนอยู่ยิงต่อสู้[20] เจ้าหน้าที่จึงได้ยิงต่อสู้และสังหารผู้ก่อเหตุ[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.ssd.go.th/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-1-6/
- ↑ aof (2018-01-13). "คอมมานโดจัดงานวันเด็ก โชว์โรยตัวจู่โจม 'ชุดซานต้าสยบริปูสะท้าน'". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "กองปราบสามยอด". www.samgler.org.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "ประวัติหน่วย". กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ.
- ↑ "อินไซด์ ปพ. กองปราบฯ". www.thairath.co.th. 2015-01-23.
- ↑ กองบรรณาธิการ (2018-09-11). ""เราไม่ได้สอนให้คุณเป็นซุปเปอร์แมนยิงไม่เข้า หลักสูตรนี้สอนให้คุณเอาชีวิตรอดกลับไปหาครอบครัวที่รัก"". COP'S Magazine.
- ↑ "ฝ่าสมรภูมิกระสุน รับทุกภารกิจเสี่ยงตาย เปิดใจคอมมานโดสุดแกร่ง พลีชีพเพื่อแผ่นดิน". www.thairath.co.th. 2016-09-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561 เล่ม 135 ตอนที่ 77 ก, วันที่ 1 ตุลาคม 2561, หน้า 1-3
- ↑ "กองปราบฯเปิดตัวหน่วยปฏิบัติการพิเศษ"หนุมาน กองปราบ"แทนที่"คอมมานโด"". สยามรัฐ. 2019-11-28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนที่ 12 ก, วันที่ 27 มกราคม 2562, หน้า 6-8
- ↑ "'ที่นี่ตำแหน่งเลือกคน' บิ๊กต่อ ย้ำเตือนคอมมานโด ในวันสถาปนาบก.ปฎิบัติการพิเศษ". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-01-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2563 เล่ม 137 ตอนที่ 60 ก, วันที่ 25 กรกฎาคม 2563, หน้า 13-16
- ↑ "โครงสร้าง". กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ.
- ↑ "#Cop Hero Thailand Magazine "ตำรวจคอมมานโดจิตอาสา" ลงพื้นที่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี เพื่อช่วยกันเก็บกระทง และเก็บขยะ บริเวณรอบริมสระน้ำ หลังจากเทศกาลลอยกระทงเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนสาธารณะให้คงความสะอาด สวยงาม – Cop Hero Thailand Magazine".
- ↑ matichon (2021-07-05). "บิ๊กต่อ"ผบช.ก."ส่งจิตอาสาคอมมานโดช่วยอพยพชาวบ้านบางพลีรับผลกระทบโรงงานไฟไหม้". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ผบช.ก.ประกาศนำกองปราบฯ-คอมมานโดกวาดล้างซุ้มมือปืนรับเลือกตั้งท้องถิ่นช่วงปลายปี". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-08.
- ↑ "ทำความรู้จัก "กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29.
- ↑ "ส่งคอมมานโด904เปิดปฏิบัติการ #SafeKorat". thansettakij. 2020-02-08.
- ↑ "ส่งคอมมานโด 904 สมทบจับจ่าทหารคลั่ง หนุน นเรศวร 261, อรินทราช26 และหนุมาน". mgronline.com. 2020-02-08.
- ↑ "ระทึก! เบื้องหลัง "สารวัตรเกมส์" ถือโล่นำหน้า ถูกยิงเจ็บกลางห้องเย็น". tnnthailand.com. 2020-02-10.
- ↑ "ปิดฉาก 'ทหารคลั่ง'! ทีม ตร.มหด.904 คือผู้ปลิดชีพคาห้องเย็น". มติชนออนไลน์. 2020-02-09.