อีเธอเรียม
ผู้คิดค้น | วิตาลิก บูเตอริน เกวิน วูด |
---|---|
ผู้พัฒนา | Ethereum Foundation, Hyperledger, Nethermind, OpenEthereum, EthereumJS |
รุ่นเปิดตัว | 30 กรกฎาคม 2015 |
Stable release | London / 5 สิงหาคม 2021 |
สถานะการพัฒนา | Active |
การใช้งาน | EVM 1 Bytecode |
เขียนโดยภาษา | Go, Rust, C#, C++, Java, Python |
ระบบปฏิบัติการ | ข้ามแพลตฟอร์ม |
แพลตฟอร์ม | x86-64, ARM |
ขนาดไฟล์ | 300 GB (2020-03) |
ประเภท | Distributed computing |
License | Open-source licenses |
Active hosts | 10,335 (2021-01) |
เว็บไซต์ | ethereum |
อีเธอเรียม (อังกฤษ: Ethereum) เป็นบล็อกเชนสำหรับการทำสัญญาอัจฉริยะแบบโอเพนซอร์ซ โดยมีคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสกุลเงินหลักชื่อ อีเธอร์ (Ether) ใช้สัญลักษณ์ (ETH หรือ Ξ) โดยอีเธอเรียมเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าสูงอันดับ 2 รองลงมาจากบิตคอยน์
อีเธอเรียมเริ่มพัฒนาในปี พ.ศ.2556 โดยโปรแกรมเมอร์ชาวรัสเซีย-แคนาดา ชื่อ วิตาลิก บูเตอริน (Vitalik Buterin (รัสเซีย: Вита́лик Буте́рин), หรือชื่อเต็มว่า Vitaly Dmitrievich Buterin (รัสเซีย: Вита́лий Дми́триевич Буте́рин))[1] และเริ่มระดมทุนในปีถัดมา โครงข่ายอีเธอเรียมได้เริ่มต้นเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558[2] โดยอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันแบบไม่รวมศูนย์บนเครือข่ายและมีปฏิสัมพันธ์กันได้[3][4] การเงินแบบไม่รวมศูนย์เป็นรูปแบบหนึ่งในการใช้งานที่เป็นที่นิยมบนโครงข่ายอีเธอเรียมที่ผู้ใช้สามารถฝากถอนเงิน กู้เงิน หรือได้ดอกเบี้ยโดยที่ไม่ต้องมีคนกลางหรือธนาคาร[5][6] อีเธอเรียมยังมีการใช้งานในการสร้างและแลกเปลี่ยนโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือเอ็นเอฟที (NFT) ที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลงานทางศิลปะในลักษณะเดียวกับการซื้อขายภาพเขียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tapscott & Tapscott 2016, pp. 87.
- ↑ Foundation, Ethereum (30 July 2015). "Ethereum Launches". blog.ethereum.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
- ↑ Popper, Nathaniel (19 June 2017). "Move Over, Bitcoin. Ether Is the Digital Currency of the Moment. (Published 2017)". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ "Vapor No More: Ethereum Has Launched". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ Vigna, Paul (2021-05-03). "Ethereum Is Booming in the NFT Frenzy—So Is Network Congestion". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
- ↑ "There are two very real reasons Ethereum is taking off". Fortune. 6 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2021. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.