ลาตัมแอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | 5 มีนาคม ค.ศ. 1929 (95 ปี) (ในชื่อ ลิเนอาอาเอโรโปสตัลซันติอาโก-อารีกา) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | ค.ศ. 1932 (92 ปี) (ในชื่อ ลิเนอาอาเอเรอานาซีโอนัล) 17 มิถุนายน ค.ศ. 2004 (20 ปี) (ในชื่อ ลันแอร์ไลน์) 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (8 ปี) (ในชื่อ ลาตัม ชิลี) | ||||||
AOC # | LANF474J[1] | ||||||
ท่าหลัก | ซันติอาโก | ||||||
ท่ารอง | เซาเปาลู–กวารุลยุส ลิมา โบโกตา กีโต กัวยากิล อาซุนซิออน | ||||||
เมืองสำคัญ | อันโตฟากัสตา ไมแอมี | ||||||
สะสมไมล์ | ลาตัมปาส | ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์ (ค.ศ. 2000–2020) | ||||||
บริษัทลูก | ลาตัมแอร์ไลน์ ชิลี | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 163 | ||||||
จุดหมาย | 151[2] | ||||||
บริษัทแม่ | กลุ่มสายการบินลาตัม | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ลาสกอนเดส ซันติอาโก ประเทศชิลี | ||||||
บุคลากรหลัก | โรเบร์โต อัลโบ (ซีอีโอ) | ||||||
ผู้ก่อตั้ง | อาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ลาตัมแอร์ไลน์ (อังกฤษ: LATAM Airlines) หรือชื่อเดิม ลัน ชิลี (อังกฤษ: LAN Chile) เป็นสายการบินข้ามชาติและสายการบินประจำชาติชิลี โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซในซานติอาโก และมีฐานการบินรองที่เซาเปาลู ลิมา โบโกตา กีโต กัวยากิล และอาซุนซิออน[3] ลาตัมเป็นบริษัทลูกและสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งของกลุ่มสายการบินลาตัม บริษัทโฮลดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา
ลันเป็นอดีตสายการบินประจำชาติชิลีจนกระทั่งการเปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชนในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 โดยในสมัยนั้นสามารถเป็นสายการบินหลักของชิลี เอกวาดอร์ และเปรู และใหญ่เป็นอันดับสองในโคลอมเบียได้ผ่านสายการบินลูกต่างๆ ปัจจุบันลาตัมถือเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางต่างๆในลาตินอเมริกา อเมริกาเหนือ แคริบเบียน โอเชียเนีย เอเชีย และยุโรป ลาตัมเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020[4]
กลุ่มสายการบินลาตัมก่อตั้งขึ้นจากการเข้าควบคุมกิจการของลันโดยตังลิเนียสอาเอริอัสสัญชาติบราซิล ซึ่งเสร็จสิ้นมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 สายการบินได้ประกาศว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นลาตัม พร้อมเปิดตัวมีลวดลายอากาศยานใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะทาสีเครื่องบินทุกลำให้เป็นลวดลายใหม่นี้ภายในปี 2018[5][6][7] ปัจจุบันลาตัมชิลีและลาตัม บราซิลดำเนินงานแยกจากกันภายใต้บริษัทแม่ กลุ่มสายการบินลาตัมเป็นองค์กรการบินมี่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา[8]
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]สายการบินก่อตั้งขึ้นโดยอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ พลอากาศจัตวาสังกัดกองทัพอากาศชิลี ในชื่อ ลิเนอาอาเอโรโปสตัลซันติอาโก-อารีกา ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีการ์โลส อิบัญเญซ เดล กัมโป โดยได้เริ่มดำเนินงานในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1929 ต่อมาในปี 1932 สายการบินได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลิเนอาอาเอเรอานาซีโอนัลเดชิเล โดยทำการบินด้วยชื่อย่อ ลันชิลี และมีฝูงบินประกอบด้วยเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ มอตฟ์[9]
เมริโน เบนิเตซสามารถผูกขาดการบินในชิลีได้ โดยเฉพาะในเส้นทางภายในประเทศ ต่างจากประเทศอื่นๆ ในลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ที่ถูกผูกขาดด้วยสายการบินพานากราสัญชาติสหรัฐ โดยได้รับอนุญาตการทำการบินจากรัฐบาลของแต่ละประเทศที่คาดว่าได้รับอิทธิพลจากการโฆษณาของการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของชาลส์ ลินด์เบิร์ก[10] และด้วยเหตุนี้ ทำให้ลันไม่มีเครื่องบินสหรัฐในฝูงบินจนกระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง ลันได้สั่งซื้อเครื่องบินโปเตซ 560 สัญชาติฝรั่งเศสจำนวน 2 ลำในปี 1936 และยุงเคิร์ส ยู 86บีสัญชาติเยอรมันจำนวน 4 ลำถูกรวมในปี 1938 ในช่วงเวลานั้นสายการบินได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสายการบินยอยด์ อาเอเรโอ โบลิวิอาโนและฟอเซตต์เปรู และยังมีการลงนามข้อตกลงกับลุฟท์ฮันซ่าสำหรับเที่ยวบินไปและกลับจากยุโรปและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของอเมริกา
ในปี 1940 เนื่องจากข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สายการบินจึงไม่มีชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องยนต์บีเอ็มดับเบิลยูของเครื่องบินยุงเคิร์ส ลันจึงต้องเลือกที่จะนำเครื่องบินล็อคฮีด โมเดล 10เอ อิเล็กตราเข้ามาประจำการแทน พร้อมกับเริ่มใช้ล็อคฮีด ซี-60 ในปี 1941 และ ดักลาส ดีซี-3 ในปี 1945
กิจการองค์กร
[แก้]จุดหมายปลายทาง
[แก้]ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ลาตัมแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ลาตัมแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[14]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
J | W | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 15 | — | – | – | 144 | 144 | 7 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู 6 ลำให้บริการสำหรับลาตัม โคลอมเบีย |
แอร์บัส เอ320-200 | 78 | — | – | – | 168 | 168 | 26 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู 8 ลำให้บริการสำหรับลาตัม โคลอมเบีย 4 ลำให้บริการสำหรับลาตัมเอกซ์เพรส |
174 | 174 | ||||||
180 | 180 | ||||||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 6 | — | – | – | 174 | 174 | 2 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู |
แอร์บัส เอ321-200 | 18 | — | – | – | 220 | 220 | 9 ลำให้บริการสำหรับลาตัมเอกซ์เพรส |
224 | 224 | ||||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 1 | 32 | รอประกาศ | ส่งมอบตั้งแต่ปี 2023[15][16] | |||
แอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ | — | 5 | รอประกาศ | ส่งมอบตั้งแต่ปี 2025 - 2026[17] | |||
โบอิง 767-300อีอาร์ | 9 | — | 20 | – | 211 | 231 | บางส่วนจะถูกดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า[18] |
213 | 234 | ||||||
218 | 238 | ||||||
โบอิง 787-8 | 10 | — | 30 | – | 217 | 247 | |
โบอิง 787-9 | 26 | 14 | 30 | 57 | 216 | 303 | |
– | 283 | 313 | |||||
รวม | 163 | 51 |
ลาตัมแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.6 ปี
ฝูงบินในอดีต
[แก้]ลาตัมแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ318-100 | 15 | 2007 | 2013 | ใช้ในเที่ยวบินภายในประเทศ
ทั้งหมดขายให้กับลาตัม บราซิล |
แอร์บัส เอ330-200 | 2 | 2019 | 2019 | เช่าจากวามอสแอร์ |
แอร์บัส เอ340-300 | 5 | 2000 | 2015 | |
บีเออี 146–200 | 3 | 1990 | 1997 | |
โบอิง 707-320 | 11 | 1967 | 1994 | ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวแรก
(โดยแวะพักที่ปารีส–ออร์ลีย์, มาดริด, และเซาเปาลู) |
โบอิง 727-100 | 5 | 1968 | 1979 | |
โบอิง 737-200 | 33 | 1980 | 2008 | |
โบอิง 747-100 | 1 | 1989 | 1990 | เช่าจากแอร์ลิงกัส |
โบอิง 747-400 | 1 | 2018 | 2018 | เช่าจากวามอสแอร์[19] |
โบอิง 757-200[20] | 1 | 1996 | 1997 | เช่าจากไอแอลเอฟซี |
โบอิง 767-200อีอาร์ | 6 | 1986 | 1997 | |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 2 | 2018 | 2019 | เช่าจากโบอิงแคปิตอล |
คอนโซลิเดต พีบีวาย คาตาลีนา | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | |
คอนแวร์ 340 | 4 | 1961 | 1965 | |
เคอร์ติส ที-32 ค็อนดอร์ II | 3 | 1935 | 1942 | |
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ | 6 | 1974 | 1974 | |
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.160 มอตฟ์ | 2 | 1929 | ไม่ทราบ | |
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.104 โดฟ | 12 | 1949 | 1955 | |
ดักลาส ซี-47 สกายเทรน | 18 | 1946 | 1979 | |
ดักลาส ดีซี-6บี | 10 | 1955 | 1973 | ให้บริการเที่ยวบินระยะไกลเที่ยวแรกสู่ไมแอมี
(โดยแวะพักที่ลิมาและปานามาซิตี) |
แฟร์ไชลด์ เอฟซี-2 | 7 | 1932 | 1939 | |
ฟอร์ด 5-เอที-ดีเอส ไตรมอเตอร์ | 3 | 1930 | 1938 | |
ฮอว์เกอร์ ซิดเดลีย์ เอชเอส 748 | 9 | 1967 | 1978 | |
ยุงเคิร์ส ดับเบิลยู.34 | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | |
ยุงเคิร์ส ยู 52 | 1 | 1938 | 1938 | |
ยุงเคิร์ส ยู 86 | 4 | 1938 | 1940 | |
ล็อคฮีด โมเดล 10เอ อิเล็กตรา | 6 | 1941 | 1955 | |
ล็อคฮีด โมเดล 18 โลดสตาร์ | 2 | 1943 | 1944 | |
มาร์ติน 2-0-2 | 4 | 1947 | 1958 | |
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30 | 5 | 1980 | 1986 | |
โปเตซ 56 | 11 | 1936 | 1943 | |
ซูว์ดาวียาซียงการาแวล | 3 | 1964 | 1975 | ให้บริการเที่ยวบินระยะไกลเที่ยวแรกสู่ไมแอมี
(โดยแวะพักที่ลิมา, โบโกตา, และอ่าวมอนทีโก) |
ซิคอร์สกี เอส-43 | 2 | 1936 | ไม่ทราบ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Federal Aviation Administration – Airline Certificate Information – Detail View". Federal Aviation Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-01. สืบค้นเมื่อ 23 January 2017.
- ↑ "LATAM Airlines on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-09.
- ↑ "| oneworld".
- ↑ "Details | oneworld". www.oneworld.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ "LAN and TAM to operate as LATAM with a new livery" เก็บถาวร 2020-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved August 9, 2015
- ↑ "Chile's LAN Airlines completes takeover of rival TAM". Reuters. June 22, 2012.
- ↑ "LATAM's entire fleet to have new livery by 2018" retrieved August 9, 2015
- ↑ cycles, This text provides general information Statista assumes no liability for the information given being complete or correct Due to varying update; Text, Statistics Can Display More up-to-Date Data Than Referenced in the. "Topic: LATAM Airlines Group". Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-08.
- ↑ "Asociación de Pilotos en Retiro". Pilotosretiradoslan.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 14, 2011. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 20, 2013.
- ↑ "Nuestra Historía". Pilotosretiradoslan.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 10, 2011. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 20, 2013.
- ↑ "Profile on LAN Airlines". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
- ↑ Liu, Jim (4 September 2019). "Finnair / LATAM begins codeshare service from Oct 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
- ↑ Liu, Jim (16 December 2019). "LATAM / Malaysia Airlines begins codeshare partnership from mid-Dec 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ "LATAM Chile Fleet Details and History". planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 5 May 2022.
- ↑ "LATAM incorporates 3 Airbus A321neo from Air Lease Corporation". Aviacionline.com. June 3, 2022. สืบค้นเมื่อ June 3, 2022.
- ↑ "Chile's LATAM Airlines orders 17 A321neo, -XLRs". Ch-Aviation. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "LATAM To Take 5 Airbus A321XLRs from Air Lease Corporation". Simple Flying. 14 October 2022.
- ↑ "LATAM Boosts Its Freighter Business With A 3rd LATAM Boeing 767BCF". Simpleflying.com. May 25, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.
- ↑ "LATAM aluga Boeing 747 para substituir temporariamente o 787 Dreamliner". Aeroflap.com.br (ภาษาโปรตุเกส). April 19, 2018. สืบค้นเมื่อ April 19, 2018.
- ↑ "LAN Chile Fleet of B757 (History) – Airfleets aviation". www.airfleets.net. สืบค้นเมื่อ June 25, 2017.