ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jordan)
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน

المملكة الأردنية الهاشمية
(อาหรับ)
คำขวัญ"พระเจ้า, มาตุภูมิ, กษัตริย์"[1]
(الله، الوطن، الملك)
ที่ตั้งของจอร์แดน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อัมมาน
31°57′N 35°56′E / 31.950°N 35.933°E / 31.950; 35.933
ภาษาราชการอาหรับ[2]
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
เดมะนิมชาวจอร์แดน
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา
ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
Jafar Hassan
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
11 เมษายน ค.ศ. 1921
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1946
11 มกราคม ค.ศ. 1952
พื้นที่
• รวม
89,342 ตารางกิโลเมตร (34,495 ตารางไมล์) (อันดับที่ 110)
0.6
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
11,042,719[3] (อันดับที่ 84)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2015
9,531,712[4]
114 ต่อตารางกิโลเมตร (295.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 70)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.22180 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 93)
เพิ่มขึ้น 11,861 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 117)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 4.7745 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 93)
เพิ่มขึ้น 4,635 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 103)
จีนี (ค.ศ. 2011)35.4[6]
ปานกลาง · อันดับที่ 79
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.720[7]
สูง · อันดับที่ 102
สกุลเงินดีนาร์จอร์แดน (JOD)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+962
โดเมนบนสุด.jo
.الاردن
เว็บไซต์
jordan.gov.jo

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (อังกฤษ: Hashemite Kingdom of Jordan; อาหรับ: المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (อังกฤษ: Jordan; อาหรับ: الأردن) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ทางทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์

จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกาบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ระบอบการปกครอง ระบอบราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ สมเด็จพระราชาธิบดีธิบดีเป็นประมุขรัฐ

บริหาร

[แก้]

ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

นิติบัญญัติ

[แก้]

ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 สภา เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Majlis an-Nuwāb) และ สมาชิกวุฒิสภา (Majlis al-'Aayan) สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง 150 คน

ตุลาการ

[แก้]

ฝ่ายตุลาการ เป็นระบบศาลสูง (High Court) ระบบกฎหมายใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานผสมกับกฎหมายออตโตมัน-อียิปต์ โดยนำรูปแบบมาจากประมวลกฎหมายนโปเลียนเป็นประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่ประเทศจอร์แดนแสดงเขตผู้ว่าราชการ

ประเทศจอร์แดนแบ่งการปกครองออกเป็น 12 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ซึ่งมีผู้ว่าราชการที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดี เป็นเจ้าหน้าที่สำหรับทุกกรมของรัฐบาลและโครงการพัฒนาในแต่ละเขตเพียงผู้เดียว

เศรษฐกิจ

[แก้]
Graphical depiction of Jordan's product exports in 28 color-coded categories.

ใน พ.ศ. 2542 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน ได้ทรงดำเนินนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เช่น การดำเนินนโยบายการค้าเสรี เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ

ทรัพยากรธรรมชาติ

[แก้]
ขบวนรถไฟกำลังวิ่งผ่านสถานีชุมทางแรม

จอร์แดนไม่มีทรัพยากรน้ำมันเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติจำกัด ภูมิอากาศที่แห้งแล้ง และมีพื้นที่เพาะปลูกเฉพาะเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำจอร์แดน รัฐบาลจอร์แดนจึงต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอกโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศอาหรับ

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ชนชาติ

[แก้]

ชาวอาหรับร้อยละ 98, ชาวอาร์มีเนียร้อยละ 1 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1

ศาสนา

[แก้]
มัสยิดอาดูดาร์วีซ
ศาสนาในประเทศจอร์แดน
ศาสนา %
อิสลาม
  
96%
คริสต์
  
4%

อ้างอิง

[แก้]
  1. Temperman, Jeroen (2010). State-Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance. Brill. p. 87. ISBN 978-90-04-18148-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2017. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  2. "Jordanian Constitution". Hashemite Kingdom of Jordan Constitutional Court. Hashemite Kingdom of Jordan Constitutional Court. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  3. "Population clock". Jordan Department of Statistics. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
  4. Ghazal, Mohammad (22 January 2016). "Population stands at around 9.5 million, including 2.9 million guests". The Jordan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, April 2022". IMF.org. International Monetary Fund. April 2022. สืบค้นเมื่อ April 19, 2022.
  6. "Gini index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  7. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]