การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา
การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เมื่อเว็บไซต์วิกิลีกส์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนิวมีเดีย ซึ่งตีพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคลหรือความลับทางราชการจากแหล่งข่าวนิรนาม เริ่มต้นตีพิมพ์เอกสารที่เป็นความลับอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับรายละเอียดการติดต่อระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกากับคณะผู้แทนทูตทั่วโลก และได้โพสต์เอกสารเพิ่มขึ้นทุกวัน วิกิลีกส์ได้ส่งต่อโทรเลขภายในดังกล่าวให้กับหนังสือพิมพ์หลักของโลกอีกห้าฉบับ ซึ่งได้ตีพิมพ์บทความโดยมีข้อตกลงกับวิกิลีกส์
การโพสต์โทรเลขภายในสถานทูตสหรัฐคราวนี้นับเป็นครั้งที่สามใน "การรั่วไหลครั้งใหญ่" ของเอกสารความลับของสหรัฐอเมริกาซึ่งวิกิลีกส์นำออกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากการรั่วไหลของเอกสารสงครามอัฟกันในเดือนกรกฎาคม และเอกสารสงครามอิรักในเดือนตุลาคม เนื้อหาที่ได้รับการเปิดเผยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากสถานทูตมากกว่า 300 แห่ง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2509-2553 ซึ่งรวมไปถึงการวิเคราะห์ทางการทูตต่อผู้นำโลก การประเมินประเทศที่สถานทูตนั้นตั้งอยู่ และการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นระหว่างประเทศและภายประเทศ
เอกสาร 220 ฉบับแรก[1] จากทั้งหมด 251,287 ฉบับได้รับการตีพิมพ์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการรายงานในสื่อไล่ตั้งแต่เอลปาอิส (สเปน) เลอ มงด์ (ฝรั่งเศส) แดร์ สปีเกล (เยอรมนี) เดอะการ์เดียน (สหราชอาณาจักร) และเดอะนิวยอร์กไทมส์ (สหรัฐอเมริกา)[2][3] เอกสารมากกว่า 130,000 ยังไม่ถูกปลดจากชั้นความลับ แต่ไม่มีเอกสารใดอยู่ในระดับ "ลับที่สุด" ตามเกณฑ์การจัดชั้นความลับ เอกสารราว 100,000 ฉบับได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ "ลับ" และอีก 15,000 ฉบับได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ "ลับมาก" ซึ่งสูงกว่า[2][4] จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โทรเลขภายในกว่า 1,532 ฉบับได้รับการเปิดเผย[5] วิกิลีกส์วางแผนที่จะเผยแพร่โทรเลขภายในทั้งหมดภายในช่วงเวลาอีกหลายเดือนข้างหน้าด้วยอัตรา 80 ฉบับต่อวัน[3][6]
ปฏิกิริยาต่อการรั่วไหลดังกล่าวมีหลากหลาย เจ้าหน้าที่รัฐบาลตะวันตกบางประเทศได้แสดงความไม่เห็นด้วยและประณามอย่างรุนแรง และวิจารณ์ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงของโลก การรั่วไหลดังกล่าวยังได้มีหลายฝ่ายให้ความสนใจ ทั้งสาธารณชน นักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์สื่อ วิกิลีกส์ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจารณ์บางส่วนผู้ซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเป็นในการรักษาความลับของราชการในระบอบประชาธิปไตยในการรักษาผลประโยชน์ของประชากร ผู้นำการเมืองบางคนได้เรียกจูเลียน อาสซานจ์ บรรณาธิการบริหารของวิกิลีกส์ ว่าเป็นอาชญากรและเรียกร้องให้มีการจับกุม แต่ก็ยังกล่าวประณามกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ปล่อยให้เอกสารลับเกิดการรั่วไหล ผู้สนับสนุนอาสซานจ์ได้เรียกเขาว่าเป็นวีรบุรุษและเป็นตัวแทนของเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพของสื่อ[7][8][9][10] ในโลกที่สื่อมิได้ประพฤติเป็นผู้เฝ้ามองของสาธารณะและภาคเอกชนอีกต่อไป เลขาธิการฝ่ายข่าวทำเนียบขาว โรเบิร์ต กิบบส์ ได้กล่าวว่า "รัฐบาลที่เปิดเผยและโปร่งใสเป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีเชื่อว่ามีความสำคัญอย่างแท้จริง แต่การขโมยข้อมูลปกปิดและการเผยแพร่ความลับนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรม"[11] ตามที่ได้มีปฏิกิริยาด้านลบต่อวิกิลีกส์นั้น ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความกังวลออกมาเกี่ยวกับ "สงครามไซเบอร์" ที่มีต่อวิกิลีกส์[12] และในแถลงการณ์ร่วมกับองค์การนานารัฐอเมริกัน ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติได้เรียกร้องให้รัฐและตัวแสดงอื่น ๆ จดจำหลักการของกฎหมายไว้[13]
เบื้องหลัง
[แก้]เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 นิตยสารไวเอิร์ด รายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและเจ้าหน้าที่สถานทูตมีความกังวลว่าแบรดเลย์ แมนนิง ทหารกองทัพบกสหรัฐ ผู้ซึ่งได้รับแจ้งข้อหาดาวน์โหลดข้อมูลลับทางราชการโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่เขากำลังประจำการอยู่ในอิรัก ได้เผยแพร่โทรเลขภายในของกระทรวง วิกิลีกส์ได้ปฏิเสธว่ารายงานดังกล่าวผิดพลาด: "ข้อกล่าวหาในไวเอิร์ดที่ว่าเราได้ส่งโทรเลขภายในสถานทูตสหรัฐที่เป็นคามลับทางราชการกว่า 260,000 ฉบับนั้นไม่เป็นความจริง"[14] แมนนิงตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าได้อัปโหลดสิ่งที่เขาได้รับมานั้นให้กับวิกิลีกส์ ซึ่งเลือกที่จะเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเพื่อที่จะให้เกิดผลกระทบตามมาให้ได้มากที่สุด[15]
ตามข้อมูลของเดอะการ์เดียน โทรเลขภายในทั้งหมดได้รับการทำเรื่องหมายว่า "Sipdis" หมายความว่า "การแจกจ่ายโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตลับ" ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลดังกล่าวได้รับการแจกจ่ายผ่านทางซิปเปอร์เน็ตปิด ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตพลเรือนรุ่นที่เป็นความลับทางรัฐการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ[16] ถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่และทหารสหรัฐมากกว่าสามล้านคนสามารถเข้าถึงเครือข่ายดังกล่าวได้[17] เอกสาร "ลับที่สุด" ไม่อยู่รวมในระบบนี้ด้วย การที่ข้อมูลลับจำนวนมากขนาดนี้สามารถเข้าถึงได้โดยในวงกว้าง เนื่องจาก ตามการอ้างของเดอะการ์เดียน หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ได้มีการมุ่งให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในการแบ่งปันข้อมูลเนื่องจากช่องว่างของการแบ่งปันข้อมูลภายในรัฐบาลได้เปิดออก[16] หรือจะกล่าวโดยเฉพาะเจาะจงยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานด้านการทูต การทหาร การบังคับใช้กฎหมาย และข่าวกรองจะสามารถทำงานได้ดีขึ้นด้วยการเข้าถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์และข้อมูลเชิงปฏิบัติการที่ง่ายขึ้น[16] โฆษกได้กล่าวว่าในช่วงสัปดาห์และเดือนที่ผ่านมา ได้มีการจัดหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของระบบการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มเติม[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Leaked Cables Offer Raw Look at U.S. Diplomacy" The New York Times. 28 November 2010. Retrieved 15 December 2010.
- ↑ 2.0 2.1 "The embassy cables will be released in stages over the next few months. The subject matter of these cables is of such importance, and the geographical spread so broad, that to do otherwise would not do this material justice". See: "Secret US Embassy Cables". WikiLeaks. 28 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2010. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Danielle, Kris (25 November 2010). "1,796 Memos from US Embassy in Manila in WikiLeaks 'Cablegate'". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
- ↑ Shane, Scott; Lehren, Andrew W. (28 November 2010). "Leaked Cables Offer Raw Look at U.S. Diplomacy". The New York Times.
- ↑ "Secret US Embassy Cables". WikiLeaks. 8 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-08. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
- ↑ Walsh, Declan (2 December 2010). "WikiLeaks Editor Calls on Clinton To Quit". The Sydney Morning Herald (via The Southland Times). Retrieved 11 December 2010.
- ↑ Sanburn, Josh (10 November 2010). "Julian Assange — Who Will Be Time's 2010 Person of the Year?" เก็บถาวร 2010-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Time. Retrieved 10 December 2010.
- ↑ Staff writer (29 November 2010). "In Defence of WikiLeaks". Blog on The Economist. Retrieved 10 December 2010.
- ↑ Jenkins, Simon (28 November 2010). "US Embassy Cables: The Job of the Media Is Not To Protect the Powerful from Embarrassment — It Is for Governments — Not Journalists — To Guard Public Secrets, and There Is No National Jeopardy in WikiLeaks' Revelations". The Guardian. Retrieved 10 December 2010.
- ↑ Naureckas, Jim (1 December 2010). "WikiLeaks Hasn't 'Leaked' Anything". Fairness and Accuracy in Reporting. Retrieved 13 December 2010.
- ↑ Gibbs, Robert (29 November 2010). "Press Briefing by Press Secretary Robert Gibbs, 11/29/2010". White House Office of the Press Secretary.
I think it is safe to say that the President was -- it’s an understatement -- not pleased with this information becoming public. As you saw during the presidential campaign and during his time in the White House, open and transparent government is something that the President believes is truly important. But the stealing of classified information and its dissemination is a crime.
Secondary source coverage is extensive, i.e. Time, USA Today, etc. - ↑ "UN human rights chief voices concern at reported 'cyber war' against WikiLeaks". United Nations website. สืบค้นเมื่อ December 28, 2010.
- ↑ "Joint Statement on WikiLeaks". Organization of American States website. สืบค้นเมื่อ December 28, 2010.
- ↑ Zetter, Kim; Poulsen, Kevin (8 June 2010). "State Department Anxious About Possible Leak of Cables to Wikileaks". Wired. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Cable Viewer". wikileaks.dd19.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-07. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 Tisdall, Simon (29 November 2010). "Wikileaks Cables Reveal China 'Ready To Abandon North Korea' — Leaked Dispatches Show Beijing Is Frustrated with Military Actions of 'Spoiled Child' and Increasingly Favours Reunified Korea". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 November 2010.
- ↑ Borger, Julian; Leigh, David. (28 November 2010). "Siprnet: Where America Stores Its Secret Cables — Defence Department's Hidden Internet Is Meant To Be Secure, But Millions of Officials and Soldiers Have Access". The Guardian. Accessed 12 December 2010.
"The US general accounting office identified 3,067,000 people cleared to "secret" and above in a 1993 study."