การแข่งขันในทางอาวุธ
หน้าตา
การแข่งขันในทางอาวุธ (อังกฤษ: arms race) ในการใช้ดั้งเดิม เป็นการแข่งขันระหว่างภาคีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเพื่อมีกองทัพดีที่สุด แต่ละฝ่ายแข่งขันเพื่อผลิตอาวุธจำนวนมากขึ้น กองทัพยิ่งใหญ่ขึ้น เทคโนโลยีทางทหารที่เหนือกว่า เป็นต้น
อเล็กซ์ อัพทอน (Alex Upton) ผู้เชี่ยวชาญความขัดแย้งระหว่างประเทศ นิยามคำนี้ว่า "การเข้าร่วมของรัฐชาติตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปในการเพิ่มขึ้นอย่างแข่งขันหรือโต้ตอบอย่างชัดเจนในปริมาณหรือคุณภาพของปัจจัยสงครามและ/หรือผู้ที่มีความพร้อมทางทหาร (person under arms)"[1]
คำนี้ยังใช้อธิบายสถานการณ์แข่งขัน ที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ประสบความสำเร็จมากกว่าคู่แข่งของตนเท่านั้นด้วย
การแข่งขันอาวุธนาวี
[แก้]- การแข่งขันอาวุธนาวีอังกฤษ-เยอรมนี ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 ถึง 1912
- การแข่งขันอาวุธนาวีอเมริกา–ญี่ปุ่น ระหว่างสหรัฐกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ถึง 1939
- การแข่งขันอาวุธนาวีออสเตรีย-อิตาลี ระหว่างราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิออสเตรีย (และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในเวลาต่อมา) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 ถึง 1882
- การแข่งขันอาวุธนาวีกรีซ–ออตโตมัน ระหว่างราชอาณาจักรกรีซกับจักรวรรดิออตโตมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1828 ถึง 1914
- การแข่งขันอาวุธนาวีรัสเซีย–ออตโตมัน ระหว่างจักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ถึง 1914
- การแข่งขันอาวุธนาวีฝรั่งเศส–อิตาลี ระหว่างฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 ถึง 1939
- การแข่งขันอาวุธนาวีอาร์เจนตินา–ชิลี ระหว่างอาร์เจนตินากับชิลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 ถึง 1902
- การแข่งขันอาวุธนาวีอเมริกาใต้ ระหว่างอาร์เจนตินา, บราซิล และชิลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ถึง 1914
- การแข่งขันอาวุธนาวีสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น, สหรัฐ และสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 ถึง 1939
การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์
[แก้]- การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อเมริกา-โซเวียต
- การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อินเดีย-ปากีสถาน
- การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์สมาชิกถาวร (อเมริกา, รัสเซีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, จีน)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Theresa Clair (1980). "Arms Race Instability and War". Journal of Conflict Resolution. 24 (2): 253–284. doi:10.1177/002200278002400204.