บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน بندر سري بڬاوان (ยาวี) | |
---|---|
เมืองหลวง | |
ด้านซ้าย: มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, สวนเซอร์มูดาโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, ลาเปา เดอร์ราจา, เมอร์ซู เดอร์กาห์ฮายู และ ดาวน์ทาวน์บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
สมญา: บันดาร์ | |
พิกัด: 4°53′25″N 114°56′32″E / 4.89028°N 114.94222°E | |
ประเทศ | บรูไน |
เขต | บรูไน-มัวรา |
พื้นที่ | |
• เมืองหลวง | 100.36 ตร.กม. (38.75 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2010) | |
• เมืองหลวง | 140,000 คน |
• ความหนาแน่น | 1,395 คน/ตร.กม. (3,610 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 276,608 คน |
• ชื่อเรียกประชาชน | Begawanese (ชาวเบอกาวัน) |
เขตเวลา | UTC+8 |
รหัสพื้นที่ | +673 02 |
เว็บไซต์ | www.municipal-bsb.gov.bn |
Mean solar time UTC+07:39:00 |
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน[1] หรือ บันดาร์เสรีเบกาวัน[1] (มลายู: Bandar Seri Begawan, بندر سري بڬاوان) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มัวรา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในลักษณะแบบคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เซอรีเบอกาวัน
ปัจจุบันกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นศูนย์กลางการเงิน ธุรกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และกัมปงอาเยร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน
กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไนที่เรียกว่าเมืองได้อย่างแท้จริง บันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน
นอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมลายู ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนเราะมะฎอนหรือหลังพิธีถือศีลอด
ส่วนแรกของชื่อ Bandar มาจากภาษาเปอร์เซีย بندر แปลว่า "ท่าเรือ" หรือ "ที่หลบภัย" ส่วนที่สองของชื่อคือ Seri Begawan มาจากคำว่า "ศฺรีภควาน" (भगवान् bhagavān) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง พระสิริแห่งพระเป็นเจ้า จึงมีความหมายรวมกันว่า เมืองท่าอันเป็นศรีแห่งพระเจ้า
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของบันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.4 (86.7) |
30.7 (87.3) |
31.9 (89.4) |
32.5 (90.5) |
32.6 (90.7) |
32.5 (90.5) |
32.3 (90.1) |
32.4 (90.3) |
32.0 (89.6) |
31.6 (88.9) |
31.4 (88.5) |
31.0 (87.8) |
31.8 (89.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 23.3 (73.9) |
23.3 (73.9) |
23.5 (74.3) |
23.7 (74.7) |
23.7 (74.7) |
23.4 (74.1) |
23.0 (73.4) |
23.1 (73.6) |
23.1 (73.6) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.3 (73.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 292.6 (11.52) |
158.9 (6.256) |
118.7 (4.673) |
189.4 (7.457) |
234.9 (9.248) |
210.1 (8.272) |
225.9 (8.894) |
226.6 (8.921) |
264.4 (10.409) |
312.3 (12.295) |
339.9 (13.382) |
339.6 (13.37) |
2,913.3 (114.697) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 16 | 12 | 11 | 16 | 18 | 16 | 16 | 16 | 19 | 21 | 23 | 21 | 205 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 195.3 | 192.1 | 226.3 | 240.0 | 235.6 | 210.0 | 223.2 | 217.0 | 198.0 | 204.6 | 204.0 | 210.8 | 2,556.9 |
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[2] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory[3] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "World Weather Information Service - Bandar Seri Begawan". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 14 May 2010.
- ↑ "Climatological Information for Bandar Seri Begawan, Brunei". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน