ดิเอม
ดิเอม | |
---|---|
โลโก้ดิเอม | |
ลักษณะ | |
สัญลักษณ์ | ≋ |
การพัฒนา | |
ไวต์เปเปอร์ | ดิเอมไวต์เปเปอร์ |
เปิดตัว | ยกเลิก[1] |
ที่เก็บโค้ด | github.com/diem/diem |
สถานะการพัฒนา | ประกาศ |
ภาษาโปรแกรม | รัสต์ |
ผู้พัฒนา | สมาคมดิเอม |
ลักษณะต้นฉบับ | โอเพนซอร์ส |
ลิขสิทธิ์ | สัญญาอนุญาตอะแพชี 2.0[2] |
เว็บไซต์ | www |
ดิเอม (อังกฤษ: Diem; รู้จักมาก่อนในชื่อ ลิบรา) เป็นระบบการชำระเงินบนบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งเสนอโดยเฟซบุ๊ก บริษัทโซเชียลมีเดียของอเมริกา แผนดังกล่าวยังรวมถึงสกุลเงินส่วนตัวที่ใช้เป็นคริปโทเคอร์เรนซี
สกุลเงินและเครือข่ายยังไม่มีและมีเพียงรหัสทดลองพื้นฐานเท่านั้นที่ได้รับการเผยแพร่[3][4] เดิมมีแผนเปิดตัวในปี พ.ศ. 2563[5]
โครงการสกุลเงินและธุรกรรมจะต้องได้รับการจัดการและมอบความไว้วางใจให้กับสมาคมดิเอม ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกของบริษัทต่าง ๆ ตั้งแต่การชำระเงิน, เทคโนโลยี, โทรคมนาคม, ตลาดออนไลน์ และการร่วมทุน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ก่อนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 โครงการนี้เดิมชื่อ ลิบรา (อังกฤษ: Libra)[6][4]
ระบบการเงิน
[แก้]ระบบการเงินลิบราได้มีข่าวลือออกมาช่วงแรกในช่วงพฤษภาคม 2562[7] และรายละเอียดเพิ่มเติมในเดือนถัดมา[8][9][10] และเปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 18 มิถุนายน 2562[11][12] พร้อมกับเอกสารเผยแพร่ไวต์เปเปอร์กล่าวถึงโครงสร้างภายใต้ลิบราและเป้าหมายของโครงการลิบรา[13] ลิบราวางแผนเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563[14] ในรูปแบบของสเตเบิลคอยน์ ส่งผลให้ลิบราจะได้รับการรองรับจากสินทรัพย์ทางการเงิน อาทิเช่น ระบบตะกร้าเงิน โดยเฟซบุ๊กวางแผนไว้ว่าจะมีการรวมเงินจากสมาชิกบริษัทละ $10 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นเงินที่รองรับระบบสถานะทางการเงินของลิบราในวันเปิดตัว
ลักษณะการเงินของลิบราจะไม่อิงการทำเหมืองคริปโตเหมือนระบบเงินคริปโตสกุลอื่น[15] โดยในช่วง 5 ปีแรก จะมีเพียงแต่สมาชิกของสมาคมลิบราที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เท่านั้น โดยใช้งานผ่านระบบบล็อกเชนที่ได้รับอนุญาต และจะมีการปรับเปลี่ยนระบบการทำธุรกรรมทางการเงินโดยให้ไม่ต้องมีการอนุญาตในช่วง 5 ปีถัดไป[16]
สมาคมลิบรา
[แก้]สมาคมลิบราได้ถูกจัดตั้งขึ้นจากสมาชิก 28 แห่ง โดยจัดตั้งขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[17] ประกอบด้วย
- การเงิน: เพย์แพล, เพย์ยู, มาสเตอร์การ์ด, สไตรป์, วีซา
- ตลาดออนไลน์: บุ๊กกิงโฮลดิงส์, คาลิบรา (บริษัทลูกของเฟซบุ๊ก)[15] ฟาร์เฟตช์, ลิฟต์, มาร์คาโดปาโก, สปอทิฟาย, อีเบย์, อูเบอร์
- สื่อสาร: อีเลียด, วอดาโฟน
- บล็อกเชน: Anchorage, Bison Trails, Coinbase, Xapo
- เวนเจอร์แคปิตอล: Andreessen Horowitz, Breakthrough Initiatives, Ribbit Capital, Thrive Capital, Union Square Ventures
- องค์กรไม่แสวงหากำไร: Creative Destruction Lab, Kiva, Mercy Corps, Women's World Banking
สมาคมลิบราวางแผนขยายสมาชิกไปถึง 100 หน่วยงานในอนาคต และจะมีการเปลี่ยนผู้นำจากเฟซบุ๊กภายหลังจากปี 2562[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Novi". novi.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
When will Novi be available?
Novi is currently being built. Sign up here to be one of the first to know about Novi. - ↑ "Libra Software License". Github. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-17. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
- ↑ "Facebook's Calibra cryptocurrency wallet launches in 2020". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-18. สืบค้นเมื่อ 2019-06-29.
- ↑ 4.0 4.1 "Facebook Unveils Libra Cryptocurrency, Sets Launch For 2020". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
- ↑ Ou, Elaine (20 June 2019). "I Tried Using Facebook's Libra Blockchain. It Didn't Work". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-29. สืบค้นเมื่อ 2019-06-21.
- ↑ Kastrenakes, Jacob (2020-12-01). "Libra cryptocurrency project changes name to Diem to distance itself from Facebook". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
- ↑ Andriotis, AnnaMaria; Hoffman, Liz; Rudegeair, Peter; Horwitz, Jeff (2 May 2019). "Facebook Building Cryptocurrency-Based Payments System". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
- ↑ Nuttall, Chris (14 June 2019). "Facebook's crucial crypto coin play". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
- ↑ Andriotis, AnnaMaria; Rudegeair, Peter; Hoffman, Liz. "Facebook's New Cryptocurrency, Libra, Gets Big Backers". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
- ↑ Facebook to launch cryptocurrency backed by Uber, PayPal Mastercard and Visa TechAhead Inc. Accessed June 17 2019.
- ↑ Isaac, Mike; Popper, Nathaniel (18 June 2019). "Facebook Plans Global Financial System Based on Cryptocurrency". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
- ↑ Constine, Josh (18 June 2019). "Facebook announces Libra cryptocurrency: All you need to know". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
- ↑ "Libra White Paper | Blockchain, Association, Reserve". libra.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-06-21.
- ↑ "Facebook Unveils Libra Cryptocurrency, Sets Launch For 2020". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
- ↑ 15.0 15.1 Cellan-Jones, Rory (June 18, 2019). "Why Facebook wants to be money's future" – โดยทาง www.bbc.co.uk.
- ↑ "Facebook releases plan for its Libra cryptocurrency to 'meet the daily financial needs of billions of people'". June 18, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-21.
- ↑ "Libra Association | A not-for-profit organization". libra.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-21.
- ↑ Morse, Andrew. "Here's what you need to know about Libra, Facebook's cryptocurrency". CNET.
how to safegaurd your bitcoing investments, ref Agicent Technologies