ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู
ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู Lapangan Terbang Antarabangsa Kota Kinabalu | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | Public | ||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลมาเลเซีย | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | ท่าอากาศยานมาเลเซีย | ||||||||||
พื้นที่บริการ | โกตากีนาบาลู | ||||||||||
ที่ตั้ง | โกตากีนาบาลู, รัฐซาบะฮ์, ประเทศมาเลเซีย | ||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||
เขตเวลา | MST (UTC+08:00) | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 10 ฟุต / 3 เมตร | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ที่ตั้งของท่าอากาศยานในมาเลเซียตะวันออก | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2014) | |||||||||||
| |||||||||||
ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (อังกฤษ: Kota Kinabalu International Airport, KKIA) (IATA: BKI, ICAO: WBKK) เป็นสนามบินตั้งอยู่ในรัฐซาบะฮ์ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองโกตากีนาบาลู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 8 km (5.0 mi) เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นเป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากมีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 6.9 ล้านคนต่อปี
อาคารผู้โดยสาร 1 มีเคาน์เตอร์เช็ค-อิน 64 ที่ ให้บริการสายการบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีหลุมจอดเครื่องบิน 17 หลุม อาคารผู้โดยสารนี้รับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 3,200 คน ส่วนอาคารผู้โดยสาร 2 หรืออาคารหลังใหม่ รับเครื่องบินได้ 12 ลำ
โถงผู้โดยสารขาออก มียอดเสาเป็นลายแบบ "วากิด" ซึ่งในทางวัฒนธรรมของซาบะฮ์แล้ว วากิดเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรื่นเริงและสนุกสนาน โถงมีพื้นที่ใช้สอยในชั้นที่หนึ่ง 24,128 ตารางเมตร ชั้นที่สอง 18,511.4 ตารางเมตร และชั้นที่สาม 22,339 ตารางเมตร
ประวัติ
[แก้]ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ถูกใช้งานครั้งแรกในฐานะสนามบินขนาดเล็ก ก่อสร้างโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[3] เปิดใช้งานในชื่อ สนามบินเจตเซลตัน ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองโกตากีนาบาลู ก่อนสิ้นสุดสงคราม สนามบินได้ถูกทำลายโดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945.[4]
หลังจากสิ้นสุดสงคราม แผนกการบินพลเรือน (DCA) ของเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ (รัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน) ได้ทำการก่อสร้างอาคารสนามบินใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1957 พร้อมกับเปลี่ยนผิวทางวิ่งจากหญ้าให้กลายเป็นวัสดุคงทน[3] ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 ได้มีการขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 1,593 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินวิคเกอร์ วิสเคาต์ ของสายการบินมลายาแอร์เวย์ (ปัจจุบันสายการบินนี้ปิดทำการไปแล้ว) และได้ขยายทางวิ่งเพิ่มอีกครั้งในปี ค.ศ. 1963 โดยยาวถึง 1,921 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินไอพ่น คอเม็ท 4 ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค ได้เปิดให้บริการเครื่องบิน คอนแวร์ 880 จำนวน 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในเส้นทางฮ่องกง–มะนิลา–โกตากีนาบาลู (ปัจจุบันสายการบินนี้ ได้ยกเลิกจุดหมายปลายทางนี้แล้ว)[5] ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ และจำนวนเที่ยวบินที่ลงจอด ยังคงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ในช่วงปี ค.ศ. 1970–2000 แผนพัฒนามีดังนี้
- ขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 2,987 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินโบอิง 707 และโบอิง 747
- สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และทางวิ่งสำหรับเตรียมตัวเพิ่มเติม
- ใช้อุปกรณ์อันทันสมัย และติดตั้งไฟสัญญาณที่ทางวิ่ง
ในปี ค.ศ. 1970–1989 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขึ้น เพื่อรองรับสายการบินส่วนใหญ่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 กรมการบินพลเรือน และการท่าอากาศยานมาเลเซีย ได้เข้ามาควบคุมท่าอากาศยานแห่งนี้[3]
การขยายและการปรับปรุง
[แก้]ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลมาเลเซียอนุมัติโครงการปรับปรุงอาคารท่าอากาศยานหลัก (อาคารผู้โดยสาร 1) และการขยายทางวิ่ง ด้วยงบประมาณ 1.4 พันล้านริงกิต ได้ขยายทางวิ่งเพิ่มจาก 2,988 m (9,803 ft) ให้เป็น 3,780 m (12,402 ft) และขยายพื้นที่อาคารผู้โดยสารจาก 34,000 m2 (370,000 sq ft) ให้เป็น 87,000 m2 (940,000 sq ft) เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบิน Boeing 747, Airbus A330, Boeing 737, Fokker 50 และ Dorniers ได้ อาคารมีสะพานเทียบเครื่องบิน 12 แห่ง[6][7] และได้มีการก่อสร้างหอควบคุมการบินแห่งใหม่ขึ้น ปัจจุบัน การก่อสร้างทางวิ่งเพิ่มเติม ยังล่าช้าอยู่มาก[8]
เมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานจะสามารถรองรับเครื่องบินที่ใหญ่สุด ซึ่งก็คือ Airbus A380 ได้ และจะกลายเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในมาเลเซีย ซึ่งมีผู้โดยสาร 12 ล้านคนต่อปี โดยเป็นผู้โดยสารที่ใช้งานอาคารหนึ่ง 9 ล้านคน และอาคารสองอีก 3 ล้านคน[9]
ปัจจุบัน เครื่องบินขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถลงจอดที่สนามบินนี้ได้ คือ Boeing 777-200ER ให้บริการโดยสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์[10], มาเลเซียแอร์ไลน์[11][12] และดราก้อนแอร์ (เฉพาะฤดู)[13]
ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู เป็นสนามบินแห่งแรกที่เครื่องบิน โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ของสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ลงจอด โดยลงจอดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013[14]
อาคารผู้โดยสาร
[แก้]อาคารผู้โดยสาร 1
[แก้]อาคารผู้โดยสาร 1 เป็นอาคารหลักของสนามบินนี้ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและก่อสร้างส่วนต่อขยาย เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 9 ล้านคนต่อปี จากเดิม 2.5 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีร้านคาปลอดภาษี, ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว, ห้องรับรองสายการบิน และภัตตาคาร
ส่วนต่อขยายแรก เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สำหรับสายการบินระหว่างประเทศ และส่วนต่อขยายที่ 2 เปิดทำการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สำหรับสายการบินภายในประเทศ เมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ อาคารนี้จะประกอบไปด้วย
- เคาน์เตอร์เช็ค-อิน 64 ช่วง
- เครื่องตรวจร่างกาย 2 เครื่อง และเครื่องตรวจกระเป๋าอีก 5 เครื่อง
- ช่องตรวจคนเข้าเมือง 36 ช่อง
- สายพานกระเป๋า 6 สาย
- ชั้นทั้งหมด 3 ชั้น (ชั้นแรก: ขาเข้า, ชั้นที่สอง: ที่ทำการสนามบิน, ชั้นที่สาม: เคาน์เตอร์เช็ค-อิน และขาออก)
- สะพานเทียบเครื่องบิน 9 ตัว
- หลุมจอดเครื่องบิน 17 หลุม
- ที่จอดรถ 1,400 คัน
เที่ยวบินแรกที่ได้ใช้งานในอาคารส่วนต่อขยายใหม่ คือ มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 2637 ออกจากสนามบินเวลา 6 นาฬิกา 50 นาที มุ่งหน้าท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่เที่ยวบินก่อนหน้าเมื่อเวลา 0 นาฬิกา 25 นาที ใช้งานในอาคารส่วนเก่า
มาเลเซียแอร์ไลน์ เป็นสายการบินหลักของท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู[15]
อาคารผู้โดยสาร 2
[แก้]อาคารผู้โดยสาร 2 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเป็นอาคารหลักแทนอาคารผู้โดยสาร 1 โดยตั้งอยู่ด้านข้างทางวิ่งจากอาคารผู้โดยสาร 1 อาคารนี้ใช้งานเป็นอาคารสายการบินราคาประหยัด โดยสายการบินที่เปิดใช้งาน คือ แอร์เอเชีย อาคารนี้ได้ปรับปรุงและเปิดใช้งานวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 พร้อมกับคำโฆษก ท่องเที่ยวมาเลเซีย 2007 ในอนาคต อาจย้ายสายการบินอื่นมาที่อาคารนี้[16]
อาคาร 2 มีเคาน์เตอร์เช็ค-อิน 26 ช่อง ทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีหลุมจอด 6 หลุม เครื่องบินหลักได้แก่ โบอิง 737 และแอร์บัส เอ 320 มีเครื่องตรวจกระเป๋า 7 ตัว ช่องตรวจคนเข้าเมือง 13 ช่อง อาคารนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 3 ล้านคนต่อปี[9]
สายการบินที่ให้บริการ
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | อาคารผู้โดยสาร |
---|---|---|
แอร์เอเชีย | กว่างโจว, หางโจว, ฮ่องกง, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, โจโฮร์บะฮ์รู, โกตาบาห์รู, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, มิริ, ปีนัง, ซันดากัน, เซินเจิ้น, สิงคโปร์, ไทเป-เถาหยวน, ตาเวา, กรุงเทพ-ดอนเมือง ยกเลิกไปก่อน จะกลับมาในอนาคต | 2 |
แอร์เอเชียเซสต์ | เซบู (สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2015), มะนิลา | 2 |
เอเชียนาแอร์ไลน์ | โซล-อินช็อน, ปูซาน | 1 |
เซบูแปซิฟิก | มะนิลา | 1 |
ดราก้อนแอร์ | ฮ่องกง | 1 |
อีสเตอร์เจ็ต | โซล-อินช็อน | 1 |
อินโดนีเซียแอร์เอเชีย | เดนปาซาร์, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา | 2 |
จินแอร์ | โซล-อินช็อน | 1 |
จินแอร์ ร่วมกับ โคเรียนแอร์ |
โซล-อินช็อน | 1 |
มาเลเซียแอร์ไลน์ | ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, ลาบวน, เพิร์ท, ซันดากัน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ไทเป-เถาหยวน, ตาเวา, โตเกียว-นะริตะ | 1 |
เอ็มเอเอสวิงส์ ร่วมกับ มาเลเซียแอร์ไลน์ |
บินตูลู, กูชิง, กูดัต, ลาบวน, ลาฮัดดาตู, ลาวัส, มิริ, มูลู, ซันดากัน, ซีบู, ตาเวา | 1 |
มาลินโดแอร์ | กัวลาลัมเปอร์ | 1 |
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | 1 |
ซิลค์แอร์ | สิงคโปร์ | 1 |
จำนวนผู้โดยสาร
[แก้]1994 | 2,096,241 | 24,270 | 40,608 | |||
1995 | 2,554,181 | 21.8 | 29,537 | 21.7 | 43,882 | 8.0 |
1996 | 2,622,190 | 2.7 | 23,099 | 21.8 | 45,726 | 4.2 |
1997 | 2,732,146 | 4.2 | 37,203 | 61.1 | 49,148 | 7.5 |
1998 | 2,393,431 | 12.9 | 27,942 | 24.9 | 38,716 | 21.2 |
1999 | 2,752,207 | 15.0 | 27,087 | 3.1 | 40,634 | 5.0 |
2000 | 3,092,326 | 12.3 | 27,347 | 1.0 | 41,411 | 2.0 |
2001 | 3,036,196 | 1.8 | 24,887 | 9.0 | 40,157 | 3.0 |
2002 | 3,256,212 | 7.2 | 28,112 | 13.0 | 44,528 | 10.9 |
2003 | 3,302,366 | 1.4 | 25,638 | 8.8 | 44,748 | 0.5 |
2004 | 3,918,201 | 18.6 | 27,191 | 6.1 | 52,352 | 17.0 |
2005 | 3,975,136 | 1.4 | 25,473 | 6.3 | 51,824 | 1.0 |
2006 | 4,015,221 | 1.0 | 28,356 | 11.3 | 52,055 | 0.4 |
2007 | 4,399,939 | 9.6 | 35,638 | 25.7 | 52,047 | 0.01 |
2008 | 4,689,164 | 6.6 | 34,532 | 3.1 | 54,317 | 4.4 |
2009 | 4,868,526 | 3.8 | 25,079 | 27.4 | 53,554 | 1.4 |
2010 | 5,223,454 | 7.3 | 26,733 | 6.6 | 55,241 | 3.2 |
2011 | 5,808,639 | 11.2 | 28,534 | 6.7 | 59,638 | 8.0 |
2012 | 5,848,135 | 0.7 | 23,563 | 17.4 | 58,366 | 2.1 |
2013 | 6,929,692 | 18.5 | 21,922 | 7.0 | 67,601 | 15.8 |
2014 | 6,792,968 | 2.1 | 23,769 | 8.4 | 73,074 | 8.1 |
สายการบินที่เคยให้บริการ
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
ไทยสมายล์ การบินไทย |
กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพ-ดอนเมือง |
เส้นทางการบิน
[แก้]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kota Kinabalu International Airport at Malaysia Airports Holdings Berhad
- ↑ WBKK – KOTA KINABALU INTERNATIONAL AIRPORT เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Department of Civil Aviation Malaysia
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Profile เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Department of Civil Aviation, Sabah. Accessed 10 April 2007.
- ↑ "USAAF Chronology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
- ↑ timetableimages.com, Cathy Pacific 16 April 1967 system timetable
- ↑ "Airport expansion of national interest: CM" เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Express News, 12 April 2006.
- ↑ Design and Build Contract – Upgrading of the Kota Kinabalu International Airport Project (Package 1 – Terminal Building and Landside Infrastructure & Facilities) เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WCT Engineering Berhad. Accessed 11 May 2007.
- ↑ "KKIA to get ILS in 2014" เก็บถาวร 2013-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Malaysian Insider,
- ↑ 9.0 9.1 "LCC terminal ready year end" เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Express News, 23 May 2006.
- ↑ ""Boeing 777-200ER in Kota Kinabalu"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
- ↑ ""Boeing 777-200ER in Kota Kinabalu"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
- ↑ ""Airbus A330-300 in Kota Kinabalu"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
- ↑ ""Airbus A330-300 in Kota Kinabalu"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-14.
- ↑ "B787 Dreamliner Flight Schedule – Regional Services"
- ↑ Kota Kinabalu International Airport, A-Z World Airports Online. Accessed 11 May 2007.
- ↑ "MAHB targets 45.5 m in passenger traffic" เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Edge Daily, 26 February 2007.
- ↑ "MAHB Annual Report 2014" (PDF). malaysiaairports.com.my. 14 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-14. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kota Kinabalu International Airport at Malaysia Airports Holdings Berhad
- Kota Kinabalu International Airport เก็บถาวร 2012-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Borneo Trade
- Department of Civil Aviation Sabah เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Photos taken from BKI เก็บถาวร 2007-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Current weather for WBKK at NOAA/NWS
- Accident history for BKI at Aviation Safety Network
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
[แก้]- 6 มิถุนายน ค.ศ. 1976 – เครื่องบินของซาบะฮ์แอร์ เกิดอุบัติเหตุตกบริเวณเซิมบูลัน ผู้โดยสารเสียชีวิต 11 คน หนึ่งในนั้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีมาเลเซีย เหตุการณ์ครั้งนั้นถูกเรียกว่า "โศกนาฏกรรมเลขหกอาถรรพ์" (เพราะเกิดในวันที่ 6 เดือน 6 ปีลงท้ายด้วย 6)
- 6 กันยายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบินส่วนตัว ประกอบด้วยชาวอเมริกัน 10 คน และชาวอังกฤษ 2 คน ตกลงไปในป่าใกล้กับฮูลูคีมานิส ชานเมืองปาปาร์ ห่างจากสนามบินนี้ 50 กิโลเมตร
- 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบินส่วนตัว Pilatus Porter เกิดอุบัติเหตุตก ตำรวจ 3 นายด้านล่างเสียชีวิต
- 18 กันยายน ค.ศ. 1993 – พื้นทางวิ่งเกิดยุบตัวเป็นพื้นที่ขนาด 13.5 ตารางเมตร ทำให้ต้องปิดทำการสนามบิน 70 นาที
- 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 – สายการบินดราก้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 60 จากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง โดยเครื่องบิน Airbus A330-342 เจอหลุมอากาศขณะบินผ่านทะเลจีนใต้ ลูกเรือและผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 15 คน ต่อมาเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย
- 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 – สายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 104 โดยเครื่องบิน Boeing 737-300 เกิดลื่นไถลระหว่างลงจอด ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 3 คน ซึ่งต่อมาได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลควีนเอลิซาเบธ ในโกตากีนาบาลู
- 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 – เครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย เกิดยางไหม้ เวลา 10 นาฬิกา 30 นาที ทำให้ทางสนามบินต้องปิดทำการชั่วโมงกว่า ๆ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
- 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012 – สนามบินปิดทำการ เนื่องจากไฟส่องสว่างที่ทางวิ่งทำงานผิดปกติ
- 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 – เครื่องบิน Maswings Twin Otter มุ่งหน้าสู่กูดั๊ต ชนเข้ากับบ้านหลังหนึ่งในบริเวณกัมปุงซินซัน ห่างจากกูดั๊ต 200 เมตร นักบินและผู้โดยสารอีก 1 คน เสียชีวิต