ข้ามไปเนื้อหา

บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mesua ferrea)

บุนนาค
ต้นบุนนาคที่ Thelwatta ศรีลังกาตะวันออกเฉียงใต้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: Calophyllaceae
สกุล: Mesua

L.
สปีชีส์: Mesua ferrea
ชื่อทวินาม
Mesua ferrea
L.
ชื่อพ้อง

Mesua coromandelina Wight
Mesua nagassarium (Burm.f.) Kosterm.
Mesua pedunculata Wight
Mesua roxburghii Wight
Mesua sclerophylla Thw.
Mesua speciosa Choisy
Mesua stylosa

บุนนาค หรือ สารภีดอย หรือ นาคบุตร[1] (อังกฤษ: Ceylon ironwood, cobra saffron, ชื่อวิทยาศาสตร์: Mesua ferrea) จัดอยู่ในวงศ์ Calophyllaceae มีถิ่นกำเนิดในเขตนิเวศอินโดมาลายา เป็นไม้ยืนต้น โตช้า เนื้อไม้แข็งและหนัก ต้นบุนนาคเป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากมีรูปทรงที่สง่างาม ใบสีเขียวเทาอมฟ้า เมื่อใบอ่อนจะมีสีชมพูอมแดงสวยงาม และดอกสีขาวขนาดใหญ่มีกลิ่นหอมแรง บุนนาคได้รับการยกย่องให้เป็น ต้นไม้ประจำชาติของศรีลังกา และเป็น ต้นไม้ประจำรัฐมิโซรัม และ ดอกไม้ประจำรัฐตริปุระ ในประเทศอินเดีย[2]

การจำแนกประเภท

[แก้]

บุนนาคถูกระบุครั้งแรกในหนังสือ Species Plantarum ของคาร์ล ลินเนียส ในปี 1753 หน้า 515[3]

Mesua ferrea เป็นสายพันธุ์ที่ซับซ้อนและเคยถูกแบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์และพันธุ์ย่อย[4] เอ.เจ.จี.เอช. คอสเตอร์แมนส์ และ กุนาติลเลเก และคณะ เรียกต้นไม้ที่อธิบายไว้ในบทความนี้ว่า Mesua nagassarium[5][6] Kostermans แยกย่อย Mesua nagassarium ออกเป็นหลายชนิดย่อย

ผู้เขียนเหล่านี้ระบุว่า Mesua ferrea เป็นสายพันธุ์แยกต่างหาก ที่พบเฉพาะในศรีลังกา เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 15 เมตร เติบโตใกล้ลำธารและในหนองน้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา เรียกว่า "Diya Na" ในภาษาสิงหล แปลว่า "ต้นน้ำนา" "Diya Na" นี้ไม่ได้รับการเพาะปลูก[5][6] Gunatilleke และคณะ (หน้า 139) กล่าวไว้ในหมายเหตุว่า "ในการปรับปรุงล่าสุด diya na ถูกตั้งชื่อว่า Mesua thwaitesii และ na เป็น Mesua ferrea"[6]

Kostermans และ Gunatilleke และคณะ จัดประเภท Mesua ferrea ไว้ในวงศ์ Clusiaceae ในขณะที่ในฐานข้อมูล AgroForestryTree Database จัดอยู่ในวงศ์ Guttiferae ใน Plants of the World Online และ World Flora Online จัดอยู่ในวงศ์ Calophyllaceae[7]


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้เกิน 30 เมตร ลำต้นมักแผ่กว้างออกไปคล้ายฐานรองรับ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงสุดถึง 2 เมตร เปลือกของต้นอ่อนมีสีเทาอมขี้เถ้าและหลุดลอกเป็นแผ่น ในขณะที่เปลือกของต้นแก่จะมีสีเทาเข้มอมขี้เถ้าและมีรอยแตกสีน้ำตาลแดง ใบเรียงตรงข้ามกัน รูปใบเรียวยาว ปลายแหลม สีเขียวอมฟ้าถึงเขียวเข้ม ยาว 7-15 เซนติเมตร กว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร ด้านล่างของใบมีสีขาว ใบอ่อนที่เพิ่งแตกออกมาจะมีสีแดงถึงชมพูอมเหลืองและห้อยลงมา กิ่งก้านเรียวกลมและไม่มีขน ดอกสมบูรณ์เพศ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7.5 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีขาว 4 กลีบ และใจกลางดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตรสีเหลืองอมส้มจำนวนมาก หอมเย็น ออกเป็นกระจุก 2-1 ดอก ผลเป็นแคปซูลรูปไข่ถึงกลม มีเมล็ดหนึ่งถึงสองเมล็ด

พบได้ในป่าดิบชื้น ตามริมห้วย ลำธาร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 600–700 เมตร

เป็นไม้วงศ์เดียวกับ ต้นชะมวงหรือส้มป่อง มะดะหรือมังคุดป่า ต้นติ้วแดงและ ต้นติ้วขน จัดกลุ่มอยู่ในไม้พวก Iron wood คือเนื้อแข็ง ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ต้นบุนนาคสามารถพบได้ในอินเดียและศรีลังกา

ประโยชน์

[แก้]

ในตำรายาแผนไทย พบว่าแทบทุกส่วนของบุนนาคนำมาใช้ประโยชน์ทางยาได้หมด

  • เนื้อไม้ - เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำหมอนรถไฟ การก่อสร้าง ด้านร่ม เป็นต้น
  • ใบ-ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู
  • เปลือกต้น -แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ
  • แก่น -แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต
  • ดอกแห้ง - เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ
  • เมล็ด - มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่น ๆ
  • ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย
  • ราก - ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย

เกร็ดความรู้

[แก้]

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nag Kesar". Flowers of India.
  2. "State Symbols of Tripura | Tripura Tourism Development Corporation Ltd". tripuratourism.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
  3. "Mesua ferrea L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
  4. "Mesua ferrea L. – Clusiaceae". biotik.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-06.
  5. 5.0 5.1 Kostermans, A.J.G.H. (1980). "Clusiaceae (Guttiferae)". ใน Dassanayaka, M.D.; Fosberg, F.R. (บ.ก.). A revised handbook to the flora of Ceylon. Vol. I. New Delhi. pp. 107–110.
  6. 6.0 6.1 6.2 Ashton, M; Gunatilleke, S; de Zoysa, N; Dassanayake, MD; Gunatilleke, N; Wijesundera, S (1997). A Field Guide to the Common Trees and Shrubs of Sri Lanka (PDF). Colombo. p. 140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-06.
  7. "Mesua ferrea L." worldfloraonline.org. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]