มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370
9M-MRO ลำเดียวกับที่เกิดเหตุ ที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ในปี 2554 | |
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 8 มีนาคม 2557 |
สรุป | สูญหาย |
จุดเกิดเหตุ | ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย (สันนิษฐาน) |
ประเภทอากาศยาน | โบอิง 777-2H6อีอาร์ |
ดําเนินการโดย | มาเลเซียแอร์ไลน์ |
ทะเบียน | 9M-MRO |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง |
ผู้โดยสาร | 227 |
ลูกเรือ | 12 |
รอดชีวิต | 0 |
มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (อังกฤษ: Malaysia Airlines Flight 370; MH370 หรือ MAS370) เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศที่สูญหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ระหว่างบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไปท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน เที่ยวบินดังกล่าวติดต่อด้วยเสียงครั้งสุดท้ายกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:19 MYT ของวันที่ 8 มีนาคม (17:19 UTC ของวันที่ 7 มีนาคม) ขณะบินเหนือทะเลจีนใต้ไม่ถึงชั่วโมงหลังนำเครื่องขึ้น อากาศยานหายจากจอเรดาร์ของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:22 MYT เรดาร์ทหารของมาเลเซียยังติดตามอากาศยานขณะที่เครื่องเบี่ยงจากเส้นทางการบินตามแผนและข้ามคาบสมุทรมลายู เครื่องพ้นรัศมีของเรดาร์ทหารมาเลเซียเมื่อเวลา 02:22 ขณะบินเหนือทะเลอันดามัน ห่างจากปีนังทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) อากาศยานดังกล่าว ซึ่งเป็นโบอิง 777-200 อีอาร์ บรรทุกสมาชิกลูกเรือชาวมาเลเซีย 12 คน และผู้โดยสาร 227 คนจาก 15 ชาติ
เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใด ๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า "เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้" การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]ชั่วโมงบิน (ชั่วโมง:นาที) | เวลา | เหตุการณ์ | |
---|---|---|---|
เวลามาตรฐานมาเลเซีย | เวลาสากลเชิงพิกัด | ||
00:00 | 8 มีนาคม | 7 มีนาคม | บินขึ้นจาก กัวลาลัมเปอร์ |
00:41 | 16:41 | ||
00:20 | 01:01 | 17:01 | ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุต (11,000 เมตร)[1] |
00:26 | 01:07 | 17:07 | ได้รับข้อมูลจาก ระบบสื่อสารและรายงานสภาวะอากาศยาน (ACARS) ของเครื่องบินฯ เป็นครั้งสุดท้าย [2] ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุตเป็นครั้งที่สอง[1] |
00:38 | 01:19 | 17:19 | มีการติดต่อทางเสียง (ATC) จากห้องนักบินเป็นครั้งสุดท้าย[3] |
00:40 | 01:21 | 17:21 | เรดาร์ทุติยภูมิ ตรวจจับตำแหน่งได้ที่พิกัด 6°55′15″N 103°34′43″E / 6.92083°N 103.57861°E[4]
[5] บริเวณปากอ่าวไทย |
00:41 | 01:22 | 17:22 | เรดาร์และระบบตรวจตราทางอากาศ (ADS-B) ไม่สามารถตรวจพบ MH370 ได้อีกต่อไป |
00:49 | 01:30 | 17:30 | มีความพยายามจากเครื่องบินลำอื่นในการติดต่อ MH370 ผ่านทางเสียง โดยได้รับเสียงอู้อี้ตอบกลับมา[6] |
00:56 | 01:37 | 17:37 | ไม่ได้รับข้อมูล ACARS เป็นเวลา 30 นาที[2] |
01:41 | 02:22 | 18:22 | เรดาร์ปฐมภูมิของกองทัพมาเลเซีย ตรวจจับเครื่องบินได้ที่ 6°49′38″N 97°43′15″E / 6.82722°N 97.72083°E ราว 320 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง |
01:44 | 02:25 | 18:25 | ระบบอัตโนมัติของ MH370 สามารถติดต่อดาวเทียม Inmarsat-3 F1 และจะเริ่มการส่งสัญญาณปิงรายชั่วโมง [7] [8][9] ได้รับสัญญาณปิงเป็นครั้งแรก |
05:49 | 06:30 | 22:30 | ได้เวลาลงจอดที่ปักกิ่ง |
06:43 | 07:24 | 23:24 | ทางการมาเลเซีย แถลงเหตุเครื่องบินสูญหายแก่สื่อมวลชน[10] |
07:30 | 08:11 | 8 มีนาคม | ดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ได้รับสัญญาณปิง จาก MH370 เป็นครั้งที่หกและครั้งสุดท้าย ขณะดาวเทียมโคจรอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย[8][11] |
00:11 | |||
07:38 | 08:19 | 00:19 | พบสัญญาณปิงอ่อน ๆ จาก MH370 ที่ระบุเวลาและรายละเอียดที่แน่นอนไม่ได้ [12][13] |
08:34 | 09:15 | 01:15 | ดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ไม่ได้รับสัญญาณปิงจาก MH370 ที่ควรจะส่งมาเป็นครั้งที่เจ็ดตามกำหนดการ[8] |
การสอบสวน
[แก้]สัญชาติ | ผดส. | ลูกเรือ | รวม |
---|---|---|---|
ออสเตรเลีย | 6 | 6 | |
แคนาดา | 2 | 2 | |
จีน | 152 | 152 | |
ฝรั่งเศส[14] | 4 | 4 | |
ฮ่องกง[15] | 1 | 1 | |
อินเดีย | 5 | 5 | |
อินโดนีเซีย | 7 | 7 | |
อิหร่าน | 2 | 2 | |
มาเลเซีย | 38 | 12 | 50 |
เนเธอร์แลนด์ | 1 | 1 | |
นิวซีแลนด์ | 2 | 2 | |
รัสเซีย | 1 | 1 | |
ไต้หวัน | 1 | 1 | |
ยูเครน | 2 | 2 | |
สหรัฐอเมริกา[16] | 3 | 3 | |
ทั้งหมด (15 สัญชาติ) | 227 | 12 | 239 |
ทางการสหรัฐกำลังสอบสวนความเป็นไปได้ที่ว่าการก่อการร้ายเป็นเหตุให้เครื่องสูญหาย โดยมุ่งไปยังผู้โดยสารสี่คนที่ใช้รูปพรรณปลอม[17][18] ซึ่งสองในสี่คนนั้น เป็นชายชาวอิหร่าน ซึ่งต้องการจะต่อเครื่องจากปักกิ่งต่อไปยังยุโรป
12 มีนาคม เรดาร์ปฐมภูมิ ของระบบป้องกันภัยทางอากาศของมาเลเซียจับได้ว่า เที่ยวบิน MH370 อาจมีการเปลี่ยนเส้นทางบินกลับมายังฝั่งตะวันตกของประเทศ โดยตำแหน่งสุดท้ายที่กองทัพอากาศมาเลเซียตรวจจับเครื่องบินไม่ทราบสัญชาติได้คือราว 200 ไมล์ทะเลทีความสูง 29,000 ฟุต ห่างจากรัฐปีนังไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย โดยสัญญาณได้หายไปในเวลา 02.15 น. (UTC+8)[19]
13 มีนาคม เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ของสหรัฐอเมริกา อ้างว่าฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ตรวจสอบพบว่า มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ที่จะส่งมาทุก ๆ 30 นาทีจากเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ของอากาศยาน มายังภาคพื้นดิน โดยมีการส่งข้อมูลมาทั้งหมดติดต่อกัน 5 ชั่วโมง หรือเท่ากับว่าเครื่องบินได้บินต่อไปภายหลังสูญหายราว 4 ชั่วโมง หรือ 4,000 กิโลเมตรจากจุดที่สูญหาย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายมาเลเซียไม่ได้ตอบรับกับข่าวนี้[20]
15 มีนาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าของการสอบสวนว่า "...การสื่อสารครั้งสุดท้ายระหว่างเครื่องบินและดาวเทียมระบุถึงความเป็นไปได้ของจุดหมายปลายทางสองที่ หนึ่งคือการไปทางเหนือตั้งแต่ชายแดนของคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถานจนถึงภาคเหนือของไทย หรือไปทางใต้จากอินโดนิเซียถึงตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และขณะนี้ หน่วยสืบสวนกำลังทำงานเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่"..."[21]
ตลอดเวลาของห้วงเวลาที่สับสนนี้ รัฐบาลมาเลเซียค่อนข้างสงวนท่าทีและรอบคอบ มักจะเลี่ยงการตอบคำถามและข่าวลือต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว การเปิดเผยข้อมูลหลายข้อมูลของรัฐบาลนั้น มักจะช้ากว่าวันที่รัฐบาลมาเลเซียได้รับข้อมูลอยู่หลายวัน ซึ่งทำให้ญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินต่างไม่พอใจต่อท่าทีของรัฐบาลมาเลเซีย ตลอดจนกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังซ่อนข้อมูลบางอย่างไว้[22]
เที่ยวบินนี้มีลูกเรือทั้งหมดเป็นชาวมาเลเซีย โดยมีกัปตันคือ ซาฮารีย์ อาหมัด ชาฮ์ ชาวปีนัง อายุ 53 ปี เขาเข้าทำงานที่สายการบินนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยประสบการณ์บินทั้งหมด 18,365 ชั่วโมงบิน มีผู้ช่วยนักบินคนที่หนึ่ง คือ ฟาริค อับดุล ฮามิด อายุ 27 ปี 2,763 ชั่วโมงบิน
29 กรกฎาคม 2558 มีการพบชิ้นส่วนเครื่องบินลอยมาติดชายหาดบนเกาะเรอูนียง ทางมหาสมุทรอินเดียตะวันตก[23] ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงการณ์ยืนยันว่าชิ้นส่วนปีกเครื่องบินที่พบที่เกาะเรอูนียงเป็นของเที่ยวบินที่ 370 จริง[24][25] อย่างไรก็ตาม หนึ่งชั่วโมงหลังนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลง รองอัยการกรุงปารีส ได้ออกแถลงการณ์ว่าคณะผู้เชี่ยวชาญไม่มีการยืนยันใด ๆ ว่าชิ้นส่วนดังกล่าวมาจาก MH370
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "MH370: cockpit transcript in full". The Guardian. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 11 May 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "MH370 PC live updates / 530 17th March". Out of Control Videos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
Timing of ACARS deactivation unclear. Last ACARS message at 01:07 was not necessarily point at which system was turned off
- ↑ Adams, Guy (17 March 2014). "Was Malaysian co-pilot's last message to base a secret distress signal? Officials investigate possibility unusual sign-off may have indicated something was wrong". Daily Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-31. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ "Saturday, March 08, 04:20 PM MYT +0800 Media Statement – MH370 Incident released at 4.20pm". Malaysia Airlines. scroll down to find "March 08, 04:20 PM MYT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
- ↑ "Saturday, March 08, 09:05 AM MYT +0800 Malaysia Airlines MH370 Flight Incident – 2nd Media Statement". Malaysia Airlines. scroll down to find "2nd Media Statement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2014.
- ↑ "Pilot: I established contact with plane". New Straits Times. 9 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
- ↑ "Classic Aero services and SwiftBroadband". Inmarsat. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Malaysian government publishes MH370 details from UK AAIB". Inmarsat. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
- ↑ Rayner, Gordon (24 March 2014). "MH370: Britain finds itself at centre of blame game over crucial delays". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
- ↑ "Saturday, March 08, 07:30 AM MYT +0800 Media Statement – MH370 Incident released at 7.24am". Malaysia Airlines. scroll to bottom of page. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
- ↑ Pearlman, Jonathan; Wu, Adam (21 March 2014). "Revealed: the final 54 minutes of communication from MH370". The Daily Telegraph.
- ↑ "Missing Malaysia plane: What we know" (text, images & video). BBC News. 1 May 2014. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
- ↑ Keith Bradsher, Edward Wong, Thomas Fuller. "Malaysia Releases Details of Last Contact With Missing Plane". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 1 ผู้โดยสาร เป็น ฝรั่งเศส-จีน
- ↑ Kao, Ernest (9 March 2014). "Hong Kong woman named as passenger on board missing Malaysia Airlines flight". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
- ↑ 1 เด็ก เป็น สหรัฐ-จีน
- ↑ "Passengers with stolen passport board Malaysian Airlines Flight "a major focal point for investigators is now the identity of the two passengers and whether the plane has been targeted as a terrorist attack". Malaysia Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
- ↑ DiBlasio, Natalie and Kevin Johnson (8 March 2014). "Reports: U.S. investigating terror concerns in missing jet". Lancaster Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 9 March 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Exclusive: Radar data suggests missing Malaysia plane deliberately flown way off course – sources" (PDF). Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-24. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
- ↑ "US investigators suspect MH370 flew on for four extra hours after falling off radar". Malay Mail Online. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ "Transcript: Malaysian Prime Minister's statement on Flight 370". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ Denyer, Simon (12 March 2014). "Contradictory statements from Malaysia over missing airliner perplex, infuriate". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 14 March 2014.
- ↑ MH370 search: Reunion debris to be tested in France
- ↑ MH370: Reunion debris is from missing plane, says Najib
- ↑ "Malaysia confirms wing part washed up on beach is from missing MH370". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Accident description at the Aviation Safety Network
- Updates regarding MH370 เก็บถาวร 2014-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มาเลเซียแอร์ไลน์
- Coverage from the New Straits Times
- Meteorological and oceanographic maps and charts relevant to Flight 370
- NOAA Bathymetry & Digital Elevation Models (ocean depth in metres)