เครือข่ายบิตคอยน์
เครือข่ายบิตคอยน์ (อังกฤษ: bitcoin network) เป็นระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินงานโดยใช้โพรโทคอลวิทยาการเข้ารหัสลับ คือผู้ใช้จะส่งหรือรับบิตคอยน์ ซึ่งเป็นเงินคริปโทสกุลหนึ่ง โดยแพร่สัญญาณเป็นข้อความที่ได้ลงนามแบบดิจิทัลไปยังเครือข่าย ผ่านการใช้โปรแกรมกระเป๋าเงินคริปโท (cryptocurrency wallet) ธุรกรรมจะบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสาธารณะแบบกระจายและมีสำเนาซ้ำซ้อนที่เรียกว่า บล็อกเชน โดยเครือข่ายจะถึงความเห็นพ้องเกี่ยวกับสถานะบัญชีผ่านระบบ Proof-of-work system ซึ่งเรียกว่า ไมนิง/การขุดหาเหรียญ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้ออกแบบบิตคอยน์อ้างว่า การออกแบบและการทำให้เกิดผลได้เริ่มในปี 2007 แล้วต่อมาจึงเผยแพร่เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ซในปี 2009
เครือข่ายมีโครงสร้างไม่มากเพื่อให้สามารถแชร์ธุรกรรมได้ คือ การมีเครือข่ายสถานีอาสาแบบไร้ศูนย์ ซึ่งออกแบบให้ทำงานเฉพาะกิจ ก็เพียงพอแล้ว ข้อความจะแพร่สัญญาณ (broadcast) ในรูปแบบพยายามดีที่สุด (best-effort delivery) โดยสถานีต่าง ๆ จะสามารถออกจากเครือข่าย แล้วกลับเข้าร่วมใหม่ตามใจชอบ เมื่อเชื่อมกับเครือข่ายใหม่ สถานีก็จะดาวน์โหลดและพิสูจน์ยืนยันบล็อกใหม่ ๆ จากสถานีอื่น ๆ เพื่อบูรณาการก๊อปปี้บล็อกเชนของตนเอง[1][2]
ธุรกรรม
[แก้]ความเป็นเจ้าของบิตคอยน์จะระบุได้โดยลำดับธุรกรรมที่ลงนามดิจิทัลเริ่มตั้งแต่การสร้างบิตคอยน์ เจ้าของบิตคอยน์จะโอนเงินโดยลงนามดิจิทัลเพื่อให้แก่เจ้าของคนต่อไปคล้ายกับการสลักหลังเช็ค โดยผ่านธุรกรรมของบิตคอยน์ และผู้รับจ่ายก็สามารถตรวจสอบธุรกรรมก่อน ๆ เพื่อยืนยันโซ่ความเป็นเจ้าของ แต่ไม่เหมือนกับการสลักหลังเช็ค ธุรกรรมของบิตคอยน์จะย้อนคืนไม่ได้ ซึ่งกำจัดความเสี่ยงการฉ้อฉลโดยการขอเงินคืนจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นคนกลาง เช่น chargeback fraud[3]
แม้จะสามารถทำธุรกรรมต่อเหรียญ ๆ หนึ่ง แต่ก็จะทำให้จัดการได้ยากถ้าบังคับให้ทำธุรกรรมต่างหาก ๆ สำหรับบิตคอยน์แต่ละเหรียญทั้งหมดที่ต้องการโอน ดังนั้น ธุรกรรมจึงสามารถโอนเหรียญจากธุรกรรม "ขาเข้า" หลายธุรกรรม ไปยังที่อยู่ "ขาออก" หลายที่อยู่[4] [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ซึ่งทำให้สามารถแตกเหรียญและรวมเหรียญได้ ธุรกรรมที่สามัญจะมีธุรกรรมขาเข้าเดียวที่มีเงินจำนวนมากกว่า หรือธุรกรรมขาเข้าหลายอันซึ่งรวบรวมจำนวนบิตคอยน์ที่น้อยกว่า และจะมีบัญชีขาออกหนึ่งหรือสองบัญชี คือ บัญชีที่จะจ่าย และถ้ามี การทอนเงินคืนไปยังบัญชีเจ้าของ ความต่างระหว่างเงินเข้าและเงินออกในธุรกรรมหนึ่ง ๆ จะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้ขุดหาเหรียญ ซึ่งเป็นผู้บันทึกธุรกรรม[1]
การขุดหาเหรียญ (Mining)
[แก้]เพื่อตั้งบริการตราเวลาแบบกระจายโดยใช้เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ บิตคอยน์ใช้ระบบพิสูจน์ว่าได้ทำงาน (proof-of-work system)[A][2] งานบริการเช่นนี้บ่อยครั้งเรียกว่า การขุดหาบิตคอยน์ (bitcoin mining) ค่าแฮชที่เป็นค่าพิสูจน์จะต้องค้นพบ ไม่ใช่อะไรที่สามารถรู้ล่วงหน้าได้[6] เป็นงานที่ใช้พลังงานมาก[7] ค่าไฟฟ้าอาจเป็นค่าใช้จ่ายถึง 90% ของผู้ขุดหาเหรียญ[8] ศูนย์ข้อมูลในจีน ซึ่งออกแบบเพื่อขุดหาเหรียญบิตคอยน์โดยหลัก คาดว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าถึง 135 เมกะวัตต์[9]
การบังคับให้พิสูจน์ว่าได้ทำงานเพื่อเป็นค่าแฮชของบล็อก เป็นนวัตกรรมหลักของซาโตชิ นากาโมโตะ[6] กระบวนการขุดหาเหรียญจะต้องหาบล็อกที่เมื่อคำนวณค่าแฮชสองครั้งด้วย SHA-256 จะให้ตัวเลขน้อยกว่าเกณฑ์ความยากลำบากที่ตั้งไว้ แม้งานที่ต้องทำโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นแบบผกผันกับความยากลำบากของเกณฑ์ที่ว่า (คือตัวเลขน้อยลงเท่าไร ก็ยากขึ้นเท่านั้น) ค่าสามารถยืนยันพิสูจน์ว่าถูกต้องได้โดยการคำนวณค่าแฮชสองครั้งเพียงรอบเดียว
สำหรับเครือข่ายตราเวลาของบิตคอยน์ ค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงานจะพบได้โดยเพิ่มค่า nonce ภายในบล็อก จนกระทั่งเจอค่าซึ่งทำให้ค่าแฮชของบล็อกมีบิต 0 นำหน้าตามจำนวนที่กำหนด เมื่อได้ค่าแฮชที่ถูกต้องแล้ว บล็อกนั้นไม่สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่คำนวณค่าแฮชใหม่ เพราะบล็อกต่อ ๆ มาก็จะต่อเป็นลูกโซ่ซึ่งแต่ละบล็อก ๆ ล้วนบันทึกค่าแฮชของบล็อกที่มาก่อนหน้า ถ้าจะเปลี่ยนบล็อก ๆ หนึ่งที่อยู่ในโซ่แล้ว ก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนบล็อกต่อ ๆ มาแล้วคำนวณค่าแฮชของบล็อกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ความเห็นพ้องของสถานีส่วนใหญ่ในระบบบิตคอยน์ จะแสดงโดยโซ่ที่ยาวสุด ซึ่งต้องใช้ความพยายามมากสุดเพื่อสร้าง ดังนั้น ถ้าสถานีที่ซื่อสัตย์เป็นผู้ควบคุมกำลังคอมพิวเตอร์โดยมาก โซ่ที่เที่ยงตรงก็จะงอกเร็วสุด เพื่อจะแก้ข้อมูลในบล็อกอดีต ผู้ทำการไม่ชอบจะต้องคำนวณค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงานของบล็อกนั้น และของบล็อกต่อ ๆ มาหลังจากนั้น แล้วทำการได้มากกว่าสถานีที่ซื่อสัตย์ โอกาสที่ผู้ทำการไม่ชอบซึ่งทำงานได้ช้ากว่า จะทำการตามโซ่ที่เที่ยงตรงได้ทัน จะลดลงอย่างเป็นเลขยกกำลังเมื่อมีบล็อกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[2] เพื่อชดเชยความเร็วของฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และความสนใจในการสร้างบล็อกที่มากน้อยต่าง ๆ กันตามเวลา ความยากในการหาค่าแฮชจะปรับทุก ๆ 2 อาทิตย์โดยคร่าว ๆ ถ้าสร้างบล็อกได้เร็วเกินไป ก็จะทำให้ยากขึ้นโดยต้องคำนวณค่าแฮชเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างบล็อกใหม่ (ซึ่งเป็นการสร้างหน่วยเงินใหม่ด้วย)[2]
ความยาก
[แก้]การขุดหาเหรียญบิตคอย์เป็นเรื่องที่ต้องแข่งขัน มี "การแข่งขันในทางอาวุธ" คือแข่งใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อคำนวณแฮชในการขุดหาบิตคอยน์ รวมทั้งหน่วยประมวลผลกลางธรรมดา ๆ หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ไฮเอนด์ซึ่งเป็นอุปกรณ์สามัญในคอมพิวเตอร์สำหรับเกมมิง เอฟพีจีเอ และวงจรรวมเฉพาะงาน (ASIC) ซึ่งแต่ละอย่างล้วนลดผลกำไรที่ได้จากเทคโนโลยีที่เฉพาะพิเศษน้อยกว่า ASIC เฉพาะบิตคอยน์ปัจจุบันเป็นวิธีการหลักเพื่อขุดหาบิตคอยน์ และเอาชนะความเร็วของ GPU ได้อาจถึง 300 เท่า[10] เพราะบิตคอยน์ขุดหาได้ยากขึ้น บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จึงขายผลิตภัณฑ์ ASIC ในชั้นสูงได้มากขึ้น[11]
กำลังของคอมพิวเตอร์บ่อยครั้งจะแชร์กันเป็นกลุ่ม (mining pool) เพื่อลดความไม่แน่นอนของรายได้ผู้ขุดหาเหรียญ เพราะผู้ขุดหาเหรียญแบบบุคคล บ่อยครั้งต้องรอนานเพื่อโอกาสยืนยันพิสูจน์บล็อกธุรกรรมแล้วได้รับค่าทดแทน แต่เมื่อทำเป็นกลุ่ม ผู้ขุดเหรียญทั้งหมดจะได้ค่าทดแทนทุก ๆ ครั้งที่สมาชิกในกลุ่มได้สร้างบล็อกที่ถูกต้องขึ้น โดยค่าทดแทนที่ได้จะขึ้นอยู่กับงานที่ผู้ขุดหาเหรียญทำในการหาค่าแฮชของบล็อกที่ว่านั้น[12]
ศูนย์ข้อมูลบิตคอยน์มักจะไม่แสดงตัวและอยู่กระจายไปทั่วโลก แม้ก็มักจะรวมกันอยู่ในที่ไฟฟ้ามีราคาถูก[8]
การใช้พลังงาน
[แก้]ในข่าวปี 2013 นักข่าวได้ประเมินการใช้พลังงานเพื่อขุดหาบิตคอยน์ที่ประมาณ 40.9 เมกะวัตต์ (982 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อวัน) ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม[13] ในปี 2014 นักข่าวอีกท่านประเมินการใช้พลังงานที่ 80.7 เมกะวัตต์[14] โดยปี 2015 นิตยสาร The Economist ประเมินว่า แม้ถ้าผู้ขุดหาเหรียญทั้งหมดใช้อุปกรณ์/สถานที่อำนวยกิจที่ทันสมัย การใช้พลังงานไฟฟ้ารวมกันจะอยู่ที่ 166.7 เมกะวัตต์ (หรือ 1.46 เทระวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี)[15]
เพื่อลดค่าใช้จ่าย ผู้ขุดหาบิตคอยน์ได้จัดตั้งในที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ที่พลังงานความร้อนใต้พิภพมีราคาถูก และการทำความเย็นด้วยอากาศเขตอาร์กติกเป็นของฟรี[16] ส่วนผู้ขุดหาบิตคอยน์ชาวจีนบางคนใช้ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำในทิเบตเพื่อลดค่าใช้จ่าย[17]
กระบวนการ
[แก้]มุมมองกว้าง ๆ ของกระบวนการขุดหาบิตคอยน์ก็คือ[2]
- ธุรกรรมใหม่ ๆ จะแพร่สัญญาณไปยังทุกสถานี
- ผู้ขุดหาเหรียญแต่ละสถานี จะรวมธุรกรรมต่าง ๆ เข้าในบล็อกหนึ่ง
- ผู้ขุดหาเหรียญจะหาค่าแฮชพิสูจน์ว่าได้ทำงาน (proof-of-work) สำหรับบล็อกที่ตนต้องการเพิ่ม
- เมื่อสถานีหนึ่งพบค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงาน ก็จะแพร่สัญญาณบล็อกนั้น (พร้อมกับค่าแฮช) ไปยังทุกสถานี
- สถานีที่ได้รับ จะยืนยันพิสูจน์ความถูกต้องของธุรกรรมในบล็อกนั้น แล้วยอมรับก็ต่อเมื่อธุรกรรมถูกต้องทุกรายการ
- สถานีแสดงการยอมรับโดยสร้างบล็อกต่อไปโดยใช้ค่าแฮชใหม่ของบล็อกที่ได้ยอมรับ
บิตคอยน์ที่ขุดหาได้
[แก้]โดยกฎแล้ว ธุรกรรมแรกของบล็อกเป็นธุรกรรมพิเศษที่สร้างบิตคอยน์ใหม่ซึ่งผู้สร้างบล็อกจะเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้สถานีต่าง ๆ สนับสนุนเครือข่าย[1] และยังเป็นวิธีสร้างบิตคอยน์ใหม่เข้าระบบ แต่รางวัลการขุดเหรียญจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ 210,000 บล็อก โดยเริ่มที่ 50 เหรียญ ลดลงเหรือ 25 เหรียญปลายปี 2012 แล้วเหลือ 12.5 เหรียญในปี 2016[18] กระบวนการลดรางวัลครึ่งหนึ่งนี้ ได้โปรแกรมให้เกิด 64 ครั้ง ก่อนจะยุติการสร้างเหรียญใหม่ ๆ อีกต่อไป[18]
ความปลอดภัย
[แก้]มีการพิจารณาถึงวิธีการใช้เครือข่ายบิตคอยน์ซึ่งเป็นระบบการจ่ายเงินโดยไม่ชอบ ไม่ว่าจะโดยความจริงหรือโดยทฤษฏี โพรโทคอลของบิตคอยน์สามารถป้องกันการใช้โดยมิชอบที่ว่าบางอย่าง เช่น การใช้จ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้จ่ายเกินกว่าครั้ง (double spending) การปลอมบิตคอยน์ และการเปลี่ยนข้อมูลในบล็อกเชน ส่วนการกระทำโดยมิชอบอื่น ๆ เช่น การขโมยกุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้ต้องระวังเอง[19][20]
การใช้จ่ายโดยไม่ได้อนุญาต
[แก้]การใช้จ่ายโดยไม่ได้อนุญาตจะป้องกันโดยเทคนิควิทยาการเข้ารหัสลับคือกุญแจสาธารณะ-ส่วนตัว (การเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร) ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออะลิซโอนบิตคอยน์ให้บ๊อบ บ๊อบก็จะกลายเป็นเจ้าของใหม่ของบิตคอยน์นั้น ๆ อีฟผู้สังเกตเห็นธุรกรรมอาจจะต้องการขโมยใช้บิตคอยน์ที่บ๊อบพึ่งได้ แต่เธอก็จะไม่สามารถลงนามอย่างถูกต้องเพื่อสร้างธุรกรรมใหม่โดยไม่รู้กุญแจส่วนตัวของบ๊อบ[20]
การใช้จ่ายเกินกว่าครั้ง (double spending)
[แก้]ปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่งที่ระบบจ่ายเงินทางอินเทอร์เน็ตต้องแก้ได้ก็คือ การใช้จ่ายเกินกว่าครั้ง (double spending) ที่ผู้ใช้โอนเหรียญเดียวกันให้แก่บุคคลสองคน ตัวอย่างก็คือ อีฟส่งบิตคอยน์ไปให้อะลิซแล้วก็ส่งเหรียญเดียวกันไปให้บ๊อบอีก เครือข่ายบิตคอยน์ป้องกันการกระทำมิชอบเช่นนี้ได้ โดยบันทึกการโอนบิตคอยน์ทั้งหมดในบัญชีแยกประเภท (คือในบล็อกเชน) ที่ทุกคนสามารถเห็น และยืนยันก่อนว่า บิตคอยน์ที่ต้องการโอนทั้งหมดยังไม่เคยใช้ในอดีต[20]: 4
การกระทำไม่ชอบโดยการแข่ง (race attack)
[แก้]ถ้าอีฟโอนบิตคอยน์ให้อะลิซเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าโดยลงนามในธุรกรรม ก็ยังเป็นไปได้ที่เธอจะสร้างธุรกรรมอีกรายการหนึ่งในเวลาเดียวกันแล้วส่งบิตคอยน์เดียวกันไปให้บ๊อบ แต่โดยกฎ เครือข่ายจะรับธุรกรรมเดียวเท่านั้น นี่เรียกว่า การกระทำไม่ชอบโดยการแข่ง (race attack) เนื่องจากมีการแข่งว่า ธุรกรรมรายการไหนจะได้การยอมรับก่อน อะลิซสามารถลดความเสี่ยงการกระทำไม่ชอบเช่นนี้โดยมีข้อแม้ว่า จะไม่ส่งสินค้าให้จนกว่าการโอนบิตคอยน์ให้เธอจะปรากฏในบล็อกเชน[21]
รูปแบบอีกอย่างหนึ่งของการกระทำไม่ชอบโดยการแข่ง (โดยตั้งชื่อว่า Finney attack ตามชื่อนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ Hal Finney) จะต้องได้การร่วมมือจากผู้ขุดหาเหรียญ แทนที่จะส่งคำสั่งจ่ายบ๊อบและอะลิซจากเหรียญเดียวกันทั้งสองรายการไปยังเครือข่าย อีฟส่งคำสั่งจ่ายอะลิซเท่านั้นไปยังเครือข่าย ในขณะที่คนขุดหาเหรียญผู้สมรู้ร่วมคิดพยามสร้างบล็อกที่สั่งจ่ายให้บ๊อบแทน มีความเป็นไปได้ว่า ผู้สมรู้ร่วมคิดจะสร้างบล็อกสำเร็จก่อนเครือข่าย ในกรณีนี้ การจ่ายให้อะลิซจะถูกยกเลิก เช่นเดียวกับการกระทำไม่ชอบโดยการแข่งธรรมดา อะลิซสามารถลดความเสี่ยงกรณีนี้ โดยรอให้การจ่ายปรากฏในบล็อกเชนก่อน[22]
การเปลี่ยนประวัติ
[แก้]แต่ละบล็อกที่ต่อเข้ากับบล็อกเชน เริ่มตั้งแต่บล็อกธุรกรรมที่เป็นประเด็น จะเรียกได้ว่า เป็นการยืนยันธุรกรรมนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัย ร้านค้าบริการที่ได้รับเงินเป็นบิตคอยน์ ควรจะรอการยืนยันที่ส่งกระจายไปยังเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ก่อนจะสมมุติว่าจ่ายแล้ว และยิ่งได้การยืนยันมากขึ้นเท่าไร การใช้ระบบโดยไม่ชอบเพื่อยกเลิกธุรกรรมนั้น ๆ ในบล็อกเชน ก็จะยากขึ้นเท่านั้น ยกเว้นถ้าผู้ทำการไม่ชอบควบคุมกำลังเครือข่ายเกินกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่เรียกว่าการกระทำไม่ชอบโดย 51% (51% attack)[23]
การระบุตัวผู้ใช้
[แก้]การระบุตัวผู้ใช้ (deanonymisation) เป็นกลยุทธ์การทำเหมืองข้อมูลที่นำข้อมูลนิรนามไปเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่น เพื่อระบุตัวของผู้ใช้ในข้อมูลนิรนาม เป็นการกระทำนอกเหนือจากการวิเคราะห์กราฟธุรกรรม (transaction graph analysis) ซึ่งอาจแสดงการเชื่อมต่อกันระหว่างที่อยู่บิตคอยน์ต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับกำหนดนามแฝง[19][24]
ยังมีการกระทำไม่ชอบอย่างหนึ่ง[25] ซึ่งสามารถเชื่อมนามแฝงกับเลขที่อยู่ไอพีได้ คือ ถ้าสถานีเพียร์นั้นใช้ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) การกระทำไม่ชอบนั้นอาจใช้วิธีแยกสถานีเพียร์นั้นออกจากเครือข่ายทอร์ บังคับให้สถานีต้องใช้เลขที่อยู่ไอพีจริงเพื่อทำธุรกรรมต่อ ๆ มา เป็นการกระทำไม่ชอบที่ใช้กลไกของบิตคอยน์เพื่อส่งต่อที่อยู่ของสถานีเพียร์และกลไกเพื่อป้องกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ ค่าใช้จ่ายเพื่อทำกรรมโดยไม่ชอบเช่นนี้สำหรับเครือข่ายบิตคอยน์ทั้งหมดจะไม่เกิน €1,500 (ประมาณ 57,939 บาท) ต่อเดือน[25]
การยืนยันพิสูจน์การจ่าย
[แก้]ผู้ขุดเหรียญสามารถเลือกว่า ธุรกรรมไหนจะรวมเข้าหรือเว้นออกจากบล็อกที่ตนสร้าง[26] จำนวนธุรกรรมที่มากกว่าภายในบล็อกไม่ได้หมายความว่า จะต้องใช้กำลังมากกว่าเพื่อคำนวณค่าแฮชของบล็อก[26] เมื่อได้รับธุรกรรมรายการใหม่ สถานีจะต้องพิสูจน์ความถูกต้อง โดยเฉพาะก็คือ ตรวจสอบว่า เงินเพื่อใช้ในธุรกรรมยังไม่เคยได้ใช้ เพื่อจะเช็ค สถานีจะต้องเข้าถึงบล็อกเชนได้ ผู้ใช้ที่ไม่เชื่อเพียร์ในเครือข่าย จะต้องเก็บก๊อปปี้ของบล็อกเชนทั้งหมด เพื่อให้ยืนยันพิสูจน์ข้อมูลขาเข้าได้
ดังที่กล่าวไว้ในเอกสารของนากาโมโตะ การยืนยันการโอนบิตคอยน์เป็นไปได้โดยไม่ต้องเป็นสถานีเครือข่ายแบบสมบูรณ์ (เป็นวิธีการยืนยันที่เขาเรียกว่า Simplified Payment Verification, SPV)[27] ผู้ใช้เพียงต้องมีก๊อปปี้ส่วนหัวของบล็อกที่อยู่ในโซ่ยาวสุด ซึ่งหาได้โดยสอบถามสถานีในเครือข่ายจนกระทั่งชัดเจนว่า นี่เป็นโซ่ยาวสุด แล้วจึงขอรับเอาต้นไม้แฮชที่เชื่อมกับธุรกรรมของบล็อกที่ต้องการ การอยู่ในบล็อกของธุรกรรมแสดงว่า สถานีเครือข่ายได้ยอมรับมันแล้ว และบล็อกที่ต่อมา ๆ ภายหลังก็เป็นการยืนยันธุรกรรมที่ยิ่งขึ้น ๆ[1]
ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับธุรกรรม
[แก้]แม้การบันทึกไฟล์ดิจิทัลอะไรก็ได้ในบล็อกเชนจะทำได้ แต่ขนาดธุรกรรมยิ่งใหญ่เท่าไร ค่าธรรมเนียมก็อาจจะมากขึ้นเท่านั้น[28]
มีรายการต่าง ๆ ที่ได้รวมฝากไว้กับบล็อกเชน รวมทั้ง[29]
- ยูอาร์แอลที่ชี้แหล่งสื่อลามกอนาจารเด็ก
- รูปศิลป์แบบ ASCII ของบุคคลต่าง ๆ
- ข้อมูลการรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา
- คำสวดมนต์ของผู้ขุดหาเหรียญ
- เอกสารบิตคอยน์ดั้งเดิม
อาชญากรรม
[แก้]การใช้บิตคอยน์โดยอาชญากรได้ดึงดูดความสนใจจากองค์การควบคุมการเงินของรัฐ รัฐสภา เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย และสื่อ[30] เช่น
- สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐได้พิมพ์รายงานการสืบราชการ[31]
- คณะกรรมการควบคุมตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ SEC ได้ประกาศเตือนเรื่องการฉ้อฉลทางการลงทุนโดยใช้เงินเสมือน (เช่นบิตคอยน์)[30]
- วุฒิสภาสหรัฐก็ได้ประชุมพิจารณาเรื่องเงินเสมือนในเดือนพฤศจิกายน 2013[32]
สำนักสื่อข่าวหลายแห่งได้อ้างว่า บิตคอยน์เป็นที่นิยมก็เพราะสามารถใช้ซื้อสินค้าผิดกฎหมาย[33][34] ในปี 2014 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีพบ "หลักฐานที่ชัดเจนว่า นักเลงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอาชญากรรม เป็นตัวขับความสนใจในบิตคอยน์ แต่ไม่พบหรือพบน้อยซึ่งแรงบันดาลใจทางการเมืองหรือการลงทุน"[35]
ตลาดมืด
[แก้]นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนได้ประเมินว่า ในปี 2012 4.5%-9% ของธุรกรรมของบิตคอยน์ในศูนย์แลกเปลี่ยนทั่วโลก เป็นไปเพื่อการซื้อสินค้าในตลาดมืด (dark web) แห่งเดียวคือ Silk Road[36] สื่อลามกอนาจารเด็ก[37] บริการฆาตกรรม[38] และอาวุธ[39] ก็กล่าวด้วยว่า มีขายในเว็บไซต์ตลาดมืดที่สามารถจ่ายด้วยบิตคอยน์ เนื่องจากตลาดดำเนินการอย่างนิรนามและไม่มีกฎหมายควบคุม จึงรู้ได้ยากว่า บริการเหล่านี้ทำให้จริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงการฉ้อฉลหลอกลวงเอาบิตคอยน์[40]
เจ้าหน้าที่ได้ปิดตลาดมืดเช่นนี้มาหลายแห่งแล้ว เช่น เจ้าหน้าที่สหรัฐได้ปิดตลาด Silk Road ในเดือนตุลาคม 2013[41][42][43] ซึ่งลดมูลค่าของบิตคอยน์อย่างชั่วคราว[44] แต่ก็เกิดตลาดใหม่ ๆ ขึ้นทดแทนต่อมา และโดยต้นปี 2014 บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงออสเตรเลีย (ABC) ได้รายงานว่า การปิดตลาด Silk Road มีผลน้อยมากต่อจำนวนคนออสเตรเลียที่ขายยาเสพติดออนไลน์ และจริง ๆ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นด้วยซ้ำ[45]
ในต้นปี 2014 เจ้าหน้าที่ชาวดัตช์ได้ปิดตลาด Utopia ซึ่งขายสินค้าผิดกฎหมายออน์ไลน์ และยึดบิตคอยน์ได้ 900 เหรียญ[46] ในปลายปี 2014 การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ยุโรปและสหรัฐได้ปิดเว็บไซต์ตลาดมืด 400 แห่งรวมทั้งตลาดขายสินค้าผิดกฎหมาย Silk Road 2.0[47] ซึ่งได้พิพากษาลงโทษในหลายคดีแล้ว
ในเดือนธันวาคม 2014 นักธุรกิจและผู้สนับสนุนบิตคอยน์ Charlie Shrem ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีเพราะอำนวยการส่งเงินหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 36 ล้านบาท) โดยอ้อมให้แก่เว็บไซต์ขายยาเสพติดในตลาด Silk Road[48] และในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 เจ้าของตลาด (คือนาย Ross Ulbricht) ก็ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต[49]
เว็บไซต์ตลาดมืดบางแห่งยังขโมยบิตคอยน์จากลูกค้า ชุมชนบิตคอยน์เรียกไซท์หนึ่งคือ Sheep Marketplace ว่าเป็นการฉ้อฉลหลอกลวงเมื่อมันยุติการให้ถอนบิตคอยน์แล้วหลังจากนั้นปิดตลาดโดยอ้างว่าบิตคอยน์ถูกขโมย[50] ในอีกกรณีหนึ่ง บัญชีบิตคอยน์ที่ให้คนกลางถือไว้เพื่ออำนวยการซื้อขายสินค้า (escrow account) ของอีกตลาดหนึ่งถูกแฮ็กเมื่อต้นปี 2014[51]
ตามมูลนิธิเฝ้าดูอินเทอร์เน็ต (Internet Watch Foundation, IWF) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในสหราชอาณาจักร มีการใช้บิตคอยน์เพื่อซื้อสื่อลามกอนาจารเด็ก และมีเว็บไซต์เช่นนี้เกือบ 200 แห่งที่รับมันแทนเงิน แต่บิตคอยน์ก็ไม่ใช่วิธีเดียวเพื่อซื้อสื่อลามกอนาจารเด็กออนไลน์ หัวหน้าของหน่วยอาชญากรรมไซเบอร์ของยูโรโพล (Europol) ได้กล่าวไว้ว่า "ทั้ง Ukash และ Paysafecard (ซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินที่ไม่ใช่เงินคริปโท) ต่างก็ได้ใช้เพื่อจ่ายค่าสิ่งเหล่านี้" แต่รายการของ IWF ก็มีเว็บไซต์ประมาณ 30 แห่งที่รับแต่บิตคอยน์เท่านั้น[37] บางแห่งก็ได้ปิดลงแล้ว เช่น เว็บไซต์ที่ได้เงินลงทุนแบบ crowdfunding ที่มุ่งสร้างสื่อลามกอนาจารเด็กใหม่ ๆ[52]
นอกจากนั้น มีการเติมไฮเปอร์ลิงก์ที่ชี้เว็บไซต์สื่อลามกอนาจารเด็กใส่บล็อกเชน โดยเป็นข้อมูลตามอำเภอใจที่สามารถใส่ได้เมื่อทำธุรกรรม[53][54]
การฟอกเงิน
[แก้]บิตคอยน์อาจใช้ฟอกเงินได้ไม่ดี เพราะธุรกรรมทั้งหมดเป็นข้อมูลสาธารณะ[55] แต่เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งองค์การควบคุมธนาคารยุโรป (European Banking Authority)[56] สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ[31] และคณะทำงานเฉพาะกิจทางการเงิน (Financial Action Task Force) ของจี7[57] ล้วนแสดงความเป็นห่วงว่า บิตคอยน์อาจใช้เพื่อฟอกเงิน
ในต้นปี 2014 ผู้ปฏิบัติการคนหนึ่งของตลาดแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ในสหรัฐ คือ Charlie Shrem ถูกจับในข้อหาการฟอกเงิน[58] ต่อมาจึงถูกตัดสินจำคุก 2 ปีเนื่องจาก "ช่วยสนับสนุนธุรกิจส่งเงินที่ไม่ได้อนุญาต"[48] เจ้าของตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโท BTC-e คือ นาย Alexander Vinnik ถูกจับกุมในกรีซเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2017 ในข้อหาฟอกเงิน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 141,488 ล้านบาท) ตามกฎหมายต่อต้านการฟอกเงิน (AML) ของสหรัฐ[59]
ส่วนรายงานของกระทรวงการคลัง (สหราชอาณาจักร)และของกระทรวงมหาดไทยอังกฤษที่ตั้งชื่อว่า "การประเมินความเสี่ยงแห่งชาติ (สหราชอาณาจักร) ในเรื่องการฟอกเงินและการให้ทุนแก่ผู้ก่อการร้าย (UK national risk assessment of money laundering and terrorist financing)" ปี 2015 ได้พบว่า ในบรรดาวิธี 12 อย่างที่ตรวจสอบในรายงาน บิตคอยน์มีโอกาสเสี่ยงต่ำสุดเพื่อใช้ฟอกเงิน โดยวิธีการฟอกเงินสามัญที่สุดก็คือผ่านธนาคาร[60]
การฉ้อฉลแบบพอนซี
[แก้]ในการฉ้อฉลแบบพอนซีโดยใช้บิตคอยน์ บริษัท Bitcoin Savings and Trust สัญญาให้ดอกเบี้ย 7% ต่อผู้ลงทุน แล้วได้บิตคอยน์ 700,000 เหรียญในระหว่างปี 2011-2012[61] ในเดือนกรกฎาคม 2013 คณะกรรมการควบคุมหลักทรัพย์สหรัฐ คือ SEC ได้ฟ้องคดีบริษัทและผู้ก่อตั้ง "ในข้อหาฉ้อโกงผู้ลงทุนในการฉ้อฉลแบบพอนซีโดยใช้บิตคอยน์"[61] ในเดือนกันยายน 2014 ศาลได้ปรับบริษัทและเจ้าของ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,300 ล้านบาท)[62]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ระบบ/เกณฑ์วิธี/ฟังก์ชัน proof-of-work (POW, การพิสูจน์ว่าได้ทำงาน) เป็นวิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อกีดกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและการปฏิบ้ติโดยไม่ชอบอื่น ๆ ต่อระบบบริการ เช่น สแปม โดยบังคับให้ผู้ขอบริการต้องทำงานอะไรบางอย่าง ซึ่งปกติหมายถึงเวลาที่ต้องใช้ประมวลผลของคอมพิวเตอร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Nakamoto, Satoshi (24 May 2009). "Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 December 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Barber, Simon; Boyen, Xavier; Shi, Elaine & Uzun, Ersin (2012). "Bitter to Better – how to make Bitcoin a better currency" (PDF). Financial Cryptography and Data Security. Lecture Notes in Computer Science. Springer Publishing. 7397: 399–414. doi:10.1007/978-3-642-32946-3_29. ISBN 978-3-642-32945-6.
- ↑ Dean, Andrew (2014-08-14). "Online Gambling Meets Bitcoin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-10. สืบค้นเมื่อ 2014-08-21.
- ↑ "Developer Guide - Bitcoin". bitcoin.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-03.
- ↑ "Charts". Blockchain.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ 6.0 6.1 "Enabling Blockchain Innovations with Pegged Sidechains" (PDF). Blockstream. 2014-10-22. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
- ↑ "Mining Bitcoins Is A Surprisingly Energy-Intensive Endeavor". Forbes. 2016-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
- ↑ 8.0 8.1 "As Mining Expands, Will Electricity Consumption Constrain Bitcoin?". cryptocoin news. 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
- ↑ "Mining Bitcoin With Wind And Solar Power". Energy Matters. 2016-11-07. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
- ↑ "MINING BITCOIN WITH A GPU IN 2018". TheGeekPub.com. The Geek Pub. 2018-01-07.
- ↑ "Bitcoin boom benefiting TSMC: report". Taipei Times. 2014-01-04.
- ↑ Biggs, John (2013-04-08). "How To Mine Bitcoins". Techcrunch.
- ↑ Gimein, Mark (2013-04-13). "Virtual Bitcoin Mining Is a Real-World Environmental Disaster". Bloomberg Business. Bloomberg LP. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
- ↑ McCook, Hass (2014-06-21). "Under the Microscope: Economic and Environmental Costs of Bitcoin Mining". สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ "The magic of mining". The Economist. 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-01-13.
- ↑ O'Brien, Matt (2015-06-13). "The scam called Bitcoin". Daily Herald. สืบค้นเมื่อ 2016-09-20.
- ↑ Maras, Elliot (2016-09-14). "China's Mining Dominance: Good Or Bad For Bitcoin?". Cryptocoin News. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
- ↑ 18.0 18.1 "What is the 'Halving'? A Primer to Bitcoin's Big Mining Change". CoinDesk. 2016-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10.
- ↑ 19.0 19.1 Ron Dorit; Adi Shamir (2012). "Quantitative Analysis of the Full Bitcoin Transaction Graph" (PDF). Cryptology ePrint Archive. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Jerry Brito & Andrea Castillo (2013). "Bitcoin: A Primer for Policymakers" (PDF). Mercatus Center. George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
- ↑ Bonadonna, Erik (2013-03-29). "Bitcoin and the Double-spending Problem". Cornell University. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
- ↑ Karame, Ghassan O.; Androulaki, Elli; Capkun, Srdjan (2012). "Two Bitcoins at the Price of One? Double-Spending Attacks on Fast Payments in Bitcoin" (PDF). International Association for Cryptologic Research. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Michael J. Casey; Paul Vigna (16 June 2014). "Short-Term Fixes To Avert "51% Attack"". Money Beat. Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
- ↑ Reid, Fergal; Harrigan, Martin (2013). "An Analysis of Anonymity in the Bitcoin System". Security and Privacy in Social Networks: 197–223. arXiv:1107.4524. doi:10.1007/978-1-4614-4139-7_10. ISBN 978-1-4614-4138-0.
- ↑ 25.0 25.1 Biryukov, Alex; Khovratovich, Dmitry; Pustogarov, Ivan (2014). "Deanonymisation of clients in Bitcoin P2P network". ACM Conference on Computer and Communications Security. arXiv:1405.7418. Bibcode:2014arXiv1405.7418B. ISBN 9781450329576. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-22. สืบค้นเมื่อ 2018-05-12.
- ↑ 26.0 26.1 Houy, N. (2016). "The Bitcoin Mining Game". Ledger. 1: 53–68. doi:10.5195/ledger.2016.13. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.
- ↑ Nakamoto 2009, 8. Simplified Payment Verification, p. 5
- ↑ "How much will the transaction fee be?". https://bitref.com/fees/. สืบค้นเมื่อ 2014-11-30.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)|publisher=
- ↑ "How porn links and Ben Bernanke snuck into Bitcoin's code". CNN Money. CNN. 2013-05-02.
- ↑ 30.0 30.1 Lavin, Tim (2013-08-08). "The SEC Shows Why Bitcoin Is Doomed". bloomberg.com. Bloomberg LP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
- ↑ 31.0 31.1 "Bitcoins Virtual Currency: Unique Features Present Challenges for Deterring Illicit Activity" (PDF). Cyber Intelligence Section and Criminal Intelligence Section. FBI. 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02.
- ↑ Lee, Timothy B. (2013-11-21). "Here's how Bitcoin charmed Washington". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2016-10-10.
- ↑ "Monetarists Anonymous". The Economist. The Economist Newspaper Limited. 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
- ↑ Ball, James (2013-03-22). "Silk Road: the online drug marketplace that officials seem powerless to stop". theguardian.com. Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
- ↑ Matthew Graham Wilson & Aaron Yelowitz (November 2014). "Characteristics of Bitcoin Users: An Analysis of Google Search Data". Social Science Research Network. Working Papers Series. SSRN 2518603.
- ↑ Christin, Nicolas (2013). Traveling the Silk Road: A Measurement Analysis of a Large Anonymous Online Marketplace (PDF). Carnegie Mellon INI/CyLab. p. 8. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.
we suggest to compare the estimated total volume of Silk Road transactions with the estimated total volume of transactions at all Bitcoin exchanges (including Mt.Gox, but not limited to it). The latter corresponds to the amount of money entering and leaving the Bitcoin network, and statistics for it are readily available... approximately 1,335,580 BTC were exchanged on Silk Road... approximately 29,553,384 BTC were traded in Bitcoin exchanges over the same period... The only conclusion we can draw from this comparison is that Silk Road-related trades could plausibly correspond to 4.5% to 9% of all exchange trades
- ↑ 37.0 37.1 Schweizer, Kristen (2014-10-10). "Bitcoin Payments by Pedophiles Frustrate Child Porn Fight". BloombergBusiness. Bloomberg LP. สืบค้นเมื่อ 2015-02-16.
- ↑ Lake, Eli (2013-10-17). "Hitman Network Says It Accepts Bitcoins to Murder for Hire". The Daily Beast. The Daily Beast Company LLC. สืบค้นเมื่อ 2015-02-17.
- ↑ Smith, Gerry (2013-04-15). "How Bitcoin Sales Of Guns Could Undermine New Rules". huffingtonpost.com. TheHuffingtonPost.com, Inc. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
- ↑ Alex, Knapp (2015-01-19), "Faking Murders And Stealing Bitcoin: Why The Silk Road Is The Strangest Crime Story Of The Decade", Forbes, สืบค้นเมื่อ 2016-01-02
- ↑ Greenberg, Andy (2013-10-23). "FBI Says It's Seized $28.5 Million In Bitcoins From Ross Ulbricht, Alleged Owner Of Silk Road" (blog). Forbes.com. สืบค้นเมื่อ 2013-11-24.
- ↑ Kelion, Leo (2014-02-12). "Five arrested in Utopia dark net marketplace crackdown". bbc.co.uk. BBC. สืบค้นเมื่อ 2014-02-13.
- ↑
"Bitcoin price plummets after Silk Road closure". The Guardian. 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
Digital currency loses quarter of value after arrest of Ross Ulbricht, who is accused of running online drugs marketplace
- ↑ "Bitcoin Values Plummet $500M, Then Recover, After Silk Road Bust". Wired. 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
- ↑ "Silk Road closure fails to dampen illegal drug sales online, experts say". ABC News. 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
- ↑ "Utopia no more: Drug marketplace seen as the next Silk Road shut down by Dutch police". The Independent. London: independent.co.uk. 2014-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
- ↑ Wakefield, Jane (2014-11-07). "Huge raid to shut down 400-plus dark net sites". bbc.com. BBC. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
- ↑ 48.0 48.1 Nate Raymond (2014-12-19). "Bitcoin backer gets two years prison for illicit transfers". Reuters. Thompson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-13. สืบค้นเมื่อ 2014-12-20.
- ↑ "Silk Road drug website founder Ross Ulbricht jailed". BBC News. BBC. 2015-05-29. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
- ↑ "Silk Road-like Sheep Marketplace scams users; over 39k Bitcoins worth $40 million stolen". Techie News. 2013-12-01. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
- ↑ "Silk Road 2 loses $2.7m in bitcoins in alleged hack". BBC News. 2014-02-14. สืบค้นเมื่อ 2014-02-15.
- ↑ "While Markets Get Seized: Pedophiles Launch a Crowdfunding Site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-08. สืบค้นเมื่อ 2015-02-19.
- ↑ Hopkins, Curt (2013-05-07). "If you own Bitcoin, you also own links to child porn". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ 2015-02-16.
- ↑ Bradbury, Danny. "As Bitcoin slides, the Blockchain grows". IET Engineering and Technology Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-30. สืบค้นเมื่อ 2018-05-12.
- ↑ Kirk, Jeremy (28 August 2013). "Bitcoin offers privacy-as long as you don't cash out or spend it". PC World. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
- ↑ "Warning to consumers on virtual currencies" (PDF). European Banking Authority. 12 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 December 2013. สืบค้นเมื่อ 23 December 2013.
- ↑ "Guidance for a Risk-Based Approach: Prepaid Cards, Mobile Payments and Internet-based Payment Services" (PDF). Guidance for a risk-based approach. Paris: Financial Action Task Force (FATF). June 2013. p. 47. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ Lee, Dave (27 January 2014). "US makes Bitcoin exchange arrests after Silk Road closure". bbc.co.uk. BBC. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
- ↑ Suberg, William (2017-07-27). "BTC-e Will Return In '5-10 Days' As US Seeks $110 Mln AML Fine". Cointelegraph. สืบค้นเมื่อ 2017-12-21.
- ↑ "UK national risk assessment of money laundering and terrorist financing" (PDF). UK HM Treasury and Home Office. สืบค้นเมื่อ 2016-05-03.
- ↑ 61.0 61.1 "SEC charges Texas man with running Bitcoin-denominated Ponzi scheme" (Press release). US Securities and Exchange Commission. 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 2014-03-07.
- ↑ "Bitcoin Savings & Trust Comes Up $40 Million Short On The Trust Part". Forbes. 2014-09-25. สืบค้นเมื่อ 2014-12-13.