ปลาชะโอน
ปลาชะโอน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลาหนัง |
วงศ์: | วงศ์ปลาเนื้ออ่อน |
สกุล: | ปลาชะโอน (สกุล) (Bloch, 1794) |
สปีชีส์: | Ompok bimaculatus |
ชื่อทวินาม | |
Ompok bimaculatus (Bloch, 1794) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาชะโอน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15–20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร
ปลาชะโอนอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก
ปลาชะโอนมีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาสยุมพร", "ปลาเนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "ปลาเซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "ปลาโอน" เป็นต้น[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ng, H.H.; Tenzin, K.; Pal, M. (2010). "Ompok bimaculatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2010: e.T166616A174788267. doi:10.2305/IUCN.UK.2010-4.RLTS.T166616A174788267.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "ปลาชะโอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-04-11.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ompok bimaculatus ที่วิกิสปีชีส์